[CR] อุตรดิตถ์ ตอน 3 - ตามรอยพระยาพิชัยดาบหัก

คำว่า ชากังราว เป็นภาษามอญ แปลว่า ตลาดหน้าด่าน
จากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวถึงเมืองชากังราวครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ. 1994 ว่า 
พระเจ้าติโลกราชได้ยึด "เมืองชากังราว" และจะเข้ายึดเมืองสุโขทัย แต่ไม่สำเร็จจึงยกทัพกลับคืนไป
.
จากพงศาวดารโยนก โดยพระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค), ตำนาน 15 ราชวงศ์, หนังสือ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับพิมพ์ของสำนักนายกรัฐมนตรี ฯลฯ ได้เล่าเหตุการณ์เมื่อ พ.ศ. 1994 บอกถึงเส้นทางการเดินทัพของพระเจ้าติโลกราช ว่า
มาจากเขตล้านนาทางเมืองแพร่หรือเมืองน่าน 
เมื่อผ่านพื้นที่เขาสูงของล้านนาก็จะถึงที่ราบแห่งแรกคือทุ่งย้างเมืองฝาง บนที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน
ได้เมืองใน "ลุ่มแม่น้ำน่าน " ตั้งแต่เหนือไปใต้ คือ
เมืองทุ่งยั้ง - อุตรดิตถ์
เมืองสองแคว - พิษณุโลก
และเมืองปากยม - พิจิตร
.
อ. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ (ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์โบราณคดีไทย กรมศิลปากร) แสดงหลักฐานแล้วอธิบายรายละเอียดไว้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม (ฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2539 หน้า 180-188)
ถึงข้อสรุปว่า เมืองชากังราวควรอยู่ระหว่างเมืองทุ่งยั้งกับเมืองสองแควมากกว่า (คืออยู่เหนือเมืองสองแควขึ้นไป) ได้แก่ เมืองพิชัย อ. พิชัย จ. อุตรดิตถ์
.
.
พ.ศ.2033 รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีการก่อกำแพงเมืองขึ้น ... ศึกเชียงใหม่
พ.ศ. 2127 รัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศอิสรภาพ พระยาสวรรคโลกและพระยาพิชัยไม่ยอมเกณฑ์กำลังไปช่วย
พระองค์จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตพระยาสวรรคโลกและพระยาพิชัย และกวาดต้อนพลเมืองลงมายังเมืองพิษณุโลกจนพิชัยกลายเป็นเมืองร้าง
.
.
วันนี้จะนำไปยังสถานที่ต่าง ๆ ตามเรื่องราวของพระยาพิชัยดาบหักในอุตรดิตถ์ดังนี้
พระยาพิชัยดาบหักเดิมชื่อ จ้อย บิดามารดามีอาชีพทำนา เกิดที่ บ้านห้วยคา ทางตะวันออกของ เมืองพิชัย ประมาณ 100 เส้นเศษ
เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดาส่งให้ไปเรียนหนังสือที่วัดมหาธาตุ ท่านชอบการชกมวย
เมื่อนายจ้อย อายุ 14 ปี มีเรื่องชกต่อยกับลูกเจ้าเมืองพิชัย จึงจะหนีไปเรียนชกมวยที่บ้านท่าเสา
ระหว่างทางถึง วัดบ้านแก่ง เห็นครูเที่ยงสอนชกมวยจึงขอสมัครเป็นศิษย์ เปลี่ยนชื่อเป็นทองดี
เมื่อชกมวยเก่งกว่าทุกคน ครูทองดีจึงตั้งสมญานามว่า ทองดีฟันขาว ... เพราะไม่กินหมาก
นายทองดีฟันขาวจากค่ายครูเที่ยงถูกเพื่อนอิจฉา เพราะไม่อยากมีเรื่องจึงเดินทางต่อ - ไปวัดใหญ่ท่าเสา
ผ่าน วัดเตาหม้อ ได้วิชากระโดดเตะข้ามศรีษะจากงิ้ว
ถึง วัดท่าเสา หรือวัดใหญ่ท่าเสา นายทองดีฟันขาว ฝากตัวเป็นศิษย์ครูเมฆ
.
.
* บ้านหันคา *
บ้านเกิด และพิพิธภัณฑ์พระยาพิชัยดาบหัก
.
.
* เมืองพิชัย *
.
สถานีรถไฟพิชัย 
.
.
* วัดขวางชัยภูมิ *
.
พ.ศ. 2315 โปสุพาลา แม่ทัพพม่าให้ซิกชิงโบนายทัพยกมาตีเมืองลับแล ต่อถึงเมืองพิชัย
เพราะไพร่พลมีน้อยพระยาพิชัยได้ตั้งมั่นรักษาเมืองแล้วขอกองทัพเมืองพิษณุโลกขึ้นไปช่วย
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์) เสด็จยกกองทัพเมืองพิษณุโลกขึ้นไปช่วย ตั้งค่ายอยู่ที่บริเวณวัดขวางชัยภูมิในปัจจุบัน
ศาลพระยาพิชัย  วิหาร อุโบสถเก่า  วิหารหลวงพ่อชัยชนะสงคราม
.
.
* วัดเอกา*
.
พม่าตั้งค่ายอยู่ที่บริเวณวัดเอกาปัจจุบัน และเป็นสนามรบที่พระยาพิชัยได้รบกับพม่าเป็นสามารถ
บริเวณนี้คงไม่ค่อยมีใครอยากมาอยู่เพราะเป็นสนามรบแต่เดิม 
.
.
แม่น้ำน่านที่พิชัย 
.
.
*วัดหน้าพระธาตุ*
.
ตำนานว่า
ราวปี 1470 พระยาโคตรบองเทวราช มาตั้งราชธานีขึ้นใหม่ที่ นครไชยบวร - ปากยม พิจิตร
ต่อมา พระยาโคตรบองเทวราช (น่าจะเป็นชื่อเรียกกษัตริย์ทุกพระองค์) ย้ายเมืองขึ้นมาที่สระหลวง - พิจิตรเก่า
ต่อมาโปรดให้ราชโอรส องค์ใหญ่ชื่อเจ้าไวยักษา ขึ้นมาสร้างเมืองด่าน ทางทิศเหนือ
สร้างพระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสาริกธาตุประจำเมือง
สร้างพระพุทธรูปไว้เบื้องหน้าพระธาตุ - หลวงพ่อโต ขนานนามวัดนี้ว่า วัดหน้าพระธาตุ 
ต่อมาถูกแม่น้ําน่านกัดเซาะเข้ามาถึงฐาน พระเจดีย์ทําให้ยอดหักลงน้ําไป เหลืออยู่ครึ่งองค์
และสุดท้าย ได้สร้าง "ปราสาทพระนวมะราชบพิตร"
ประดิษฐานหลวงพ่อโต และพระบรมสารีริกธาตุ
 .
ปราสาทพระนวมะราชบพิตร
หน้าบันเป็นตรา สัญลักษณ์มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ภาพเมื่อ พ.ศ. 2559
.
.
* วัดบ้านแก่งใต้ *
.
ไม่ได้ตั้งใจจะแวะ แต่เห็นคลองตรอนมาสบกับแม่น้ำน่านจึงชวนกันไปดูแม่น้ำที่หลังวัด
เมื่อเข้าไปไหว้พระในวิหาร จึงนึกขึ้นได้ว่าเคยอ่านเรื่องหลวงพ่อที่ปูนที่พระอุระกะเทาะออกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2555
แล้วพบหลวงพ่อองค์เดิมที่ซ่อนอยู่ด้านใน คงเพื่อป้องกันภัยสงครามน่าจะปลายอยุธยา อยากมาแต่ไม่นึกว่าจะได้มาจริง
.
.
เดินเลยไปหลังวัดริมน่าน ก็พบบริเวณอดีตค่ายมวยของครูเที่ยง ของพระยาพิชัย
.
.
ระหว่างทาง ผ่านบ้านสวยของ หมื่นมณีมโนปการ ริมน้ำน่าน และ บึงทับกระดานที่ตรอน
.
.
* วัดวังเตาหม้อหรือ วัดท่าถนน  *
.
อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ เป็นบริเวณที่เรียกว่าท่าโพ หนึ่งในท่าน้ำสำคัญแห่งเมืองท่าน้ำทางเหนือ
พระอุโบสถ - ปิด
โรงเรียนปริยัติธรรมและภาษาบาลีของพระภิกษุสามเณร - เป็นอาคารศิลปะแบบตะวันตก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2474
วิหารหลวงพ่อเพ็ชร - ประดิษฐานหลวงพ่อเพ็ชร พระพุทธรูปศิลปะล้านนา เชียงแสนสิงห์ 1 ขัดสมาธิเพ็ชร หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์
เล่าว่า
เมื่อปี พ.ศ. 2436 หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ อำเภอบางโพ (อำเภอเมืออุตรดิตถ์)
ได้พบจอมปลวกขนาดใหญ่รูปร่างแหลมผิดกลับจอมปลวกทั่วไป ที่บริเวณวัดไผ่ล้อม ต.ทุ่งยั้ง
จึงเอาไม้เคาะที่ยอดปลายแหลมจนดินหลุดออก เห็นเกศพระพุทธรูปโผล่ออกมา
เมื่อขุดจอมปลวกก็พบพระพุทธรูปฝังอยู่ในจอมปลวก -. เรื่องราวเหมือนหลวงพ่อในอุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ กำแพงเพชร
จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นไปไว้ที่วัดหมอนไม้
เพราะวัดหมอนไม้ไม่มีพระอุโบสถ และ ประชาชนที่ทราบข่าวมาสักการะบูชามาก จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อ (วัดท่าถนน)
ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อเพ็ชร .. ขัดสมาธิเพ็ชร
ปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ได้รวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงามตามหัวเมืองต่าง ๆ ไปประดิษฐาน
หลวงพ่อเพ็ชรก็ได้ให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรด้วย ทำให้เจ้าอาวาสเสียใจมาก จึงได้ออกจากวัดธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ
สุดท้ายได้มรณภาพบนภูเขาในป่า บ้านนาตารอด ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร กลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อตามคำขอของชาวเมืองอุตรดิตถ์ 
มีคำบอกเล่ามาว่าเทวดาประจำองค์หลวงพ่อ ได้ไปเข้าสุบินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า อยากกลับอุตรดิตถ์
ชื่อสินค้า:   อุตรดิตถ์ - พิชัย - ท่าโพ - ท่าเสา
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่