125 Years of the Pilatus Cogwheel Railway | Euromaxx
การสัญจรที่เชื่อมต่อระหว่าง Alpnachstad แถวทะเลสาบ Lucenrne
ที่ปลายทางใกล้กับยอดภูเขา Pilatus ด้วยรถไฟล้อเฟืองเกียร์
สาย Alpnachstad ถึง Pilatus Kulm
ได้รับการบันทึกว่าเป็นทางลาดชันที่สุดในโลก
ด้วยระดับความสูงของสถานีที่ 2,073 เมตรจากระดับน้ำทะเล
รถไฟล้อเฟืองปีนขึ้นทางลาดชันกว่า 1,635 เมตร
ตลอดเส้นทางรถไฟระยะทาง 4,618 เมตร
ด้วยการที่รถไฟล้อเฟืองเกียร์ต้องไต่ระดับทางลาดชัน
เฉลี่ยจาก 38% ไปจนที่ระดับสูงสุดที่ 48%
ทำให้เป็นเส้นทางลาดชันกว่า
Baldwin Street ที่ลาดชันที่สุดในโลกที่นิวซีแลนด์
ในปี 1873 ตามข้อเสนอโครงการก่อสร้างเดิม
รถไฟล้อเฟืองเกียร์ได้รับข้อเสนอว่า
ให้ใช้รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร
และให้ไต่ระดับความลาดชันสูงสุดไม่เกินกว่า 25%
แต่ข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธในเวลาต่อมา
เพราะไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจและการลงทุน
พันเอก Eduard Locher วิศวกรที่มีประสบการณ์ในเชิงช่างยุคนั้น
ได้คิดค้นวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ซ้ำแบบใคร
เพื่อให้รถไฟล้อเฟืองเกียร์สามารถไต่ระดับทางลาดชันได้สูงสุดถึง 48%
ทำงานได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
ลดเส้นทางสัญจรลงได้ครึ่งหนึ่ง
จากเดิมต้องตัดเส้นทางให้ลาดชันระดับที่ 25%
และยิ่งเส้นทางที่คดเคี้ยวยิ่งมีองศาเอียงมากตามไหล่ทาง
โครงการของ Locher
พันเอก Eduard Locher-Freuler เกิดที่ Zurich ในปี 1840
หลายคนยอมรับความมีวิสัยทัศน์ในช่วงชีวิตการทำงานของท่าน
ด้วยการออกแบบระบบรางใหม่สำหรับรถไฟล้อเฟืองเกียร์
ทำให้มาตรฐานรางลดลงเหลือขนาด 80 เซนติเมตร
และประหยัดเส้นทางที่คดเคี้ยวไปมา
การออกแบบเส้นทางเดินรถไฟล้อเฟืองเกียร์
ได้รับอนุญาต
ให้ใช้งานเดินทางบนเส้นทาง 4.2 กิโลเมตร
และรับมือกับการไต่ระดับได้สูงถึง 48%
Locher ร่วมมืออย่างจริงจังกับ Eduard-Guyer-Frueler น้องเขยของท่าน
ตลอดช่วงปี 1883-1884 ในการออกแบบรถไฟล้อเฟืองเกียร์
และได้รับอนุญาต
ให้การก่อสร้างได้เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1885
หลังจากที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐ
และเจ้าของที่ดินที่ต้องพาดเส้นทางรถไฟผ่านพื้นที่
Locher กับน้องเขยได้ส่งแผนงานขั้นสุดท้าย
สำหรับการออกแบบรถไฟล้อเฟืองเกียร์ในธันวาคม 1885
เพื่อเตรียมเสนอขายหุ้นให้กับประชาชน
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 1886 บริษัท Pilatus-Railway-Company
มีทุนจดทะเบียน 2 ล้านฟรังก์ และมีหุ้นเพิ่มทุน 850,000 ฟรังก์
มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปครั้งแรกใน Hotel du Lac ที่ Lucerne
คนที่ถือหุ้นจากบริษัทนี้จนถึงปัจจุบันจะมีกำไร/เงินปันผลอย่างมากทีเดียว
ในวันที่ 1 เมษายน 1886
ก็ได้เริ่มลงมือก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้
ในการทดลองวิ่งระยะแรก
ได้พิสูจน์แล้วว่า
การออกแบบประสบความสำเร็จตามคาดหมาย
ทีมงาน Locher ประกอบด้วยคนงานสวิสประมาณ 200 คน
และผู้รับเหมาช่วง/คนงานชาวอิตาลีประมาณ 600 คน
ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 400 วัน
หลังจากเสร็จสิ้นโครงการรถไฟล้อเฟืองเกียร์ Pilatus
Locher ก็หันไปทำงานในโครงการสร้างสะพานต่าง ๆ
รวมทั้งสะพานบนเทือกเขา Gotthard Massif
นอกจากนี้ท่านยังลงมือเป็นผู้บุกเบิก
โครงการอุโมงค์ต่าง ๆ ในสวิสเซอร์แลนด์
นวัตกรรมการออกแบบของรถไฟล้อเฟืองเกียร์ที่ Pilatus
ยังไม่มีการใช้งานที่ใดในโลกตอนนี้
ทำให้มันไม่เป็นเพียงแค่ที่พิเศษหนึ่งเดียวในโลก
แต่มันมาจากความรัก/ความใฝ่ฝันของวิศวกรซ่อมบำรุงทาง
การออกแบบและการก่อสร้าง
ระบบทั่วไปในยุคนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการไต่ระดับขึ้นบนที่ลาดชัน
เหมือนกับการออกแบบของ Locher
เพราะยังมีข้อจำกัดทางเชิงกล
ในด้านแนวตั้งระบบล้อเฟืองเกียร์ที่พบบ่อยมากในช่วงเวลานั้น
เพราะภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่า การไต่ระดับที่สูงขึ้น/ลาดชันขึ้น
แนวตั้งเฟืองล้อเกียร์ด้านบนที่ขบกับรางที่เป็นเฟืองเกียร์
ล้อด้านบน
มักจะกระโดดออกมาจากการขบกัน
ในช่วงเวลาที่รถไฟไต่ระดับหรือเบรคกระทันหัน
วิธีการแก้ปัญหาของ Locher คือ
ตัดล้อเฟืองเกียร์เดิมแนวตั้งที่วางบนเพลาขนานกับล้อคู่ออก
เปลี่ยนเป็นล้อเฟืองเกียร์วางคู่ขนานในแนวนอน
ติดกับขบวนรถไฟที่วิ่งบนรางคู่แบบเดิม
โดยให้ฟันเฟืองเกียร์หมุนไปคนละด้านไม่หมุนในทิศทางเดียวกัน
บังคับให้ล้อเฟืองเกียร์ทั้งคู่ขบกับรางตรงกลางที่เป็นแกนเฟืองเกียร์
พร้อมกับล้อคู่บนรางรถรถไฟที่หน้าแปลนล้อจับกับรางทั้งสองด้าน
ทำให้
โอกาสที่รถไฟล้อเฟืองเกียร์จะหลุดออกจากรางรถไฟยากมาก
รวมทั้งยังป้องกันรถไฟโคลงเคลงเอียงข้างไปมา
จากลมแรงที่โหมกระหน่ำบ่อยครั้งในพื้นที่แห่งนี้
ระบบ Rack Locher
ภายใต้ระบบ Rack Locher
ล้อเฟืองเกียร์แบบเดิมที่มีอันเดียว
กดลงบนรางเฟืองเกียร์จะถูกตัดออกไป
แล้วใช้ล้อเฟืองเกียร์สองด้านที่วางใต้ตู้รถไฟ
ที่วิ่งขบกับรางกลางที่เป็นแกนเฟืองเกียร์
พร้อมกับล้อรถไฟสองข้างเหมือนแบบเดิม
ที่หน้าแปลนล้อรถไฟจับกับรางรถไฟที่วางคู่ขนาน
การออกแบบของ Locher ที่วางระบบไว้
ทำให้สามารถไต่ระดับที่ลาดชัน/สูงสุดได้
ในอัตราส่วนทดรอบ 1 ส่วน 2 ของระบบเดิม
ระบบเดิมที่พบมากที่สุดคือระบบของ Abt
ตามตัวอย่างซึ่งถูกนำมาใช้บนภูเขา Snowden ของ Wales
แต่ระบบนี้จะไต่ระดับได้โดยมีข้อจำกัดไม่เกิน 1 ส่วน 4
หรือทางลาดชันไม่เกินกว่า 25 %
Locher ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า
ระบบการการไต่ระดับที่ลาดชันของระบบ Abt
มีแนวโน้มที่ฟันเฟืองเกียร์จะปีนเกียวหรือโดดข้ามเฟืองได้
นี่คือคำอธิบายที่เข้าใจได้ว่า
มีความเป็นไปได้ที่รถไฟจะตกรางและนำไปสู่หายนะได้
จินตนาการและวิสัยทัศน์การออกแบบของ Locher
ที่ใช้ระบบล้อเฟืองเกียร์คู่ประกบกับรางที่เป็นแกนเฟือง
แก้ปัญหาล้อเฟืองกระโดดหรือหลุดออกจากรางได้
ในทางทฤษฎีนี้ หัวรถจักรระบบนี้
จะสามารถแก้ไขปัญหาความลาดชันของภูเขา Pilatus ได้
แต่การออกแบบนี้ไม่ใช่ไม่มีปัญหาอื่น ๆ ตามมา
เพราะมาตรฐานระบบราง/การใช้เส้นทางรถไฟทั่วไป
จะใช้งานกับระบบล้อเฟืองเกียร์นี้ไม่ได้เลย
รวมทั้ง
ระบบจ่ายไฟฟ้าให้หัวรถจักร
และอุปกรณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ
จำต้องใช้ระบบแยกระบบออกมา
พร้อมกับมีเส้นทางเดินรถแยกต่างหากจากระบบรางอื่น
ผลการทดสอบระบบ Locher
ถูกนำไปใช้ในเส้นทางรถไฟ Pilatus ซึ่งเปิดในปี 1889
โดยยังไม่มีรถไฟสาธารณะที่อื่น ๆ ใช้ระบบ Locher
แม้ว่าจะมีเหมืองถ่านหินยุโรปบางแห่งจะใช้ระบบที่คล้ายกัน
กับรถไฟใต้ดินที่ใช้ในงานเส้นทางที่ลาดชันในเหมืองถ่านหิน
พลังงาน
รถคันแรกที่วิ่งขึ้นบนภูเขา Pilatus
ยังไม่ได้ติดตั้งล้อแปลนด้านหน้า
แต่ต่อมาได้ทำการติดตั้งเพื่อให้ง่ายกับการบำรุงรักษา
เส้นทางรถไฟนี้เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 1889
โดยใช้หัวรถจักรไอน้ำในการให้พลังงานเดินทางขึ้นลง
ระบบไอน้ำขับเคลื่อนรถไฟสามารถบรรทุกผู้โดยสาร 32 คน
และเดินทางโดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ต้องมีจุดเติมน้ำและไม้ฟืนเป็นระยะ ๆ
ในช่วงที่มีการพัฒนาเครื่องจักรไอน้ำที่มีแรงฉุดมากขึ้น
จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 30,000 ถึง 55,000 ปี
ในช่วงทศวรรษที่ 1930
หัวรถจักรไอน้ำและตู้รถไฟมีจำนวน 11 ตู้
ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น
แต่ในตอนนี้ หัวรถจักรและตู้ขบวนรถไฟ
ในปัจจุบันเพียงพอกับการใช้งานเดินรถแล้ว
ในปี 1905 เพื่อแก้ไขเรื่องจำนวนรถขึ้นลงไม่เพียงพอกับความต้องการ
จึงมีการพิจารณาให้ใช้พลังงานไฟฟ้าแทนพลังงานไอน้ำ
แม้ว่าเทคโนโลยีไฟฟ้าจะมีอยู่แล้วในช่วงเริ่มต้นยุคแรก ๆ
และกำลังเริ่มแบบเตาะแตะ
แต่ค่าใช้จ่ายในการแปลงระบบพลังงาน
มีการคัดค้านและถกเถียงกันหลายประเด็น
รวมทั้งการห้ามปรามไม่ให้เปลี่ยนไปใช้ระบบไฟฟ้า
ในวันที่ 15 พฤษภาคม 1937
ระบบกระแสไฟฟ้าถูกนำมาใช้
โดยใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าขนาด 1,550 Volt DC
ทุกวันนี้รถไฟที่ใช้เครื่องจักรยนต์ระบบไฟฟ้า
สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 40 คน/ตู้
และใช้เวลาประมาณ 9 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ทำให้ลดเวลาขนส่งลงไปถึงครึ่งหนึ่ง
เหลือเวลาเดินทางเพียงประมาณ 30 นาที
สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ปีละกว่า 100,000 คน
ในการเดินรถไฟบนเส้นทางสายนี้
ต้องระมัดระวังสัตว์ป่าที่มักจะข้ามทางรถไฟ
ตลอดจนเศษหินที่หล่นกีดขวางทางรถไฟ
รวมทั้งการตรวจสอบหมุดยึดรางรถไฟ
และความแน่นหนามั่นคงแข็งแรง
ซึ่งต้องมีพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุงทางรถไฟ
คอยตรวจสอบและจัดการขนย้ายสิ่งกีดขวางออกไป
เหมือนกับเส้นทางรถไฟทั่วไปที่ใช้งาน
ระบบรางที่ใช้งานกันอยู่ในทุกวันนี้
ยังคงใช้รางเดิมซึ่งตอนนี้อายุกว่า 100 ปีแล้ว
ในขณะที่อัตราสึกหรอที่เกิดขึ้นจากแรงเสียดทานมีน้อยมาก
จากผลการตรวจสอบในในช่วงปีที่ผ่านมา
พบว่าสามารถแก้ไขได้โดยง่าย
เพียงแต่เปลี่ยนล้อเฟืองชุดใหม่และรางที่เป็นเฟืองขบ
ก็สามารถใช้งานได้ถึง 100 ปีเช่นเดิม
รถไฟล้อเฟืองเกียร์เปิดให้บริการ
ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
ช่วงที่รางรถไฟไม่ถูกฝังจมอยู่ใต้กองหิมะ
รถไฟจะออกทุก ๆ 45 นาทีในระหว่างวัน
หากต้องการจะไปเยี่ยมชมที่ยอดเขา Pilatus ในช่วงฤดูหนาว
จะมีรถกระเช้าลอยฟ้าที่พาไปที่นั่นแทน
เรียบเรียง/ที่มา/ภาพ
https://goo.gl/bnQLfT
https://goo.gl/mRRGb5
https://goo.gl/hNEExv
รถไฟล้อเฟืองเกียร์ที่วิ่งเส้นทางลาดชันที่สุดในโลก
125 Years of the Pilatus Cogwheel Railway | Euromaxx
การสัญจรที่เชื่อมต่อระหว่าง Alpnachstad แถวทะเลสาบ Lucenrne
ที่ปลายทางใกล้กับยอดภูเขา Pilatus ด้วยรถไฟล้อเฟืองเกียร์
สาย Alpnachstad ถึง Pilatus Kulm
ได้รับการบันทึกว่าเป็นทางลาดชันที่สุดในโลก
ด้วยระดับความสูงของสถานีที่ 2,073 เมตรจากระดับน้ำทะเล
รถไฟล้อเฟืองปีนขึ้นทางลาดชันกว่า 1,635 เมตร
ตลอดเส้นทางรถไฟระยะทาง 4,618 เมตร
ด้วยการที่รถไฟล้อเฟืองเกียร์ต้องไต่ระดับทางลาดชัน
เฉลี่ยจาก 38% ไปจนที่ระดับสูงสุดที่ 48%
ทำให้เป็นเส้นทางลาดชันกว่า Baldwin Street ที่ลาดชันที่สุดในโลกที่นิวซีแลนด์
ในปี 1873 ตามข้อเสนอโครงการก่อสร้างเดิม
รถไฟล้อเฟืองเกียร์ได้รับข้อเสนอว่า
ให้ใช้รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร
และให้ไต่ระดับความลาดชันสูงสุดไม่เกินกว่า 25%
แต่ข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธในเวลาต่อมา
เพราะไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจและการลงทุน
พันเอก Eduard Locher วิศวกรที่มีประสบการณ์ในเชิงช่างยุคนั้น
ได้คิดค้นวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ซ้ำแบบใคร
เพื่อให้รถไฟล้อเฟืองเกียร์สามารถไต่ระดับทางลาดชันได้สูงสุดถึง 48%
ทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
ลดเส้นทางสัญจรลงได้ครึ่งหนึ่ง
จากเดิมต้องตัดเส้นทางให้ลาดชันระดับที่ 25%
และยิ่งเส้นทางที่คดเคี้ยวยิ่งมีองศาเอียงมากตามไหล่ทาง
โครงการของ Locher
พันเอก Eduard Locher-Freuler เกิดที่ Zurich ในปี 1840
หลายคนยอมรับความมีวิสัยทัศน์ในช่วงชีวิตการทำงานของท่าน
ด้วยการออกแบบระบบรางใหม่สำหรับรถไฟล้อเฟืองเกียร์
ทำให้มาตรฐานรางลดลงเหลือขนาด 80 เซนติเมตร
และประหยัดเส้นทางที่คดเคี้ยวไปมา
การออกแบบเส้นทางเดินรถไฟล้อเฟืองเกียร์
ได้รับอนุญาต ให้ใช้งานเดินทางบนเส้นทาง 4.2 กิโลเมตร
และรับมือกับการไต่ระดับได้สูงถึง 48%
Locher ร่วมมืออย่างจริงจังกับ Eduard-Guyer-Frueler น้องเขยของท่าน
ตลอดช่วงปี 1883-1884 ในการออกแบบรถไฟล้อเฟืองเกียร์
และได้รับอนุญาต ให้การก่อสร้างได้เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1885
หลังจากที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐ
และเจ้าของที่ดินที่ต้องพาดเส้นทางรถไฟผ่านพื้นที่
Locher กับน้องเขยได้ส่งแผนงานขั้นสุดท้าย
สำหรับการออกแบบรถไฟล้อเฟืองเกียร์ในธันวาคม 1885
เพื่อเตรียมเสนอขายหุ้นให้กับประชาชน
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 1886 บริษัท Pilatus-Railway-Company
มีทุนจดทะเบียน 2 ล้านฟรังก์ และมีหุ้นเพิ่มทุน 850,000 ฟรังก์
มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปครั้งแรกใน Hotel du Lac ที่ Lucerne
คนที่ถือหุ้นจากบริษัทนี้จนถึงปัจจุบันจะมีกำไร/เงินปันผลอย่างมากทีเดียว
ในวันที่ 1 เมษายน 1886
ก็ได้เริ่มลงมือก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้
ในการทดลองวิ่งระยะแรก ได้พิสูจน์แล้วว่า
การออกแบบประสบความสำเร็จตามคาดหมาย
ทีมงาน Locher ประกอบด้วยคนงานสวิสประมาณ 200 คน
และผู้รับเหมาช่วง/คนงานชาวอิตาลีประมาณ 600 คน
ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 400 วัน
หลังจากเสร็จสิ้นโครงการรถไฟล้อเฟืองเกียร์ Pilatus
Locher ก็หันไปทำงานในโครงการสร้างสะพานต่าง ๆ
รวมทั้งสะพานบนเทือกเขา Gotthard Massif
นอกจากนี้ท่านยังลงมือเป็นผู้บุกเบิก
โครงการอุโมงค์ต่าง ๆ ในสวิสเซอร์แลนด์
นวัตกรรมการออกแบบของรถไฟล้อเฟืองเกียร์ที่ Pilatus
ยังไม่มีการใช้งานที่ใดในโลกตอนนี้
ทำให้มันไม่เป็นเพียงแค่ที่พิเศษหนึ่งเดียวในโลก
แต่มันมาจากความรัก/ความใฝ่ฝันของวิศวกรซ่อมบำรุงทาง
การออกแบบและการก่อสร้าง
ระบบทั่วไปในยุคนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการไต่ระดับขึ้นบนที่ลาดชัน
เหมือนกับการออกแบบของ Locher เพราะยังมีข้อจำกัดทางเชิงกล
ในด้านแนวตั้งระบบล้อเฟืองเกียร์ที่พบบ่อยมากในช่วงเวลานั้น
เพราะภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่า การไต่ระดับที่สูงขึ้น/ลาดชันขึ้น
แนวตั้งเฟืองล้อเกียร์ด้านบนที่ขบกับรางที่เป็นเฟืองเกียร์
ล้อด้านบน มักจะกระโดดออกมาจากการขบกัน
ในช่วงเวลาที่รถไฟไต่ระดับหรือเบรคกระทันหัน
วิธีการแก้ปัญหาของ Locher คือ
ตัดล้อเฟืองเกียร์เดิมแนวตั้งที่วางบนเพลาขนานกับล้อคู่ออก
เปลี่ยนเป็นล้อเฟืองเกียร์วางคู่ขนานในแนวนอน
ติดกับขบวนรถไฟที่วิ่งบนรางคู่แบบเดิม
โดยให้ฟันเฟืองเกียร์หมุนไปคนละด้านไม่หมุนในทิศทางเดียวกัน
บังคับให้ล้อเฟืองเกียร์ทั้งคู่ขบกับรางตรงกลางที่เป็นแกนเฟืองเกียร์
พร้อมกับล้อคู่บนรางรถรถไฟที่หน้าแปลนล้อจับกับรางทั้งสองด้าน
ทำให้ โอกาสที่รถไฟล้อเฟืองเกียร์จะหลุดออกจากรางรถไฟยากมาก
รวมทั้งยังป้องกันรถไฟโคลงเคลงเอียงข้างไปมา
จากลมแรงที่โหมกระหน่ำบ่อยครั้งในพื้นที่แห่งนี้
ภาพเคลื่อนไหว https://goo.gl/bVxelw
ระบบ Rack Locher
ภายใต้ระบบ Rack Locher
ล้อเฟืองเกียร์แบบเดิมที่มีอันเดียว
กดลงบนรางเฟืองเกียร์จะถูกตัดออกไป
แล้วใช้ล้อเฟืองเกียร์สองด้านที่วางใต้ตู้รถไฟ
ที่วิ่งขบกับรางกลางที่เป็นแกนเฟืองเกียร์
พร้อมกับล้อรถไฟสองข้างเหมือนแบบเดิม
ที่หน้าแปลนล้อรถไฟจับกับรางรถไฟที่วางคู่ขนาน
การออกแบบของ Locher ที่วางระบบไว้
ทำให้สามารถไต่ระดับที่ลาดชัน/สูงสุดได้
ในอัตราส่วนทดรอบ 1 ส่วน 2 ของระบบเดิม
ระบบเดิมที่พบมากที่สุดคือระบบของ Abt
ตามตัวอย่างซึ่งถูกนำมาใช้บนภูเขา Snowden ของ Wales
แต่ระบบนี้จะไต่ระดับได้โดยมีข้อจำกัดไม่เกิน 1 ส่วน 4
หรือทางลาดชันไม่เกินกว่า 25 %
Locher ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า
ระบบการการไต่ระดับที่ลาดชันของระบบ Abt
มีแนวโน้มที่ฟันเฟืองเกียร์จะปีนเกียวหรือโดดข้ามเฟืองได้
นี่คือคำอธิบายที่เข้าใจได้ว่า
มีความเป็นไปได้ที่รถไฟจะตกรางและนำไปสู่หายนะได้
ที่มา https://goo.gl/XzYp7C
จินตนาการและวิสัยทัศน์การออกแบบของ Locher
ที่ใช้ระบบล้อเฟืองเกียร์คู่ประกบกับรางที่เป็นแกนเฟือง
แก้ปัญหาล้อเฟืองกระโดดหรือหลุดออกจากรางได้
ในทางทฤษฎีนี้ หัวรถจักรระบบนี้
จะสามารถแก้ไขปัญหาความลาดชันของภูเขา Pilatus ได้
แต่การออกแบบนี้ไม่ใช่ไม่มีปัญหาอื่น ๆ ตามมา
เพราะมาตรฐานระบบราง/การใช้เส้นทางรถไฟทั่วไป
จะใช้งานกับระบบล้อเฟืองเกียร์นี้ไม่ได้เลย
รวมทั้ง ระบบจ่ายไฟฟ้าให้หัวรถจักร
และอุปกรณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ
จำต้องใช้ระบบแยกระบบออกมา
พร้อมกับมีเส้นทางเดินรถแยกต่างหากจากระบบรางอื่น
ผลการทดสอบระบบ Locher
ถูกนำไปใช้ในเส้นทางรถไฟ Pilatus ซึ่งเปิดในปี 1889
โดยยังไม่มีรถไฟสาธารณะที่อื่น ๆ ใช้ระบบ Locher
แม้ว่าจะมีเหมืองถ่านหินยุโรปบางแห่งจะใช้ระบบที่คล้ายกัน
กับรถไฟใต้ดินที่ใช้ในงานเส้นทางที่ลาดชันในเหมืองถ่านหิน
พลังงาน
รถคันแรกที่วิ่งขึ้นบนภูเขา Pilatus
ยังไม่ได้ติดตั้งล้อแปลนด้านหน้า
แต่ต่อมาได้ทำการติดตั้งเพื่อให้ง่ายกับการบำรุงรักษา
เส้นทางรถไฟนี้เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 1889
โดยใช้หัวรถจักรไอน้ำในการให้พลังงานเดินทางขึ้นลง
ระบบไอน้ำขับเคลื่อนรถไฟสามารถบรรทุกผู้โดยสาร 32 คน
และเดินทางโดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ต้องมีจุดเติมน้ำและไม้ฟืนเป็นระยะ ๆ
ในช่วงที่มีการพัฒนาเครื่องจักรไอน้ำที่มีแรงฉุดมากขึ้น
จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 30,000 ถึง 55,000 ปี
ในช่วงทศวรรษที่ 1930 หัวรถจักรไอน้ำและตู้รถไฟมีจำนวน 11 ตู้
ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น
แต่ในตอนนี้ หัวรถจักรและตู้ขบวนรถไฟ
ในปัจจุบันเพียงพอกับการใช้งานเดินรถแล้ว
ในปี 1905 เพื่อแก้ไขเรื่องจำนวนรถขึ้นลงไม่เพียงพอกับความต้องการ
จึงมีการพิจารณาให้ใช้พลังงานไฟฟ้าแทนพลังงานไอน้ำ
แม้ว่าเทคโนโลยีไฟฟ้าจะมีอยู่แล้วในช่วงเริ่มต้นยุคแรก ๆ และกำลังเริ่มแบบเตาะแตะ
แต่ค่าใช้จ่ายในการแปลงระบบพลังงาน
มีการคัดค้านและถกเถียงกันหลายประเด็น
รวมทั้งการห้ามปรามไม่ให้เปลี่ยนไปใช้ระบบไฟฟ้า
ในวันที่ 15 พฤษภาคม 1937
ระบบกระแสไฟฟ้าถูกนำมาใช้
โดยใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าขนาด 1,550 Volt DC
ทุกวันนี้รถไฟที่ใช้เครื่องจักรยนต์ระบบไฟฟ้า
สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 40 คน/ตู้
และใช้เวลาประมาณ 9 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ทำให้ลดเวลาขนส่งลงไปถึงครึ่งหนึ่ง
เหลือเวลาเดินทางเพียงประมาณ 30 นาที
สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ปีละกว่า 100,000 คน
ในการเดินรถไฟบนเส้นทางสายนี้
ต้องระมัดระวังสัตว์ป่าที่มักจะข้ามทางรถไฟ
ตลอดจนเศษหินที่หล่นกีดขวางทางรถไฟ
รวมทั้งการตรวจสอบหมุดยึดรางรถไฟ
และความแน่นหนามั่นคงแข็งแรง
ซึ่งต้องมีพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุงทางรถไฟ
คอยตรวจสอบและจัดการขนย้ายสิ่งกีดขวางออกไป
เหมือนกับเส้นทางรถไฟทั่วไปที่ใช้งาน
ระบบรางที่ใช้งานกันอยู่ในทุกวันนี้
ยังคงใช้รางเดิมซึ่งตอนนี้อายุกว่า 100 ปีแล้ว
ในขณะที่อัตราสึกหรอที่เกิดขึ้นจากแรงเสียดทานมีน้อยมาก
จากผลการตรวจสอบในในช่วงปีที่ผ่านมา
พบว่าสามารถแก้ไขได้โดยง่าย
เพียงแต่เปลี่ยนล้อเฟืองชุดใหม่และรางที่เป็นเฟืองขบ
ก็สามารถใช้งานได้ถึง 100 ปีเช่นเดิม
รถไฟล้อเฟืองเกียร์เปิดให้บริการ
ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
ช่วงที่รางรถไฟไม่ถูกฝังจมอยู่ใต้กองหิมะ
รถไฟจะออกทุก ๆ 45 นาทีในระหว่างวัน
หากต้องการจะไปเยี่ยมชมที่ยอดเขา Pilatus ในช่วงฤดูหนาว
จะมีรถกระเช้าลอยฟ้าที่พาไปที่นั่นแทน
เรียบเรียง/ที่มา/ภาพ
https://goo.gl/bnQLfT
https://goo.gl/mRRGb5
https://goo.gl/hNEExv
ภาพเพิ่มเติม
Baldwin Street ในนิวซีแลนด์ https://goo.gl/5a4v31
Baldwin Street - The world's steepest street
เรื่องเดิม
http://ppantip.com/topic/35181075 อุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในโลก
Gottardo 2016 – Switzerland through and through