สวัสดีชาวพันทิปทุกท่านคับ
กระทู้นี้ผมอยากจะมาแบ่งปันประสบการณ์ การสั่งซื้อเครื่องพิมพ์สามมิติจากต่างประเทศและนำเข้ามาสู่ประเทศไทยโดยผ่านบริษัทขนส่งเพียงเจ้าเดียวเท่านั้นคือบริษัท DHL ซึ่งคาดว่าใครหลายๆ คนคงมีประสบการณ์ที่ดีและไม่ดีเกี่ยวกับบริษัทนี้ รวมถึงเสียงลือเสียงเล่าอ้างต่างๆ ในเรื่องค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่(อาจจะ)เกิดขึ้น
ขอเกริ่นก่อนเข้าสู่เรื่องว่า ผมเองเพิ่งเข้าสู่วงการเครื่องพิมพ์สามมิติเมื่อประมาณกลางปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะการว่างงานชั่วคราวจากผลกระทบของ COVID-19 แต่เดิมทีผมเองมีความสนใจในอุปกรณ์ชิ้นนี้อยู่แล้ว แต่เนื่องจากติดเงื่อนไขเรื่องเวลาจึงยังไม่มีโอกาสได้สัมผัสกันอย่างจริงจัง เมื่อโอกาสมาถึงผมจึงไม่ลังเลที่จะหาเครื่องแรกมาทดลองใช้ซึ่งเป็นเครื่องจีนในราคาเริ่มต้นที่เป็นมิตร จากการศึกษาอุปกรณ์ที่ซื้อมาใช้งานอยู่ประมาณ 3 เดือนทำให้ผมตัดสินใจที่จะลองหาเครื่องพิมพ์สามมิติชุดเริ่มต้นที่เป็นมาตรฐานของวงการ และผมเลือก Prusa i3 MK3S KIT (แบบประกอบเองทั้งชุด) ซึ่งสนนราคาในไทยมีขายกันอยู่ตั้งแต่ 40,000 - 50,000 บาทโดยประมาณ ในขณะที่เว็บผู้ผลิตวางจำหน่ายเพียง 749USD หรือตีเป็นเงินไทยประมาณ 24,700 บาท และมีค่าขนส่งที่ 93USD (3,000 บาท) ซึ่งรวมแล้วยังเป็นราคาที่พอสู้ไหว ไม่รอช้าผมดำเนินการตัดสินใจกดสั่งซื้อทันที และจึงเริ่มศึกษาวิธีการนำเข้าครับ
ด้วยความที่เครื่อง Prusa i3 MK3S นั้นเป็นที่ต้องการจากทั่วทุกมุมของโลก (โดยเฉพาะในฝั่งยุโรปและอเมริกา) ทำให้ทางผู้ผลิตแจ้งขอเวลาในการเตรียมส่งมอบ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งถือเป็นความโชคร้ายของผมที่ต้องรอเครื่องไปอีกเกือบเดือน แต่ในทางกลับกันกลับเป็นความโชคดีอย่างคาดไม่ถึงเพราะผมจะได้มีเวลาดำเนินการด้านกฎหมายต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อนสินค้าส่งเข้ามาถึงท่าที่ประเทศไทย
ผมดำเนินการสั่งซื้อไปเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ระหว่างที่รออยู่นั้นก็เปิดอ่านรีวิวขั้นตอนต่างๆ ไปพลาง จนไปสะดุดกับกระทู้ขอความช่วยเหลือเรื่องการนำเข้าเครื่องพิมพ์ในเว็บไซต์ Thingverse จึงได้รู้ว่าการจะนำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติเข้ามาในประเทศไทย จะต้องดำเนินการขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ไม่รอช้าเพื่อความแน่ใจผมทำการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต ทั้ง pantip และเว็บไซต์ของหน่วยงานแล้วพบว่า จริงด้วย!! เครื่องพิมพ์สามมิติจัดอยู่ในประเภทสินค้าควบคุมการนำเข้า ต้องสำแดงและแจ้งการครอบครองตลอดอายุการใช้งาน (ปีละ 2 ครั้ง)
** การควบคุมไม่ได้หมายถึงห้ามนำเข้านะครับ เพียงแต่เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นดาบสองคม ตามที่เคยมีข่าวในต่างประเทศว่ามีคนใช้เครื่องพิมพ์สามมิติขึ้นรูปอาวุธปืนขึ้นมาและหาพาร์ทอื่นๆ มาประกอบจนสามารถยิงได้จริง **
โดยขั้นตอนการดำเนินการมีดังต่อไปนี้ครับ
---ขั้นตอนที่ 1---
วันที่ 16 กันยายน 2563
ผมได้เดินทางไปที่กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (บางกระสอ) เพื่อขอทำบัตรผู้นำเข้า-ส่งออก โดยขั้นตอนการดำเนินการและเอกสารที่ต้องจัดเตรียมไปนั้น เข้าขั้นง่ายมากครับ
รายการเอกสารทั้งหมดที่ต้องใช้สำหรับขั้นตอนนี้
1.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
2.ข้อมูลเครื่องพิมพ์สามมิติที่เราต้องการจะนำเข้ามาในประเทศไทย (ตรงนี้พยายามเตรียมข้อมูลเอาไว้ให้ครบถ้วนที่สุด ได้แก่ ชื่อแบรนด์, ชื่อรุ่น, spec. เครื่องพิมพ์, ชื่อผู้ผลิต, ประเทศผู้ผลิต, ชื่อผู้ส่ง, ประเทศต้นทางที่จะส่งสินค้ามาประเทศไทย, น้ำหนักรวมโดยประมาณ, ใบแจ้งหนี้ (Pro-forma invoice) ตรงนี้ถ้ามี CI ก็สามารถใช้ได้เลยครับแต่ปกติแล้ว CI จะได้มาเมื่อทางผู้ขายดำเนินการส่งสินค้าแล้ว, พิกัดภาษี และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เตรียมเอาไว้ได้เลยครับยิ่งละเอียดยิ่งดี)
ขั้นตอนการดำเนินการ
1.เดินทางไปที่กรมการค้าต่างประเทศ อาคารริมถนนฝั่งขวามือ (หันหน้าเข้ากระทรวงพาณิชย์) ซึ่งอาคารนี้ที่เห็นคร่าวๆ จะมี DITP และ DFT(กรมการค้าต่างประเทศ) หากหลงทางสามารถสอบถามกับเจ้าหน้าที่กรมฯ ได้ทุกคนครับ
2.ไปที่ชั้น 4 แจ้งขอทำบัตรผู้นำเข้า-ส่งออก จะมีน้องๆ นักศึกษาฝึกงานมาสอบถามว่าได้ทำการคีย์ข้อมูลมาหรือยังถ้ายังจะมีคอมพิวเตอร์ให้ใช้งาน และน้องๆ จะมาแนะนำวิธีการกรอกข้อมูลรวมสั่งพิมพ์เอกสารให้ครับ
3.หลังจากพิมพ์เอกสารแล้ว น้องนักศึกษาจะขอบัตรประชาชนฉบับจริงไป ขั้นตอนนี้นั่งรอสักพักจะมีเจ้าหน้าเรียกไปชำระเงินค่าธรรมเนียมออกบัตรแบบบุคคล จำนวน 200 บาท และดำเนินการออกบัตรให้ครับ
4.หลังจากได้บัตรมาแล้ว ให้กลับไปหาน้องนักศึกษาฝึกงานและแจ้งว่าจะดำเนินการขออนุญาตเป็นผู้นำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติ น้องๆ จะพากลับไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อแนะนำการกรอกแบบคำร้อง จากนั้นจะต้องแนบแบบคำร้องพร้อมกับสำเนาบัตรผู้นำเข้า-ส่งออก ซึ่งเพิ่งได้รับมา (ในจุดนี้อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการถ่ายเสำเนาบัตรนะครับ ถ้าท่านใดอยากหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายตรงนี้ อาจจะต้องพิจารณานำเครื่องถ่ายเอกสารแบบพกพามาเองครับ แต่ว่าเพื่อความสะดวกทางกรมฯ มีบริการถ่ายสำเนาให้ ถ้าจำไม่ผิด 6 บาทครับ)
5.เมื่อยื่นเอกสารไปแล้วนั่งรอสักพัก ก็จะได้รับใบอนุญาตเป็นผู้นำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติมา (ซึ่งใบนี้เราสามารถเก็บไว้ใช้ได้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายครับ)
6.เดินทางต่อไปที่ชั้น 10 อาคารเดิม เพื่อติดต่อหน่วยงานนวัตกรรม (ขออภัยนะครับหากชื่อผิด แต่ผมจำได้ว่านวัตกรรม) แจ้งเจ้าหน้าที่ไปว่าต้องการมาแจ้งนำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติ เจ้าหน้าที่จะสอบถามว่าสินค้ามาถึงไทยหรือยัง (เพราะมีหลายคนที่ไม่ทราบว่าต้องขออนุญาตนำเข้าก่อน และโดนศุลกากรยึดของเอาไว้) ซึ่งตามหลักการแล้วจะต้องดำเนินการขออนุญาตนำเข้าล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนสินค้ามาถึงท่าครับ
7.เจ้าหน้าที่จะมีเอกสารให้กรอกเกี่ยวกับข้อมูลผู้นำเข้า รายการเครื่องพิมพ์ที่จะนำเข้า, ราคา, พิกัดภาษี, วัตถุประสงค์ของการนำเข้า รวมถึงกำหนดการที่สินค้าจะมาถึงไทย (ในส่วนไหนที่ข้อมูลยังไม่ชัดเจน เช่น ไฟลท์บิน, เลขกำกับใบขน, วันที่สินค้าจะถึงไทย ก็สามารถเว้นว่างหรือใส่ค่าประมาณการเอาไว้ได้ครับ)
8.หลังจากกรอกเอกสารเสร็จให้แนบเอกสารข้อมูลเครื่องพิมพ์ที่เราเตรียมมาไปด้วย เพื่อประกอบการพิจารณา เจ้าหน้าที่จะนำเอกสารไปตรวจสอบและให้หมายเลขกำกับ พร้อมคืนเอกสารตัวจริงกลับมาให้เราครับ เป็นอันจบขั้นตอนแรก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
9.เพื่อความมั่นใจผมติดต่อไปหาบริษัท Prusa Research (ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องพิมพ์ Prusa i3 MK3S KIT) ว่าให้ดำเนินการส่งของออกมาหลังวันที่ 2 ตุลาคม 2563 ซึ่งทาง Prusa ก็รับทราบและส่งออกมาให้วันที่ 5 ตุลาคม ที่ผ่านมา
---ขั้นตอนที่ 2---
หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนแรกไป ผมกลับมาดูต่อว่าการจะนำเครื่องพิมพ์เข้ามานั้น นอกจากส่วนของการขออนุญาตแล้วจะต้องดำเนินการเรื่องใดต่อบ้าง พบว่าจะต้องมีการลงทะเบียนเป็นผู้ดำเนินพิธีศุลกากร กับกรมศุลกากรด้วย ไม่รอช้าผมยกหูโทรศัพท์สอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ DHL ทันที (หลายๆ คนอาจจะส่งสัยว่าทำไมต้อง DHL นั้นก็เพราะว่าปัจจุบันทาง Prusa จะดำเนินการส่งเครื่องพิมพ์ผ่านทาง DHL เท่านั้น)
หลังจากคุยกับเจ้าหน้าที่ Call Center และอธิบายกันไปสักพักเจ้าหน้าที่จึงสอบถามกลับมาว่าได้ลงทะเบียน Paperless และมอบอำนาจ Broker ให้ DHL หรือยัง (DHL จะเรียกการลงทะเบียนผู้ดำเนินพิธีศุลกากร ว่าการลงทะเบียน Paperless นะครับเพราะหลังจากลงทะเบียนแล้วเราจะสามารถดำเนินการด้านเอกสารต่างๆ ในส่วนของพิธีการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เลย) ซึ่งถ้ายังเนี่ย DHL มีค่าดำเนินการที่ 2,000 บาทนะ และเอกสารมีอายุ 6 เดือน ถ้าไม่มีการนำเข้ามาเลยในระยะเวลาที่กำหนด เอกสารก็จะหมดอายุไปและต้องทำใหม่
ถึงจุดนี้ผมเริ่มคิดละทำไมค่าดำเนินการถึงได้แพงขนาดนี้ แต่ก็เงียบๆ ไปเพราะเจ้าหน้าที่แจ้งว่าถ้าสนใจให้ติดต่อไปอีกฝ่ายที่ดูแลส่วนนี้โดยตรง พร้อมกับให้เบอร์โทรศัพท์มา
หลังจากนั้นไม่นานผมจึงเริ่มมองหา shipping ที่จะเข้ามาดูแลส่วนนี้ให้โดยผมเลือกมา 4 เจ้า 3 เจ้าแรกเงียบหลังจากได้ผมแจ้งความต้องการเรื่องการนำเข้าไป ซึ่งผมเองก็ไม่มั่นใจว่าเพราะอะไรถึงได้เงียบๆ หายไป อาจจะเป็นเพราะไม่คุ้มค่าดำเนินการหรืออาจจะเพราะเงื่อนไขอื่นๆ ซึ่งไม่ทราบได้ แต่ผมเองก็แจ้งกับทุกรายไปว่าผมดำเนินการเสร็จหมดแล้ว แค่ต้องการตัวแทนไปเคลียร์ของออกมา ไม่ต้องเปลี่ยนชื่อผู้นำเข้า ส่วนเจ้าที่ 4 คิดเป็นราคาเหมากลับมาประมาณเกือบครึ่งหมื่น ผมเลยขอหยุดเอาไว้ก่อนและกลับมาศึกษาอีกครั้งว่าการดำเนินการตรงจุดนี้จะต้องทำอย่างไรบ้าง และทำเองได้ไหม
หลังจากเสียเวลาศึกษากันอยู่พักใหญ่ๆ จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ซึ่งใกล้จะถึงกำหนดส่งของออกมาจากประเทศต้นทางเต็มทีแล้ว ผมตัดสินใจกลับไปหา DHL อีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้แตกต่างออกไป ผมตัดสินใจติดต่อผ่านทาง Live Chat เผื่อจะต้องมีการส่งข้อมูลอะไรต่างๆ จะได้ไม่ตกหล่น เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลกลับมาค่อนข้างละเอียดและสร้างความประทับใจให้ผมค่อนข้างมาก รวมถึงให้ผมส่งอีเมลเข้าไปทันทีเพื่อจะได้รีบแจ้งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลเคสของผม ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งว่าอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเรื่องเอกสาร Paperless ประมาณ 1,500 บาท (ตรงจุดนี้สร้างความสบสนให้ผมอีกครั้งเพราะรอบแรกอีกคนบอก 2,000 รอบนี้บอก 1,500 บาท แต่มาถึงจุดนี้แล้วผมตัดสินใจเดินต่อเลย เสียก็เสียถือว่าจะได้รู้เงื่อนไขกันไป)
ส่งอีเมลรายละเอียดออกไปสักพักก็ได้รับอีเมลตอบกลับถึงขั้นตอนและเอกสารที่จะต้องใช้ในการยื่นจด paperless หลังจากเตรียมเอกสารเสร็จเจ้าหน้าที่จะขอให้เราสแกนกลับไปให้ตรวจก่อน เพื่อจะได้แก้ไขกันก่อนหากมีเอกสารผิด จากนั้นเจ้าหน้าที่แจ้งว่าจะส่งแมสเซนเจอร์มารับเอกสาร ซึ่งผมแจ้งไปว่าขอให้เร่งดำเนินการได้ไหมเนื่องจากตอนนี้วันที่ 5 แล้วอีกไม่เกิน 2 วัน สินค้าผมน่าจะถึงไทย เจ้าหน้าที่รับปากแล้วเงียบหายไป
เย็นวันนั้นผมตัดสินใจโทรฯ เข้าไปสอบถามจึงได้ความว่า จริงแล้วๆ DHL มีทางเลือกให้เรา 3 ทางครับ สำหรับการทำ Paperless
1. ให้ DHL เป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมด โดยเราส่งสำเนาบัตรประชาชนให้ - มีค่าใช้จ่าย 1,500 บาท
2. ให้ DHL เป็นตัวแทนยื่นเอกสารให้ โดยเราส่งบัตรประชาชนตัวจริงไปให้ - ใช้เอกสารหนังสือมอบอำนาจและบัตรประชาชนตัวจริง - ไม่มีค่าใช้จ่าย
3. ไปยื่นเอกสารด้วยตนเองที่กรมศุลกากร สนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีเจ้าหน้าที่ DHL รออยู่ที่กรมฯ และช่วยอำนวยความสะดวกให้ - ไม่มีค่าใช้จ่าย
ด้วยความรีบของผมจึงตัดสินใจที่จะเลือกข้อ 3 เพราะเราสามารถนำเอกสารไปดำเนินการเองได้โดยไม่ต้องรอแมสเซอนเจอร์ ซึ่งคาดว่าจะมารับเอกสารในวันที่ 6 และกว่าจะได้ดำเนินการอาจจะต้องรอถึงวันที่ 7
ช่วงค่ำของวันเดียวกัน (วันที่ 5 ตุลาคม) ทาง Prusa แจ้งว่าได้ดำเนินการส่งเครื่องพิมพ์ออกจากโรงงานมาแล้ว พร้อมกับหมายเลข Tracking Number ผมจึงรีบดำเนินการโทรฯ เข้าไปแจ้ง DHL ก่อนเลยว่าจะมีสินค้าส่งมาที่ไทย
ต้องการดำเนินพิธีศุลกากรเต็มรูปแบบ โดยใช้ใบอนุญาตนำเข้า ขั้นตอนนี้สำคัญมากนะครับ เพราะถ้าไม่แจ้งทาง DHL จะไม่ได้เตรียมเจ้าหน้าที่มาเคลียร์เต็มรูปแบบให้เราตั้งแต่แรก และจะต้องเสียเวลาตามเอกสารกันอีกวันแน่นอน รวมถึงของเราจะโดนลงคลังยาวๆ ด้วยครับ เนื่องจาก DHL จะไปดูส่วนอื่นที่เคลียร์ได้ก่อน
*** มีต่อ ***
ประสบการณ์สั่งซื้อเครื่องพิมพ์สามมิติจากต่างประเทศผ่าน DHL ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่ใครๆ หลายคนคิด
กระทู้นี้ผมอยากจะมาแบ่งปันประสบการณ์ การสั่งซื้อเครื่องพิมพ์สามมิติจากต่างประเทศและนำเข้ามาสู่ประเทศไทยโดยผ่านบริษัทขนส่งเพียงเจ้าเดียวเท่านั้นคือบริษัท DHL ซึ่งคาดว่าใครหลายๆ คนคงมีประสบการณ์ที่ดีและไม่ดีเกี่ยวกับบริษัทนี้ รวมถึงเสียงลือเสียงเล่าอ้างต่างๆ ในเรื่องค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่(อาจจะ)เกิดขึ้น
ขอเกริ่นก่อนเข้าสู่เรื่องว่า ผมเองเพิ่งเข้าสู่วงการเครื่องพิมพ์สามมิติเมื่อประมาณกลางปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะการว่างงานชั่วคราวจากผลกระทบของ COVID-19 แต่เดิมทีผมเองมีความสนใจในอุปกรณ์ชิ้นนี้อยู่แล้ว แต่เนื่องจากติดเงื่อนไขเรื่องเวลาจึงยังไม่มีโอกาสได้สัมผัสกันอย่างจริงจัง เมื่อโอกาสมาถึงผมจึงไม่ลังเลที่จะหาเครื่องแรกมาทดลองใช้ซึ่งเป็นเครื่องจีนในราคาเริ่มต้นที่เป็นมิตร จากการศึกษาอุปกรณ์ที่ซื้อมาใช้งานอยู่ประมาณ 3 เดือนทำให้ผมตัดสินใจที่จะลองหาเครื่องพิมพ์สามมิติชุดเริ่มต้นที่เป็นมาตรฐานของวงการ และผมเลือก Prusa i3 MK3S KIT (แบบประกอบเองทั้งชุด) ซึ่งสนนราคาในไทยมีขายกันอยู่ตั้งแต่ 40,000 - 50,000 บาทโดยประมาณ ในขณะที่เว็บผู้ผลิตวางจำหน่ายเพียง 749USD หรือตีเป็นเงินไทยประมาณ 24,700 บาท และมีค่าขนส่งที่ 93USD (3,000 บาท) ซึ่งรวมแล้วยังเป็นราคาที่พอสู้ไหว ไม่รอช้าผมดำเนินการตัดสินใจกดสั่งซื้อทันที และจึงเริ่มศึกษาวิธีการนำเข้าครับ
ด้วยความที่เครื่อง Prusa i3 MK3S นั้นเป็นที่ต้องการจากทั่วทุกมุมของโลก (โดยเฉพาะในฝั่งยุโรปและอเมริกา) ทำให้ทางผู้ผลิตแจ้งขอเวลาในการเตรียมส่งมอบ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งถือเป็นความโชคร้ายของผมที่ต้องรอเครื่องไปอีกเกือบเดือน แต่ในทางกลับกันกลับเป็นความโชคดีอย่างคาดไม่ถึงเพราะผมจะได้มีเวลาดำเนินการด้านกฎหมายต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อนสินค้าส่งเข้ามาถึงท่าที่ประเทศไทย
ผมดำเนินการสั่งซื้อไปเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ระหว่างที่รออยู่นั้นก็เปิดอ่านรีวิวขั้นตอนต่างๆ ไปพลาง จนไปสะดุดกับกระทู้ขอความช่วยเหลือเรื่องการนำเข้าเครื่องพิมพ์ในเว็บไซต์ Thingverse จึงได้รู้ว่าการจะนำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติเข้ามาในประเทศไทย จะต้องดำเนินการขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ไม่รอช้าเพื่อความแน่ใจผมทำการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต ทั้ง pantip และเว็บไซต์ของหน่วยงานแล้วพบว่า จริงด้วย!! เครื่องพิมพ์สามมิติจัดอยู่ในประเภทสินค้าควบคุมการนำเข้า ต้องสำแดงและแจ้งการครอบครองตลอดอายุการใช้งาน (ปีละ 2 ครั้ง)
** การควบคุมไม่ได้หมายถึงห้ามนำเข้านะครับ เพียงแต่เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นดาบสองคม ตามที่เคยมีข่าวในต่างประเทศว่ามีคนใช้เครื่องพิมพ์สามมิติขึ้นรูปอาวุธปืนขึ้นมาและหาพาร์ทอื่นๆ มาประกอบจนสามารถยิงได้จริง **
โดยขั้นตอนการดำเนินการมีดังต่อไปนี้ครับ
---ขั้นตอนที่ 1---
วันที่ 16 กันยายน 2563
ผมได้เดินทางไปที่กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (บางกระสอ) เพื่อขอทำบัตรผู้นำเข้า-ส่งออก โดยขั้นตอนการดำเนินการและเอกสารที่ต้องจัดเตรียมไปนั้น เข้าขั้นง่ายมากครับ
รายการเอกสารทั้งหมดที่ต้องใช้สำหรับขั้นตอนนี้
1.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
2.ข้อมูลเครื่องพิมพ์สามมิติที่เราต้องการจะนำเข้ามาในประเทศไทย (ตรงนี้พยายามเตรียมข้อมูลเอาไว้ให้ครบถ้วนที่สุด ได้แก่ ชื่อแบรนด์, ชื่อรุ่น, spec. เครื่องพิมพ์, ชื่อผู้ผลิต, ประเทศผู้ผลิต, ชื่อผู้ส่ง, ประเทศต้นทางที่จะส่งสินค้ามาประเทศไทย, น้ำหนักรวมโดยประมาณ, ใบแจ้งหนี้ (Pro-forma invoice) ตรงนี้ถ้ามี CI ก็สามารถใช้ได้เลยครับแต่ปกติแล้ว CI จะได้มาเมื่อทางผู้ขายดำเนินการส่งสินค้าแล้ว, พิกัดภาษี และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เตรียมเอาไว้ได้เลยครับยิ่งละเอียดยิ่งดี)
ขั้นตอนการดำเนินการ
1.เดินทางไปที่กรมการค้าต่างประเทศ อาคารริมถนนฝั่งขวามือ (หันหน้าเข้ากระทรวงพาณิชย์) ซึ่งอาคารนี้ที่เห็นคร่าวๆ จะมี DITP และ DFT(กรมการค้าต่างประเทศ) หากหลงทางสามารถสอบถามกับเจ้าหน้าที่กรมฯ ได้ทุกคนครับ
2.ไปที่ชั้น 4 แจ้งขอทำบัตรผู้นำเข้า-ส่งออก จะมีน้องๆ นักศึกษาฝึกงานมาสอบถามว่าได้ทำการคีย์ข้อมูลมาหรือยังถ้ายังจะมีคอมพิวเตอร์ให้ใช้งาน และน้องๆ จะมาแนะนำวิธีการกรอกข้อมูลรวมสั่งพิมพ์เอกสารให้ครับ
3.หลังจากพิมพ์เอกสารแล้ว น้องนักศึกษาจะขอบัตรประชาชนฉบับจริงไป ขั้นตอนนี้นั่งรอสักพักจะมีเจ้าหน้าเรียกไปชำระเงินค่าธรรมเนียมออกบัตรแบบบุคคล จำนวน 200 บาท และดำเนินการออกบัตรให้ครับ
4.หลังจากได้บัตรมาแล้ว ให้กลับไปหาน้องนักศึกษาฝึกงานและแจ้งว่าจะดำเนินการขออนุญาตเป็นผู้นำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติ น้องๆ จะพากลับไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อแนะนำการกรอกแบบคำร้อง จากนั้นจะต้องแนบแบบคำร้องพร้อมกับสำเนาบัตรผู้นำเข้า-ส่งออก ซึ่งเพิ่งได้รับมา (ในจุดนี้อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการถ่ายเสำเนาบัตรนะครับ ถ้าท่านใดอยากหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายตรงนี้ อาจจะต้องพิจารณานำเครื่องถ่ายเอกสารแบบพกพามาเองครับ แต่ว่าเพื่อความสะดวกทางกรมฯ มีบริการถ่ายสำเนาให้ ถ้าจำไม่ผิด 6 บาทครับ)
5.เมื่อยื่นเอกสารไปแล้วนั่งรอสักพัก ก็จะได้รับใบอนุญาตเป็นผู้นำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติมา (ซึ่งใบนี้เราสามารถเก็บไว้ใช้ได้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายครับ)
6.เดินทางต่อไปที่ชั้น 10 อาคารเดิม เพื่อติดต่อหน่วยงานนวัตกรรม (ขออภัยนะครับหากชื่อผิด แต่ผมจำได้ว่านวัตกรรม) แจ้งเจ้าหน้าที่ไปว่าต้องการมาแจ้งนำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติ เจ้าหน้าที่จะสอบถามว่าสินค้ามาถึงไทยหรือยัง (เพราะมีหลายคนที่ไม่ทราบว่าต้องขออนุญาตนำเข้าก่อน และโดนศุลกากรยึดของเอาไว้) ซึ่งตามหลักการแล้วจะต้องดำเนินการขออนุญาตนำเข้าล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนสินค้ามาถึงท่าครับ
7.เจ้าหน้าที่จะมีเอกสารให้กรอกเกี่ยวกับข้อมูลผู้นำเข้า รายการเครื่องพิมพ์ที่จะนำเข้า, ราคา, พิกัดภาษี, วัตถุประสงค์ของการนำเข้า รวมถึงกำหนดการที่สินค้าจะมาถึงไทย (ในส่วนไหนที่ข้อมูลยังไม่ชัดเจน เช่น ไฟลท์บิน, เลขกำกับใบขน, วันที่สินค้าจะถึงไทย ก็สามารถเว้นว่างหรือใส่ค่าประมาณการเอาไว้ได้ครับ)
8.หลังจากกรอกเอกสารเสร็จให้แนบเอกสารข้อมูลเครื่องพิมพ์ที่เราเตรียมมาไปด้วย เพื่อประกอบการพิจารณา เจ้าหน้าที่จะนำเอกสารไปตรวจสอบและให้หมายเลขกำกับ พร้อมคืนเอกสารตัวจริงกลับมาให้เราครับ เป็นอันจบขั้นตอนแรก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
9.เพื่อความมั่นใจผมติดต่อไปหาบริษัท Prusa Research (ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องพิมพ์ Prusa i3 MK3S KIT) ว่าให้ดำเนินการส่งของออกมาหลังวันที่ 2 ตุลาคม 2563 ซึ่งทาง Prusa ก็รับทราบและส่งออกมาให้วันที่ 5 ตุลาคม ที่ผ่านมา
---ขั้นตอนที่ 2---
หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนแรกไป ผมกลับมาดูต่อว่าการจะนำเครื่องพิมพ์เข้ามานั้น นอกจากส่วนของการขออนุญาตแล้วจะต้องดำเนินการเรื่องใดต่อบ้าง พบว่าจะต้องมีการลงทะเบียนเป็นผู้ดำเนินพิธีศุลกากร กับกรมศุลกากรด้วย ไม่รอช้าผมยกหูโทรศัพท์สอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ DHL ทันที (หลายๆ คนอาจจะส่งสัยว่าทำไมต้อง DHL นั้นก็เพราะว่าปัจจุบันทาง Prusa จะดำเนินการส่งเครื่องพิมพ์ผ่านทาง DHL เท่านั้น)
หลังจากคุยกับเจ้าหน้าที่ Call Center และอธิบายกันไปสักพักเจ้าหน้าที่จึงสอบถามกลับมาว่าได้ลงทะเบียน Paperless และมอบอำนาจ Broker ให้ DHL หรือยัง (DHL จะเรียกการลงทะเบียนผู้ดำเนินพิธีศุลกากร ว่าการลงทะเบียน Paperless นะครับเพราะหลังจากลงทะเบียนแล้วเราจะสามารถดำเนินการด้านเอกสารต่างๆ ในส่วนของพิธีการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เลย) ซึ่งถ้ายังเนี่ย DHL มีค่าดำเนินการที่ 2,000 บาทนะ และเอกสารมีอายุ 6 เดือน ถ้าไม่มีการนำเข้ามาเลยในระยะเวลาที่กำหนด เอกสารก็จะหมดอายุไปและต้องทำใหม่
ถึงจุดนี้ผมเริ่มคิดละทำไมค่าดำเนินการถึงได้แพงขนาดนี้ แต่ก็เงียบๆ ไปเพราะเจ้าหน้าที่แจ้งว่าถ้าสนใจให้ติดต่อไปอีกฝ่ายที่ดูแลส่วนนี้โดยตรง พร้อมกับให้เบอร์โทรศัพท์มา
หลังจากนั้นไม่นานผมจึงเริ่มมองหา shipping ที่จะเข้ามาดูแลส่วนนี้ให้โดยผมเลือกมา 4 เจ้า 3 เจ้าแรกเงียบหลังจากได้ผมแจ้งความต้องการเรื่องการนำเข้าไป ซึ่งผมเองก็ไม่มั่นใจว่าเพราะอะไรถึงได้เงียบๆ หายไป อาจจะเป็นเพราะไม่คุ้มค่าดำเนินการหรืออาจจะเพราะเงื่อนไขอื่นๆ ซึ่งไม่ทราบได้ แต่ผมเองก็แจ้งกับทุกรายไปว่าผมดำเนินการเสร็จหมดแล้ว แค่ต้องการตัวแทนไปเคลียร์ของออกมา ไม่ต้องเปลี่ยนชื่อผู้นำเข้า ส่วนเจ้าที่ 4 คิดเป็นราคาเหมากลับมาประมาณเกือบครึ่งหมื่น ผมเลยขอหยุดเอาไว้ก่อนและกลับมาศึกษาอีกครั้งว่าการดำเนินการตรงจุดนี้จะต้องทำอย่างไรบ้าง และทำเองได้ไหม
หลังจากเสียเวลาศึกษากันอยู่พักใหญ่ๆ จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ซึ่งใกล้จะถึงกำหนดส่งของออกมาจากประเทศต้นทางเต็มทีแล้ว ผมตัดสินใจกลับไปหา DHL อีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้แตกต่างออกไป ผมตัดสินใจติดต่อผ่านทาง Live Chat เผื่อจะต้องมีการส่งข้อมูลอะไรต่างๆ จะได้ไม่ตกหล่น เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลกลับมาค่อนข้างละเอียดและสร้างความประทับใจให้ผมค่อนข้างมาก รวมถึงให้ผมส่งอีเมลเข้าไปทันทีเพื่อจะได้รีบแจ้งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลเคสของผม ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งว่าอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเรื่องเอกสาร Paperless ประมาณ 1,500 บาท (ตรงจุดนี้สร้างความสบสนให้ผมอีกครั้งเพราะรอบแรกอีกคนบอก 2,000 รอบนี้บอก 1,500 บาท แต่มาถึงจุดนี้แล้วผมตัดสินใจเดินต่อเลย เสียก็เสียถือว่าจะได้รู้เงื่อนไขกันไป)
ส่งอีเมลรายละเอียดออกไปสักพักก็ได้รับอีเมลตอบกลับถึงขั้นตอนและเอกสารที่จะต้องใช้ในการยื่นจด paperless หลังจากเตรียมเอกสารเสร็จเจ้าหน้าที่จะขอให้เราสแกนกลับไปให้ตรวจก่อน เพื่อจะได้แก้ไขกันก่อนหากมีเอกสารผิด จากนั้นเจ้าหน้าที่แจ้งว่าจะส่งแมสเซนเจอร์มารับเอกสาร ซึ่งผมแจ้งไปว่าขอให้เร่งดำเนินการได้ไหมเนื่องจากตอนนี้วันที่ 5 แล้วอีกไม่เกิน 2 วัน สินค้าผมน่าจะถึงไทย เจ้าหน้าที่รับปากแล้วเงียบหายไป
เย็นวันนั้นผมตัดสินใจโทรฯ เข้าไปสอบถามจึงได้ความว่า จริงแล้วๆ DHL มีทางเลือกให้เรา 3 ทางครับ สำหรับการทำ Paperless
1. ให้ DHL เป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมด โดยเราส่งสำเนาบัตรประชาชนให้ - มีค่าใช้จ่าย 1,500 บาท
2. ให้ DHL เป็นตัวแทนยื่นเอกสารให้ โดยเราส่งบัตรประชาชนตัวจริงไปให้ - ใช้เอกสารหนังสือมอบอำนาจและบัตรประชาชนตัวจริง - ไม่มีค่าใช้จ่าย
3. ไปยื่นเอกสารด้วยตนเองที่กรมศุลกากร สนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีเจ้าหน้าที่ DHL รออยู่ที่กรมฯ และช่วยอำนวยความสะดวกให้ - ไม่มีค่าใช้จ่าย
ด้วยความรีบของผมจึงตัดสินใจที่จะเลือกข้อ 3 เพราะเราสามารถนำเอกสารไปดำเนินการเองได้โดยไม่ต้องรอแมสเซอนเจอร์ ซึ่งคาดว่าจะมารับเอกสารในวันที่ 6 และกว่าจะได้ดำเนินการอาจจะต้องรอถึงวันที่ 7
ช่วงค่ำของวันเดียวกัน (วันที่ 5 ตุลาคม) ทาง Prusa แจ้งว่าได้ดำเนินการส่งเครื่องพิมพ์ออกจากโรงงานมาแล้ว พร้อมกับหมายเลข Tracking Number ผมจึงรีบดำเนินการโทรฯ เข้าไปแจ้ง DHL ก่อนเลยว่าจะมีสินค้าส่งมาที่ไทย ต้องการดำเนินพิธีศุลกากรเต็มรูปแบบ โดยใช้ใบอนุญาตนำเข้า ขั้นตอนนี้สำคัญมากนะครับ เพราะถ้าไม่แจ้งทาง DHL จะไม่ได้เตรียมเจ้าหน้าที่มาเคลียร์เต็มรูปแบบให้เราตั้งแต่แรก และจะต้องเสียเวลาตามเอกสารกันอีกวันแน่นอน รวมถึงของเราจะโดนลงคลังยาวๆ ด้วยครับ เนื่องจาก DHL จะไปดูส่วนอื่นที่เคลียร์ได้ก่อน
*** มีต่อ ***