สำเร็จแล้ว! เพื่อไทย-ก้าวไกล จับมือพรรคฝ่ายค้าน ยื่นแก้ รธน. "ปิดสวิตช์ สว."
https://www.khaosod.co.th/politics/news_4881162
สำเร็จแล้ว! เพื่อไทย-ก้าวไกล จับมือพรรคฝ่ายค้าน ยื่นแก้ รธน. "ปิดสวิตช์ สว." และอีก 4 ฉบับ รวมถึงเรื่องประกาศคำสั่ง คสช. และ หวนคืนบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ
เมื่อเวลา 13.35 น.วันที่ 10 ก.ย. ที่รัฐสภา หัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้าน จำนวน 6 พรรค นำโดย นาย
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และนาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ร่วมกันเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจำนวน 4 ฉบับ
ต่อนาย
ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ประกอบด้วย
1. การแก้ไขมาตรา 272 และ 159 ว่าด้วยการให้ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี
2. มาตรา 270 และ 271 ว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ
3. มาตรา 279 ว่าด้วยการรับรองคำสั่งและประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ 4.การแก้ไขระบบเลือกตั้ง ส.ส.
โดยนาย
ชวน กล่าวว่า เมื่อมีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญเข้ามาแล้ว จะมีการตรวจสอบความถูกต้องว่ามีส.ส.เข้าชื่อครบตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่ หากไม่มีอะไรผิดพลาดจะสามารถบรรจุเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาได้ภายใน 15 วัน ซึ่งสามารถทันกับการประชุมรัฐสภาในวันที่ 23-24 ก.ย.
ด้านนาย
สุทิน คลังแสง ประธานคณะกรรมการพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวว่า การยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีส.ส.ร่วมลงชื่อประมาณ 170 คน ซึ่งในส่วนของการแก้ไขกระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรี จะกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น เป็นผู้เลือกนายกฯ
จากบัญชีที่พรรคการเมืองเป็นผู้เสนอ หากไม่สามารถเลือกนายกฯ ตามบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอได้ จะเปิดโอกาสให้ส.ส.ในสภาฯ เสนอชื่อส.ส.ที่มีคุณสมบัติ และไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามให้สภาฯ เลือกเป็นนายกฯ ต่อไป ซึ่งเท่ากับเป็นการปิดโอกาสนายกฯ คนนอกไปโดยปริยาย
ขณะที่ นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สำหรับในส่วนระบบเลือกตั้ง พรรคร่วมฝ่ายค้านเสนอให้นำระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 มาบังคับใช้ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนด ส.ส.จำนวน 500 คน แบ่งเป็นระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน และบัญชีรายชื่อ 100 คน โดยการเลือกส.ส.ในระบบแบ่งเขตเลือกตั้งจะใช้รูปแบบเขตเดียว เบอร์เดียว
อีกทั้งการคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ จะใช้ระบบการกัน 5 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าพรรคการเมืองใดที่จะมีส.ส.บัญชีรายชื่อได้นั้น จะต้องมีจำนวนคะแนนเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนคะแนนเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งคิดว่า การมีระบบการกัน 5 เปอร์เซ็นต์เอาไว้นั้น จะไม่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองใหญ่ หรือทำลายพรรคการเมืองเล็ก
แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การเมืองมีเสถียรภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2540 อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอเหล่านี้ยังไม่เป็นที่ยุติ เพราะอาจมีการอภิปราย และแก้ไขในชั้นของคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภา
'แนวร่วมธรรมศาสตร์' ยันม็อบแน่ ที่เก่า เวลาเดิม จวกปมเบรก ทำลายจิตวิญญาณ มธ.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2343088
สืบเนื่องกรณี เมื่อวันที่ 10 กันยายน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่เอกสาร ไม่อนุญาตให้กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
เมื่อเวลา 18.00 น. กลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม เผยแพร่เอกสาร ยืนยันเดินหน้าการชุมนุม 19 กันยายน ที่มธ.ท่าพระจันทร์
เนื้อหาส่วนหนึ่ง ดังนี้
ประกาศแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม
หัวข้อ : แนวร่วมธรรมศาสตร์ ฯ ยืนยันเดินหน้าจัดการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ไม่เปลี่ยนแปลงสถานที่อย่างแน่นอน
ดังที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ว่าทางมหาวิทยาลัยได้ตัดสินใจไม่อนุญาตให้แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมใช้สถานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ในการจัดการจัดการชุมนุม “
19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร” โดยให้เหตุผลว่าทางแนวร่วมมิได้ปฏิบัติตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้นั้น
แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมยืนยันว่าก่อนหน้านี้ ทางแนวร่วมได้ดำเนินการขออนุญาตใช้สถานที่กับทางมหาวิทยาลัยอย่างถูกต้องตามขั้นตอน โดยได้แจ้งรายละเอียดให้ทางมหาวิทยาลัยได้ทราบ และมีอาจารย์ที่ปรึกษารับรองตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
การกระทำของมหาวิทยาลัยถือเป็นการใส่ร้ายและปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของนักศึกษาและประชาชน อันเป็นการทำลายจิตวิญญาณธรรมศาสตร์อย่างร้ายแรง เราจึงขอประณามการกระทำดังกล่าวของมหาวิทยาลัยและขอเรียกร้องให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รศ.
เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี และ รศ.ดร.
ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ท่าพระจันทร์ ในฐานะผู้รับผิดชอบ ได้พิจารณาตนเองว่า ได้ปฏิบัติหน้าที่สมกับที่เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยแห่งเสรีภาพแล้วหรือไม่
ทั้งนี้ แนวร่วมขอยืนยันว่าจะใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์เป็นสถานที่ชุมนุมในวันที่ 19 ต่อไป เพราะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ย่อมเป็นของนักศึกษาและประชาชน จึงขอเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนมารวมตัวกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป เพื่อยึดธรรมศาสตร์คืนเป็นของประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เอกสารดังกล่าว มีการใช้รูปแบบและสำนวนภาษาเทียบเคียงกับเอกสารไม่อนุญาตของทางมหาวิทยาลัยที่เผยแพร่ก่อนหน้านี้ไม่กี่ชั่วโมง
https://www.facebook.com/ThammasatUFTD/photos/a.104149498059846/130954208712708/
โวยลั่นคนแก่-พิการ 10 ล้านคน ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพเดือนก.ย.
https://www.dailynews.co.th/economic/794646
โวยลั่น คนแก่-พิการ 10 ล้านคนทั่วประเทศไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ หลังสถ. ไม่มีเงินจ่าย ทันกำหนด 10 ก.ย.นี้ ด้านกรมบัญชีกลาง วุ่นเร่งแก้ไข
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงปัญหาการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนละ 600-1,000 บาท และเบี้ยความพิการคนละ 800 บาทในเดือนก.ย. 63 ที่ล่าช้า จากปกติที่จะได้รับทุกวันที่ 10 ของทุกเดือนว่า เบื้องต้นได้ตรวจสอบข้อมูลการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้พิการและเบี้ยความพิการแล้ว พบสาเหตุมาจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ไม่มีงบประมาณจึงไม่ได้มีการโอนงบประมาณดังกล่าวมาให้กรมฯ ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายเบี้ยทั้ง 2 ประเภทให้กับผู้สูงอายุ และผู้พิการใน 76 จังหวัดทั่วประเทศกว่า 10 ล้านคนได้ทันตามกำหนดในวันที่ 10 ก.ย.นี้ ยกเว้นกรุงเทพฯ และพัทยา
อย่างไรก็ตาม ทราบว่าขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถ. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)กำลังอยู่ระหว่างขอจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมจากสำนักงบประมาณอยู่ ซึ่งคาดว่าจะได้รับงบในเร็วๆนี้ และจะสามารถโอนจ่ายค่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการ ได้ทันภายในเดือนก.ย.นี้แน่นอน ส่วนสาเหตุที่ว่า เหตุใดถึงมีงบไม่เพียงพอนั้น ต้องสอบถามจาก กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ พม.เพราะปกติเงินก้อนนี้จะได้รับอุดหนุนจากงบประมาณมาใช้อยู่แล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่นที่ไม่เข้าเป้าหมาย
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มว่า ปัจจุบัน กรมบัญชีกลางทำหน้าที่เป็นตัวกลางรับเงินจาก สถ. เพื่อนำจ่ายเงินให้กับผู้มีสิทธิของ อปท.ทั้ง 76 จังหวัด จำนวน 7,774 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งตามข้อมูลที่ได้รับจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เมื่อต้นปี 63 มีผู้สูงอายุได้รับสิทธิ 8.5 ล้านคน เป็นจำนวนเงิน 5,600 ล้านบาท ผู้พิการจำนวน 1.8 ล้านคน เป็นจำนวนเงิน 1,400-1,500 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 10 กว่าล้านคน โดยในแต่ละเดือนเงินที่ผู้มีสิทธิได้รับจะถูกโอนเข้าบัญชีเงินฝากของผู้มีสิทธิโดยตรง
นางสาว
วิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ตามขั้นตอนการดำเนินการ กรมบัญชีกลางจะต้องตรวจสอบงบประมาณ เพื่อเบิกจ่ายให้ผู้มีสิทธิตามปฏิทินการจ่าย แต่เมื่อตรวจสอบงบประมาณในเดือนก.ย.63 จากสถ.พบว่าไม่เพียงพอ กรมบัญชีกลางจึงไม่สามารถจ่ายได้ อย่างไรก็ตามเมื่อ สถ.ได้รับงบประมาณเรียบร้อยแล้วกรมบัญชีกลางจะดำเนินการจ่ายให้ผู้มีสิทธิอย่างเร่งด่วนต่อไป ภายในเดือน ก.ย. 63 โดยขอให้ติดตามข่าวจากกรมบัญชีกลาง อย่างใกล้ชิด
JJNY : 5in1 จับมือยื่นแก้รธน./แนวร่วมยันม็อบแน่/โวยไม่ได้เบี้ยยังชีพ/ปฏิเสธบัตรเครดิตพุ่ง40%/ประเมินท่องเที่ยวอีก4ปีฟื้น
https://www.khaosod.co.th/politics/news_4881162
เมื่อเวลา 13.35 น.วันที่ 10 ก.ย. ที่รัฐสภา หัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้าน จำนวน 6 พรรค นำโดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ร่วมกันเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจำนวน 4 ฉบับ
ต่อนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ประกอบด้วย
1. การแก้ไขมาตรา 272 และ 159 ว่าด้วยการให้ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี
2. มาตรา 270 และ 271 ว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ
3. มาตรา 279 ว่าด้วยการรับรองคำสั่งและประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ 4.การแก้ไขระบบเลือกตั้ง ส.ส.
โดยนายชวน กล่าวว่า เมื่อมีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญเข้ามาแล้ว จะมีการตรวจสอบความถูกต้องว่ามีส.ส.เข้าชื่อครบตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่ หากไม่มีอะไรผิดพลาดจะสามารถบรรจุเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาได้ภายใน 15 วัน ซึ่งสามารถทันกับการประชุมรัฐสภาในวันที่ 23-24 ก.ย.
ด้านนายสุทิน คลังแสง ประธานคณะกรรมการพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวว่า การยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีส.ส.ร่วมลงชื่อประมาณ 170 คน ซึ่งในส่วนของการแก้ไขกระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรี จะกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น เป็นผู้เลือกนายกฯ
จากบัญชีที่พรรคการเมืองเป็นผู้เสนอ หากไม่สามารถเลือกนายกฯ ตามบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอได้ จะเปิดโอกาสให้ส.ส.ในสภาฯ เสนอชื่อส.ส.ที่มีคุณสมบัติ และไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามให้สภาฯ เลือกเป็นนายกฯ ต่อไป ซึ่งเท่ากับเป็นการปิดโอกาสนายกฯ คนนอกไปโดยปริยาย
ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สำหรับในส่วนระบบเลือกตั้ง พรรคร่วมฝ่ายค้านเสนอให้นำระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 มาบังคับใช้ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนด ส.ส.จำนวน 500 คน แบ่งเป็นระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน และบัญชีรายชื่อ 100 คน โดยการเลือกส.ส.ในระบบแบ่งเขตเลือกตั้งจะใช้รูปแบบเขตเดียว เบอร์เดียว
อีกทั้งการคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ จะใช้ระบบการกัน 5 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าพรรคการเมืองใดที่จะมีส.ส.บัญชีรายชื่อได้นั้น จะต้องมีจำนวนคะแนนเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนคะแนนเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งคิดว่า การมีระบบการกัน 5 เปอร์เซ็นต์เอาไว้นั้น จะไม่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองใหญ่ หรือทำลายพรรคการเมืองเล็ก
แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การเมืองมีเสถียรภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2540 อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอเหล่านี้ยังไม่เป็นที่ยุติ เพราะอาจมีการอภิปราย และแก้ไขในชั้นของคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภา
'แนวร่วมธรรมศาสตร์' ยันม็อบแน่ ที่เก่า เวลาเดิม จวกปมเบรก ทำลายจิตวิญญาณ มธ.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2343088
สืบเนื่องกรณี เมื่อวันที่ 10 กันยายน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่เอกสาร ไม่อนุญาตให้กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
เมื่อเวลา 18.00 น. กลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม เผยแพร่เอกสาร ยืนยันเดินหน้าการชุมนุม 19 กันยายน ที่มธ.ท่าพระจันทร์
เนื้อหาส่วนหนึ่ง ดังนี้
ประกาศแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม
หัวข้อ : แนวร่วมธรรมศาสตร์ ฯ ยืนยันเดินหน้าจัดการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ไม่เปลี่ยนแปลงสถานที่อย่างแน่นอน
ดังที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ว่าทางมหาวิทยาลัยได้ตัดสินใจไม่อนุญาตให้แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมใช้สถานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ในการจัดการจัดการชุมนุม “19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร” โดยให้เหตุผลว่าทางแนวร่วมมิได้ปฏิบัติตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้นั้น
แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมยืนยันว่าก่อนหน้านี้ ทางแนวร่วมได้ดำเนินการขออนุญาตใช้สถานที่กับทางมหาวิทยาลัยอย่างถูกต้องตามขั้นตอน โดยได้แจ้งรายละเอียดให้ทางมหาวิทยาลัยได้ทราบ และมีอาจารย์ที่ปรึกษารับรองตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
การกระทำของมหาวิทยาลัยถือเป็นการใส่ร้ายและปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของนักศึกษาและประชาชน อันเป็นการทำลายจิตวิญญาณธรรมศาสตร์อย่างร้ายแรง เราจึงขอประณามการกระทำดังกล่าวของมหาวิทยาลัยและขอเรียกร้องให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี และ รศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ท่าพระจันทร์ ในฐานะผู้รับผิดชอบ ได้พิจารณาตนเองว่า ได้ปฏิบัติหน้าที่สมกับที่เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยแห่งเสรีภาพแล้วหรือไม่
ทั้งนี้ แนวร่วมขอยืนยันว่าจะใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์เป็นสถานที่ชุมนุมในวันที่ 19 ต่อไป เพราะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ย่อมเป็นของนักศึกษาและประชาชน จึงขอเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนมารวมตัวกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป เพื่อยึดธรรมศาสตร์คืนเป็นของประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เอกสารดังกล่าว มีการใช้รูปแบบและสำนวนภาษาเทียบเคียงกับเอกสารไม่อนุญาตของทางมหาวิทยาลัยที่เผยแพร่ก่อนหน้านี้ไม่กี่ชั่วโมง
https://www.facebook.com/ThammasatUFTD/photos/a.104149498059846/130954208712708/
โวยลั่นคนแก่-พิการ 10 ล้านคน ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพเดือนก.ย.
https://www.dailynews.co.th/economic/794646
โวยลั่น คนแก่-พิการ 10 ล้านคนทั่วประเทศไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ หลังสถ. ไม่มีเงินจ่าย ทันกำหนด 10 ก.ย.นี้ ด้านกรมบัญชีกลาง วุ่นเร่งแก้ไข
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงปัญหาการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนละ 600-1,000 บาท และเบี้ยความพิการคนละ 800 บาทในเดือนก.ย. 63 ที่ล่าช้า จากปกติที่จะได้รับทุกวันที่ 10 ของทุกเดือนว่า เบื้องต้นได้ตรวจสอบข้อมูลการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้พิการและเบี้ยความพิการแล้ว พบสาเหตุมาจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ไม่มีงบประมาณจึงไม่ได้มีการโอนงบประมาณดังกล่าวมาให้กรมฯ ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายเบี้ยทั้ง 2 ประเภทให้กับผู้สูงอายุ และผู้พิการใน 76 จังหวัดทั่วประเทศกว่า 10 ล้านคนได้ทันตามกำหนดในวันที่ 10 ก.ย.นี้ ยกเว้นกรุงเทพฯ และพัทยา
อย่างไรก็ตาม ทราบว่าขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถ. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)กำลังอยู่ระหว่างขอจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมจากสำนักงบประมาณอยู่ ซึ่งคาดว่าจะได้รับงบในเร็วๆนี้ และจะสามารถโอนจ่ายค่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการ ได้ทันภายในเดือนก.ย.นี้แน่นอน ส่วนสาเหตุที่ว่า เหตุใดถึงมีงบไม่เพียงพอนั้น ต้องสอบถามจาก กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ พม.เพราะปกติเงินก้อนนี้จะได้รับอุดหนุนจากงบประมาณมาใช้อยู่แล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่นที่ไม่เข้าเป้าหมาย
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มว่า ปัจจุบัน กรมบัญชีกลางทำหน้าที่เป็นตัวกลางรับเงินจาก สถ. เพื่อนำจ่ายเงินให้กับผู้มีสิทธิของ อปท.ทั้ง 76 จังหวัด จำนวน 7,774 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งตามข้อมูลที่ได้รับจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เมื่อต้นปี 63 มีผู้สูงอายุได้รับสิทธิ 8.5 ล้านคน เป็นจำนวนเงิน 5,600 ล้านบาท ผู้พิการจำนวน 1.8 ล้านคน เป็นจำนวนเงิน 1,400-1,500 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 10 กว่าล้านคน โดยในแต่ละเดือนเงินที่ผู้มีสิทธิได้รับจะถูกโอนเข้าบัญชีเงินฝากของผู้มีสิทธิโดยตรง
นางสาววิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ตามขั้นตอนการดำเนินการ กรมบัญชีกลางจะต้องตรวจสอบงบประมาณ เพื่อเบิกจ่ายให้ผู้มีสิทธิตามปฏิทินการจ่าย แต่เมื่อตรวจสอบงบประมาณในเดือนก.ย.63 จากสถ.พบว่าไม่เพียงพอ กรมบัญชีกลางจึงไม่สามารถจ่ายได้ อย่างไรก็ตามเมื่อ สถ.ได้รับงบประมาณเรียบร้อยแล้วกรมบัญชีกลางจะดำเนินการจ่ายให้ผู้มีสิทธิอย่างเร่งด่วนต่อไป ภายในเดือน ก.ย. 63 โดยขอให้ติดตามข่าวจากกรมบัญชีกลาง อย่างใกล้ชิด