[CR] อุตรดิตถ์ ตอน 1 - พระบรมธาตุทุ่งยั้ง และเวียงเจ้าเงาะ


.
.
ทุ่งยั้ง ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่ง ของอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
แต่
ทุ่งยั้งเป็นชื่อเมืองที่มีมาแต่มาแต่โบราณ
ในพงศาวดารเหนือ ... พงศาวดารของกรุงศรีอยุธยาที่กล่างถึงหัวเมืองทางเหนือกรุงศรีอยุธยา ... เรื่องการสร้างเมืองสวรรคโลก
กล่าวถึงเมืองทุ่งยั้งว่า ชื่อ "กำโพชนคร" เป็นเมืองที่มีกษัตริย์ปกครอง มีพระบรมธาตุทุ่งยั้งเป็นศูนย์กลางของเมือง
.
.
จากการขุดค้นพบโบราณวัตถุต่างๆ เช่น มโหระทึกละว้า พร้าสำริดแสดงว่าเป็นเมืองที่มีมาก่อนยุคประวัติศาสตร์
มีกำแพงเมือง 3 ชั้น เป็นทั้งเนินดิน และเป็นศิลาแลงมีคูเมือง แสดงว่าน่าจะมีความสำคัญหรือเป็นจุดยุทธศาสตร์
อาจเป็นเมืองที่คุมเส้นทางการเดินทางในแม่น้ำน่านสู่เมืองทางเหนือก็เป็นได้
ปัจจุบันบางแห่งคูเมืองก็ตื้นเขิน บางแห่งมีสิ่งก่อสร้างเช่นถนนทับอยู่
.
.
บริเวณเมืองทุ่งยั้ง มีท่าน้ำที่ใช้เดินทาง และขนถ่ายสินค้าตามลำน้ำน่านมาแต่โบราณ เนื่องสายน้ำเหนือขึ้นไป ตื้นและมีเกาะแก่ง เรือสำเภาไม่อาจเดินทางต่อได้ จึงต้องขนถ่ายสินค้าไปทางบก
ระหว่าง ละโว้ อยุธยา ปากน้ำโพ กับ แพร่ น่าน , กับ ศรีสัชนาลัย , กับ เพชรบูรณ์ หลวงพระบาง
มีท่าน้ำที่สำคัญสามท่าคือ
.
1 ท่าอิฐ ... อิฐ นักวิชาการบางท่านให้ความเห็นว่า
อิฐมาจากคำว่า อิด ภาษาเหนือ แปลว่าเหนื่อย หรือ อิฐ มาจากคนจากสุโขทัยมาอยู่ - และก็น่าจะทำอิฐด้วยเนาะ
เดิมอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน บริเวณเมืองทุ่งยั้ง ต่อมาแผ่นดินงอกออกมาทางตะวันออก ท่าอิฐจึงเลื่อนมาอยู่บริเวณท่าอิฐล่างในปัจจุบัน
ไม่ทราบว่าตัวท่าอิฐอยู่ตรงไหนแน่ แต่เมือไปวัดกลาง ได้ทราบมาว่าเมื่อก่อนหลังวัดเป็นท่าน้ำ คนจะมาขึ้นที่ท่านี้เพื่อไปวัดพระแท่นศิลาอาสน์
.
2.ท่าโพ ... มีคลองโพไหลผ่าน คลองก็น่าจะมีต้นโพธ์มาก ปัจจุบัน คือ บริเวณวัดท่าถนน วัดคลองโพธิ์ และตลาดคลองโพ คือตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน
.
3. ท่าเสา ... นักวิชาการบางท่านให้ความเห็นว่า
เสา มาจากคำว่า เซา ภาษาเหนือแปลว่า หยุด , พัก
... ถึงท่าอิฐ - อิด ก็เหนื่อยละ กว่าจะถึงท่าเสา- เซา ไปต่อไม่ได้ก็ต้องพักกันเลย ...
.
เมื่อยกขึ้นเป็นจังหวัดจึงได้ชื่อว่า อุตรดิตถ์ มาจากภาษาบาลี อุตฺตร แปลว่า ทิศเหนือ กับ ติตฺถ แปลว่า ท่าน้ำ อุตรดิตถ์จึงแปลว่า ท่าน้ำทางทิศเหนือ
.
ตราบจนกระทั้งทางรถไฟมาถึง การเดินทางทางน้ำจึงลดความสำคัญลง
เมื่อ พ.ศ. 2457 พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เสด็จออกจากกรุงเทพฯ พร้อมด้วยเจ้าแก้วนวรัฐฯ 
โดยขบวนรถไฟซึ่งในเวลานั้นรถไฟวิ่งไปถึงเพียงสถานีผาคอ จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อจากนั้นก็เสด็จไปโดยขบวนช้างม้าเป็นเวลา 15 วัน จึงถึงเชียงใหม่
.
.
*วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง*
ตำนานว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท แห่งเมืองสุโขทัย ได้เชิญพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มาบรรจุไว้ในถ้ำใต้ดินโดยขุดลงไปเป็นถ้ำแล้วก่อพระธาตุไว้
.
.
เจดีย์
ฐานขององค์เจดีย์พระบรมธาตุ เป็นฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ บอกว่า เดิมเป็นเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ อันเป็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย
พญาตะก่าเป็นพ่อค้าไม้ชาวพม่าขออนุญาตทำการบูรณะพระมหาธาตุเจดีย์
ได้นำฉัตรมาติดยอดพระบรมธาตุเจดีย์ทุ่งยั้ง และสร้างเจดีย์องค์เล็กที่ฐานชั้นล่างทั้ง 4 มุม
ต่อมาองค์เจดีย์พังลงจากแผ่นดินไหว หลวงพ่อแก้วได้ร่วมกับชาวบ้านบูรณะเจดีย์ขึ้นใหม่
.
เป็นเจดีย์ทรงระฆังบนฐานเขียงเดิมสามชั้น
ตรงกลางเรือนธาตุของเจดีย์ฐานเขียงชั้นสามทั้งสี่ด้าน มีพระพุทธรูปประทับยืน ตรงมุมมีเจดีย์ทรงพม่า
ถัดไปเป็นบัวปากระฆังรับองค์ระฆัง บัลลังก์ ก้านฉัตร ปล้องไฉน ลูกแก้ว เม็ดน้ำค้าง
.
.
พระอุโบสถ
ผังของอุโบสถอยู่ด้านข้างของวิหาร ตามแบบอยุธยา ขนาดสามห้อง
.
.
.
พระวิหารหลวง
ในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา
โดยโปรดให้มีตราพระราชสีห์ให้เมืองลับแล เมืองทุ่งยั้ง รื้อวิหารและกำแพงแล้วสร้างใหม่
สำหรับวิหารวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
ได้วิหารก่ออิฐถือปูน ขนาด 5 ห้อง ด้านหน้าและด้านหลังเป็นระเบียงเปิดโล่ง หลังคาสามซด สามตับ
.
.
.
หน้าบัน แกะสลักรูป
เทพพนมสามองค์ 
สีหราช - มีคนนั่งอยู่บนหลัง
ช้างเอราวัณ และช้างสองเชือก
.
.
หน้าบันปีกนก เล่าเรื่องรามเกียรติ
.
.
โครงหลังคาแบบม้าต่างไหม ... ศิลปะล้านนา
อาจเพราะเมืองทุ่งยั้งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา
หรือได้รับอิทธิพลจากสมัยพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา
ที่ทรงยกกองทัพตั้งมั่นที่เมืองทุ่งยั้ง คราวที่ทรงทำศึกกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา
พระประธาน หลวงพ่อหลักเมือง หรือหลวงพ่อแก่ สร้างสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเมื่อคราวสร้างวิหารขึ้นใหม่
.
.
จิตรกรรมฝาผนังเหนือประตูทางเข้า ภาพมารผจญและพระแม่ธรณีบีบมวยผม - ตรัสรู้ -
ช้างทางเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า ชูดาบ และเหล่ายักษ์มารจะเข้าทำร้าย 
ช้างทางเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ชูดอกบัว ทำความเคารพ แสดงถึงการยอมจำนนต่อพระพุทธองค์
.
.
ผนังของวิหารหลวง เป็นภาพ เทพชุมนุม และ เรื่องสังข์ทอง แต่เลือนมาก
สั้น ๆ ว่า
พระนางจีนเทวีมเหสีของกษัตริย์ยศวิมลคลอดลูกออกมาเป็นหอยสังข์ จึงโดนเนรเทศไปอยู่กับตายาย เห็นพระสังข์ถอดรูปได้ จึงทำลายพระสังข์เสีย
นางจันทาเทวีทราบจึงจับพระสังข์ไปถ่วงน้ำ พญานาคมาช่วยพาไปอยู่กับนางพันธุรัตน์
พระสังข์รู้ว่านางพันธุรัตน์เป็นยักษ์จึงชุบตัวในบ่อทอง สวมรูปเจ้าเงาะ ใส่รองเท้าเหาะ หนีนางพันธุรัตน์ไปอาศัยอยู่กับเด็กเลี้ยงควาย
ในเมืองของท้าวสามล มีพระมเหสีพระนามว่า มณฑา มีพระธิดา 7 พระองค์
ท้าวสามลโปรดให้พระธิดาเลือกคู่โดยรับสั่งให้ทหารออกไปร้องประกาศให้เจ้าชายเมืองต่างๆ มาเลือกคู่
พระธิดาทั้ง 6 พระองค์ก็ทรงได้เจ้าชายจากเมืองต่างๆมาเป็นคู่ครอง
เหลือรจนาพระธิดาพระองค์สุดท้องไม่เลือกผู้ใด สุดท้ายก็เสี่ยงพวงมาลัยให้ เงาะป่า ท้าวสามลกริ้ว ให้ไปปลูกกระท่อมอยู่ที่ปลายนาของเศรษฐี
แล้วจัดให้หาปลาแข่งกัน ครั้งนี้ 6 เขยโดนพระสังข์ตัดปลายจมูก จัดให้หาเนื้อ แข่งกัน ครั้งนี้ 6 เขยโดนพระสังข์ตัดปลายหู
ต่อมาองค์พระอินทร์ก็ทรงสงสารอยากให้พระสังข์ทองถอดรูปสักทีจึงได้เข้ามาท้าตีคลี
ในที่สุดเจ้าเงาะก็ยอมถอดรูปออกมาเป็นพระสังข์ทองรับคำท้าจะตีคลี พระอินทร์ก็ได้แพ้ไป
.
.
เมื่ออ้อมไปทางถนนที่อยู่ทางตะวันตกของเจดีย์พระบรมธาตุ หน้า รร.วัดพระบรมธาตุท่งยั้ง
จะเห็นศาลเล็ก ๆ ของเจ้าเงาะ และหลุมหลายหลุมอยู่ทางขวามือ ชาวบ้านเรียกว่า สนามตีคลี
.
.
ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ทางวัดจะจัดให้มีงานประเพณีสลากภัต หรือตานก๋วยสลากของชาว ล้านนา
เป็นการถวายของให้พระภิกษูโดยการจับสลาก
ในวันนี้มีการจัดแสดงพุทธประวัติตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพ ที่เรียกว่า อัฐมีบูชา
เป็นการจำลองเหตุการณ์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันปรินิพพาน
มีการสร้างพระบรมศพจำลอง ประทับนอนในปางปรินิพพานอยู่ในโลกแก้ว
จัดพิธีจำลองเหตุการณ์ การถวายพระเพลิง พระพุทธสรีระจำลอง
.
.
*เวียงเจ้าเงาะ*
หาทางเข้าหลายครั้งเพิ่งมาถูก
บนถนน ทล. 102 อุตรดิตถ์ - ศรีสัชนาลัย เลี้ยวเข้าข้างรั้วขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ ทางไปร้านอาหาร ลานโพธิ์ ทิศเหนือของถนน
ที่ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
.
เป็นเวียงที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมุมเมือง (โบราณ) ทุ่งยั้ง
มีหลุมบ่อคล้ายถ้ำ และอุโมงค์อยู่มาก
.
กำแพงขุดในพื้นศิลาแลง
บริเวณข้างในกำแพงเป็นที่ราบ ดินปนศิลาแลง บางตอนเป็นศิลาแลงล้วน
บ่อน้ำทิพย์ อยู่ใต้กำแพงศิลาแลงของเวียงเจ้าเงาะ
เป็นบ่อน้ำตื้น น้ำในบ่อใสสะอาด ใช้ดื่มกินได้ ไม่เคยแห้ง
และเหมือนกับเมืองโบราณทุ่งยั้งคือ เวียงเจ้าเงาะมีกำแพงเมือง 3 ชั้น เป็นทั้งเนินดิน และเป็นศิลาแลงมีคูเมือง
.
จากตำนานเรื่องสังข์ทองที่เล่าสืบต่อกันมา  ชาวบ้านว่ากันว่าที่นี่คือ เมืองของสังข์ทองอยู่รจนาอยู่ หลังจากถูกท้าวสามลเนรเทศ
แต่ยังไม่มีใครสรุปได้ว่าเวียงเจ้าเงาะคืออะไรแน่
.
.
ภาพอาจมีท้องฟ้าหลากสีเพราะไปมาหลายครั้ง
.
ชื่อสินค้า:   อุตรดิตถ์ ลับแล
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่