สุกี้โบราณในไทย ตำหรับมาจากไหน

จากวิกิ
สุกี้ เป็นอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ เต้าหู้ ผัก วุ้นเส้น ไข่ กินกับน้ำจิ้ม เป็นอาหารยอดนิยมในเอเชียมีหลายแบบ ที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในเมืองไทยเป็นสุกี้แบบจีนและแบบญี่ปุ่น
เนื้อหา
1สุกี้แบบจีน
2สุกี้แบบญี่ปุ่น
3สุกี้แบบอื่น
4อ้างอิง
สุกี้แบบจีน[แก้]
สุกี้ไหหลำ ส่วนใหญ่ปรุงด้วยเนื้อวัว น้ำจิ้มใช้เต้าหู้ยี้ผสมน้ำมันงา เนื้อที่ใช้เป็นเนื้อหมักกับเต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้และผงพะโล้ เครื่องปรุงมีไม่มากแต่ที่ขาดไม่ได้คือหมึกแช่ ผักส่วนใหญ่เป็นผักกาดขาวและผักบุ้ง
สุกี้กวางตุ้ง นิยมรับประทานแบบหม้อไฟ มีเครื่องปรุงหลายแบบน้ำจิ้มใช้ซอสพริกเป็นเครื่องปรุงหลัก ไม่เน้นเนื้อหมัก แต่เน้นเนื้อสัตว์หลากหลายรูปแบบ สุกี้ในภัตตาคารในเมืองไทยเป็นแบบนี้
สุกี้เสฉวน เป็นสุกี้ที่มีชื่อเสียงของประเทศจีน เผ็ดด้วยหมาล่า (麻辣,หมาแปลว่าอาการชา ล่าแปลว่าเผ็ด) ที่เป็นเครื่องเทศเฉพาะของเสฉวน ซึ่งนอกจากรสเผ็ดแล้วยังทำให้เกิดอาการชาๆด้วย
สุกี้กุ้ยหลิน เป็นสุกี้ที่มีชื่อเสียงของประเทศจีน ปรุงด้วยเห็ดและเครื่องยาจีน
สุกี้แต้จิ๋ว น้ำจิ้มจะใช้เต้าหู้ยี้ เน้นเนื้อไก่และหมู ลูกชิ้นปลาต่างๆ ผัก วุ้นเส้น ซึ่งคล้ายกับสุกี้กวางตุ้ง

ดูแล้วจะแนวใกล้ไหหลำ นะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่