ทาสแมวหลายคนอาจมีความรู้สึกว่าแมวเป็นสัตว์รักสันโดษ และมีนิสัยเจ้าอารมณ์จึงทำให้ผูกมิตรด้วยได้ยาก แต่ผลการศึกษาล่าสุดของทีมนักวิทยาศาสตร์จากอังกฤษได้พบว่าการ "กะพริบตาช้า ๆ" เป็นการ "ส่งยิ้มแบบแมว" หรือการสื่อภาษากาย เพื่อสื่อสารเชิงบวกและช่วยเสริมสร้างมิตรภาพกับเหล่าแมวเหมียว
ศาสตราจารย์คาเรน แม็คโคมป์ หนึ่งในทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยซัสเซกส์ กล่าวว่า "มันเป็นอะไรที่คุณสามารถทดลองด้วยตัวเองกับแมวที่บ้านหรือแมวที่คุณพบเจอตามท้องถนน และมันเป็นวิธีอันยอดเยี่ยมในการที่คุณจะผูกสัมพันธ์กับแมว"
"ลองหรี่ตาใส่แมว แบบเดียวกับเวลาที่คุณยิ้มอย่างผ่อนคลาย จากนั้นหลับตาค้างไว้ 2-3 วินาที แล้วคุณจะพบว่าพวกมันจะตอบสนองกลับแบบเดียวกัน และพวกคุณก็จะสามารถเริ่มต้นการสื่อสารกันในอีกรูปแบบหนึ่ง"
ขณะที่ ดร.ทาสมิน ฮัมฟรีย์ นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมสัตว์จากมหาวิทยาลัยซัสเซกส์ หัวหน้าทีมวิจัยชิ้นนี้ อธิบายว่า การที่แมวแสดงการกะพริบตาช้า ๆ อาจเป็นเพราะมนุษย์เรามองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นพฤติกรรมเชิงบวก
"แมวอาจเรียนรู้ว่ามนุษย์ให้รางวัลแก่พวกมันเวลาที่มันกะพริบตาช้า ๆ"
นอกจากนี้ ดร.ฮัมฟรีย์ ยังสันนิษฐานว่า "เป็นไปได้ว่าการที่แมวกะพริบตาช้า ๆ อาจเป็นวิธีในการหยุดจ้องตาอีกฝ่ายนาน ๆ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกัน"
ที่มา BBC Thai
https://www.bbc.com/thai/features-54499020
ทาสแมวต้องรู้! นักวิจัย เผย วิธีผูกมิตรกับแมว กะพริบตาช้า ๆ เป็นการส่งยิ้มให้แมว
ศาสตราจารย์คาเรน แม็คโคมป์ หนึ่งในทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยซัสเซกส์ กล่าวว่า "มันเป็นอะไรที่คุณสามารถทดลองด้วยตัวเองกับแมวที่บ้านหรือแมวที่คุณพบเจอตามท้องถนน และมันเป็นวิธีอันยอดเยี่ยมในการที่คุณจะผูกสัมพันธ์กับแมว"
"ลองหรี่ตาใส่แมว แบบเดียวกับเวลาที่คุณยิ้มอย่างผ่อนคลาย จากนั้นหลับตาค้างไว้ 2-3 วินาที แล้วคุณจะพบว่าพวกมันจะตอบสนองกลับแบบเดียวกัน และพวกคุณก็จะสามารถเริ่มต้นการสื่อสารกันในอีกรูปแบบหนึ่ง"
ขณะที่ ดร.ทาสมิน ฮัมฟรีย์ นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมสัตว์จากมหาวิทยาลัยซัสเซกส์ หัวหน้าทีมวิจัยชิ้นนี้ อธิบายว่า การที่แมวแสดงการกะพริบตาช้า ๆ อาจเป็นเพราะมนุษย์เรามองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นพฤติกรรมเชิงบวก
"แมวอาจเรียนรู้ว่ามนุษย์ให้รางวัลแก่พวกมันเวลาที่มันกะพริบตาช้า ๆ"
นอกจากนี้ ดร.ฮัมฟรีย์ ยังสันนิษฐานว่า "เป็นไปได้ว่าการที่แมวกะพริบตาช้า ๆ อาจเป็นวิธีในการหยุดจ้องตาอีกฝ่ายนาน ๆ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกัน"
ที่มา BBC Thai
https://www.bbc.com/thai/features-54499020