extromorph กินมันให้หมด

ในนามของธรรมชาติ พวกเราจะกำเนิดใหม่
ในนามของผู้อยู่แสนใกล พวกเราจะไม่หวนกลับ
 โชคชะตาคำทำนายแม้จะเจ็บปวดยิ่งนัก นักล่าเพียงหนึ่งจะไม่หวาดกลัวต่อผู้ใด
แม้หัวใจที่มีจะถูกพราก กระชากวิญญานของเธอไปแสนใกล
ชีวิตนั้นยังเติบโตตลอดไป จนกว่าที่ใครต่อใครจะมาพรากจากร่างกาย

รู้หรือไม่ ว่าสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่บนโลกของเรานี้ มันน่าอัศจรรย์กว่าที่คิด
ไม่ว่าจะเป็นเพรียงทะเล ที่กินและย่อยได้แม้กระทั่งหินผา
ไม่ว่าจะเป็นทากทะเล ที่สามารถสังเคราะหืแสงได้ดุจพืช
แบคทีเรียที่กินพลาสติก หรือแม้แ่พวกที่กินโลหะก็ตาม ต้อนรับเข้าสู่โลกของธรรมชาติ ฟังเสี่ยงกู้ร้อง
ชั่วนิรันดร์ Pestalotiopsis microspora เป็นเชึ้อราที่ไม่ใช่ออกซิเจน ที่หิวโหย และเป็นหนี่งในกลุ่มสิ่งมีชีวิต
ที่เกิดมาพร้อมคุณสมบัติในการย่อยและกินพลาสติกเป็นอาหาร ซึ่งเป็นกลไกการลดทอนมลภาวะที่สำคัญในธรรมชาติ สิ่งมีชีวืตจำพวกนี้จึงจัดว่าเป็นผู้ย่อยสลายที่ดึงเอาสารที่ปกติจะย่อยไม่ได้ มาใช้ประโยชน์ได้ดี

Ideonella sakaiensis เป็นแบคทีเรียใน genus ideaonella และใน family comamondaceae ซึ่งมีความสามารถในการย่อยพลาสติกในกลุ่มโพลิเอทีลีน ให้เป็นพลังงานได้ คุณสมบัติอันนี้ทำให้สามารถที่จะเติบโต และย่อิยสลายขยะจำนวนมาก มันถูกพบในศูนย์รีไซเคิลขยะในญี่ปุ่น
การเติบโตของแบคทีเรียจำนวกนี้ จะสร้างไบโอฟิลม์ขนาด 0.2 มิลลิเมตร ปกคลุมเป้าหมาย พวกมันสามารถเติบโตได้ในอุณหภูมิตั้งแต่ 15-42 องศา แต่จะเติบโตได้ดีที่สุดในช่วงตั้งแต่ 30-37 องศาเซลเซียส
มันมีความสามารถในการย่อยและกินพลาสติคอ่อนได้อย่างยอดเยี่ยม นอกจากนั้นตัวอ่อนของหนอนนก ในกลุ่ม mealworm ที่ออกไข่ได้ครั้งละ 500 ฟอง ยังมีความสามารถในการย่อย และกินขยะพลาสติกได้เป็นอย่างดีอีกด้วย หนอนนกจำพวกนี้มีต้นกำเนิดในเมดิเตอรเนียน หนอนนก 1 ตัวจะสามารถกินและย่อยพลาสติกได้ 34-39 มิลลิกรัม ต่อตัวต่อวัน

กลุ่มของแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในตัวของหนอนนกเหล่านี้ อาจเป็นที่มาของกลไกการเอาตัวรอดด้วยการกินได้แม้แต่ของที่ไม่น่าจะกินได้ อย่างพลาสติกเป็นอาหาร นอกจากนั้น หนอนนกยังขึ้นชื่อเรื่องของการเอามาใช้ทำอาหาร จำพวกเมนูแมลงที่มีชื่อเสียงอีกต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นเบอร์เกอร์แมลง
ทำแสน็ค และเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ

นอกจากหนอนนกแล้ว ยังมีหลักฐานสำคัญว่าสัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ก็สามารถปรับตัวเข้ากับพลาสติกและโลกที่เปลี่ยนไปได้เช่นกัน อย่างเช่น greater wax moth หรือหนอนผีเสึ้อกลางคืน honeycompth


เจ้านี่ขึ้นชื่อเรื่องเป็นปรสิตในผึ้ง นอกจากนั้นยังเป็นนักย่อยและกินพลาสติก ที่มีความสามารถสูงส่ง
ตัวอ่อนจะมีความสามารถในการรอดชีวิตจากการตรวจจับของผึ้งเจ้าของรัง นอกตจากนี้ยังมีความสามารถในการย่อย และกินพวกโพลิเอทีลีนเป็นอาหาร หนอนผีเสึ้อ 100 ตัว จะกินโพลิเอทีลีน 92 มิลลิกรัม ใน 12 ชั่วโมง และพวกมันย่อยพลาสติดจริงๆ ไม่ใช่แค่เคี้ยว
แต่พวกมันไม่ได้มีดีแค่การย่อยพลาสติกเท่านั้น รุ่งอรุณของยุคใหม่กำลังมา แม้แต่หินผาก็อาจตกเป็นอาหารน่าอร่อยของสิ่งมีชีวิตได้เช่นกัน แม้สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะไม่คิดว่าหินแข็งๆอยู่ในเมนูของมัน
ทุกคนรู้ว่าเพรียงทะเลสามารถเกาะท้องเรือและกินไม้ได้ แต่ใครจะรู้ละว่าแม้แต่หินเอง

ก็ตกเป็นเมนูจานเด็ดของพวกมันได้เช่นกัน นักวิทยาศาสตร์สนใจกับเรื่องราวของเหล่าแบคทีเรีย ที่ใช้ชีวิตอยู่ในตัวของเหล่าเพรียง เป็นไปได้หรือไม่ ว่าพวกเพรียงทะเลในกลุ่มที่เกาะไปกับเรือ มีการวิวัฒนาการฟันขนาดเล็กที่แหลมคมและแข็งแกร่ง และอวัยวะพิเศษ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อย่อยและกินหินโดยเฉพาะ มันถูกเรียกว่า caecum กลุ่มของเพรียงทะเล
เหล่านี้ มันจะเกาะและเดินทางไปกับเรือ ความสามารถในการกินไม้ของเรือเหล่านี้เอง ทำให้พวกเพรียงทะเลส่งผลกระทบทางเศรนฐกิจเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้ากินหินได้ก็เป็นเรื่องใหญ่เพราะขอแค่มันเกาะไปกับตัวรูปปั้นหรือโบราณวัตถุที่ถูกน้ำท่วม การบีบรัดที่แกร่งจากกล้ามเดนึ้อในกระเพาะ บวกกับระบบเคมี ทำให้มันสามารถกลืนกินแย่ย่อยหินใต้น้ำได้อย่างไร้คู่แข็ง ถึงจะมีความยาวเพียง 10 เซนติเมตร แต่ความสามารถในการกินและย่อยของมันนั้นถึงเป็นที่สุด

มันถูกพบในฟิลิปปินส์ และเป็นหนึ่งในสปีชีส์ย่อยที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งของระบบนิเวศแห่งนี้ การค้นพบมันเป็นหลักฐานของการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ที่เปลี่ยนจากการกินไม้เป็นอาหาร มาเป็นการกินหินใต้น้ำเป็นเมนู


 คุณอาจอยากถามเรา กินหิน กินพลาสติก แล้วไม่มีพวกกินขยะนิวเคลียร์หรือ? คำตอบนั้นง่ายดาย ทว่าน่าขนพองสยองกร้าว
คือมี!

คุณอาจถาม กัมมันตภาพรังสีเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตไม่ใช่หรือ มันไม่ควรจะมีไอ้ตัวที่กินรังสีได้โผล่มาสิ คำตอบนั้นง่ายดายแต่น่ากลัว พลังของธรรมชาตินั้นน่ากลัว เชึ้อราในกลุ่ม radiotrophic fungus มันสามารถใช้ประโยชน์จากเมลานิน ในการสังเคราะห์รังสีแกมมาเพื่อให้กลายเป็นพลังงานเคมี เพื่อใช้ในการเติบโตได้
โดยเฉพาะ
Cladosporium sphaerospermum
Exophiala dermatitidis
Cryptococcus neoformans
ซึ่งคาดว่ามันใช้พลังงานแสงและพลังงานความร้อนจากกัมมันตภาพรังสีมาทำการเร่งการเติบโตของตัวเอง นอกจากนั้นยังมีอบคทีเรียในกลุ่ม deinococcus ที่สามารถอาศัยอยู่นอกสถานีอวกาศนานาชาติได้นานกว่า 3 ปีอีกด้วย
นอกจากนั้นยังมีแบคทีเรียในกลุ่ม endolith ที่สามารถเติบโตในช่องว่างระหว่างหิน แบคทีเรียบางชนิดอาจมุดลงไปใต้ดินลึกจนถึงเปลือกโลกชั้นล่าง ทื่ผสมปนเปกับทะเลแม็กม่าอันร้อนระอุ บางตัวกินโลหะ บางตัวกินซัลเฟอร์ บางตัวก็สวาปามคาร์บอน บางชนิดอยู่ได้ในปะการัง หรือเกราะป้องกันอันแข็งแกร่งของสัตว์อื่น


แม้ในสถาวะไร้แสง ไร้ออกซิเจน และมี PH สูงถึง 12 เช่นที่พบบนดวงจันทร์เอนเซลาดัส แบคทีเรียจำนวนมากอาศัยอยู่ใต้เปลือกดาว กินกำมะถัน ซัลเฟอร์ และซัลไฟด์ต่างๆเป็นอาหาร ซึ่งกำมะถันยังพบมากบนดาวศุกร์ด้วย จึงเป็นไปได้ว่าชีวิตในระบบสุริยะของเราจะเจอง่ายกว่าที่คิด
แม้ในแอ่งเยลโลสโตนที่สุดจะร้อนแรง ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากมายที่อาศัยอยู่ แบคเรียจำพวกนี้มีวงจรอิเล็กโทรนในตัว ทำให้สามารถหายใจด้วยไฟฟ้า สกัดพลังงานไฟฟ้าจากเหล็กและน้ำ ซึ่งอาจเป็นรากฐานของเทคโนโลยีชีวิตภาพในอนาคต นอกจากนั้นยังมีกลุ่มของแบคทีเรียกินน้ำมัน
ที่สามารถย่อยสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ออกมาให้เป็นเกลือและน้ำ ซึ่งนั่นแก้ปัญหามลภาวะไว้ให้มนุษย์เราได้

เนื่องจากสาหร่ายบางกลุ่มมีความสามารถในการสร้างสารเคมีที่ใกล้เคียงกับแอลกฮอร์ร์ จึงทำให้เหล่าแบคทีเรียวิวัฒนาการขึ้นตอบโต้นั่นเอง

การกิน
อ้างอิง
https://www.microbiologyresearch.org/.../ijsem.0.001058
https://en.wikipedia.org/wiki/Mealworm#cite_note-8
https://www.nature.com/articles/d41586-017-00593-y
https://royalsocietypublishing.org/.../10.../rspb.2019.0434
https://myanimals.com/.../lithoredo-abatanica-the.../
https://sciworthy.com/what-can-sulfur-eating-microbes.../
https://earthsky.org/.../scientists-study-bacteria-that...
https://earthsky.org/.../scientists-study-bacteria-that...
https://microbiologysociety.org/.../can-oil-eating...
https://www.newscientist.com/article/mg23431211-300-radiation-eating-bacteria-could-make-nuclear-waste-safer/
https://www.popularmechanics.com/science/a30784690/chernobyl-fungus/
https://en.wikipedia.org/wiki/Endolith
https://en.wikipedia.org/wiki/Deinococcus_radiodurans
https://en.wikipedia.org/wiki/Galleria_mellonella
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่