สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
ถ้า จกขท สงสัยว่ารัฐปกปิดตัวเลข เราว่าเป็นไปได้ยากมาก ถึงยากที่สุด ต้องไปเกิดเคสในที่ต่างจังหวัดห่างไกล ในบริเวณนั้นต้องไม่มีสันญาณอินเตอร์เนตเลยในระยะ 100 กิโลเมตรเลยค่ะ
เพราะเหตุผลง่ายๆ คือ อินเตอร์เนตเนี่ยแหละค่ะ มันต้องมีใครสักคนโพสแน่นอน ถ้าเห็นอะไรแปลกๆ เกิดขึ้น นี่เป็นนิสัยคนไทย จกขท อาจจะคิดว่า หมอช่วยปกปิดไง เจอเคสแล้วแต่ไม่บอกใคร เราบอกเลยค่ะว่ายากมาก
เรามีเพื่อนเป็นหมอ เค้าเล่าให้ฟังเลยว่าช่วงโควิด ต้องเตรียมพนักงานเป็นชุด ทั้งหมอ ทั้งพยาบาล ทั้งบุคลากรที่ต้องเกี่ยวข้อง เพื่อที่ว่าสลับกันทำงานหากมีผู้ป่วยติดโควิดเข้ามา ทีมที่เจอโควิดต้องกักตัวเอง 14 วัน แล้วเปลี่ยนทีมใหม่เข้ามาค่ะ เพราะฉะนั้นเจอเมื่อไหร่ หมอ พยาบาล เวรเปลชุดนั้น ต้องตรวจโควิดไปกักตัว ชุดใหม่เข้ามาทำงานกับผู้ป่วยโควิด ก็ต้องใส่ชุดกันที่เป็นพลาสติกค่ะ มันต้องมีคนเห็นค่ะ ส่วนฝั่งคนไข้เอง ต้องแยกวอร์ด แยกห้องไปอยู่ห้องความดันลบ ต้องแจ้งญาติ ญาติก็ต้องถูกเกณฑ์มาตรวจโควิด มากักตัว คนที่ผู้ป่วยสัมผัสก็ต้องตรวจโควิด คนเยอะขนาดนี้จะปิดยังไงคะ แล้วถ้ามีอินเตอร์เนตยังไงก็ต้องโพส สมมติอยู่พื้นที่ห่างไกลไม่มีเนต เราเชื่อว่าเล่าลือกันปากต่อปาก ไม่นานก็ไปถึงหูคนที่มีเนตไว้โพสอยู่ดี
เคสคนตายก็ทำแบบเดียวกันค่ะ พวกตายไม่ทราบสาเหตุนะคะ ขนาดคนเร่ร่อนตายไม่ทราบสาเหตุยังตรวจเลยค่ะ เพราะมิฉะนั้น คนเดือดร้อน คนบุคลากรในโรงพยาบาลแหละค่ะ ที่สัมผัสไปโดยมีความเสี่ยงติดเชื้อ
ส่วนทำไมคนป่วยเมืองไทย (สมมติมี) ถึงอาการน้อย จกขท ต้องลองไปอ่านงานวิจัยเรื่องโควิดดูค่ะ เราเคยอ่านตัวนึงบอกไว้ว่า คนที่ได้รับเชื้อโควิดไป คนที่แสดงอาการป่วย ระยะแรกคือไข้ พวกนี้อยู่ในขั้นตอนที่ร่างกายกำลังทำการกำจัดเชื้อออกไป แต่ต้องใช้ภูมิต้านทานมากอยู่ คนที่อาการหนักคือ เชื้อลงไปที่ปอด ขึ้นสมอง คือร่างกายกำจัดเองไม่ไหวแล้ว หรืออาจจะไหวก็ได้แต่ต้องใช้พลังงานมากร่างกายเริ่มรับไม่ไหว การไม่แสดงอาการ หมายถึง คนที่ได้รับเชื้อเข้าไปในปริมาณที่ร่างกายสามารถต้านทานโรคได้สบายๆ ในที่นี้คือ ร่างกายอาจจะแข็งแรงมาก หรือได้รับเชื้อน้อยมากจนร่างกายกำจัดเองไหว (นี่คือเหตุผลที่การแออัดบนรถไฟฟ้า ไม่ค่อยกลายเป็นปัญหาในกรณีที่ใส่แมสนะคะ เพราะมีงานวิจัยอีกตัวหนึ่งบอกว่า หากอยู่ร่วมกับผู้ป่วยในบริเวณเดียวกัน แต่ไม่นานเกิน 2 ชั่วโมง (ใส่แมสด้วย) ก็จะได้รับเชื้อในปริมาณที่ไม่มาก อันที่จริงมันมีตัวควบคุมหลายอย่างจำไม่ได้ค่ะ แต่ใจความคือราวๆ นี้)
ในทางระบาดวิทยา (ทฤษฏีนี้อ่านตั้งแต่โควิดระบาดใหม่ๆ) เวลาเชื้อแพร่กระจาย ปริมาณเชื้อจะลดลงเรื่อยๆ จาก คนที่ 1 ไป 2 ไป 3 ไป 4 ไป .. และสุดท้ายเชื้อก็จะหายไปในที่สุด ยิ่งเราใส่หน้ากาก เชื่อที่ได้รับก็อาจจะน้อยลงไปอีก (ไม่ถึงกับกันได้หมด แต่กรองได้บ้าง) แต่ที่ใช้ไม่ได้ผลในต่างประเทศ เราคิดเองว่า เพราะคน 1 คน ได้รับเชื้อหลายครั้งเกินไป เนื่องจากไม่มีการป้องกัน แมสไม่ได้ใส่แต่แรก การแพร่กระจายเกิดขึ้นเร็ว มีคนเป็นจำนวนมาก เวลาเดินอยู่ในชุมชน คน 1 คน อาจจะได้รับเชื้อหลายครั้งได้ รับครั้งแรกร่างกายกำจัดไหว รับครั้งที่ 2 เริ่มเป็นไข้ รับครั้งที่ 3 อาจจะไม่ไหวแล้วอะไรแบบนี้ค่ะ
การรณรงค์ใส่หน้ากาก ล้างมือ รักษาระยะในช่วงหนึ่งของเราจึงได้ผล เพราะระยะการแพร่ของโรคไม่นาน คนไทยเคร่งครัดกันอยู่ได้ ราว 2-3 เดือนหลังเปิดเมือง เราก็ว่าพอทำให้เชื้ออ่อนกำลังลงมาก ถ้าไม่ได้มีเคสนำเข้าที่แข็งแรงๆ จากต่างประเทศมาใหม่นะคะ
ให้ลองคิดเป็นภาพก็ได้ค่ะ สมมติคนเป็นโควิด 1 คนมีไวรัสในตัว 1000 ตัว เวลาไอ หรือพูดกับเพื่อน มีไวรัสออกมา 50 ตัว ถ้าไม่ใส่หน้ากากคนที่คุยด้วยมีโอกาสได้รับ 30 ตัว ถ้าใส่หน้ากากกรองเหลือ 5 ตัว ซึ่ง 5 ตัวนี้เม็ดเลือดขาวสามารถโจมตีฆ่าไวรัสทิ้งไปได้ทันทีก่อนจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน แต่สำหรับ 30 ตัว ถ้าเป็นคนแข็งแรงหน่อย ร่างกายอาจจะต่อสู้ได้ หลังจากแบ่งตัวเพิ่มขึ้นมาเป็น 40 ตัวแล้ว แต่ก็ยังไหวอยู่ แต่สมมติเป็นคนร่างกายอ่อนแอ เม็ดเลือดขาวมีน้อย 30 ตัว ฆ่าไม่ทัน มันแบ่งตัวเร็วมาก จาก 30 เป็น 60 เป็น 100 นึง คนที่ยังไหวร่างกายจะเข้าสู่ภาวะอาการป่วย แต่ก็จะระดมทุกพลังงานมาผลิตเม็ดเลือดขาวเข้าสู้ คนที่ชนะก็คือมีอาการไม่มาก คนที่แพ้เซลล์พวกนี้ก็จะขยายตัวมากเป็น 500 เป็นพันตัว และเข้าสู่ปอดในที่สุด หรือแม้แต่บางคนเชื้อไม่เยอะแต่ลงปอดเร็ว ลงอวัยวะภายในเร็ว คราวนี้ส่วนอื่นก็ป่วยเพิ่มอีก ร่างกายรับภาระหนัก อันนี้ลองคิดดูกันเล่นๆ นะคะ ในความเป็นจริงมันก็หลายตัวแปรมากกว่านี้ ซึ่งคนแข็งแรง ถ้าได้รับ 30 ตัวเรื่อยๆ บ่อยๆ สุดท้ายร่างกายก็อาจจะรับภาระไม่ไหวอยู่ดี ก็ได้ค่ะ
ทั้งหมดนี้คือความเข้าใจของเราจากที่คุยกับหมอบ้าง อ่านงานวิจัยเองบ้าง
เพราะเหตุผลง่ายๆ คือ อินเตอร์เนตเนี่ยแหละค่ะ มันต้องมีใครสักคนโพสแน่นอน ถ้าเห็นอะไรแปลกๆ เกิดขึ้น นี่เป็นนิสัยคนไทย จกขท อาจจะคิดว่า หมอช่วยปกปิดไง เจอเคสแล้วแต่ไม่บอกใคร เราบอกเลยค่ะว่ายากมาก
เรามีเพื่อนเป็นหมอ เค้าเล่าให้ฟังเลยว่าช่วงโควิด ต้องเตรียมพนักงานเป็นชุด ทั้งหมอ ทั้งพยาบาล ทั้งบุคลากรที่ต้องเกี่ยวข้อง เพื่อที่ว่าสลับกันทำงานหากมีผู้ป่วยติดโควิดเข้ามา ทีมที่เจอโควิดต้องกักตัวเอง 14 วัน แล้วเปลี่ยนทีมใหม่เข้ามาค่ะ เพราะฉะนั้นเจอเมื่อไหร่ หมอ พยาบาล เวรเปลชุดนั้น ต้องตรวจโควิดไปกักตัว ชุดใหม่เข้ามาทำงานกับผู้ป่วยโควิด ก็ต้องใส่ชุดกันที่เป็นพลาสติกค่ะ มันต้องมีคนเห็นค่ะ ส่วนฝั่งคนไข้เอง ต้องแยกวอร์ด แยกห้องไปอยู่ห้องความดันลบ ต้องแจ้งญาติ ญาติก็ต้องถูกเกณฑ์มาตรวจโควิด มากักตัว คนที่ผู้ป่วยสัมผัสก็ต้องตรวจโควิด คนเยอะขนาดนี้จะปิดยังไงคะ แล้วถ้ามีอินเตอร์เนตยังไงก็ต้องโพส สมมติอยู่พื้นที่ห่างไกลไม่มีเนต เราเชื่อว่าเล่าลือกันปากต่อปาก ไม่นานก็ไปถึงหูคนที่มีเนตไว้โพสอยู่ดี
เคสคนตายก็ทำแบบเดียวกันค่ะ พวกตายไม่ทราบสาเหตุนะคะ ขนาดคนเร่ร่อนตายไม่ทราบสาเหตุยังตรวจเลยค่ะ เพราะมิฉะนั้น คนเดือดร้อน คนบุคลากรในโรงพยาบาลแหละค่ะ ที่สัมผัสไปโดยมีความเสี่ยงติดเชื้อ
ส่วนทำไมคนป่วยเมืองไทย (สมมติมี) ถึงอาการน้อย จกขท ต้องลองไปอ่านงานวิจัยเรื่องโควิดดูค่ะ เราเคยอ่านตัวนึงบอกไว้ว่า คนที่ได้รับเชื้อโควิดไป คนที่แสดงอาการป่วย ระยะแรกคือไข้ พวกนี้อยู่ในขั้นตอนที่ร่างกายกำลังทำการกำจัดเชื้อออกไป แต่ต้องใช้ภูมิต้านทานมากอยู่ คนที่อาการหนักคือ เชื้อลงไปที่ปอด ขึ้นสมอง คือร่างกายกำจัดเองไม่ไหวแล้ว หรืออาจจะไหวก็ได้แต่ต้องใช้พลังงานมากร่างกายเริ่มรับไม่ไหว การไม่แสดงอาการ หมายถึง คนที่ได้รับเชื้อเข้าไปในปริมาณที่ร่างกายสามารถต้านทานโรคได้สบายๆ ในที่นี้คือ ร่างกายอาจจะแข็งแรงมาก หรือได้รับเชื้อน้อยมากจนร่างกายกำจัดเองไหว (นี่คือเหตุผลที่การแออัดบนรถไฟฟ้า ไม่ค่อยกลายเป็นปัญหาในกรณีที่ใส่แมสนะคะ เพราะมีงานวิจัยอีกตัวหนึ่งบอกว่า หากอยู่ร่วมกับผู้ป่วยในบริเวณเดียวกัน แต่ไม่นานเกิน 2 ชั่วโมง (ใส่แมสด้วย) ก็จะได้รับเชื้อในปริมาณที่ไม่มาก อันที่จริงมันมีตัวควบคุมหลายอย่างจำไม่ได้ค่ะ แต่ใจความคือราวๆ นี้)
ในทางระบาดวิทยา (ทฤษฏีนี้อ่านตั้งแต่โควิดระบาดใหม่ๆ) เวลาเชื้อแพร่กระจาย ปริมาณเชื้อจะลดลงเรื่อยๆ จาก คนที่ 1 ไป 2 ไป 3 ไป 4 ไป .. และสุดท้ายเชื้อก็จะหายไปในที่สุด ยิ่งเราใส่หน้ากาก เชื่อที่ได้รับก็อาจจะน้อยลงไปอีก (ไม่ถึงกับกันได้หมด แต่กรองได้บ้าง) แต่ที่ใช้ไม่ได้ผลในต่างประเทศ เราคิดเองว่า เพราะคน 1 คน ได้รับเชื้อหลายครั้งเกินไป เนื่องจากไม่มีการป้องกัน แมสไม่ได้ใส่แต่แรก การแพร่กระจายเกิดขึ้นเร็ว มีคนเป็นจำนวนมาก เวลาเดินอยู่ในชุมชน คน 1 คน อาจจะได้รับเชื้อหลายครั้งได้ รับครั้งแรกร่างกายกำจัดไหว รับครั้งที่ 2 เริ่มเป็นไข้ รับครั้งที่ 3 อาจจะไม่ไหวแล้วอะไรแบบนี้ค่ะ
การรณรงค์ใส่หน้ากาก ล้างมือ รักษาระยะในช่วงหนึ่งของเราจึงได้ผล เพราะระยะการแพร่ของโรคไม่นาน คนไทยเคร่งครัดกันอยู่ได้ ราว 2-3 เดือนหลังเปิดเมือง เราก็ว่าพอทำให้เชื้ออ่อนกำลังลงมาก ถ้าไม่ได้มีเคสนำเข้าที่แข็งแรงๆ จากต่างประเทศมาใหม่นะคะ
ให้ลองคิดเป็นภาพก็ได้ค่ะ สมมติคนเป็นโควิด 1 คนมีไวรัสในตัว 1000 ตัว เวลาไอ หรือพูดกับเพื่อน มีไวรัสออกมา 50 ตัว ถ้าไม่ใส่หน้ากากคนที่คุยด้วยมีโอกาสได้รับ 30 ตัว ถ้าใส่หน้ากากกรองเหลือ 5 ตัว ซึ่ง 5 ตัวนี้เม็ดเลือดขาวสามารถโจมตีฆ่าไวรัสทิ้งไปได้ทันทีก่อนจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน แต่สำหรับ 30 ตัว ถ้าเป็นคนแข็งแรงหน่อย ร่างกายอาจจะต่อสู้ได้ หลังจากแบ่งตัวเพิ่มขึ้นมาเป็น 40 ตัวแล้ว แต่ก็ยังไหวอยู่ แต่สมมติเป็นคนร่างกายอ่อนแอ เม็ดเลือดขาวมีน้อย 30 ตัว ฆ่าไม่ทัน มันแบ่งตัวเร็วมาก จาก 30 เป็น 60 เป็น 100 นึง คนที่ยังไหวร่างกายจะเข้าสู่ภาวะอาการป่วย แต่ก็จะระดมทุกพลังงานมาผลิตเม็ดเลือดขาวเข้าสู้ คนที่ชนะก็คือมีอาการไม่มาก คนที่แพ้เซลล์พวกนี้ก็จะขยายตัวมากเป็น 500 เป็นพันตัว และเข้าสู่ปอดในที่สุด หรือแม้แต่บางคนเชื้อไม่เยอะแต่ลงปอดเร็ว ลงอวัยวะภายในเร็ว คราวนี้ส่วนอื่นก็ป่วยเพิ่มอีก ร่างกายรับภาระหนัก อันนี้ลองคิดดูกันเล่นๆ นะคะ ในความเป็นจริงมันก็หลายตัวแปรมากกว่านี้ ซึ่งคนแข็งแรง ถ้าได้รับ 30 ตัวเรื่อยๆ บ่อยๆ สุดท้ายร่างกายก็อาจจะรับภาระไม่ไหวอยู่ดี ก็ได้ค่ะ
ทั้งหมดนี้คือความเข้าใจของเราจากที่คุยกับหมอบ้าง อ่านงานวิจัยเองบ้าง
แสดงความคิดเห็น
ปัจจุบันนี้ไม่มีการติดเชื้อโควิด -19 ภายในประเทศแล้วจริงหรือ ?
ทั้งที่ไม่รู้ตัว ที่มีอาการเพียงเล็กน้อย หรือที่มีอาการหนักจนต้องไปพบแพทย์ ตามคลีนิคและร.พ.
แต่ทำไม...ไม่มีรายงานการติดเชื้อจากภายในประเทศเลย
มีแต่รายงานจากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และอยู่ใน State Quarantine ทั้งสิ้น
ทางการแพทย์...สามารถอธิบายได้อย่างไรบ้างครับ ?