เห็นข่าวการเลือกตั้ง การดีเบตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาแล้วเลยมานั่งคิด อยากชวนคุยเรื่องการเมืองหน่อยครับ (ทั้งที่ไม่อยาก และหลีกเลี่ยงมาตลอด)
ประเด็นที่หนึ่ง: ที่สหรัฐอเมริกาก็แบ่งข้างทางการเมืองเป็นสองกลุ่มชัดเจน เดโมเครต กับรีพับรีกัน ซึ่งไม่ใช่แค่พรรคการเมือง แต่หมายถึงวิถีชิวิตด้วย เช่น อนุรักษณ์นิยม (รีพับรีกัน) หรือก้าวหน้า (เดโมแครต) เวลาเลือกตั้งเขาก็รณรงค์กันรุนแรง ด่ากันไปมา แทบจะวางมวยกัน หลังเลือกตั้งก็มีการประท้วงถึงขั้นเผาบ้านเผาเมือง แต่สุดท้ายพอผ่านไประยะเวลาหนึ่ง
ทำไมเขาอยู่ร่วมกันได้ ไม่ต้องเห็นมีการปฏิวัติ ยึดอำนาจ เพื่อ (อ้างว่า) รักษาความสงบเรียบร้อยเหมือนบ้านเรา
ประเด็นที่สอง: การยอมรับผลเลือกตั้ง จากกรณีการเลือกตั้งเมื่อสี่ปีที่แล้ว ตอนประกาศผลใหม่ๆ คนที่ไม่ชอบโดนัลด์ ทรัมป์ ก็ออกมาประท้วงกันวุ่นวายจนกลายเป็นจราจล เผาบ้านเผาเมืองกัน แต่ทำไมพอเวลาผ่านไป ก็กลับสู่ภาวะปกติ ทำมาหากินกันเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น คนที่เกลียดทรัมป์ ก็ยังคงเกลียด ด่าเช้าด่าเย็น คนที่สนับสนุนก็เชียร์กันไป แต่ก็อยู่กันได้สงบดี นักการเมืองก็ไปทำหน้าที่จ้องจะล้มกันในสภา ส่วนประชาชนก็ทำมาหากิน วิจารณ์ เชียร์ ด่ากันไปตามปกติ มีประท้วง แสดงออกบ้างตามวาระต่างๆ
ข้อสังเกตุของจขกท.: เป็นไปได้ใหมครับว่าเหตุผลเกิดจากการที่รัฐธรรมนูญเขาเขียนเอาไว้ว่า "ประธานาธิบดี สามารถอยู่ในตำแหน่งได้แค่สองสมัย (แปดปี)" ไม่มีข้อยกเว้น ดังนั้นพวกที่แพ้ ตอนแรกอาจจะแสดงพลังซะหน่อย เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่า คนนี้พวกเราไม่ได้เลือก ไม่เอา ไม่ชอบ เสร็จแล้วก็แยกย้าย รอเวลาอีกสี่ปี (ถ้าได้ก่อนก็ดี ถ้าไม่ได้ก็รอ ยังไงก็แค่สี่ปี) แล้วค่อยเลือกใหม่ โอเค....ถ้าเลือกใหม่ยังแพ้อีก ก็ทนมันอีกสี่ปี สุดท้ายยังไงครบแปดปีคนที่เราเกลียดมันก็ต้องไปอยู่ดี เป็นแบบนี้ใหมครับ
ข้อสังเกตุ: คนอเมริกันมักจะเลือกพรรคหนึ่งติดกันสองสมัย แล้วก็จะเปลี่ยนไปเลือกอีกพรรคหนึ่งตลอด เช่น เลือกโอบามาจากเดโมแครตสองสมัย บางครั้งสมัยที่สองอาจจะไม่ได้ชอบมาก แต่ก็ยังเลือก เหมือนเพื่อให้โอกาสทำงานต่อ แต่พอครบสองสมัย ก็เปลี่ยนมาเลือกทรัมป์จากรีพับรีกันแบบเหลือเชื่อ เหมือนไม่ยอมให้พรรคใดพรรคหนึ่งครองอำนาจยาวนาน แต่ก็ไม่ให้เปลี่ยนไปมาเร็วๆ จนนโยบาย การพัฒนาประเทศไม่ต่อเนื่อง
คำถามที่อยากชวนสนทนากัน: มีโอกาสใหมที่การเมืองไทยจะเป็นแบบนั้นบ้าง เช่น มีขั้วการเมืองสองขั้ว แล้วแต่ละขั้วมีโอกาสบริหารประเทศได้ครั้งละสองสมัยเท่านั้น ดังนั้นเราไม่ชอบใคร ทนๆไป ด่าๆไป ยังไงครบสี่ปีก็เลือกใหม่ เลือกใหม่แล้วแพ้ ก็ทนอีกสี่ปี ยังไงคนที่เราไม่ชอบมันก็ต้องไป แล้วถ้าอยากให้เป็นแบบนั้น เราควรต้องร่างรัฐธรรมนูญการปกครองเป็นแบบใหนครับ
ผมไม่ได้หมายถึงว่าให้เปลี่ยนเป็นระบบประธานาธิบดีนะครับ ถ้าเป็นระบบรัฐสภาของเราทุกวันนี้ เราต้องปรับยังไงครับ
ส่วนตัวผมเสียดายช่วงยุคสมัยคุณทักษิณ ที่เรามีพรรคการเมืองใหญ่สองขั้วชัดเจน ถ้าตอนนั้นเรามีกฏเกณฑ์คล้ายๆกับที่สหรัฐอเมริกา คนที่เกลียดคุณทักษิณยังไงรอจนครบแปดปี สุดท้ายคุณทักษิณก็ต้องไป จากนั้นคนที่ตัวเองชื่นชอบ (อาจจะเป็นคุณอภิสิทธิ์) ก็มาเป็นแทน ฝ่ายที่ไม่ชอบก็ทนไปสี่ปี หรืออย่างมากแปดปี คุณอภิสิทธิ์ก็ต้องไป ถ้าเป็นแบบนี้เราก็ไม่ต้องพึ่งพาวิธีนอกระบบ แล้วก็เปลี่ยนรัฐธรรมนูญกันมากมายหลายฉบับไม่จบไม่สิ้นเสียที ดูอย่างที่สหรัฐฯ เขามีรัฐธรรมนูญฉบับเดียว (ซึ่งมีการแก้ไข ไม่แน่ใจว่ากี่ครั้ง) แต่เขาก็ปกครองประเทศที่มีพื้นที่ และประชากรมากกว่ากว่าเราหลายเท่าตัวได้ เพราะอะไรครับ
รบกวนท่านใดมีความรู้ หรืออาจจะอยู่ที่ US จนรู้จริงมากกว่าผมที่เห็นจากข่าว ร่วมแสดงความเห็นหน่อยครับ แลกเปลี่ยนกันแบบเหตุผลนะครับ รับฟังและเคารพทุกความเห็นครับ ขอบคุณครับ
cr: ภาพประกอบจาก bbc news
ชวนคุยเรื่องการเมือง (ทั้งที่ไม่อยาก) - การแบ่งข้างทางการเมืองบ้านเรา มีโอกาสพัฒนาเป็นเหมือนในสหรัฐอเมริกาใหมครับ
ประเด็นที่หนึ่ง: ที่สหรัฐอเมริกาก็แบ่งข้างทางการเมืองเป็นสองกลุ่มชัดเจน เดโมเครต กับรีพับรีกัน ซึ่งไม่ใช่แค่พรรคการเมือง แต่หมายถึงวิถีชิวิตด้วย เช่น อนุรักษณ์นิยม (รีพับรีกัน) หรือก้าวหน้า (เดโมแครต) เวลาเลือกตั้งเขาก็รณรงค์กันรุนแรง ด่ากันไปมา แทบจะวางมวยกัน หลังเลือกตั้งก็มีการประท้วงถึงขั้นเผาบ้านเผาเมือง แต่สุดท้ายพอผ่านไประยะเวลาหนึ่ง ทำไมเขาอยู่ร่วมกันได้ ไม่ต้องเห็นมีการปฏิวัติ ยึดอำนาจ เพื่อ (อ้างว่า) รักษาความสงบเรียบร้อยเหมือนบ้านเรา
ประเด็นที่สอง: การยอมรับผลเลือกตั้ง จากกรณีการเลือกตั้งเมื่อสี่ปีที่แล้ว ตอนประกาศผลใหม่ๆ คนที่ไม่ชอบโดนัลด์ ทรัมป์ ก็ออกมาประท้วงกันวุ่นวายจนกลายเป็นจราจล เผาบ้านเผาเมืองกัน แต่ทำไมพอเวลาผ่านไป ก็กลับสู่ภาวะปกติ ทำมาหากินกันเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น คนที่เกลียดทรัมป์ ก็ยังคงเกลียด ด่าเช้าด่าเย็น คนที่สนับสนุนก็เชียร์กันไป แต่ก็อยู่กันได้สงบดี นักการเมืองก็ไปทำหน้าที่จ้องจะล้มกันในสภา ส่วนประชาชนก็ทำมาหากิน วิจารณ์ เชียร์ ด่ากันไปตามปกติ มีประท้วง แสดงออกบ้างตามวาระต่างๆ
ข้อสังเกตุของจขกท.: เป็นไปได้ใหมครับว่าเหตุผลเกิดจากการที่รัฐธรรมนูญเขาเขียนเอาไว้ว่า "ประธานาธิบดี สามารถอยู่ในตำแหน่งได้แค่สองสมัย (แปดปี)" ไม่มีข้อยกเว้น ดังนั้นพวกที่แพ้ ตอนแรกอาจจะแสดงพลังซะหน่อย เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่า คนนี้พวกเราไม่ได้เลือก ไม่เอา ไม่ชอบ เสร็จแล้วก็แยกย้าย รอเวลาอีกสี่ปี (ถ้าได้ก่อนก็ดี ถ้าไม่ได้ก็รอ ยังไงก็แค่สี่ปี) แล้วค่อยเลือกใหม่ โอเค....ถ้าเลือกใหม่ยังแพ้อีก ก็ทนมันอีกสี่ปี สุดท้ายยังไงครบแปดปีคนที่เราเกลียดมันก็ต้องไปอยู่ดี เป็นแบบนี้ใหมครับ
ข้อสังเกตุ: คนอเมริกันมักจะเลือกพรรคหนึ่งติดกันสองสมัย แล้วก็จะเปลี่ยนไปเลือกอีกพรรคหนึ่งตลอด เช่น เลือกโอบามาจากเดโมแครตสองสมัย บางครั้งสมัยที่สองอาจจะไม่ได้ชอบมาก แต่ก็ยังเลือก เหมือนเพื่อให้โอกาสทำงานต่อ แต่พอครบสองสมัย ก็เปลี่ยนมาเลือกทรัมป์จากรีพับรีกันแบบเหลือเชื่อ เหมือนไม่ยอมให้พรรคใดพรรคหนึ่งครองอำนาจยาวนาน แต่ก็ไม่ให้เปลี่ยนไปมาเร็วๆ จนนโยบาย การพัฒนาประเทศไม่ต่อเนื่อง
คำถามที่อยากชวนสนทนากัน: มีโอกาสใหมที่การเมืองไทยจะเป็นแบบนั้นบ้าง เช่น มีขั้วการเมืองสองขั้ว แล้วแต่ละขั้วมีโอกาสบริหารประเทศได้ครั้งละสองสมัยเท่านั้น ดังนั้นเราไม่ชอบใคร ทนๆไป ด่าๆไป ยังไงครบสี่ปีก็เลือกใหม่ เลือกใหม่แล้วแพ้ ก็ทนอีกสี่ปี ยังไงคนที่เราไม่ชอบมันก็ต้องไป แล้วถ้าอยากให้เป็นแบบนั้น เราควรต้องร่างรัฐธรรมนูญการปกครองเป็นแบบใหนครับ ผมไม่ได้หมายถึงว่าให้เปลี่ยนเป็นระบบประธานาธิบดีนะครับ ถ้าเป็นระบบรัฐสภาของเราทุกวันนี้ เราต้องปรับยังไงครับ
ส่วนตัวผมเสียดายช่วงยุคสมัยคุณทักษิณ ที่เรามีพรรคการเมืองใหญ่สองขั้วชัดเจน ถ้าตอนนั้นเรามีกฏเกณฑ์คล้ายๆกับที่สหรัฐอเมริกา คนที่เกลียดคุณทักษิณยังไงรอจนครบแปดปี สุดท้ายคุณทักษิณก็ต้องไป จากนั้นคนที่ตัวเองชื่นชอบ (อาจจะเป็นคุณอภิสิทธิ์) ก็มาเป็นแทน ฝ่ายที่ไม่ชอบก็ทนไปสี่ปี หรืออย่างมากแปดปี คุณอภิสิทธิ์ก็ต้องไป ถ้าเป็นแบบนี้เราก็ไม่ต้องพึ่งพาวิธีนอกระบบ แล้วก็เปลี่ยนรัฐธรรมนูญกันมากมายหลายฉบับไม่จบไม่สิ้นเสียที ดูอย่างที่สหรัฐฯ เขามีรัฐธรรมนูญฉบับเดียว (ซึ่งมีการแก้ไข ไม่แน่ใจว่ากี่ครั้ง) แต่เขาก็ปกครองประเทศที่มีพื้นที่ และประชากรมากกว่ากว่าเราหลายเท่าตัวได้ เพราะอะไรครับ
รบกวนท่านใดมีความรู้ หรืออาจจะอยู่ที่ US จนรู้จริงมากกว่าผมที่เห็นจากข่าว ร่วมแสดงความเห็นหน่อยครับ แลกเปลี่ยนกันแบบเหตุผลนะครับ รับฟังและเคารพทุกความเห็นครับ ขอบคุณครับ
cr: ภาพประกอบจาก bbc news