© David Spencer/Flickr
.
รถไฟ
Middleton Railway ใน
Leeds
ยังได้รับความนิยมต่อเนื่องมาถึง 260 ปี
แม้ว่าจะผ่านกาลเวลาที่ยาวนานกว่าทางรถไฟสายอื่น ๆ ในโลก
ทางรถไฟสายนี้ก่อตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติของรัฐสภาในปี 1758
เพื่อขนส่งถ่านหินจากเหมืองถ่านหิน Middleton ไปยังโรงงานต่าง ๆ ใน Leeds
ในเวลานั้นรางรถไฟยังทำจากไม้
แม้ว่าจะมีการใช้เครื่องจักรไอน้ำในอุตสาหกรรม
เพื่อขับเคลื่อนเตาหลอมโลหะ โรงงานตีเหล็ก และสูบน้ำจากเหมือง
แต่ก็ยังไม่มีใครคิดจะติดตั้งเครื่องจักรไอน้ำไว้บนหัวรถจักรรถไฟเลย
The Brandlings ผู้ประกอบการเหมืองถ่านหิน Middleton
เริ่มมองว่าตนเองเสียเปรียบคู่แข่ง
เพราะรถไฟไม่สามารถแล่นไปถึงแม่น้ำเพื่อขนส่งถ่านหินได้
เหมือน
Fenton Murray and Jackson ใน Rothwell
ดังนั้น Richard Humble ตัวแทนของ
Charles Brandling เจ้าของกิจการ
จึงเสนอให้สร้างเกวียนเทียมม้า ซึ่งสามารถดึงเกวียนบรรทุกถ่านหินไปบนรางรถไฟไม้ได้
ทางเกวียนแห่งแรกจึงสร้างขึ้นในปี 1755
ข้ามพื้นดินของ Charles Brandling และของเพื่อนบ้านที่เป็นมิตร
คัดไปยังท่าเทียบเรือริมแม่น้ำที่
Thwaite Gate
เส้นทางสร้างนี้ขยายไปถึง Leeds ในปี 1757
เพื่อให้แน่ใจว่าเส้นทางรถไฟจะไม่ถูกคัดค้านหรือยกเลิกในภายหลัง
Charles Brandling จึงขอสัตยาบันเรื่องนี้(อนุม้ติย้อนหลัง)
โดยตราเป็นพระราชบัญญัติผ่านรัฐสภา
จนกลายเป็นทางรถไฟสายแรกในโลก ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐสภา
(ถัาจะยกเลิกก็ต้องออกเป็นกฎหมายยกเลิก)
ความสามารถในการขนส่งถ่านหินจำนวนมากในราคาถูก
ทำให้ถ่านหินมีราคาถูกลงจนทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ
ที่กำลังพัฒนาหลายแห่งใน Leeds ได้ใช้ถ่านหินราคาถูก
เป็นแหล่งความร้อนและพลังงานต่าง ๆ ในโรงงาน
มีส่วนช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใน Leeds
เช่น เครื่องปั้นดินเผา การทำอิฐ แก้ว งานโลหะ และการผลิตเบียร์
ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 19
เริ่มมีความก้าวหน้ามากในเทคโนโลยีไอน้ำ
วิศวกร
Richard Trevithick คือ ผู้บุกเบิกคนแรก
ที่สร้างเครื่องจักรไอน้ำแรงดันสูงเป็นเครื่องแรก
เป็นการปูทางไปสู่การพัฒนาหัวรถจักรไอน้ำเครื่องแรกของโลก
ซึ่ง Richard Trevithick ได้สร้างขึ้นมา
สำหรับโรงงานเหล็ก
Coalbrookdale
2 ปีต่อมา ก็ได้สร้างรถจักรไอน้ำขึ้นอีกเครื่อง
สำหรับโรงงานเหล็ก
Penydarren
ในปี 1812
Middleton Colliery ก็เริ่มมีหัวรถจักรไอน้ำคันแรก ที่ชื่อว่า
Salamanca
สร้างโดยผู้ผลิตเครื่องจักรไอน้ำและเครื่องมือเครื่องจักรชาวอังกฤษ
Matthew Murray ซึ่งยืมการออกแบบของ Richard Trevithick
และทำการปรับปรุงโดยใช้กระบอกสูบ 2 กระบอก
แทนที่จะใช้เพียงเป็นกระบอกสูบเดียว
ทำให้เครื่องจักรขับเคลื่อนได้ราบรื่นยิ่งขึ้น
The Salamanca.
.
.
Salamanca เป็นรถจักรแบบ
rack and pinion เหล็กสับเฟืองกับเฟือง รุ่นแรก
เฟืองด้านเดียวจะวิ่งอยู่ด้านนอกของรางที่แคบของรถไฟ
มีลักษณะเป็นล้อฟันเฟืองขนาดใหญ่ทางด้านซ้ายของหัวรถจักร
ล้อฟันเฟืองขับเคลื่อนด้วยกระบอกสูบคู่
ที่ฝังอยู่ที่ด้านบนของหม้อไอน้ำตรงกลาง
Salamanca ประสบความสำเร็จอย่างมาก
จนทำให้เหมืองถ่านหินสั่งซื้อหัวรถจักรรถไฟแบบเดียวกันอีก 3 หัวรถจักร
และสามารถนำมาใช้งานได้นานถึง 20 ปี
แต่ Salamanca ตันแบบลำแรกที่สร้างขึ้นมามีอายุเพียง 6 ปี
เพราะมันทำลายตนเองจากหม้อไอน้ำระเบิดฆ่าคนขับรถไฟตาย
การระเบิดของหม้อไอน้ำของหัวรถจักร Salamaca
ที่ได้คร่าชีวิต James Hewitt คนขับรถไฟไอน้ำคนแรกของโลก
คนขับทำงานให้ Fenton, Murray & Wood
(ในเดือนกุมภาพันธ์ 1813
John Bruce เด็กวัย 13 ขวบ
คือ คนแรกของโลกที่ถูกรถไฟชนตาย
ขณะกำลังวิ่งเลียบข้างรางรถไฟ)
เรื่องนี้ ทำให้ Middleton Colliery ละะทิ้งการใช้พลังไอน้ำ
และกลับไปทำการขนส่งด้วยม้าเทียมเกวียน
ยกเว้นระยะทางชุมทางจากหลุมถ่านหินหลัก 1 ไมล์
ในปี 1866 หัวรถจักรไอน้ำจึงถูกนำมาใช้อีกครั้ง เพราะปลอดภัยมากขึ้น
ในปี 1881 ทางรถไฟมีการดัดแปลงขนาดราง
เป็นขนาดมาตรฐาน 1,435 มม.
เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับ Midland Railway ได้
เส้นทางรถไฟยังคงใช้งานได้จนถึงปี 1960
เมื่อมีการปิดเหมืองถ่านหิน
ทำให้อาสาสมัครเข้ามาควบคุมกิจการรถไฟ
แทนปล่อยให้ทิ้งร้าง/เลิกกิจการไป
ปัจจุบันทางรถไฟ Middleton Railway
ยังคงแล่นตามปกติในฐานะทางรถไฟสายมรดก
โดยมีรถจักรไอน้ำเก่า 2 คันและหัวรถจักรดีเซล 2-3 ตัวในโกดัง
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3aYUrMw
https://bit.ly/2Yuz0xJ
The Collier วาดโดย George Walker (1814) Salamanca กำลังวิ่งบนสาย Middleton Railway
© David Spencer/Flickr
© David Spencer/Flickr
สถานีหลักที่ Moor Road
หัวรถจักรในพิพิธภัณฑ์
Middleton Railway Blue Plaque
NER 1310 ใกล้เหนือสุดของทางรถไฟ ระหว่างงานเฉลิมฉลอง กรกฏาคม 2017
กำลังผ่านสายเหนือ northern 158 บนเส้นทางหลัก
ข่วง Balm Road Branch มองไปที่สถานีรถไฟ Moor Road จาก Beza Road ที่ตัดข้ามทางรถไฟ
Railcar กำลังข้ามถนน Moor Road สถานีรถไฟ Moor Road อยู่ด้านซ้าย
ชานชาลา Moor Road
จากสถานีรถไฟ Moor Road ไปที่อุโมงค์
Middleton Railway เส้นทางหลักไปที่อุโมงค์ มองย้อนหลังไปที่สถานี Moor Road
อุโมงค์ M621 ตอนเหนือสุด
จำลองเครื่องยนต์ Trevithick ที่ National Waterfront Museum ใน Swansea
ความยาวของรางแบบท้องปลา มีก้อนหินหนุน สำหรับล้อรถไฟที่มีครีบยื่นออกมา
จำลองตู้ขนส่ง Little Eaton Tramway บนรางเหล็ก
Minecart ในศตวรรษที่ 16 พบใน Transylvania
Benjamin Outram's Little Eaton Gangway กรกฏาคม 1908 กำลังบรรทุกถ่านหิน
เตาหลอมเหล็ก Abraham Darby ที่ Coalbrookdale
Coalbrookdale ในปี 1758
Coalbrookdale ยามค่ำคืน ในปี 1801 วาดโดย Philip James de Loutherbourg,
The Madeley wood furnaces, Madeley Wood Company
ประกาศประมูล Coalbrookdale Company ในปี 1910
.
125 Years of the Pilatus Cogwheel Railway | Euromaxx
.
.
Gottardo 2016
.
ทางรถไฟสายแรกของสยาม คือ
ทางรถไฟสายปากน้ำบริหารโดย กอมปานีรถไฟ หรือ บริษัทรถไฟปากน้ำ
โดย
พระยาชลยุทธโยธินทร์ (Andreas du Plessis de Richelieu) ชาวเดนมาร์ก
และ
พระนิเทศชลธี (Alfred John Loftas) ชาวอังกฤษ
ได้รับสัมปทานตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2429 เป็นเวลา 50 ปี สิ้นสุด พ.ศ. 2479
เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2434
ระยะเวลาการก่อสร้างทางรถไฟสายปากน้ำ 2 ปี มีระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร
มีวิศวกรเดินรถชื่อ ที.เอ. ก็อตเช่ (Captain T.A. Gottsche) ชาวเดนมาร์ก
ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น ขุนบริพัตรโภคกิจ ต้นสกุล
คเชศะนันทน์
ครั้งนั้นพระปิยะมหาราชได้ทรงทำพิธีเริ่มการก่อสร้างวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2434
©
WorldTheInternationalAlbum
Middleton ทางรถไฟที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและยังคงให้บริการ
ยังได้รับความนิยมต่อเนื่องมาถึง 260 ปี
แม้ว่าจะผ่านกาลเวลาที่ยาวนานกว่าทางรถไฟสายอื่น ๆ ในโลก
ทางรถไฟสายนี้ก่อตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติของรัฐสภาในปี 1758
เพื่อขนส่งถ่านหินจากเหมืองถ่านหิน Middleton ไปยังโรงงานต่าง ๆ ใน Leeds
ในเวลานั้นรางรถไฟยังทำจากไม้
แม้ว่าจะมีการใช้เครื่องจักรไอน้ำในอุตสาหกรรม
เพื่อขับเคลื่อนเตาหลอมโลหะ โรงงานตีเหล็ก และสูบน้ำจากเหมือง
แต่ก็ยังไม่มีใครคิดจะติดตั้งเครื่องจักรไอน้ำไว้บนหัวรถจักรรถไฟเลย
The Brandlings ผู้ประกอบการเหมืองถ่านหิน Middleton
เริ่มมองว่าตนเองเสียเปรียบคู่แข่ง
เพราะรถไฟไม่สามารถแล่นไปถึงแม่น้ำเพื่อขนส่งถ่านหินได้
เหมือน Fenton Murray and Jackson ใน Rothwell
ดังนั้น Richard Humble ตัวแทนของ Charles Brandling เจ้าของกิจการ
จึงเสนอให้สร้างเกวียนเทียมม้า ซึ่งสามารถดึงเกวียนบรรทุกถ่านหินไปบนรางรถไฟไม้ได้
ทางเกวียนแห่งแรกจึงสร้างขึ้นในปี 1755
ข้ามพื้นดินของ Charles Brandling และของเพื่อนบ้านที่เป็นมิตร
คัดไปยังท่าเทียบเรือริมแม่น้ำที่ Thwaite Gate
เส้นทางสร้างนี้ขยายไปถึง Leeds ในปี 1757
เพื่อให้แน่ใจว่าเส้นทางรถไฟจะไม่ถูกคัดค้านหรือยกเลิกในภายหลัง
Charles Brandling จึงขอสัตยาบันเรื่องนี้(อนุม้ติย้อนหลัง)
โดยตราเป็นพระราชบัญญัติผ่านรัฐสภา
จนกลายเป็นทางรถไฟสายแรกในโลก ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐสภา
(ถัาจะยกเลิกก็ต้องออกเป็นกฎหมายยกเลิก)
ความสามารถในการขนส่งถ่านหินจำนวนมากในราคาถูก
ทำให้ถ่านหินมีราคาถูกลงจนทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ
ที่กำลังพัฒนาหลายแห่งใน Leeds ได้ใช้ถ่านหินราคาถูก
เป็นแหล่งความร้อนและพลังงานต่าง ๆ ในโรงงาน
มีส่วนช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใน Leeds
เช่น เครื่องปั้นดินเผา การทำอิฐ แก้ว งานโลหะ และการผลิตเบียร์
ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 19
เริ่มมีความก้าวหน้ามากในเทคโนโลยีไอน้ำ
วิศวกร Richard Trevithick คือ ผู้บุกเบิกคนแรก
ที่สร้างเครื่องจักรไอน้ำแรงดันสูงเป็นเครื่องแรก
เป็นการปูทางไปสู่การพัฒนาหัวรถจักรไอน้ำเครื่องแรกของโลก
ซึ่ง Richard Trevithick ได้สร้างขึ้นมา
สำหรับโรงงานเหล็ก Coalbrookdale
2 ปีต่อมา ก็ได้สร้างรถจักรไอน้ำขึ้นอีกเครื่อง
สำหรับโรงงานเหล็ก Penydarren
ในปี 1812
Middleton Colliery ก็เริ่มมีหัวรถจักรไอน้ำคันแรก ที่ชื่อว่า Salamanca
สร้างโดยผู้ผลิตเครื่องจักรไอน้ำและเครื่องมือเครื่องจักรชาวอังกฤษ
Matthew Murray ซึ่งยืมการออกแบบของ Richard Trevithick
และทำการปรับปรุงโดยใช้กระบอกสูบ 2 กระบอก
แทนที่จะใช้เพียงเป็นกระบอกสูบเดียว
ทำให้เครื่องจักรขับเคลื่อนได้ราบรื่นยิ่งขึ้น
เฟืองด้านเดียวจะวิ่งอยู่ด้านนอกของรางที่แคบของรถไฟ
มีลักษณะเป็นล้อฟันเฟืองขนาดใหญ่ทางด้านซ้ายของหัวรถจักร
ล้อฟันเฟืองขับเคลื่อนด้วยกระบอกสูบคู่
ที่ฝังอยู่ที่ด้านบนของหม้อไอน้ำตรงกลาง
Salamanca ประสบความสำเร็จอย่างมาก
จนทำให้เหมืองถ่านหินสั่งซื้อหัวรถจักรรถไฟแบบเดียวกันอีก 3 หัวรถจักร
และสามารถนำมาใช้งานได้นานถึง 20 ปี
แต่ Salamanca ตันแบบลำแรกที่สร้างขึ้นมามีอายุเพียง 6 ปี
เพราะมันทำลายตนเองจากหม้อไอน้ำระเบิดฆ่าคนขับรถไฟตาย
การระเบิดของหม้อไอน้ำของหัวรถจักร Salamaca
ที่ได้คร่าชีวิต James Hewitt คนขับรถไฟไอน้ำคนแรกของโลก
คนขับทำงานให้ Fenton, Murray & Wood
(ในเดือนกุมภาพันธ์ 1813
John Bruce เด็กวัย 13 ขวบ
คือ คนแรกของโลกที่ถูกรถไฟชนตาย
ขณะกำลังวิ่งเลียบข้างรางรถไฟ)
เรื่องนี้ ทำให้ Middleton Colliery ละะทิ้งการใช้พลังไอน้ำ
และกลับไปทำการขนส่งด้วยม้าเทียมเกวียน
ยกเว้นระยะทางชุมทางจากหลุมถ่านหินหลัก 1 ไมล์
ในปี 1866 หัวรถจักรไอน้ำจึงถูกนำมาใช้อีกครั้ง เพราะปลอดภัยมากขึ้น
ในปี 1881 ทางรถไฟมีการดัดแปลงขนาดราง
เป็นขนาดมาตรฐาน 1,435 มม.
เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับ Midland Railway ได้
เส้นทางรถไฟยังคงใช้งานได้จนถึงปี 1960
เมื่อมีการปิดเหมืองถ่านหิน
ทำให้อาสาสมัครเข้ามาควบคุมกิจการรถไฟ
แทนปล่อยให้ทิ้งร้าง/เลิกกิจการไป
ปัจจุบันทางรถไฟ Middleton Railway
ยังคงแล่นตามปกติในฐานะทางรถไฟสายมรดก
โดยมีรถจักรไอน้ำเก่า 2 คันและหัวรถจักรดีเซล 2-3 ตัวในโกดัง
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3aYUrMw
https://bit.ly/2Yuz0xJ
.
.
ทางรถไฟสายแรกของสยาม คือ
ทางรถไฟสายปากน้ำบริหารโดย กอมปานีรถไฟ หรือ บริษัทรถไฟปากน้ำ
โดย พระยาชลยุทธโยธินทร์ (Andreas du Plessis de Richelieu) ชาวเดนมาร์ก
และ พระนิเทศชลธี (Alfred John Loftas) ชาวอังกฤษ
ได้รับสัมปทานตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2429 เป็นเวลา 50 ปี สิ้นสุด พ.ศ. 2479
เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2434
ระยะเวลาการก่อสร้างทางรถไฟสายปากน้ำ 2 ปี มีระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร
มีวิศวกรเดินรถชื่อ ที.เอ. ก็อตเช่ (Captain T.A. Gottsche) ชาวเดนมาร์ก
ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น ขุนบริพัตรโภคกิจ ต้นสกุล คเชศะนันทน์
ครั้งนั้นพระปิยะมหาราชได้ทรงทำพิธีเริ่มการก่อสร้างวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2434
© WorldTheInternationalAlbum