จำเป็นหรือไม่...ที่พระภิกษุสงฆ์ต้องศึกษาวิชาการทางโลกเพิ่มเติม ?

กระทู้คำถาม
ฆราวาสที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว ก็ถือว่าละกิจของฆราวาสแล้ว
ต่อแต่นี้ไปต้องมุ่งประพฤติพรหมจรรย์ โดยมีกิจของสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติ เพียง ๒ ประการ (ธุระ )
คือ...คันถธุระ...และวิปัสสนาธุระ

ดังพรรณาไว้ใน...
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑ ดังนี้...

พระมหาปาละทูลถามพระศาสดาว่า  “พระเจ้าข้า ในพระศาสนานี้มีธุระกี่อย่าง?”

พระศาสดาตรัสตอบว่า       “ภิกษุ ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ (กับ) วิปัสสนาธุระ เท่านั้น.”

พระมหาปาละทูลถามว่า     “พระเจ้าข้า ก็คันถธุระเป็นอย่างไร? วิปัสสนาธุระเป็นอย่างไร?”

พระศาสดาตรัสตอบว่า       " ธุระนี้ คือ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี                                                                     ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าวบอกพุทธวจนะนั้น ชื่อว่า คันถธุระ.

                                               ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ยังวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจ                                                             แห่งการติดต่อแล้ว ถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่ง                                                               แล้วในเสนาสนะอันสงัด ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ.

พระมหาปาละทูลถามว่า       " พระเจ้าข้า ข้าพระองค์บวชแล้วแต่เมื่อแก่ ไม่สามารถจะบำเพ็ญคันถธุระให้บริบูรณ์                                                                ได้, แต่จักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระให้บริบูรณ์, ขอพระองค์ตรัสบอกพระกรรมฐานแก่
                                                ข้าพระองค์เถิด.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

นอกจากนี้...พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงวางหลักการปฎิบัติกิจวัตรของพระภิกษุไว้อีก ๑๐ ประการคือ

๑. ลงอุโบสถ
๒. บิณฑบาตเลี้ยงชีพ
๓. สวดมนต์ไหว้พระ  
๔. กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
๕. รักษาผ้าครอง
๖. อยู่ปริวาสกรรม
๗. โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ
๘. ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์
๙. เทศนาบัติ
๑๐. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น..

บทบาทของวัดต่อชุมชนในสมัยก่อน มีความแตกต่างจากปัจจุบันเป็นอย่างมาก
รวมทั้งบริบทของสังคม การสื่อสาร ฯลฯ มีผลเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ

ปัจจุบันนี้ มีพระภิกษุจำนวนมากที่มุ่งศึกษาในวิชาการทางโลกเพิ่มเติม จนกว่าจะเรียกชื่อจบก็เหนื่อยทีเดียว
เช่น  พระครู.................,ผศ.ดร. เป็นต้น

บางท่านก็ไม่เห็นด้วย...กับการที่พระภิกษุจะไปศึกษาวิชาการทางโลก แทนที่จะมุ่งใช้ความเพียรและเวลาไปในการ
ปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างเต็มที่ 

ส่วนบางท่านก็เห็นว่า... การที่พระภิกษุมีความรู้ทางโลกมากขึ้น ก็จะเข้าใจและสามารถสื่อธรรมะกับญาติโยมได้ดีขึ้น

ในส่วนของพระภิกษุเอง...ก็อาจมีความจำเป็นที่จะต้องนำวุฒิการศึกษาไปใช้เป็นประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง

การศึกษาวิชาการทางโลกของพระภิกษุ...ดูจะเป็นการปฏิบัติที่นอกเหนือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ 
แต่ก็คงเป็นประเด็นที่ไม่มีใครมาสนใจมากนัก
แก้ไขข้อความเมื่อ
5 ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่