คือ การสำรวมระวัง หรือการ รักษา"กาย"วาจา"ใจ" ส่วนแนวทางหรือรูปแบบ หรือวิธีการ ของนักบวชกับ คฤหัสถ์ ผู้ครองเรือน มันก็มีความแตกต่างกันออกไป เพื่อให้เกิดความสอดคล้อง เช่นคฤหัสถ์หรือชาวบ้านผู้ครองเรือน
รูปแบบ การสำรวม รักษา ระวังกายวาจาใจ ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือสมดุลย์ในอัตภาพหรือวิถีในการดำเนินชีวิตของผู้ครองเรือน
ส่วนสมณะชีพราหมณ์หรือนักบวชก็มีวิธี หรือรูปแบบ ในการปฏิบัติหรือการสำรวมกายวาจาใจแตกต่างกันออกไป
ถ้าเราเข้าใจการรักษาศีล!" ความโกรธเกลียด อาฆาตพยาบาทมันย่อมไม่มี
ถ้าเราไปรักษา ศีล!"ในตัวหนังสือ โดยไม่ได้รักษาศีล!ในใจ" ความอาฆาต ความพยาบาท ความอิจฉา ความโกรธเกลียด เครียดแค้น การปรามาส มันก็เกิด
เพราะสิ่งเหล่านี้ มันจะไม่เกิดถ้าเรารักษาใจ ให้มีศีล
ฉะนั้น! การรักษาศีล คือการสำรวมรักษาระวัง"กาย"วาจา"และใจ' ไม่ให้ตกไปในทางที่ชั่ว!"..
ดั่งพระพุทธองค์ ทรงตรัสสอนกับภิกษุผู้เข้ามาขอลาสึก เพราะไม่อาจรักษาศีลมากข้อได้ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุไร พวกเธอจึงได้บอกศีลแก่ภิกษุนี้มากนักเล่า ภิกษุนี้อาจรักษาได้เท่าใด ก็พึงรักษาเท่านั้นแหละ ตั้งแต่นี้ไป พวกเธออย่าได้พูดอะไรๆ กะภิกษุนี้เลย ตถาคตเท่านั้นจักรู้ถึงการที่ควรทำ แล้วตรัสกะภิกษุนั้นว่า มาเถิดภิกษุ เธอจะต้องการศีลมากๆ ทำไมเล่า เธอจักไม่อาจเพื่อจะรักษาศีล ๓ ประเภทเท่านั้นหรือ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า.
มีพระพุทธดำรัสว่า ถ้าเช่นนั้น ตั้งแต่บัดนี้ เธอจงรักษาทวารทั้ง ๓ ไว้ คือกายทวาร วจีทวาร มโนทวาร อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยกาย อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยวาจา อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยใจ ไปเถิด อย่าสึกเลย จงรักษาศีล ๓ ข้อ เหล่านี้เท่านั้นเถิด.
ที่มาอรรถกถา กัญจนขันธชาดกว่าด้วย การบรรลุธรรมอันเกษม
https://84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270056
ศีล 3
รูปแบบ การสำรวม รักษา ระวังกายวาจาใจ ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือสมดุลย์ในอัตภาพหรือวิถีในการดำเนินชีวิตของผู้ครองเรือน
ส่วนสมณะชีพราหมณ์หรือนักบวชก็มีวิธี หรือรูปแบบ ในการปฏิบัติหรือการสำรวมกายวาจาใจแตกต่างกันออกไป
ถ้าเราเข้าใจการรักษาศีล!" ความโกรธเกลียด อาฆาตพยาบาทมันย่อมไม่มี
ถ้าเราไปรักษา ศีล!"ในตัวหนังสือ โดยไม่ได้รักษาศีล!ในใจ" ความอาฆาต ความพยาบาท ความอิจฉา ความโกรธเกลียด เครียดแค้น การปรามาส มันก็เกิด
เพราะสิ่งเหล่านี้ มันจะไม่เกิดถ้าเรารักษาใจ ให้มีศีล
ฉะนั้น! การรักษาศีล คือการสำรวมรักษาระวัง"กาย"วาจา"และใจ' ไม่ให้ตกไปในทางที่ชั่ว!"..
ดั่งพระพุทธองค์ ทรงตรัสสอนกับภิกษุผู้เข้ามาขอลาสึก เพราะไม่อาจรักษาศีลมากข้อได้ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุไร พวกเธอจึงได้บอกศีลแก่ภิกษุนี้มากนักเล่า ภิกษุนี้อาจรักษาได้เท่าใด ก็พึงรักษาเท่านั้นแหละ ตั้งแต่นี้ไป พวกเธออย่าได้พูดอะไรๆ กะภิกษุนี้เลย ตถาคตเท่านั้นจักรู้ถึงการที่ควรทำ แล้วตรัสกะภิกษุนั้นว่า มาเถิดภิกษุ เธอจะต้องการศีลมากๆ ทำไมเล่า เธอจักไม่อาจเพื่อจะรักษาศีล ๓ ประเภทเท่านั้นหรือ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า.
มีพระพุทธดำรัสว่า ถ้าเช่นนั้น ตั้งแต่บัดนี้ เธอจงรักษาทวารทั้ง ๓ ไว้ คือกายทวาร วจีทวาร มโนทวาร อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยกาย อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยวาจา อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยใจ ไปเถิด อย่าสึกเลย จงรักษาศีล ๓ ข้อ เหล่านี้เท่านั้นเถิด.
ที่มาอรรถกถา กัญจนขันธชาดกว่าด้วย การบรรลุธรรมอันเกษม
https://84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270056