JJNY : หุ้นBTS-BEMร่วง-4%/วิญญัติชี้คำสั่งสอบวอยซ์-สื่อออนไลน์ขัดรธน./แตะเบรกไม่ปิด4สื่อ/เผยเอกสารสั่งปิด‘เทเลแกรม’

หุ้น ‘BTS-BEM’ กอดคอร่วง -4% เหตุรัฐสั่งปิดรถไฟฟ้าเลี่ยงการชุมนุม
https://www.businesstoday.co/stock/19/10/2020/52447/


 
SET Index ภาคเช้ารูดลงกว่า 22.75 จุด สวนทางตลาดหุ้นต่างประเทศ เหตุต่างชาติ-สถาบันขายลดความเสี่ยง รอติดตามการชุมนุมการเมืองในประเทศ หุ้น รถไฟฟ้า ‘BTS–BEM’ ราคาปรับลงกว่า -4%
 
นายวีระวัฒน์ วิโรจน์โภคา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด เปิดเผยภาพรวมตลาดหุ้นภาคเช้าวันที่ 19 ต.ค. 2563 ว่า SET Index ปรับลง 22.75 จุด ลดลง 1.84% มาอยู่ที่ 1,210.93 จุด ขณะที่ระหว่างวันปรับตัวลงต่ำสุดไปอยู่ที่ 1,207.64 จุด ลดลง -26.04 จุด
 
โดยการปรับตัวลงของตลาดหุ้นไทย สวนทางกับทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ ทั้งตลาดหุ้นเอเชีย ตลาดหุ้นภูมิภาคอื่นๆ และดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ส ที่ต่างปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ
  
ทั้งนี้ เชื่อว่าการปรับตัวลงของ SET Index เป็นผลกระทบจากปัจจัยการเมืองในประเทศที่ต่อเนื่องมาจากสัปดาห์ที่แล้ว หลังเกิดเหตุปะทะระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐ โดยปัจจัยดังกล่าวยังมีแนวโน้มยืดเยื้อ เนื่องจากผู้ชุมนุมยังคงนัดชุมนุมกันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนตาางประเทศและนักลงทุนสถาบันขายหุ้นเพื่อลดความเสี่ยง
  
อย่างไรก็ดี แนะนำติดตามการเปิดประชุมสภาสัปดาห์นี้ โดยคาดหวังว่าการเปิดประชุมดังกล่าวจะสามารถลดความตึงเครียดระหว่างรัฐและผู้ชุมนุมได้บ้าง
  
เมื่อสอบถามถึงทิศทางตลาดหุ้นในระยะถัดไป นายวีระวัฒน์ กล่าวว่า ฝ่ายวิจัยประเมินแนวรับสำคัญที่ 1,200 จุด โดยคาดว่าจะเกิดการฟื้นตัวทางเทคนิก (Technical Rebound) เมื่อดัชนีปรับลงใกล้บริเวณแนวรับ ทั้งนี้ ยังชื่อชอบหุ้นกลุ่มปลอดภัย (Defensive Play)
  
ในทางตรงกันข้าม แนะนำหลีกเลี่ยงลงทุน หุ้น รถไฟฟ้า ได้แก่ BTS และ BEM หลังราคาหุ้นปรับลงประมาณ 4% จากผลกระทบการปิดทำการหลายวันต่อเนื่องเพื่อหลีกเลี่ยงการชุมนุม โดยเชื่อว่าการยุติการเดินรถชั่วคราวต่อเนื่องหลายวันจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการระยะสั้น


 
'วิญญัติ' ชี้คำสั่งให้ กสทช.-ดีอีเอส ตรวจสอบวอยซ์ทีวี-สื่อออนไลน์ ขัด รธน. แนะฟ้องศาลได้
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_2402729
 
“วิญญัติ” ชี้คำสั่งให้ กสทช.-ดีอีเอสตรวจสอบวอยซ์ทีวี-สื่อออนไลน์ ขัด รธน.สั่งคล้ายอำนาจรัฐประหารเเนะหากโดนควรนำคดีฟ้องศาล
 
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและเลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมาย เพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) ได้ให้ความเห็นกรณีคำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) ฉบับที่ 4 ที่ให้ตรวจสอบและระงับการออกอากาศรายการที่มีลักษณะตามข้อ 2 ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548 ซึ่งมีเนื้อหาทำนอง สั่งให้ กสทช.และกระทรวงดิจิทัลฯ ตรวจสอบเนื้อหาและสั่งระงับรายการ ระงับการเผยแพร่ ไปจนถึงลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ บางส่วนของรายการที่เผยแพร่ในสื่อ 4 องค์กร ได้แก่ วอยซ์ทีวี (ทั้งโทรทัศน์และออนไลน์) ประชาไท The Reporters และ The Standard รวมไปถึงเพจกลุ่มเยาวชนปลดแอก อ้างเหตุว่า สื่อและเพจเหล่านี้ มีเนื้อหาสาระที่กระทบกับความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2563 ว่า
 
การออกคำสั่งการดังกล่าวนี้คล้ายกับคำสั่งคณะรัฐประหารคือ ออกคำสั่ง สั่งการให้หน่วยงานของรัฐที่หวังจะใช้กลไกอำนาจรัฐในระบบราชการ แต่ไม่ได้สั่งไปถึงสื่อโดยตรงซึ่งมีขั้นตอนตามประกาศของกระทรวงอยู่แล้ว ส่วนเมื่อมีดำเนินการแล้วมีการลบ
 
สื่อมวลชนก็มีสิทธิโต้แย้งไปที่ กสทช. ได้ จะมองว่าเป็นเรื่องนี้ซับซ้อนก็อยู่พอสมควร ทั้งนี้ คำสั่งจะเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่สั่งตรงไปที่สื่อไม่ได้ ตนเห็นควรนำคดีต้องฟ้องศาลยุติธรรม เนื่องจากการสั่งการเช่นนี้ จะเห็นว่าทำให้ประชาชนเข้าใจผิดหรืออาจเป็นการบิดเบือนหลักกฎหมาย ไม่มีความเป็นระบบลักษณะเป็นสั่งการภายใน แต่กลับประกาศให้ทราบโดยทั่วไป หากใช้อำนาจปิดกั้นการติดต่อสื่อสารหรืออาจมองว่าปิดปาก ย่อมกระทบต่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจํากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทํามิได้ มาตรา 35 บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร หรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าในทางใดๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่