อัพเดทดอกเบี้ย MRR | MLR | MOR (OCT 2020)   by Guru Living

  อัพเดทดอกเบี้ย MRR | MLR | MOR (OCT 2020)   
วันนี้ผมได้รวบรวมข้อมูลอัตราดอกเบี้ย MRR MLR และ MOR ในช่วงเดือนตุลาคม 2563 จากธนาคารพาณิชย์ชั้นนำต่างๆให้เพื่อนๆได้ดูเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อบ้านครับ

MRR คืออะไร ดูคลิปที่ : 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ก่อนอื่นขออธิบายโครงสร้างสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือโครงสร้างของหนี้บ้านเราก่อนนะครับว่า โดยปรกติแล้วหนี้ที่เราไปกู้ธนาคารมาเนี่ยเขามีลักษณะการคิดดอกเบี้ยอย่างไรบ้าง
โดยปรกติแล้วสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์แต่ละที่จะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อนั้นๆเป็นสองลักษณะใหญ่ๆครับคือ

1.ดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate)
อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยจะคงที่ไว้ตามที่เราได้ตกลงกับธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อนั้นๆ เช่นถ้าเราตกลงว่าเราจะขอกู้ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ 5% ในช่วง 3 ปีแรกเราก็จะได้ดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ครับ ทางธนาคารจะไม่สามารถเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่ตกลงกับเราไว้ได้

2 ดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว ( Floating Rate )
อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวหมายความว่า ดอกเบี้ยสินเชื่อของเราจะเปลี่ยนแปลงไปตามที่สถาบันการเงินกำหนดครับ โดยอัตราดอกเบี้ยในส่วนนี้สถาบันการเงินจะออกมากำหนดเป็นงวดๆแล้วแต่นโยบายในแต่ละช่วงครับ โดยจะอ้างอิงตามค่า MRR , MOR , MLR ในแต่ละช่วงเวลา
ดยปรกติการที่เราาไปกู้สินเชื่ที่อยู่อาศัย ทางธนาคารส่วนมากจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยในช่วง 1 - 3 ปีแรกเป็นแบบคงที่ Fixrate ครับและที่สำคัญเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างจะต่ำด้วยครับเช่น คิดคงที่ 3 ปีแรก 5 % และในปีที่ 3 เป็นต้นไปดอกเบี้ยสินเชื่อของเราก็จะปรับเป็นแบบลอยตัวตามค่า MRR , MLR และ MOR ตามที่ธนาคารกำหนดในช่วงนั้นๆครับ

รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไรมีประโยชน์อะไรกับคนที่กำลังผ่อนบ้านอยู่ สรุปจบในคลิปเดียว | Guru Living
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ดังนั้นเห็นไหมครับว่า MRR MLR MOR เป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยของเราเลยครับว่าเราจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงหรือถูก

 MLR (Minimum Loan Rate) 
      หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ

 MOR (Minimum Overdraft Rate) 
       หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี

  MRR (Minimum Retail Rate) 
        หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อที่อยู่อาศัย

           โดยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR จะสูงกว่า MOR และ อัตราดอกเบี้ย MOR จะสูงกว่า MLR ซึ่งส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR เป็นตัวสะท้อนระดับความเสี่ยงที่ต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย

ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารกำหนดว่า อัตราดอกเบี้ยของเราจะคงที่ 4% ในช่วง 3 ปีแรก และในปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ยจะเป็น MRR -2 หมายความว่าเราต้องไปดูว่าช่วงนั้น MRR ของธนาคารที่เราขอสินเชื่อเป็นเท่าไร (ถ้าเกิดว่าสมมุติ MRR = 7 ) หมายความว่าดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายในปีที่ 4 จะเป็น 7 - 2 = 5% ต่อปีครับ ซึ่งในแต่ละช่วง MRR จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆนะครับแล้วแต่นโยบายของธนาคาแห่งประเทศไทย

โดยอัตราของ MRR , MOR และ MLR จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดครับขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยครับ และที่สำคัญ MRR MOR และ MLR ของแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากันนะครับ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร เราในฐานะผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูล และ รายละเอียดให้รอบคอบก่อนการขอสินเชื่อนะครับ

How to ซื้อบ้านหลังแรก EP9: ซื้อบ้านหลังแรก กู้ธนาคารไหนดี ธนาคารไหนดอกเบี้ยดีสุด | Guru Living
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
  รายละเอียดเพิ่มเติมและเงื่อนไขเป็นไปตามแต่ละธนาคารกำหนด
 ธนาคาร ธอส 
https://www.ghbank.co.th/

 ธนาคารออมสิน 
https://www.gsb.or.th/

 ธนาคารกรุงเทพ 
https://www.bangkokbank.com/

 ธนาคารกรุงศรี 
https://www.krungsri.com

 ธนาคารกสิกร 
https://kasikornbank.com/

 ธนาคารไทยพาณิชย์ 
https://www.scb.co.th/

 ธนาคารกรุงไทย 
https://www.ktb.co.th/

 ธนาคาร CIMB  
https://www.cimbthai.com/

 ธนาคาร UOB 
https://www.uob.co.th/

  ถ้าชอบใจอย่าลืมกด Like และ Share เพื่อไม่ให้พลาดโปรโมชั่นและข่าวสารดีๆนะครับ  
......................................................
 ติดต่องาน 
- Mail: gurulivingth@gmail.com
- website: https://gurulivingth.com/
- Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCSq-ymhgsUgV-LaQNF6L5gg
- TikTok: https://vt.tiktok.com/ZSyvX4As/
- Facebook: https://www.facebook.com/gurulivingth/
......................................................
#guruliving #ดอกเบี้ยบ้าน2563 #สินเชื่อบ้าน2563 #กู้ซื้อบ้าน #ดอกเบี้ยบ้าน #ธนาคารออมสิน #ธอส #ธนาคารธอส #ธนาคารกรุงเทพ #ธนาคารกสิกร #ธนาคารกรุงไทย #ธนาคารไทยพาณิชย์ #ธนาคารกรุงศรี #GHB #SCB #KBANK #BBL ดูน้อยลง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่