6 ส.ค. 2563 เว็บไซต์ The Conversation วารสารออนไลน์ที่นำข่าวและบทความจากนักวิชาการทั่วโลก เผยแพร่บทความ Buddhist monks have reversed roles in Thailand – now they are the ones donating goods to others ซึ่งเขียนโดย ผศ.ดร.บรูค เชดเน็ค (Asst.Prof.Brooke Schedneck) นักวิชาการด้านศาสนศึกษา (Religious Studies) วิทยาลัยโรดส์ (Rhodes College) เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา ว่าด้วยบทบาทของ “พระสงฆ์ (Monk)” นักบวชของศาสนาพุทธที่มีต่อสังคมไทยในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19
บทความดังกล่าวทีเผยแพร่เมื่อช่วงค่ำวันที่ 5 ส.ค. 2563 เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า ในสถานการณ์ปกติ พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยนิยมถวายอาหาร สิ่งของจำเป็น รวมถึงเงินแก่พระสงฆ์ โดยเชื่อกันว่าจะช่วยปัดเป่าสิ่งไม่ดีในอดีตที่ส่งผลต่อชีวิตในปัจจุบัน นักวิชาการเรียกสิ่งนี้ว่า “เศรษฐกิจศีลธรรมเชิงพุทธ (Buddhist Moral Economy)” หรือ “เศรษฐกิจบุญ (Economy of Merit)” แต่ในสถานการณ์โรคระบาดครั้งนี้ บทบาทได้กลับกัน นั่นคือพระสงฆ์ได้นำอาหารทั้งแห้งและปรุงสุกออกมาแจกจ่ายให้กับผู้คนที่กำลังประสบความยากลำบาก
นับตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้า (Buddha) เริ่มเผยแผ่ศาสนาพุทธเมื่อราว 600 ปีก่อนคริสตศักราช (ประมาณ 2,600 ปีก่อน) ณ ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน ผู้มีจิตศรัทธาก็นิยมถวายปัจจัย 4 (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค) แก่พระสงฆ์ และในเวลาต่อมาศาสนาพุทธก็มีผู้นับถือเพิ่มขึ้นทั้งในภูมิภาคหิมาลัย (ชมพูทวีป หรือภูมิภาคเอเชียใต้อันหมายถึงอินเดียและประเทศข้างเคียง) เอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียนซึ่งรวมถึงประเทศไทย)
ในสังคมไทยนั้นยกย่องพระสงฆ์อย่างสูงด้วยสาเหตุว่าเป็นผู้บุคคลผู้ทุ่มเทชีวิตให้กับการศึกษาและมีวินัยในการปฏิบัติตน ภิกขุ โพธิ (Bhikkhu Bodhi) พระสงฆ์ชาวอเมริกันในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท (Theravada) แปลความหมายของพระสงฆ์ตามคำกล่าวของพระพุทธเจ้าว่า “เนื้อนาบุญที่ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งใดในโลก (the unsurpassed field of merit for the world)” ส่วน ฮิโรโกะ คาวานามิ (Hiroko Kawanami) นักมานุษยวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับประเทศเมียนมา ระบุว่า พระสงฆ์คือช่องทางที่ผู้ศรัทธาจะปลูกสิ่งดีๆ และเก็บเกี่ยวผลกรรมดี
บทความกล่าวต่อไปว่า เศรษฐกิจแห่งบุญนี้เชื่อมโยงฆราวาสกับพระสงฆ์เข้าด้วยกัน ในขณะที่พระสงฆ์มองเห็นฆราวาสเหมือนลูกหลาน ฆราวาสก็เคารพพระสงฆ์เหมือนญาติผู้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่พระสงฆ์เป็นผู้รับสิ่งของต่างๆ จากฆราวาส แต่บางครั้งพระสงฆ์ก็เป็นผู้ให้เช่นกัน อาทิ วันเกิดของพระผู้อาวุโส หรือในโอกาสอื่นๆ เช่น ในเดือน พ.ค. 2561 ผู้เขียนอาศัยอยู่ในเชียงใหม่ (Chiang Mai) จังหวัดทางภาคเหนือของไทย ได้เห็นพระสงฆ์รวบรวมเสื้อผ้าและอาหารกระป๋องจากพุทธศาสนิกชนผู้ใจบุญไปมอบให้กับชุมชนที่ยากไร้
เช่นเดียวกับในเมียนมา ทั้งพระสงฆ์และแม่ชี (Nun) มอบเงินที่ได้รับการถวายจากญาติโยม ในส่วนที่เกินความจำเป็นให้กับพุทธศาสนิกชน อนึ่ง ภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่เกิดกับประเทศไทย 2 ครั้งเล่าสุด คือเหตุคลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้ของไทยในปี 2547 ในครั้งนั้นวัดหลายแห่งกลายเป็นศูนย์พักพิงของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทยเมื่อปี 2554 พระสงฆ์มีบทบาททั้งการนำอาหารไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่ประสบภัย รวมถึงช่วยก่อสร้างแนวกั้นน้ำด้วย
และล่าสุดกับวิกฤติเศรษฐกิจที่เป็นผลพวงมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นอีกครั้งที่พระสงฆ์มีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือผู้คนในประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธจำนวนมาก เช่น ศรีลังกา สำหรับประเทศไทย คาดว่าจะมีคนไทย 8 ล้านคน หรือราวร้อยละ 12 ของประชากรทั้งประเทศ กลายเป็นคนว่างงานสูญเสียแหล่งรายได้จากวิกฤติครั้งนี้ และวัดหลายแห่งก็กำลังทำงานอย่างแข็งขันกับชุมชนโดยรอบเพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
ผู้เขียนเล่าว่า ได้พูดคุยกับพระสงฆ์ใน จ.เชียงใหม่ ช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค. 2563 เกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ทั่วประเทศไทยได้รับการถวายอาหารและแจกจ่ายอาหารให้กับชุมชน เช่น โดยทั่วไปพระสงฆ์จะใช้ช่องทางสื่อออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) ประกาศรับบริจาคสิ่งของจำเป็นจากผู้ที่มีกำลัง ขณะที่ วัดสันทรายต้นกอก (Wat San Sai Ton Kok) วัดแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ มีการตั้งโรงทานปรุงอาหารแจกจ่าย ตลอดเดือน พ.ค. 2563 มีผู้มารับอาหารเฉลี่ย 200 คนต่อวัน งบประมาณและวัตถุดิบมาจากพระสงฆ์และคนทั่วไปที่สนับสนุนวัด
พระสงฆ์รูปหนึ่งกล่าวกับผู้เขียนเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2563 ว่า แม้ตามวินัยสงฆ์จะไม่อนุญาตให้พระสงฆ์ทำอาหาร แต่ในสถานการณ์พิเศษนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ พระสงฆ์ยังรวบรวมสิ่งของที่จำเป็นมอบให้กับชุมชนโดยรอบ และเดินทางไปยังหมู่บ้านต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก เช่นเดียวกับ วัดท่าหลวง (Wat Tha Luang) ตั้งอยู่ใน พิจิตร (Pichit) อีกจังหวัดทางภาคเหนือของไทย เจ้าอาวาสวัดเล่าว่า วัดได้ทำอาหารเลี้ยงผู้คน 1 มื้อต่อวันในช่วงล็อกดาวน์ สื่อท้องถิ่นรายงานข่าวว่า ชาวบ้านนับพันคนรวมทั้งเด็กและผู้สูงอายุมาต่อคิวรอรับอาหารมื้อกลางวัน
ไม่ต่างจากที่ วัดทรงธรรมกัลยาณีภิกษุณีอาราม (Wat Songdhammakalyani) วัดแห่งแรกที่มีภิกษุณี (Bhikkhuni-นักบวชหญิงในศาสนาพุทธ) รูปแรกของไทยจำวัดอยู่ (ตั้งอยู่ใน จ.นครปฐม-ผู้แปล) มีการแจกจ่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวสาร ขนมขบเคี้ยวและผักให้กับผู้คน ทั้งนี้ บทบาทในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด-19 ยังทำให้พระสงฆ์ไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น จากเดิมช่วงก่อนสถานการณ์โรคระบาด พระสงฆ์ไทยมีข่าวในแง่ลบทั้งการนั่งเครื่องบินหรูส่วนตัว (private jet) เดินช็อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า รวมถึงปัญหาทุจริตเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ
ขอขอบคุณ ข้อมูลจากแนวหน้า
https://www.naewna.com/inter/510045https://theconversation.com/buddhist-monks-have-reversed-roles-in-thailand-now-they-are-the-ones-donating-goods-to-others-142899
นักวิชาการต่างชาติเผย ‘พระสงฆ์’กำลังสำคัญบรรเทาพิษศก.คนไทยช่วงโควิดระบาด
บทความดังกล่าวทีเผยแพร่เมื่อช่วงค่ำวันที่ 5 ส.ค. 2563 เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า ในสถานการณ์ปกติ พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยนิยมถวายอาหาร สิ่งของจำเป็น รวมถึงเงินแก่พระสงฆ์ โดยเชื่อกันว่าจะช่วยปัดเป่าสิ่งไม่ดีในอดีตที่ส่งผลต่อชีวิตในปัจจุบัน นักวิชาการเรียกสิ่งนี้ว่า “เศรษฐกิจศีลธรรมเชิงพุทธ (Buddhist Moral Economy)” หรือ “เศรษฐกิจบุญ (Economy of Merit)” แต่ในสถานการณ์โรคระบาดครั้งนี้ บทบาทได้กลับกัน นั่นคือพระสงฆ์ได้นำอาหารทั้งแห้งและปรุงสุกออกมาแจกจ่ายให้กับผู้คนที่กำลังประสบความยากลำบาก
นับตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้า (Buddha) เริ่มเผยแผ่ศาสนาพุทธเมื่อราว 600 ปีก่อนคริสตศักราช (ประมาณ 2,600 ปีก่อน) ณ ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน ผู้มีจิตศรัทธาก็นิยมถวายปัจจัย 4 (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค) แก่พระสงฆ์ และในเวลาต่อมาศาสนาพุทธก็มีผู้นับถือเพิ่มขึ้นทั้งในภูมิภาคหิมาลัย (ชมพูทวีป หรือภูมิภาคเอเชียใต้อันหมายถึงอินเดียและประเทศข้างเคียง) เอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียนซึ่งรวมถึงประเทศไทย)
ในสังคมไทยนั้นยกย่องพระสงฆ์อย่างสูงด้วยสาเหตุว่าเป็นผู้บุคคลผู้ทุ่มเทชีวิตให้กับการศึกษาและมีวินัยในการปฏิบัติตน ภิกขุ โพธิ (Bhikkhu Bodhi) พระสงฆ์ชาวอเมริกันในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท (Theravada) แปลความหมายของพระสงฆ์ตามคำกล่าวของพระพุทธเจ้าว่า “เนื้อนาบุญที่ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งใดในโลก (the unsurpassed field of merit for the world)” ส่วน ฮิโรโกะ คาวานามิ (Hiroko Kawanami) นักมานุษยวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับประเทศเมียนมา ระบุว่า พระสงฆ์คือช่องทางที่ผู้ศรัทธาจะปลูกสิ่งดีๆ และเก็บเกี่ยวผลกรรมดี
บทความกล่าวต่อไปว่า เศรษฐกิจแห่งบุญนี้เชื่อมโยงฆราวาสกับพระสงฆ์เข้าด้วยกัน ในขณะที่พระสงฆ์มองเห็นฆราวาสเหมือนลูกหลาน ฆราวาสก็เคารพพระสงฆ์เหมือนญาติผู้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่พระสงฆ์เป็นผู้รับสิ่งของต่างๆ จากฆราวาส แต่บางครั้งพระสงฆ์ก็เป็นผู้ให้เช่นกัน อาทิ วันเกิดของพระผู้อาวุโส หรือในโอกาสอื่นๆ เช่น ในเดือน พ.ค. 2561 ผู้เขียนอาศัยอยู่ในเชียงใหม่ (Chiang Mai) จังหวัดทางภาคเหนือของไทย ได้เห็นพระสงฆ์รวบรวมเสื้อผ้าและอาหารกระป๋องจากพุทธศาสนิกชนผู้ใจบุญไปมอบให้กับชุมชนที่ยากไร้
เช่นเดียวกับในเมียนมา ทั้งพระสงฆ์และแม่ชี (Nun) มอบเงินที่ได้รับการถวายจากญาติโยม ในส่วนที่เกินความจำเป็นให้กับพุทธศาสนิกชน อนึ่ง ภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่เกิดกับประเทศไทย 2 ครั้งเล่าสุด คือเหตุคลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้ของไทยในปี 2547 ในครั้งนั้นวัดหลายแห่งกลายเป็นศูนย์พักพิงของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทยเมื่อปี 2554 พระสงฆ์มีบทบาททั้งการนำอาหารไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่ประสบภัย รวมถึงช่วยก่อสร้างแนวกั้นน้ำด้วย
และล่าสุดกับวิกฤติเศรษฐกิจที่เป็นผลพวงมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นอีกครั้งที่พระสงฆ์มีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือผู้คนในประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธจำนวนมาก เช่น ศรีลังกา สำหรับประเทศไทย คาดว่าจะมีคนไทย 8 ล้านคน หรือราวร้อยละ 12 ของประชากรทั้งประเทศ กลายเป็นคนว่างงานสูญเสียแหล่งรายได้จากวิกฤติครั้งนี้ และวัดหลายแห่งก็กำลังทำงานอย่างแข็งขันกับชุมชนโดยรอบเพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
ผู้เขียนเล่าว่า ได้พูดคุยกับพระสงฆ์ใน จ.เชียงใหม่ ช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค. 2563 เกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ทั่วประเทศไทยได้รับการถวายอาหารและแจกจ่ายอาหารให้กับชุมชน เช่น โดยทั่วไปพระสงฆ์จะใช้ช่องทางสื่อออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) ประกาศรับบริจาคสิ่งของจำเป็นจากผู้ที่มีกำลัง ขณะที่ วัดสันทรายต้นกอก (Wat San Sai Ton Kok) วัดแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ มีการตั้งโรงทานปรุงอาหารแจกจ่าย ตลอดเดือน พ.ค. 2563 มีผู้มารับอาหารเฉลี่ย 200 คนต่อวัน งบประมาณและวัตถุดิบมาจากพระสงฆ์และคนทั่วไปที่สนับสนุนวัด
พระสงฆ์รูปหนึ่งกล่าวกับผู้เขียนเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2563 ว่า แม้ตามวินัยสงฆ์จะไม่อนุญาตให้พระสงฆ์ทำอาหาร แต่ในสถานการณ์พิเศษนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ พระสงฆ์ยังรวบรวมสิ่งของที่จำเป็นมอบให้กับชุมชนโดยรอบ และเดินทางไปยังหมู่บ้านต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก เช่นเดียวกับ วัดท่าหลวง (Wat Tha Luang) ตั้งอยู่ใน พิจิตร (Pichit) อีกจังหวัดทางภาคเหนือของไทย เจ้าอาวาสวัดเล่าว่า วัดได้ทำอาหารเลี้ยงผู้คน 1 มื้อต่อวันในช่วงล็อกดาวน์ สื่อท้องถิ่นรายงานข่าวว่า ชาวบ้านนับพันคนรวมทั้งเด็กและผู้สูงอายุมาต่อคิวรอรับอาหารมื้อกลางวัน
ไม่ต่างจากที่ วัดทรงธรรมกัลยาณีภิกษุณีอาราม (Wat Songdhammakalyani) วัดแห่งแรกที่มีภิกษุณี (Bhikkhuni-นักบวชหญิงในศาสนาพุทธ) รูปแรกของไทยจำวัดอยู่ (ตั้งอยู่ใน จ.นครปฐม-ผู้แปล) มีการแจกจ่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวสาร ขนมขบเคี้ยวและผักให้กับผู้คน ทั้งนี้ บทบาทในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด-19 ยังทำให้พระสงฆ์ไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น จากเดิมช่วงก่อนสถานการณ์โรคระบาด พระสงฆ์ไทยมีข่าวในแง่ลบทั้งการนั่งเครื่องบินหรูส่วนตัว (private jet) เดินช็อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า รวมถึงปัญหาทุจริตเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ
ขอขอบคุณ ข้อมูลจากแนวหน้า https://www.naewna.com/inter/510045https://theconversation.com/buddhist-monks-have-reversed-roles-in-thailand-now-they-are-the-ones-donating-goods-to-others-142899