๕๐. อรรถกถาอิทธิวิธญาณุทเทส
ว่าด้วยอิทธิวิธญาณ
บัดนี้ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรยกอภิญญา ๖
ที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เป็นไปด้วยอำนาจสัจวิวัฏญาณนั้นขึ้นแสดงโดยลำดับ.
ในอภิญญา ๖ แม้นั้น ท่านยกอิทธิวิธญาณแสดงก่อน
คือความแปลกประหลาด เพราะเป็นอานุภาพอันปรากฏแก่โลก,
ยกทิพโสตญาณขึ้นแสดงเป็นอันดับที่ ๒ คือ
ทิพโสตญาณอันเป็นโอฬาริกวิสัย เพราะเป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณ,
ยกเจโตปริยญาณขึ้นแสดงเป็นอันดับที่ ๓ เพราะเป็นสุขุมวิสัย.
บรรดาวิชชา ๓
ท่านยกบุพเพนิวาสานุสติญาณขึ้นแสดงเป็นอันดับที่ ๑
เพราะบรรเทาความมืดในอดีตที่ปกปิดบุพเพนิวาสคือการเกิดในชาติก่อน,
ยกทิพจักขุญาณขึ้นแสดงเป็นอันดับที่ ๒
เพราะบรรเทาความมืดทั้งในปัจจุบันและอนาคต,
ยกอาสวักขยญาณขึ้นแสดงเป็นอันดับที่ ๓
เพราะตัดความมืดทั้งหมดเสียได้เด็ดขาด.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กายมฺปิ - แม้กาย ซึ่งได้แก่ แม้ซึ่งรูปกาย.
คำว่า จิตฺตมฺปิ - แม้ซึ่งจิต ได้แก่ แม้ซึ่งจิตอันมีฌานเป็นบาท.
คำว่า เอกววตฺถานตา - เพราะการกำหนดเข้าเป็นอันเดียวกัน.
มีคำอธิบายว่า
ด้วยทิสมานกายหรืออทิสมานกาย
เพราะตั้งไว้โดยความเป็นอันเดียวกันกับบริกรรมจิต
และเพราะกระทำกายและจิตให้ระคนกันตามที่จะประกอบได้ ในคราวที่ประสงค์จะไป.
ก็คำว่า กาโย - กาย ในที่นี้ ได้แก่ สรีระ.
จริงอยู่ สรีระ ท่านเรียกว่ากาย
เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งอวัยวะทั้งหลายมีเกสา - ผม
เป็นต้นอันน่าเกลียดเพราะสั่งสมไว้ซึ่งอสุจิ
และเป็นบ่อเกิดแห่งโรคหลายร้อย มีโรคทางจักษุเป็นต้น.
จ ศัพท์ ท่านประกอบไว้ในคำนี้ว่า สุขสญฺญญฺจ ลหุสญฺญญฺจ
- ซึ่งสุขสัญญาด้วย ซึ่งลหุสัญญาด้วย
เป็นสมุจจยัตถะ ควบสัญญาศัพท์เดียวเท่านั้น
อันสัมปยุตกับจตุตถฌานให้เป็น ๒ บทเพราะต่างกันโดยอาการ.
จริงอยู่ อุเบกขาในจตุตถฌาน ท่านกล่าวว่า สนฺตํ - สงบ สุขํ - เป็นสุข,
สัญญาที่สัมปยุตกับอุเบกขานั้น ชื่อว่าสุขสัญญา.
สุขสัญญานั่นแหละ ชื่อว่าลหุสัญญา
เพราะพ้นนิวรณ์ทั้งหลายและปัจนิกธรรมมีวิตกเป็นต้น.
คำว่า อธิฏฺฐานวเสน - ด้วยสามารถแห่งการตั้งไว้.
ความว่า ด้วยสามารถแห่งการตั้งไว้อย่างยิ่ง.
อธิบายว่า ด้วยสามารถแห่งการเข้าไป.
จ ศัพท์ในคำว่า อธิฏฺฐานวเสน จ ท่านนำมาเชื่อมเข้าไว้.
เหตุตามที่ประกอบได้ของอิทธิวิธมีประการทั้งปวง ท่านกล่าวไว้แล้วเพียงเท่านี้.
คำว่า อิชฺฌนฏฺเฐ ปญฺญา - ปัญญาในการสำเร็จ. ความว่า ปัญญาในสภาวะคือการสำเร็จ.
คำว่า อิทฺธิวิเธ ญาณํ - ญาณในการแสดงฤทธิได้ต่างๆ
มีคำอธิบายท่านกล่าวไว้ว่า
ชื่อว่า อิทฺธิ - ฤทธิ ในอรรถว่าสำเร็จ, และในอรรถว่าได้เฉพาะ เพราะอรรถว่าสำเร็จ.
จริงอยู่ สิ่งใดจะเกิดขึ้น และจะได้เฉพาะ สิ่งนั้นท่านเรียกว่า อิชฺฌติ - ย่อมสำเร็จ.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑-
ถ้าว่า เมื่อบุคคลปรารถนากามอยู่
และกามก็ย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้น ดังนี้.
คนที่เข้าไม่ถึงอาทิสมานกาย ไม่มีวิปัสสนาญาณ