สงสัยมานานแล้วครับว่าทำไมตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลรัฐ จะต้องเป็น "แพทย์" เท่านั้น
เพราะแพทย์บางคนก็ไม่ได้เก่งในด้านบริหารจัดการเลย ยิ่งแพทย์จบใหม่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่อยากจะทำงานในสายงานตัวเองมากกว่าทั้งนั้น
ผมมองว่ามันเหมือนเป็นการตัดโอกาสวิชาชีพอื่น ที่เขาอาจจะมีศักยภาพในการบริหารโรงพยาบาลซ่อนอยู่ พูดง่ายๆก็คือ มีของในตัว แต่ไม่ได้ใช้นั่นแหละ
อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับคุณสมบัติในการสมัครคัดเลือก ผอ. บ้าง ส่วนหนึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางวิชาชีพลงด้วย
เป็นไปได้ก็อยากให้เปิดสอบผู้อำนวยการ เหมือนกับอาชีพครู ที่ครูถนัดสอนวิชาอะไรก็สามารถขึ้นเป็นผอ.ได้ แบบนั้นบ้าง
เข้าใจครับ ว่าค่านิยมของประเทศเราคือ หมอ เป็น Chief แต่ผมมองว่าการเป็น Clinical Chief มันไม่เท่ากับ Hospital Administrator นะครับ เอาจริงๆ ในหลักสูตรแพทย์แค่เรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติ หรือ RDU ที่เป็น service plan ยังไม่มีการบรรจุลงไปเลย ไม่ได้ดูแคลนวิชาชีพแพทย์นะครับ แต่การที่เรียน 6 ปีมาอย่างยากลำบาก และต่อเฉพาะทางอีก 3-4 ปี มันควรจะได้ใช้ Hard skill อย่างเต็มที่หรือเปล่า?
เพราะทุกปีๆ จำนวนแพทย์ที่ทำงานในหน่วยงานรัฐก็ขาดแคลนตลอด ทำไมยังดึงไปจับงานบริหารอยู่อีก มันย้อนแย้งชะมัด
มันถึงเวลาหรือยังที่ควรมีการปฏิรูประบบบริหารจัดการโรงพยาบาลของรัฐ แบบจริงๆจังๆ สักที ไม่ใช่แค่เปลี่ยนแต่นโยบาย สร้าง service plan กำหนดแต่เป้าหมาย แต่โครงสร้างภายในกลับไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลย
ผู้ใหญ่ในกระทรวงผ่านมารบกวนเก็บข้อคำถามไปพิจารณาด้วยนะครับ
เป็นไปได้ไหมที่ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล หรือวิชาชีพอื่นๆ จะขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลของรัฐ??
เพราะแพทย์บางคนก็ไม่ได้เก่งในด้านบริหารจัดการเลย ยิ่งแพทย์จบใหม่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่อยากจะทำงานในสายงานตัวเองมากกว่าทั้งนั้น
ผมมองว่ามันเหมือนเป็นการตัดโอกาสวิชาชีพอื่น ที่เขาอาจจะมีศักยภาพในการบริหารโรงพยาบาลซ่อนอยู่ พูดง่ายๆก็คือ มีของในตัว แต่ไม่ได้ใช้นั่นแหละ
อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับคุณสมบัติในการสมัครคัดเลือก ผอ. บ้าง ส่วนหนึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางวิชาชีพลงด้วย
เป็นไปได้ก็อยากให้เปิดสอบผู้อำนวยการ เหมือนกับอาชีพครู ที่ครูถนัดสอนวิชาอะไรก็สามารถขึ้นเป็นผอ.ได้ แบบนั้นบ้าง
เข้าใจครับ ว่าค่านิยมของประเทศเราคือ หมอ เป็น Chief แต่ผมมองว่าการเป็น Clinical Chief มันไม่เท่ากับ Hospital Administrator นะครับ เอาจริงๆ ในหลักสูตรแพทย์แค่เรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติ หรือ RDU ที่เป็น service plan ยังไม่มีการบรรจุลงไปเลย ไม่ได้ดูแคลนวิชาชีพแพทย์นะครับ แต่การที่เรียน 6 ปีมาอย่างยากลำบาก และต่อเฉพาะทางอีก 3-4 ปี มันควรจะได้ใช้ Hard skill อย่างเต็มที่หรือเปล่า?
เพราะทุกปีๆ จำนวนแพทย์ที่ทำงานในหน่วยงานรัฐก็ขาดแคลนตลอด ทำไมยังดึงไปจับงานบริหารอยู่อีก มันย้อนแย้งชะมัด
มันถึงเวลาหรือยังที่ควรมีการปฏิรูประบบบริหารจัดการโรงพยาบาลของรัฐ แบบจริงๆจังๆ สักที ไม่ใช่แค่เปลี่ยนแต่นโยบาย สร้าง service plan กำหนดแต่เป้าหมาย แต่โครงสร้างภายในกลับไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลย
ผู้ใหญ่ในกระทรวงผ่านมารบกวนเก็บข้อคำถามไปพิจารณาด้วยนะครับ