JJNY : แอมเนสตี้เปิดตัวอาสาสมัคร/ดุสิตโพลเผยคนขอแก้ปัญหาศก./ฮาร์ทตอกแนะให้หรี่ตาร้องเพลง/โซเชียลแชร์วิธี"แต่งตัวไปม็อบ"

แอมเนสตี้ ประเทศไทย เปิดตัวอาสาสมัครสังเกตการณ์การชุมนุมเริ่มงาน ส.ค. นี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_2309145
 
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดตัว “อาสาสมัครสังเกตการณ์การชุมนุม” เพื่อสังเกตการณ์และบันทึกข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมสาธารณะ โดยใช้หลักการที่เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล โดยประกาศเริ่มงานในเดือนสิงหาคม 2563 นี้ พร้อมเปิดตัวเว็บไซต์ม็อบดาต้าไทยแลนด์ (Mob Data Thailand) ซึ่งได้พัฒนาร่วมกับโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) เพื่อเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างฐานข้อมูลการชุมนุมภาคประชาชน
 
อาสาสมัครสังเกตการณ์การชุมนุมของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย คือ อาสาสมัครที่สนใจและให้ความสำคัญในประเด็นสิทธิมนุษยชน ทั้งหมดผ่านการฝึกอบรม แลกเปลี่ยนความรู้และทักษะการเฝ้าสังเกตการณ์และการบันทึกการชุมนุมสาธารณะอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล ซึ่งเนื้อหาหลักสูตรการอบรมบางส่วนมาจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติด้วยและผ่านการอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสันติวิธี นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมการอบรมจะได้เรียนรู้ทักษะการสังเกตการณ์และการบันทึกการชุมนุม รวมไปถึงการเตรียมตัวด้านความปลอดภัยในการรับมือกับสถานการณ์รูปแบบต่างๆ
 
นางปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า การรวมตัวกันของอาสาสมัครสังเกตการณ์การชุมนุมมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวและความชอบธรรมของผู้สังเกตการณ์ว่ามิได้เป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุม ต้องการบันทึกข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอิงจากตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน และเสริมทักษะการเฝ้าสังเกตการณ์การชุมนุมอย่างมืออาชีพ
 
“หลักการสำคัญคือ ผู้สังเกตการณ์จะต้องไม่แสดงความคิดเห็นถึงการชุมนุมสาธารณะ ไม่ส่งเสริมหรือทำลายขวัญกำลังใจของผู้ที่ประสงค์จะมาร่วมชุมนุม และที่สำคัญคือผู้สังเกตการณ์จะต้องไม่มีส่วนร่วมหรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ ต่อการชุมนุม การดำเนินกิจกรรมจะทำโดยเข้าไปสังเกตการณ์ จดบันทึกและรวบรวมข้อมูลที่บันทึกได้จัดทำเป็นเอกสารสำหรับรายงานต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป”
 
ปิยนุชยังกล่าวเสริมว่า สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้รับการคุ้มครอง รวมทั้งสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก การรวมตัวและสมาคมด้วย ซึ่งรัฐบาลของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยต้องไม่จำกัดเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ เพราะสิทธิเหล่านี้ได้รับการรับรองภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
 
โดยทางเครือข่ายแจ้งว่าการสังเกตการณ์การชุมนุมครั้งแรกจะมีขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้ที่ โดยอาสาสมัครสังเกตการณ์ชุมนุมจะมีการแขวนป้ายซึ่งมีคำว่า “ผู้สังเกตการณ์” ระบุไว้อย่างชัดเจน เพื่อแยกว่า ผู้สังเกตการณ์มิได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ชุมนุม
 
นอกจากนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ยังได้ร่วมกันพัฒนาเว็บไซต์ม็อบดาต้าไทยแลนด์ (Mobdatathailand.org) เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลการชุมนุมสาธารณะที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเริ่มบันทึกข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และเปิดให้ทดลองใช้งานตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2563 โดยเว็บไซต์นี้จะเป็นอีกพื้นที่สาธารณะที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการรายงานสถานการณ์การชุมนุมที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ได้ยังร่วมมือกับองค์กรที่มีภารกิจเรื่องเสรีภาพในการชุมนุมอย่าง ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน มูลนิธินิติธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ประชาไทและ Law Long Beach โดยหากมีชุดข้อมูลที่มีนัยสำคัญที่สามารถนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย จะได้ถูกนำเสนอต่อภาครัฐหรือองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในประเด็นนี้เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพในการชุมนุมที่ดีขึ้นในประเทศไทย
 


'ดุสิตโพล'เผยคนขอรัฐบาลแก้ปัญหาศก. พยุงสินค้าเกษตร
https://www.dailynews.co.th/politics/790155

พร้อมกระตุ้นบริโภคในประเทศ-ส่งเสริมทีองเที่ยว คาดหวังทีมเศรษฐกิจใหม่รัฐบาลแก้ปัญหา
 
 เมื่อวันที่ 16 ส.ค.สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ระดมสมองแก้ปัญหาเศรษฐกิจ” กลุ่มตัวอย่าง 1,109 คน สำรวจระหว่างวันที่ 10 – 14 ส.ค. 2563 พบว่า ในระดับครัวเรือน ประชาชนอยากให้เน้นสร้างงานสร้างอาชีพมากที่สุด 
ร้อยละ 85.75 ในระดับชุมชน/ท้องถิ่น ขณะที่วิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจระดับชุมชน และท้องถิ่น
ร้อยละ 72.14 ต้องพยุงราคาสินค้าเกษตรส่วนวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจระดับประเทศ ประชาชน 
ร้อยละ 76.19 ระบุ ต้องส่งเสริมการเกษตร, 
ร้อยละ 75.38 ต้องส่งเสริมการส่งออก,
ร้อยละ 73.85 ต้องส่งเสริมการท่องเที่ยว 
และ ร้อยละ 68.53 ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
 
ทั้งนี้ ประชาชนเห็นว่าสิ่งที่รัฐบาลควรกระทำในวันนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษกิจคือ 
ร้อยละ 75.20 กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ 
ร้อยละ 71.87 การพัฒนาทักษะแรงงาน และสร้างอาชีพ, 
ร้อยละ 66.82 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 
 
อย่างไรก็ตามประชาชนเห็นว่า หน่วยงานภาครัฐควรเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจมาที่สุดถึง ร้อยละ 77.36, รองลงมา เป็นรัฐบาลร้อยละ 70.83, และหน่วยงานภาคเอกชน ร้อยละ 70.11
 
หลังจากประเทศไทยเผชิญภาวะการณ์เศรษฐกิจถดถอยมาเป็นเวลานาน อีกทั้งยังมีสถานการณ์โควิด-19 เข้ามากระทบซ้ำ จึงก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรง จากผลสำรวจจะเห็นได้ว่า ประชาชนอยากให้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ณ วันนี้ ด้วยการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศก่อน ต้องสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชน เพื่อให้มีกำลังในการอุปโภคบริโภคให้มากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลได้มีการปรับทัพ ครม. ใหม่ มีทีมเศรษฐกิจใหม่ ประชาชนก็ยิ่งคาดหวังว่ารัฐบาล รวมถึงหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนให้ดีขึ้นได้ ซึ่งในวันนี้ประชาชนก็ได้สะท้อนความคิดเห็นวิธีการแก้ปัญหาในมุมมองของประชาชนแล้ว ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะรับลูกดำเนินการอย่างไรต่อไป.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่