ความเห็นอกเห็นใจที่มากเกินไป ทำให้รับรู้ผิดพลาด

เครดิต : จากบทความ “อาการเสพติดความเห็นอกเห็นใจ : เจ็บปวด แต่ไม่เคยมองเห็นปัญหาที่ซุกอยู่ใต้พรม”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


ทักษะในการอ่านอารมณ์ของพวกเรามักคลาดเคลื่อนอยู่เสมอ มันทำให้เรามองเหตุผลด้วยสายตาที่พร่ามัว โดยเฉพาะความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ที่หลายคนเชื่อว่า ‘มีมากๆ แล้วจะดี’ 
แต่ทำไมหลายครั้งมันกลับหวนมาทำร้ายเรา?

ความเห็นอกเห็นใจแอบซ่อนความมืดมิดบางอย่าง มันดูดกลืนพลังของพวกเราไปอย่างมหาศาล โดยเฉพาะผู้ที่อ่อนไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
หลายคนที่มีลักษณะอ่อนไหวสูง เคยกล่าวว่า พวกเขามองความเห็นอกเห็นใจ ‘เปรียบเสมือนคำสาป’ มากกว่าจะเป็นพรจากสวรรค์ มันทำให้เขามีความรู้สึกร่วมหมดกับทุกสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว จนมักตัดสินใจผิดพลาดบ่อยครั้ง ใช้จ่ายเงินสนับสนุนสิ่งต่างๆ อย่างไม่รู้ตัว แล้วมักรู้สึกว่าคนรอบๆ ตัวมีสถานะเป็น ‘ลูกหนี้’ ที่ต้องคอยตรวจเช็กว่า พวกเขาใช้ความเห็นอกเห็นใจที่ตัวเองได้ให้ไปอย่างไร

ในทางจิตวิทยานั้น เรียกกระบวนการนี้ว่า ‘การตระหนักรู้ในการยับยั้งช่างใจ (Cognitive Disinhibition)‘ แต่ละคนจะมีตัวกรองความรู้สึกที่ไม่เหมือนกันเลยสักคนเดียว จะหนาหน่อย จะบางหน่อย ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตที่ลองผิดลองถูกจนก่อให้เกิดเป็นตัวกรอง ‘Cognitive Filter’ ชั้นแล้วชั้นเล่าว่าอะไรที่ควรรับ อะไรที่ไม่ควรรับ อะไรที่ปล่อยผ่านได้ และอะไรที่ไม่ควรซุกไว้ใต้พรม

แต่เราต้องยอมรับว่าคนจำนวนไม่น้อยมี Cognitive Filter บางเฉียบ แต่ก็ดันอยากจะช่วยโลก เมื่อเผชิญกับความท้าทายของโลกที่เป็นจริง มันไม่ได้ห้อมล้อมไปด้วยโอกาสและเติมเต็มความคาดหวังได้ทุกครั้ง พวกเขาจะรู้สึกหมดเรี่ยวแรงและหมดศรัทธาอย่างง่ายดาย แล้วมันจะเริ่มเลวร้ายที่สุด เมื่อพวกเขาพยายามช่วยเหลือคนอื่นเพื่อแก้ปมของตัวเอง

วัฏจักรเดิมๆ จึงทำงานแบบครบวงจร เพราะ พวกเขาไม่ได้พยายามช่วยเหลือคนอื่นเพื่อแก้ปัญหา แต่เพียงเพื่อบำบัดตัวเองจากภาวะไร้สมดุล

ความเห็นอกเห็นใจเองมีแง่มุมที่เจ็บปวดอยู่บ้าง และคนที่อ่อนไหวง่ายต่อกระแสความรู้สึก มีชั้นกรองอารมณ์ที่บอบบางก็มักตกเป็นเหยื่อของคนที่จ้องจะหาประโยชน์

ลองสำรวจตัวเองดูว่าคุณเป็นคนขี้เห็นอกเห็นใจระดับไหน รู้ลิมิตในการให้แค่ไหน ครั้งต่อไปที่มีใครมาขอความเห็นใจ คุณจะได้ยั้งตัวเอาไว้ได้สักก้าวหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกโซเชียลที่การเรียกร้องความสงสารและการให้ความเห็นใจทำได้เพียง คลิก เดียว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่