วันเข้าพรรษาต้นแบบสร้างปรองดองในสังคมไทย??

กระทู้คำถาม


วันเข้าพรรษาต้นแบบสร้างความปรองดองสังคมไทยอย่างไร

สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน


        เมื่อทุกท่านทำบุญครบทั้ง ทาน ศีล สมาธิและปัญญา ความปรองดองก็เกิดแล้ว และเกิดนานเท่าใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าจะรักษาความปรองดองไว้ได้นานเท่าใด ไม่ใช่ออกนอกวัดก็แบ่งฝ่ายกันอยู่เหมือนเดิม

       ที่นี้ตัวอย่างของพระภิกษุและสามเณรที่เป็นต้นแบบของการสร้างความปรองดองก็อยู่ตรงที่การแสดงสามีจิกรรมโดยกล่าวคำขอขมาเป็นภาษาบาลีพร้อมกันหลายคนว่า

       ผู้ขอ        เถเร ปะมาเทนะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต. (3 หน)
                     แปลความว่า ท่านพระเถระ ความผิดพลาดที่ได้กระทำด้วยความประมาททั้งทวารทั้ง 3  คือกาย วาจา ใจ ขอท่านจงยกโทษหรือให้อภัยแต่
                     ความผิดพลาดทั้งปวงนั้นแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด
       ผู้รับ         อะหัง ขะมามิ ตุมเหหิปิ เม ขะมิตัพพัง.
                     แปลความว่า เรายกโทษหรือให้อภัยแก่พวกท่านทั้งหลายและพวกท่านทั้งหลายก็ยกโทษหรือให้อภัยแก่เราด้วย
      ผู้ขอ         ขะมามะ ภันเต แปลความว่า ขอรับ พวกข้าพเจ้าทั้งหลายยกโทษหรือให้อภัย

      นี้เท่ากับการแสดงความอโหสิกรรมหรืออภัยทานของพระภิกษุและสามเณร เท่ากับว่าพระภิกษุและสามเณรได้ให้ทานในข้ออภัยทาน ส่วนญาติโยมทั้งหลายได้ทานข้อวัตถุทาน และสามารถเอาตัวอย่างข็องพระภิกษุและสามเณรไปทำกับบุคคลที่เคยมีเรื่องทะเลาะ ความเห็นไม่ลงรอยกันบ้างก็ให้อภัยทานกัน ก็เชื่อแน่ว่าสังคมไทยจะเกิดความปรองดองสมานฉันท์โดยยกเอาวันเข้าพรรษานี้เป็นตัวอย่าง

       ท่านทั้งหลาย ประเพณีของพระภิกษุได้แสดงถึงว่า ท้ายที่สุดของการอยู่ร่วมกันที่ต้องมีปัญหากระทบกระทั่งกัน แต่สุดท้ายก็ยังสามารถขอขมาลาโทษได้ สมแล้วที่ประเพณีเราเหล่าฆราวาสก็สามมารถนำมาใช้ในสภาพบ้านเมืองเช่นนี้ได้

อ่านเพิ่มเติมเนื้อหาได้ที่ : http://www.banmuang.co.th/news/education/85142#.WWH1t9WXuy0.twitter
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่