ทหารจับคณะรัฐบาลเอาไว้ บีบบังคับให้ประธานาธิบดีอิบราฮิม บูบาการ์ คีตาประกาศยุบสภา-ลาออกสำเร็จแล้ว
อนึ่งนายคีตาอายุ 75 ปีนั้นชนะเลือกตั้งเป็นสมัยที่สองในปี 2018 แต่บริหารประเทศไม่ดี ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ การคอรัปชัน นอกจากนั้นมาลียังมีสงครามกลางเมืองระหว่างเผ่าเกษตรทางใต้ และเผ่าทะเลทรายทางเหนือ ซึ่งต่อสู้กันมาตั้งแต่ปี 2012 (ดูแผนที่สงครามกลางเมืองที่ผมแปะไว้) พอมีสงครามลิเบียเกิดขึ้นข้างๆ พวกกบฏก็ได้ช่องทางอาวุธมาเสริมกำลังตนเป็นอันมาก นอกจากนี้สงครามยังดึงดูดให้กลุ่มญิฮาดหัวรุนแรงมาผสมโรง ทำให้มาลีมีความวุ่นวายจนปัจจุบัน
อนึ่งการรัฐประหารตามหัวข้อนั้นนำโดยพันเอกมาลิก ดีแอลซึ่งเป็นรองผู้บัญชาการค่ายทหารคาตีที่อยู่ห่างจากกรุงบามาโกเมืองหลวงของมาลีเพียง 15 ก.ม.
ตอนแรกมันเริ่มจากความไม่พอใจที่ทหารในค่ายได้รับเงินเดือนไม่ครบ ทำให้ดีแอลประท้วงยึดค่าย ต่อมาเมื่อเห็นโอกาสเหมาะ ดีแอลจึงนำทัพเข้าเมืองหลวงท่ามกลางการต้อนรับของประชาชน
แม้การรัฐประหารนี้จะสำเร็จลงโดยง่าย แต่มันก็จะทำให้มาลีถูกคว่ำบาตรจากนานาประเทศแอฟริกัน ซึ่งนับว่าแย่มาก เพราะมาลีเป็นประเทศปิด มีศักยภาพในการผลิตอาหารดูแลตัวเองจำกัด
ทั้งนี้มาลีเคยเป็นอาณาจักรที่เรืองอำนาจในแอฟริกาตะวันตก มีอารยธรรมรุ่งเรือง สร้างมัสยิดที่สวยงามเช่นมัสยิดที่เจนเนซึ่งได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลก แต่ความแตกต่างของชนเผ่า ทำให้มีปัญหาเรื่อยมา เหมือนประเทศแอฟริกาอื่นๆ
การล้มรัฐบาลจะทำให้กบฏเผ่าทะเลทรายทางเหนือมีกำลังขึ้นอีก ...บางทีสิ่งที่เราเห็นในตอนนี้อาจจะเป็นฉากเปิดของความวุ่นวายบทใหม่ในแอฟริกาก็ได้...
กบฏเข้าเมืองท่ามกลางการต้อนรับของประชาชน
มัสยิดที่เจนเน
ชาวมาลี
แผนที่สงครามกลางเมือง
::: ::: :::
สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ ติดตามได้ที่ เพจ The Wild Chronicles นะครับ
https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
*** ข่าวด่วน! ประเทศมาลีเกิดการปฏิวัติ ***
อนึ่งนายคีตาอายุ 75 ปีนั้นชนะเลือกตั้งเป็นสมัยที่สองในปี 2018 แต่บริหารประเทศไม่ดี ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ การคอรัปชัน นอกจากนั้นมาลียังมีสงครามกลางเมืองระหว่างเผ่าเกษตรทางใต้ และเผ่าทะเลทรายทางเหนือ ซึ่งต่อสู้กันมาตั้งแต่ปี 2012 (ดูแผนที่สงครามกลางเมืองที่ผมแปะไว้) พอมีสงครามลิเบียเกิดขึ้นข้างๆ พวกกบฏก็ได้ช่องทางอาวุธมาเสริมกำลังตนเป็นอันมาก นอกจากนี้สงครามยังดึงดูดให้กลุ่มญิฮาดหัวรุนแรงมาผสมโรง ทำให้มาลีมีความวุ่นวายจนปัจจุบัน
อนึ่งการรัฐประหารตามหัวข้อนั้นนำโดยพันเอกมาลิก ดีแอลซึ่งเป็นรองผู้บัญชาการค่ายทหารคาตีที่อยู่ห่างจากกรุงบามาโกเมืองหลวงของมาลีเพียง 15 ก.ม.
ตอนแรกมันเริ่มจากความไม่พอใจที่ทหารในค่ายได้รับเงินเดือนไม่ครบ ทำให้ดีแอลประท้วงยึดค่าย ต่อมาเมื่อเห็นโอกาสเหมาะ ดีแอลจึงนำทัพเข้าเมืองหลวงท่ามกลางการต้อนรับของประชาชน
แม้การรัฐประหารนี้จะสำเร็จลงโดยง่าย แต่มันก็จะทำให้มาลีถูกคว่ำบาตรจากนานาประเทศแอฟริกัน ซึ่งนับว่าแย่มาก เพราะมาลีเป็นประเทศปิด มีศักยภาพในการผลิตอาหารดูแลตัวเองจำกัด
ทั้งนี้มาลีเคยเป็นอาณาจักรที่เรืองอำนาจในแอฟริกาตะวันตก มีอารยธรรมรุ่งเรือง สร้างมัสยิดที่สวยงามเช่นมัสยิดที่เจนเนซึ่งได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลก แต่ความแตกต่างของชนเผ่า ทำให้มีปัญหาเรื่อยมา เหมือนประเทศแอฟริกาอื่นๆ
การล้มรัฐบาลจะทำให้กบฏเผ่าทะเลทรายทางเหนือมีกำลังขึ้นอีก ...บางทีสิ่งที่เราเห็นในตอนนี้อาจจะเป็นฉากเปิดของความวุ่นวายบทใหม่ในแอฟริกาก็ได้...
กบฏเข้าเมืองท่ามกลางการต้อนรับของประชาชน
มัสยิดที่เจนเน
ชาวมาลี
แผนที่สงครามกลางเมือง
::: ::: :::
สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ ติดตามได้ที่ เพจ The Wild Chronicles นะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat