ธนดลใช้ปลายนิ้วกลางดันแว่นให้ชิดสันจมูก อันเป็นความเคยชินที่เขาทำทุกครั้งที่เกิดอาการเครียด ความจริงมันก็ไม่สมควรมีปัญหาอะไร
เมื่อวานนี้เขาได้ทำการทดลองจนประสบผลสำเร็จแล้ว เขาแค่ต้องทำมันอีกครั้งในวันนี้ เพียงแต่ครั้งนี้เขาต้องทำมันต่อหน้าผู้ประเมิน ดังนั้น จะไม่ให้เขาเกิดอาการเครียดสักหน่อยคงไม่ได้ เพราะผลงานในวันนี้จะเป็นตัวกำหนดเส้นทางชีวิตของเขาในวันข้างหน้าต่อไป
ชายหนุ่มกำมือแล้วแบออก 2-3 ครั้ง ก่อนเริ่มกระบวนการตวงวัตถุสารโพลีแซคคาไรด์ ที่มีสูตรเคมีเป็น C
6H
10O
5 จำนวน 200 กรัม ลงในภาชนะ จากนั้นจึงเติมวัตถุสารโพลีแซคคาไรด์อีกตัวที่มีสูตรเคมีเดียวกัน แต่มีค่าอไมโลสต่ำกว่าร่วม 20 เท่า ลงไปผสมจำนวน 25 กรัม จากการทดลองหลายครั้งทำให้เขารู้ว่า นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเจือจางค่าอไมโลสในฐานของโปรดักต์ เพื่อให้มีอุณหภูมิการเกิดเจลาติไนเซชันลดลง
เขาเคยคิดใช้สารสกัดจาก Tacca leontopetaloides เพื่อแก้ปัญหา แต่เนื่องจากพื้นฐาน anhydroglucose unit ที่ต่างกัน ทำให้ล้มเหลวในการเชื่อมต่อกันด้วยพันธะ a-glycosidic linkage ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 1 และanomeric carbon ไม่จับโมเลกุลกัน เกิด อไมโลเพคติน ขนาดใหญ่ จึงส่งผลให้
โปรดักต์ล้มเหลวยิ่งกว่าเดิม
องค์ประกอบอย่างที่สาม คือ วัตถุสารไดแซคคาไรด์ มีสูตรเคมีเป็น C
12H
22O
1 ที่มีพันธะไกลโคซิดิกเป็นพันธะโควาเลนต์เชื่อมโมเลกุลของเลวูโลสกับสารตั้งต้นโมโนแซคคาไรด์ C
6H
12O
6 จำนวน 6.5 กรัม
สุดท้ายคือ ฮาไลต์ เขาใช้ชนิดไอออน คลอไรด์ ขนาดใหญ่ ที่เป็นผลึกถูกจัดเรียงในคิวบิก โคลส-แพคกิ่ง แบบสมมาตร หรือ NaCl จำนวน 5 มิลลิลิตร
ในการผสมตามอัตราส่วนนั้น มีบางชนิดไม่อาจให้น้อยเกินไป มีแต่ส่วนผสมนี้ที่ไม่อาจให้มากเกินไป
เขาเขย่าส่วนผสมทั้งหมดอย่างเบามือ จึงค่อยเติมตัวเบลนด์ เขาเลือกใช้สารละลายที่มีส่วนประกอบของ กรดลอริก ที่มีสายคาร์บอน 12 อะตอม หรือจะ
ลงรายละเอียดตามสูตรเคมีคือ C
12H
24O
2 อันเป็นกลุ่มไตรกลีเซอไรด์สายปานกลาง เป็นตัวเบลนด์ จำนวน 250 มิลลิลิตร
ใช่ องค์ประกอบทั้งหมด เขาใช้แต่สารที่หาได้ง่ายในธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ในการผลิตจำนวนมากและลดต้นทุนการผลิต หรือถ้าจะเอาความจริง ก็คือ
ตัวเขาเองไม่ได้มีทุนทำการทดลองมากมายที่ไหน ด้วยงบประมาณจำกัด วัตถุดิบก็ต้องจำกัดไปด้วยเช่นนี้
หลังจากเบลนด์องค์ประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย คือการเติมตัวทำละลาย เขาใช้ตัวทำละลายพื้นฐาน Oxiden สารที่มีโมเลกุล
ออกซิเจนน้อยกว่าไฮโดรเจนเท่าตัวซึ่งเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ ที่ได้ผ่านความร้อนจนมีอุณหภูมิประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส จำนวน 250 มิลลิลิตร ทำการละลายส่วนผสมทั้งหมดให้เป็นเนื้อเดียวกัน
เมื่อส่วนผสมทั้งหมดละลายเข้ากันดี เขาก็วางไว้ก่อน แล้วเริ่มทำส่วนผสมส่วนที่ 2
โดยใช้วัตถุสารโพลีแซคคาไรด์ชนิดแรก 15 มิลลิลิตร วัตถุสารไดแซคคาไรด์ 50 กรัม NaCl 5 มิลลิลิตร นำมาเบลนด์และทำละลายไว้
การที่เขาแยกส่วนผสมออกมาเป็นส่วนผสมที่ 2 นั้นเกิดจากการเรียนรู้ความผิดพลาดในสูตรหมายเลข 4 ที่รวมส่วนผสมทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน ด้วย
ความคิดที่ว่าเพื่อให้เนื้องานเป็นชิ้นเดียวกัน กลายเป็นความล้มเหลวไม่เป็นท่า เขาจึงแก้ปัญหาโดยการแยกส่วนผสมส่วนเกินออกมา เพื่อสร้างเบสให้เสถียรก่อน ค่อยเติมอีกส่วนเข้าไปภายหลัง
สูตรนี้เป็นสูตรหมายเลข 38 ที่เขาใช้เวลาหลายอาทิตย์ ในการปรับปรุงแก้ไข ลองผิดลองถูกอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่า แต่หากจะให้อ้างถ้อยคำของ โทมัส อัลวา เอดิสัน คงต้องกล่าวว่า เขาค้นพบสูตรที่ไม่สำเร็จ 37 สูตร ก่อนจะค้นพบสูตรที่สำเร็จเพียงสูตรเดียว นั่นล่ะ หากเทียบกันแล้วเขาค้นพบสูตรที่ไม่สำเร็จน้อยกว่าตอนเอดิสันสร้างหลอดไฟเป็นเท่าตัวเชียวนะ
ธนดลขยับแว่น เหลือบตามองผู้ประเมิน ไม่เห็นแววตำหนิหรือพอใจบนใบหน้า แต่เท่าที่เขารู้ ทุกขั้นตอนที่เขาทำ ถูกต้องตามโพรเซสทุกอย่าง ส่วนผสมพร้อมแล้ว ต่อไปคือการขึ้นรูป
ชายหนุ่มจัดเตรียมแม่พิมพ์ ให้ความร้อนจนได้อุณหภูมิที่ต้องการ เพื่อป้องกันโปรดักต์หรือชิ้นงานติดแม่พิมพ์ เขาทาเคลือบโดยใช้สารหล่อลื่นที่ราคาถูกอย่างสารไตรเอซิลกลีเซอรอล เขาเหลือบมองผู้ประเมินอีกครั้ง เห็นท่าวางเฉยนั่นแล้ว เขาคิดว่า คงใช้ได้อย่างไม่เป็นปัญหา
แม้ว่าเขาจะจบเพียงชั้นปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี จากมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นระดับชั้นนำของประเทศ แต่ใบปริญญาของเขา ก็ไม่ได้มีค่าไว้ใช้เพียงแค่ประดับฝาบ้านหรอกน่า
ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องควบคุมด้วยมือเท่านั้น เพราะตัวแปรซับซ้อนหลายประการอันเป็นองค์ประกอบภายนอก การดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสถานการณ์เป็นเรื่องสุดที่เครื่องจักรจะทำได้
ธนดลระวังมือไม่ให้สั่นขณะบรรจงหยอดส่วนผสมส่วนแรกลงไป
เขารอเวลาส่วนผสมที่ 1 เซ็ตตัว เพื่อที่จะได้เทส่วนที่ 2 หากเขาเทเร็วเกินไป ก่อนที่ส่วนแรกจะเซ็ตตัว ส่วนผสมทั้งสองจะรวมตัวกันจนโปรดักต์ไม่สมบูรณ์ แต่หากช้าเกินไป ส่วนผสมทั้งสองจะไม่จับตัวกัน กลายเป็นผลงานที่ล้มเหลว
เขารอจังหวะจนถึงเวลาที่เหมาะสม เทส่วนผสมที่ 2 ลงไป แล้วปิดฝาแม่พิมพ์
ส่วนสำคัญยังคงมีหลังจากนี้ คือการควบคุมอุณหภูมิ เพื่อให้ส่วนผสมทั้งสองจับตัวกันและส่วนผสมที่ 2 เซ็ตตัวดี โดยไม่ปล่อยให้อุณหภูมิสูงเกิน ซึ่ง
หากเป็นเช่นนั้นจะเกิดการสันดาปความร้อน เร่งปฏิกริยาเคมี แปลงโมเลกุล สลายพันธะโควาเลนท์ แยกโมเลกุลของคาร์บอนมารวมกันที่ชั้นผิวนอก
ของโปรดักต์ ที่ต้องระวัง เพราะวัตุดิบที่เขาใช้ ล้วนแต่มีคาร์บอนเป็นโมเลกุลแรกทั้งสิ้น
ความจริงการเกิดคาร์บอไนเซซั่นไม่เกิน 0.05% นับเป็นตำหนิที่ยอมรับได้ หากเกิน 0.05% ไปเท่าใด ก็ยิ่งห่างไกลจากความสมบูรณ์แบบไปเท่านั้น
ซึ่งผลงานของเขา เขาไม่ต้องการให้มีการคาร์บอไนเซซั่นเกิน 0.01% จึงต้องตั้งใจเป็นอย่างมาก
เขาคำนวณเวลาที่เหมาะสม เปิดฝาแม่พิมพ์ จับจ้องเพ่งมองทุกความเปลี่ยนแปลง ทันทีที่เขาเห็นส่วนที่ 2 ชั้นบนเซ็ตตัวด้วยตาเปล่า ก็รีบใช้อุปกรณ์ตักขึ้นมาวางบนภาชนะแบนทำจากเซรามิค เสนอให้แก่ผู้ประเมินตรงหน้า
มือของธนดลที่ยื่นส่งผลงานไปนั้นไม่สั่นแม้แต่น้อย นั่นแสดงถึงความมั่นใจในสิ่งที่นำเสนอ
ชิ้นงานผสานเป็นเนื้อเดียวอย่างกลมกลืน แทบจะไร้รอยตำหนิจากการคาร์บอไนเซซั่นอย่างที่เขาตั้งใจ และหากดูแต่ภายนอกจะไม่รู้ว่าชิ้นงานนั้นความจริงแยกเป็น 2 ชั้น แม้จะนำเสนอแบบธรรมดา ไม่ได้ทำการตกแต่งผิวหน้า หรือคอมไบนด์กับสิ่งอื่น ธนดลก็มั่นใจว่าผู้ประเมินจะต้องพอใจกับผลงานของเขา
ผู้ประเมินยื่มมือมารับไป แล้วประเมินชิ้นงานที่ยังมีควันระอุของเขาด้วยสายตา พิจารณาจากทุกแง่มุม ถึงขนาดก้มลงดม สูดไอความร้อนจากชิ้นงาน
ชายหนุ่มลอบสังเกต กลับไม่พบความเปลี่ยนแปลงใดๆบนใบหน้าของผู้ประเมิน นั่นทำให้เขายกมือที่มั่นคงเมื่อครู่ ซึ่งตอนนี้สั่นน้อยๆขึ้นมาใช้ปลาย
นิ้วกลางดันแว่นให้ชิดสันจมูกด้วยความเคยชิน
และในการประเมินขั้นสุดท้าย ผู้ประเมินพ่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเร่งกระบวนการคายความร้อนของชิ้นงาน ก่อนจะใช้มือเปล่าๆหยิบชิ้นงานของเขาใส่เข้าปาก
หลังจากเคี้ยวและกลืนแล้ว รอยยิ้มของผู้ประเมินซึ่งเป็นหญิงวัยกลางคนจึงเปิดเผยออกมา
"อืม อร่อยกว่าที่แม่ทำอีก"
มือของธนดลกำเป็นหมัดแน่นอย่างผู้มีชัย รอยยิ้มอย่างโล่งใจก็ปรากฏบนหน้าของเขาเช่นเดียวกัน
...........
ที่ตลาด
"พี่แสง ป้านีเขาเซ้งแผงให้คนอื่นเหรอ ไม่เห็นมาหลายวันแล้ว"
"ป้าแกเกษียณแล้ว นั่นก็ลูกชายแกไง คนที่แกบอกว่าเรียนเคมีน่ะ"
"อ๋อ มิน่า ถึงเปลี่ยนชื่อร้านเป็น ขนมครกปริญญา ท่าทางจะอร่อยนะนั่น ลูกค้าต่อแถวยาวเชียว"
...........................................................................................................................................................................................
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อธิบายศัพท์
วัตถุสารโพลีแซคคาไรด์ = แป้งข้าวเจ้า
วัตถุสารโพลีแซคคาไรด์อีกตัวที่มีสูตรเคมีเดียวกัน แต่มีค่าอไมโลสต่ำกว่าร่วม 20 เท่า = แป้งข้าวเหนียว
สารสกัดจาก Tacca leontopetaloides = แป้งท้าวยายม่อม
วัตถุสารไดแซคคาไรด์ = น้ำตาลทราย
ฮาไลต์ = เกลือ NaCl = โซเดียมคลอไรด์
สารละลายที่มีส่วนประกอบของ กรดลอริก = กรดลอริก พบมากในกะทิ, น้ำมันมะพร้าว
oxiden = H2O = น้ำ
สารไตรเอซิลกลีเซอรอล = น้ำมันพืช
พ่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเร่งกระบวนการคายความร้อน = ใช้ปากเป่าให้มันหายร้อน
สูตรหมายเลข 38
เมื่อวานนี้เขาได้ทำการทดลองจนประสบผลสำเร็จแล้ว เขาแค่ต้องทำมันอีกครั้งในวันนี้ เพียงแต่ครั้งนี้เขาต้องทำมันต่อหน้าผู้ประเมิน ดังนั้น จะไม่ให้เขาเกิดอาการเครียดสักหน่อยคงไม่ได้ เพราะผลงานในวันนี้จะเป็นตัวกำหนดเส้นทางชีวิตของเขาในวันข้างหน้าต่อไป
ชายหนุ่มกำมือแล้วแบออก 2-3 ครั้ง ก่อนเริ่มกระบวนการตวงวัตถุสารโพลีแซคคาไรด์ ที่มีสูตรเคมีเป็น C6H10O5 จำนวน 200 กรัม ลงในภาชนะ จากนั้นจึงเติมวัตถุสารโพลีแซคคาไรด์อีกตัวที่มีสูตรเคมีเดียวกัน แต่มีค่าอไมโลสต่ำกว่าร่วม 20 เท่า ลงไปผสมจำนวน 25 กรัม จากการทดลองหลายครั้งทำให้เขารู้ว่า นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเจือจางค่าอไมโลสในฐานของโปรดักต์ เพื่อให้มีอุณหภูมิการเกิดเจลาติไนเซชันลดลง
เขาเคยคิดใช้สารสกัดจาก Tacca leontopetaloides เพื่อแก้ปัญหา แต่เนื่องจากพื้นฐาน anhydroglucose unit ที่ต่างกัน ทำให้ล้มเหลวในการเชื่อมต่อกันด้วยพันธะ a-glycosidic linkage ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 1 และanomeric carbon ไม่จับโมเลกุลกัน เกิด อไมโลเพคติน ขนาดใหญ่ จึงส่งผลให้
โปรดักต์ล้มเหลวยิ่งกว่าเดิม
องค์ประกอบอย่างที่สาม คือ วัตถุสารไดแซคคาไรด์ มีสูตรเคมีเป็น C12H22O1 ที่มีพันธะไกลโคซิดิกเป็นพันธะโควาเลนต์เชื่อมโมเลกุลของเลวูโลสกับสารตั้งต้นโมโนแซคคาไรด์ C6H12O6 จำนวน 6.5 กรัม
สุดท้ายคือ ฮาไลต์ เขาใช้ชนิดไอออน คลอไรด์ ขนาดใหญ่ ที่เป็นผลึกถูกจัดเรียงในคิวบิก โคลส-แพคกิ่ง แบบสมมาตร หรือ NaCl จำนวน 5 มิลลิลิตร
ในการผสมตามอัตราส่วนนั้น มีบางชนิดไม่อาจให้น้อยเกินไป มีแต่ส่วนผสมนี้ที่ไม่อาจให้มากเกินไป
เขาเขย่าส่วนผสมทั้งหมดอย่างเบามือ จึงค่อยเติมตัวเบลนด์ เขาเลือกใช้สารละลายที่มีส่วนประกอบของ กรดลอริก ที่มีสายคาร์บอน 12 อะตอม หรือจะ
ลงรายละเอียดตามสูตรเคมีคือ C12H24O2 อันเป็นกลุ่มไตรกลีเซอไรด์สายปานกลาง เป็นตัวเบลนด์ จำนวน 250 มิลลิลิตร
ใช่ องค์ประกอบทั้งหมด เขาใช้แต่สารที่หาได้ง่ายในธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ในการผลิตจำนวนมากและลดต้นทุนการผลิต หรือถ้าจะเอาความจริง ก็คือ
ตัวเขาเองไม่ได้มีทุนทำการทดลองมากมายที่ไหน ด้วยงบประมาณจำกัด วัตถุดิบก็ต้องจำกัดไปด้วยเช่นนี้
หลังจากเบลนด์องค์ประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย คือการเติมตัวทำละลาย เขาใช้ตัวทำละลายพื้นฐาน Oxiden สารที่มีโมเลกุล
ออกซิเจนน้อยกว่าไฮโดรเจนเท่าตัวซึ่งเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ ที่ได้ผ่านความร้อนจนมีอุณหภูมิประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส จำนวน 250 มิลลิลิตร ทำการละลายส่วนผสมทั้งหมดให้เป็นเนื้อเดียวกัน
เมื่อส่วนผสมทั้งหมดละลายเข้ากันดี เขาก็วางไว้ก่อน แล้วเริ่มทำส่วนผสมส่วนที่ 2
โดยใช้วัตถุสารโพลีแซคคาไรด์ชนิดแรก 15 มิลลิลิตร วัตถุสารไดแซคคาไรด์ 50 กรัม NaCl 5 มิลลิลิตร นำมาเบลนด์และทำละลายไว้
การที่เขาแยกส่วนผสมออกมาเป็นส่วนผสมที่ 2 นั้นเกิดจากการเรียนรู้ความผิดพลาดในสูตรหมายเลข 4 ที่รวมส่วนผสมทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน ด้วย
ความคิดที่ว่าเพื่อให้เนื้องานเป็นชิ้นเดียวกัน กลายเป็นความล้มเหลวไม่เป็นท่า เขาจึงแก้ปัญหาโดยการแยกส่วนผสมส่วนเกินออกมา เพื่อสร้างเบสให้เสถียรก่อน ค่อยเติมอีกส่วนเข้าไปภายหลัง
สูตรนี้เป็นสูตรหมายเลข 38 ที่เขาใช้เวลาหลายอาทิตย์ ในการปรับปรุงแก้ไข ลองผิดลองถูกอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่า แต่หากจะให้อ้างถ้อยคำของ โทมัส อัลวา เอดิสัน คงต้องกล่าวว่า เขาค้นพบสูตรที่ไม่สำเร็จ 37 สูตร ก่อนจะค้นพบสูตรที่สำเร็จเพียงสูตรเดียว นั่นล่ะ หากเทียบกันแล้วเขาค้นพบสูตรที่ไม่สำเร็จน้อยกว่าตอนเอดิสันสร้างหลอดไฟเป็นเท่าตัวเชียวนะ
ธนดลขยับแว่น เหลือบตามองผู้ประเมิน ไม่เห็นแววตำหนิหรือพอใจบนใบหน้า แต่เท่าที่เขารู้ ทุกขั้นตอนที่เขาทำ ถูกต้องตามโพรเซสทุกอย่าง ส่วนผสมพร้อมแล้ว ต่อไปคือการขึ้นรูป
ชายหนุ่มจัดเตรียมแม่พิมพ์ ให้ความร้อนจนได้อุณหภูมิที่ต้องการ เพื่อป้องกันโปรดักต์หรือชิ้นงานติดแม่พิมพ์ เขาทาเคลือบโดยใช้สารหล่อลื่นที่ราคาถูกอย่างสารไตรเอซิลกลีเซอรอล เขาเหลือบมองผู้ประเมินอีกครั้ง เห็นท่าวางเฉยนั่นแล้ว เขาคิดว่า คงใช้ได้อย่างไม่เป็นปัญหา
แม้ว่าเขาจะจบเพียงชั้นปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี จากมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นระดับชั้นนำของประเทศ แต่ใบปริญญาของเขา ก็ไม่ได้มีค่าไว้ใช้เพียงแค่ประดับฝาบ้านหรอกน่า
ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องควบคุมด้วยมือเท่านั้น เพราะตัวแปรซับซ้อนหลายประการอันเป็นองค์ประกอบภายนอก การดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสถานการณ์เป็นเรื่องสุดที่เครื่องจักรจะทำได้
ธนดลระวังมือไม่ให้สั่นขณะบรรจงหยอดส่วนผสมส่วนแรกลงไป
เขารอเวลาส่วนผสมที่ 1 เซ็ตตัว เพื่อที่จะได้เทส่วนที่ 2 หากเขาเทเร็วเกินไป ก่อนที่ส่วนแรกจะเซ็ตตัว ส่วนผสมทั้งสองจะรวมตัวกันจนโปรดักต์ไม่สมบูรณ์ แต่หากช้าเกินไป ส่วนผสมทั้งสองจะไม่จับตัวกัน กลายเป็นผลงานที่ล้มเหลว
เขารอจังหวะจนถึงเวลาที่เหมาะสม เทส่วนผสมที่ 2 ลงไป แล้วปิดฝาแม่พิมพ์
ส่วนสำคัญยังคงมีหลังจากนี้ คือการควบคุมอุณหภูมิ เพื่อให้ส่วนผสมทั้งสองจับตัวกันและส่วนผสมที่ 2 เซ็ตตัวดี โดยไม่ปล่อยให้อุณหภูมิสูงเกิน ซึ่ง
หากเป็นเช่นนั้นจะเกิดการสันดาปความร้อน เร่งปฏิกริยาเคมี แปลงโมเลกุล สลายพันธะโควาเลนท์ แยกโมเลกุลของคาร์บอนมารวมกันที่ชั้นผิวนอก
ของโปรดักต์ ที่ต้องระวัง เพราะวัตุดิบที่เขาใช้ ล้วนแต่มีคาร์บอนเป็นโมเลกุลแรกทั้งสิ้น
ความจริงการเกิดคาร์บอไนเซซั่นไม่เกิน 0.05% นับเป็นตำหนิที่ยอมรับได้ หากเกิน 0.05% ไปเท่าใด ก็ยิ่งห่างไกลจากความสมบูรณ์แบบไปเท่านั้น
ซึ่งผลงานของเขา เขาไม่ต้องการให้มีการคาร์บอไนเซซั่นเกิน 0.01% จึงต้องตั้งใจเป็นอย่างมาก
เขาคำนวณเวลาที่เหมาะสม เปิดฝาแม่พิมพ์ จับจ้องเพ่งมองทุกความเปลี่ยนแปลง ทันทีที่เขาเห็นส่วนที่ 2 ชั้นบนเซ็ตตัวด้วยตาเปล่า ก็รีบใช้อุปกรณ์ตักขึ้นมาวางบนภาชนะแบนทำจากเซรามิค เสนอให้แก่ผู้ประเมินตรงหน้า
มือของธนดลที่ยื่นส่งผลงานไปนั้นไม่สั่นแม้แต่น้อย นั่นแสดงถึงความมั่นใจในสิ่งที่นำเสนอ
ชิ้นงานผสานเป็นเนื้อเดียวอย่างกลมกลืน แทบจะไร้รอยตำหนิจากการคาร์บอไนเซซั่นอย่างที่เขาตั้งใจ และหากดูแต่ภายนอกจะไม่รู้ว่าชิ้นงานนั้นความจริงแยกเป็น 2 ชั้น แม้จะนำเสนอแบบธรรมดา ไม่ได้ทำการตกแต่งผิวหน้า หรือคอมไบนด์กับสิ่งอื่น ธนดลก็มั่นใจว่าผู้ประเมินจะต้องพอใจกับผลงานของเขา
ผู้ประเมินยื่มมือมารับไป แล้วประเมินชิ้นงานที่ยังมีควันระอุของเขาด้วยสายตา พิจารณาจากทุกแง่มุม ถึงขนาดก้มลงดม สูดไอความร้อนจากชิ้นงาน
ชายหนุ่มลอบสังเกต กลับไม่พบความเปลี่ยนแปลงใดๆบนใบหน้าของผู้ประเมิน นั่นทำให้เขายกมือที่มั่นคงเมื่อครู่ ซึ่งตอนนี้สั่นน้อยๆขึ้นมาใช้ปลาย
นิ้วกลางดันแว่นให้ชิดสันจมูกด้วยความเคยชิน
และในการประเมินขั้นสุดท้าย ผู้ประเมินพ่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเร่งกระบวนการคายความร้อนของชิ้นงาน ก่อนจะใช้มือเปล่าๆหยิบชิ้นงานของเขาใส่เข้าปาก
หลังจากเคี้ยวและกลืนแล้ว รอยยิ้มของผู้ประเมินซึ่งเป็นหญิงวัยกลางคนจึงเปิดเผยออกมา
"อืม อร่อยกว่าที่แม่ทำอีก"
มือของธนดลกำเป็นหมัดแน่นอย่างผู้มีชัย รอยยิ้มอย่างโล่งใจก็ปรากฏบนหน้าของเขาเช่นเดียวกัน
...........
ที่ตลาด
"พี่แสง ป้านีเขาเซ้งแผงให้คนอื่นเหรอ ไม่เห็นมาหลายวันแล้ว"
"ป้าแกเกษียณแล้ว นั่นก็ลูกชายแกไง คนที่แกบอกว่าเรียนเคมีน่ะ"
"อ๋อ มิน่า ถึงเปลี่ยนชื่อร้านเป็น ขนมครกปริญญา ท่าทางจะอร่อยนะนั่น ลูกค้าต่อแถวยาวเชียว"
...........................................................................................................................................................................................
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้