" .. การรู้จัก "ขอโทษ" นั้นเป็นมารยาทอันดีงามสำหรับตัวผู้ทำเอง
และเป็นการช่วยระงับ หรือช่วยแก้โทสะ ของผู้กระทบกระทั่งให้เรียบร้อยด้วยดีได้ทางหนึ่ง
หรือจะกล่าวว่า "การขอโทษ คือการพยายามป้องกันมิให้มีการผูกเวรกันก็ไม่ผิด"
เพราะเมื่อผู้หนึ่งทำผิด อีกผู้หนึ่งเกิดโทสะเพราะถือความผิดนั้น เป็นความล่วงเกินกระทบกระทั่งถึงตน
แม้ไม่อาจแก้โทสะนั้นได้ ความผูกโกรธหรือความผูกเวรก็ย่อมมีขึ้น
ถ้าแก้โทสะนั้นได้ ก็เท่ากับแก้ความผูกโกรธหรือผูกเวรได้ เป็นการสร้างอภัยทาน ขึ้นแทน
"อภัยทาน" ก็คือการยกโทษให้ คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ
"อันอภัยทานนี้ เป็นคุณแก่ผู้ให้ยิ่งกว่าผู้รับ" เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน
คือ อภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด
จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากความกลุ้มรุมบดบังของโทสะ .. "
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวร)
" .. การรู้จัก "ขอโทษ" นั้นเป็นมารยาทอันดีงามสำหรับตัวผู้ทำเอง
และเป็นการช่วยระงับ หรือช่วยแก้โทสะ ของผู้กระทบกระทั่งให้เรียบร้อยด้วยดีได้ทางหนึ่ง
หรือจะกล่าวว่า "การขอโทษ คือการพยายามป้องกันมิให้มีการผูกเวรกันก็ไม่ผิด"
เพราะเมื่อผู้หนึ่งทำผิด อีกผู้หนึ่งเกิดโทสะเพราะถือความผิดนั้น เป็นความล่วงเกินกระทบกระทั่งถึงตน
แม้ไม่อาจแก้โทสะนั้นได้ ความผูกโกรธหรือความผูกเวรก็ย่อมมีขึ้น
ถ้าแก้โทสะนั้นได้ ก็เท่ากับแก้ความผูกโกรธหรือผูกเวรได้ เป็นการสร้างอภัยทาน ขึ้นแทน
"อภัยทาน" ก็คือการยกโทษให้ คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ
"อันอภัยทานนี้ เป็นคุณแก่ผู้ให้ยิ่งกว่าผู้รับ" เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน
คือ อภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด
จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากความกลุ้มรุมบดบังของโทสะ .. "
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก