TDRI ชี้ ราชการไทยเหมือนระบบปฏิบัติการ “ล้าสมัย-เป็นภาระ-ต้นทุนสูง”
https://voicetv.co.th/read/bZ_gLDD44
สมเกียรติ ชี้ ราชการไทยถ้าไม่ปรับตัว ประเทศจะถดถอย แก้ปัญหาไม่ได้ แนะให้เริ่มจากมีรัฐธรรมนูญที่ตอบโจทย์ประชาชนอย่างแท้จริง
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ประสิทธิภาพของระบบราชการของไทยอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น โดยสิ่งที่น่าเป็นกังวลคือ หากปล่อยให้ขีดความสามารถเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่ช้าประเทศจะเดินถอยหลังและไม่สามารถแก้ปัญหาสำคัญได้
ประธานทีดีอาร์ไอชี้ว่า นับตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิดขึ้น ยังเป็นความโชคดีที่รัฐไทยมีขีดความสามารถด้านสาธารณสุขและการบริหารเศรษฐกิจมหภาคสูง ประกอบกับความร่วมมืออย่างดีจากประชาชน จนทำให้ไทยไม่ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เลวร้าย
อย่างไรก็ตาม รัฐกลับมีขีดความสามารถต่ำในอีกหลายด้านสำคัญ อาทิ การให้ความช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน แนวทางพัฒนาทักษะแรงงานผ่านระบบศึกษาและการฝึกอบรม ไปจนถึงการส่งเสริมเรื่องการวิจัยและพัฒนาและการบริหารเศรษฐกิจเพื่อลดการผูกขาดทางการค้าและความเหลื่อมล้ำ
ด้วยเหตุนี้ เมื่อมองโดยรวมแล้ว รัฐไทยจึงไม่ได้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าในระดับสูง ซ้ำร้ายยังเป็นที่มาให้ไทยติดอยู่กับ
‘กับดักรายได้ปานกลาง’ มาเป็นเวลานาน
สมเกียรติ เสริมว่า หากเปรียบรัฐไทยเป็นระบบคอมพิวเตอร์ จะพบว่าระบบราชการซึ่งเปรียบเสมือนระบบปฏิบัติการ (os) ของภาครัฐมีปัญหาอยู่มากในแทบทุกขั้นตอนการทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนสูงต่อสังคม ทั้งยังเป็นต้นทุนที่ไม่คุ้มค่าด้วย
“ระบบราชการเสมือน os ที่ตอบสนองช้า หน่วยความจำน้อย ล้าสมัย สร้างภาระให้ประชาชน” สมเกียรติ แจง
ด้วยเหตุนี้ ประธานทีดีอาร์ไอ เสนอว่ารัฐบาลต้องหันกลับมาปฏิรูปตนเอง ผ่านการกลับมาเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานตอบสนองความต้องการของประชาชน พร้อมกับการปฏิรูปกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ส่งเสริมให้มีการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที
อย่างไรก็ตามสถาบันวิจัยย้ำว่า การปฏิรูปทั้งหมดต้องเริ่มจากการสร้างกติกาบ้านเมือง หรือ รัฐธรรมนูญ ให้เกิดรัฐบาลประชาธิปไตยที่ตอบสนองต่อประชาชนและมีขีดความสามารถสูง ซึ่งทีดีอาร์ไอแนะให้หันไปยึดต้นแบบจากรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ.2540
ราชการอ่อนแอดันเศรษฐกิจยาก
https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1945826
นาย
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานสภาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาประจำปี 63 “
แฮกระบบราชการเปลี่ยนระบบปฏิบัติการประเทศ” ในหัวข้อรัฐและระบบราชการไทยความท้าทายข้างหน้าของประเทศว่า จากการสำรวจของทีดีอาร์ไอ พบว่า โควิด-19 ทำให้คนไทย 75% มีรายได้ลดลงจากช่วงก่อนหน้า และมากกว่า 40% รายได้ลดลงมากกว่า 50% โดยคนจน หรือคนที่จนกว่า มีรายได้ลดลงมากกว่าคนที่มีรายได้มากกว่า ทำให้มีความเป็นไปได้ที่หลังโควิด-19 คนชั้นกลางจำนวนหนึ่งจะกลายเป็นคนจน และคนจนอยู่แล้วจะกลายเป็นคนยากจนเข็ญใจ ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำของประเทศสูงขึ้น กระทบต่อระบบเศรษฐกิจประเทศ
นอกจากนี้ ผลจากโควิด-19 ซึ่งทำให้ภาคเอกชนมีปัญหา ไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และดูแลตัวเองได้นั้น จะยิ่งทำให้ภาระการแก้ปัญหาประเทศ และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจถูกส่งกลับมาที่รัฐบาล และระบบราชการ ซึ่งนานแล้วไม่เคยเกิดขึ้นเช่นนี้ จึงไม่แน่ใจว่าระบบราชการขณะนี้ จะรองรับภาระนี้ได้เพียงใด เพราะไม่ได้ปฏิรูปมานานแล้ว ขณะที่เอกชนและภาคส่วนอื่นกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และที่ผ่านมา หากรัฐบาล หรือผู้มีอำนาจดีและเข้มแข็ง จะขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการไปในทางที่ดีได้ แต่การมีนักการเมืองบริหารประเทศ หากรัฐบาล หรือผู้บริหารประเทศหวังพึ่งแต่ระบบราชการ ซึ่งอ่อนแออยู่แล้วเหมือนปัจจุบัน ประเทศจะเดินหน้าได้ยาก
ดังนั้น เพื่อที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ระบบราชการต้องปรับเปลี่ยน 5 เรื่อง คือ
1. เพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืน โดยเปลี่ยนจากผู้คุมกฎเป็นผู้สนับสนุน ลดทอนกฎเกณฑ์ และกฎหมายที่เพิ่มต้นทุน ความยุ่งให้กับภาคเอกชน และระบบเศรษฐกิจ เร่งปฏิรูประบบการศึกษา และรัฐวิสาหกิจ
2. เพิ่มความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในทุกกรณี ลดการทุจริต และการเอื้อประโยชน์แก่คนบางกลุ่ม
3. เพิ่มความทั่วถึงและเป็นธรรม ลดการช่วยเหลือแบบเกาไม่ถูกที่คัน และทำนโยบายแบบเฉพาะจุด เฉพาะที่มากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีอำนาจอย่างเหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นด้วยตัวเอง
4. ระบบราชการต้องร่วมมือกันเอง และร่วมมือผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาให้ลุล่วง
และ 5. สร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการ ทำหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของประเทศเป็นเป้าหมาย โดยอาจให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเพื่อจูงใจ แต่ที่สำคัญคือ ต้องปลุกจิตสำนึกในการทำงานเพื่อประชาชนให้เข้มแข็งต่อเนื่อง.
JJNY : TDRI ชี้ราชการไทย“ล้าสมัย-เป็นภาระ-ต้นทุนสูง”/ราชการอ่อนแอดันเศรษฐกิจยาก/ทั่วโลกป่วยโควิด35.6ล./ติดเชื้อใหม่10
https://voicetv.co.th/read/bZ_gLDD44
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ประสิทธิภาพของระบบราชการของไทยอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น โดยสิ่งที่น่าเป็นกังวลคือ หากปล่อยให้ขีดความสามารถเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่ช้าประเทศจะเดินถอยหลังและไม่สามารถแก้ปัญหาสำคัญได้
ประธานทีดีอาร์ไอชี้ว่า นับตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิดขึ้น ยังเป็นความโชคดีที่รัฐไทยมีขีดความสามารถด้านสาธารณสุขและการบริหารเศรษฐกิจมหภาคสูง ประกอบกับความร่วมมืออย่างดีจากประชาชน จนทำให้ไทยไม่ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เลวร้าย
อย่างไรก็ตาม รัฐกลับมีขีดความสามารถต่ำในอีกหลายด้านสำคัญ อาทิ การให้ความช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน แนวทางพัฒนาทักษะแรงงานผ่านระบบศึกษาและการฝึกอบรม ไปจนถึงการส่งเสริมเรื่องการวิจัยและพัฒนาและการบริหารเศรษฐกิจเพื่อลดการผูกขาดทางการค้าและความเหลื่อมล้ำ
ด้วยเหตุนี้ เมื่อมองโดยรวมแล้ว รัฐไทยจึงไม่ได้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าในระดับสูง ซ้ำร้ายยังเป็นที่มาให้ไทยติดอยู่กับ ‘กับดักรายได้ปานกลาง’ มาเป็นเวลานาน
สมเกียรติ เสริมว่า หากเปรียบรัฐไทยเป็นระบบคอมพิวเตอร์ จะพบว่าระบบราชการซึ่งเปรียบเสมือนระบบปฏิบัติการ (os) ของภาครัฐมีปัญหาอยู่มากในแทบทุกขั้นตอนการทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนสูงต่อสังคม ทั้งยังเป็นต้นทุนที่ไม่คุ้มค่าด้วย
“ระบบราชการเสมือน os ที่ตอบสนองช้า หน่วยความจำน้อย ล้าสมัย สร้างภาระให้ประชาชน” สมเกียรติ แจง
ด้วยเหตุนี้ ประธานทีดีอาร์ไอ เสนอว่ารัฐบาลต้องหันกลับมาปฏิรูปตนเอง ผ่านการกลับมาเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานตอบสนองความต้องการของประชาชน พร้อมกับการปฏิรูปกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ส่งเสริมให้มีการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที
อย่างไรก็ตามสถาบันวิจัยย้ำว่า การปฏิรูปทั้งหมดต้องเริ่มจากการสร้างกติกาบ้านเมือง หรือ รัฐธรรมนูญ ให้เกิดรัฐบาลประชาธิปไตยที่ตอบสนองต่อประชาชนและมีขีดความสามารถสูง ซึ่งทีดีอาร์ไอแนะให้หันไปยึดต้นแบบจากรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ.2540
ราชการอ่อนแอดันเศรษฐกิจยาก
https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1945826
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานสภาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาประจำปี 63 “แฮกระบบราชการเปลี่ยนระบบปฏิบัติการประเทศ” ในหัวข้อรัฐและระบบราชการไทยความท้าทายข้างหน้าของประเทศว่า จากการสำรวจของทีดีอาร์ไอ พบว่า โควิด-19 ทำให้คนไทย 75% มีรายได้ลดลงจากช่วงก่อนหน้า และมากกว่า 40% รายได้ลดลงมากกว่า 50% โดยคนจน หรือคนที่จนกว่า มีรายได้ลดลงมากกว่าคนที่มีรายได้มากกว่า ทำให้มีความเป็นไปได้ที่หลังโควิด-19 คนชั้นกลางจำนวนหนึ่งจะกลายเป็นคนจน และคนจนอยู่แล้วจะกลายเป็นคนยากจนเข็ญใจ ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำของประเทศสูงขึ้น กระทบต่อระบบเศรษฐกิจประเทศ
นอกจากนี้ ผลจากโควิด-19 ซึ่งทำให้ภาคเอกชนมีปัญหา ไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และดูแลตัวเองได้นั้น จะยิ่งทำให้ภาระการแก้ปัญหาประเทศ และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจถูกส่งกลับมาที่รัฐบาล และระบบราชการ ซึ่งนานแล้วไม่เคยเกิดขึ้นเช่นนี้ จึงไม่แน่ใจว่าระบบราชการขณะนี้ จะรองรับภาระนี้ได้เพียงใด เพราะไม่ได้ปฏิรูปมานานแล้ว ขณะที่เอกชนและภาคส่วนอื่นกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และที่ผ่านมา หากรัฐบาล หรือผู้มีอำนาจดีและเข้มแข็ง จะขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการไปในทางที่ดีได้ แต่การมีนักการเมืองบริหารประเทศ หากรัฐบาล หรือผู้บริหารประเทศหวังพึ่งแต่ระบบราชการ ซึ่งอ่อนแออยู่แล้วเหมือนปัจจุบัน ประเทศจะเดินหน้าได้ยาก
ดังนั้น เพื่อที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ระบบราชการต้องปรับเปลี่ยน 5 เรื่อง คือ
1. เพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืน โดยเปลี่ยนจากผู้คุมกฎเป็นผู้สนับสนุน ลดทอนกฎเกณฑ์ และกฎหมายที่เพิ่มต้นทุน ความยุ่งให้กับภาคเอกชน และระบบเศรษฐกิจ เร่งปฏิรูประบบการศึกษา และรัฐวิสาหกิจ
2. เพิ่มความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในทุกกรณี ลดการทุจริต และการเอื้อประโยชน์แก่คนบางกลุ่ม
3. เพิ่มความทั่วถึงและเป็นธรรม ลดการช่วยเหลือแบบเกาไม่ถูกที่คัน และทำนโยบายแบบเฉพาะจุด เฉพาะที่มากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีอำนาจอย่างเหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นด้วยตัวเอง
4. ระบบราชการต้องร่วมมือกันเอง และร่วมมือผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาให้ลุล่วง
และ 5. สร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการ ทำหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของประเทศเป็นเป้าหมาย โดยอาจให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเพื่อจูงใจ แต่ที่สำคัญคือ ต้องปลุกจิตสำนึกในการทำงานเพื่อประชาชนให้เข้มแข็งต่อเนื่อง.