การสืบต่อข้อมูล(เดิม) ของ อัญเดียรถีย์ !

นับว่าเป็นความ "อุบาทว์" อย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสพบเห็น มิจฉาทิฐิแบบโจ๋งครึ่ม
จากคนซึ่งชอบอ้างตนเสียใหญ่โตว่า ......... กำลังปกป้องพระธรรมวินัย !

ในช่วงเริ่มต้น มันก็พล่ามๆๆๆๆๆๆ อะไรต่อมิอะไร ออกมาเสียมากมาย
เพื่อประกาศตัวว่า ฉันรู้ดีทู๊กกกกกกกกอย่าง ฉันไม่ได้เป็นพวกมิจฉาทิฐินะ
แต่พอถึงที่สุดแล้ว กำพืดความเป็นมิจฉาทิฐิ(แบบสัสสตทิฐิ) ก็หลุดออกมาจนได้ เนื่องจากมันผู้นั้น ได้กล่าวว่า

"ร้องไห้ใน)ขณะที่รูปนามเกิดดับสืบต่อนั้น มันสืบต่อข้อมูลของรูปนามเดิมที่ดับไปมาด้วย
ยกตัวอย่างเช่น จิตเกิดดับ สัญญาเกิดเมื่อวาน ดับไปแล้ว ทำไมวันนี้ยังจำได้อยู่ล่ะ ?
แสดงว่าสัญญาเก่า สืบต่อข้อมูลมาให้สัญญาใหม่ ใช่ไหม ?"
                


ประเด็นที่พึงพิจารณา ก็คือ (๑) สิ่งที่มันพูดมานี้ จริงหรือไม่ ? และ (๒) ข้อความดังกล่าวมีพุทธพจน์รองรับอยู่หรือไม่ ?

***********************************************************************************
***********************************************************************************

๑) สิ่งที่มันพูดมานี้ จริงหรือไม่ ?

ปากของมัน ก็พล่ามไปได้เรื่อยว่า นามรูปเกิดดับทุกขณะ ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ซึ่งถ้าดูแบบผิวเผิน ก็น่าจะพูดถูกต้อง
แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียด กลับพบว่ามีบางสิ่งที่ผิดปกติ เช่นการกล่าวถึง "ข้อมูล" ที่มีการส่งต่อ ....... (?)

สั้นๆ ง่ายๆ เลยนะครับ พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึง การส่งต่อข้อมูลอะไรที่ว่านี้ เอาไว้ ณ ที่ใดครับ พระสูตรไหน ช่วยบอกทีสิ ?

และเมื่อพิจารณาให้ดีๆ จะพบว่า แม้มันผู้นี้จะอ้างถึง นามรูปที่มีการเกิดดับ เสมือนประหนึ่งจะเข้าใจว่า ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ถาวร
แต่จริงๆ แล้ว มันกลับ "ซ่อน" ความเป็น มิจฉาทิฐิเอาไว้ที่คำว่า "ข้อมูล" ซึ่งถูกปรุงแต่งขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหา
ว่ามีความเข้าใจผิดใน รูปนาม หรือ ขันธ์ ว่าเที่ยง ทั้งๆ ที่เมื่อพิจารณาดูตามเนื้อหาใจความแล้ว มันมีความหมายที่ไม่แตกต่างกันเลย !

การยกตัวอย่างว่า สัญญาเดิมดับไป แล้วส่งต่อ "ข้อมูล(เก่า)" ให้กับสัญญาใหม่
มันก็เท่ากับเป็นการกล่าวปฏิญาณตนไปแล้วว่า นายคนที่พูดข้อความดังกล่าวนี้
เชื่อว่ามีอะไรสักอย่างที่เที่ยง เพียงแต่มัน "หลีกเลี่ยง" ที่จะใช้คำว่า สัญญา หรือ ขันธ์ ๕  ตรงๆ
แต่กลับไปใช้คำว่า "ข้อมูล(เดิม)" จากสัญญาหรือขันธ์อันเก่า(ที่ดับไป) ซึ่งโดยอรรถแล้ว

ไม่แตกต่างกับการกล่าวว่า สัญญาหรือขันธ์ เที่ยง แต่อย่างใดเลย !

ขออนุญาต อธิบายเพิ่มเติม ดังนี้ว่า

ตามแนวความคิดของคนๆ นี้ เมื่อ สัญญาเดิม ของเมื่อวาน ดับไป ข้อมูลของสัญญาเดิมอันนั้น มิได้ดับไปด้วย
แต่ได้ถูกส่งต่อไปให้กับ สัญญาใหม่ของวันนี้ ดังนั้น สัญญาใหม่ของวันนี้ จึงมีข้อมูลอยู่ ๒ ชุด รวมกัน คือ
ข้อมูลเก่าของสัญญาเดิมที่ถูกส่งต่อมาจากเมื่อวาน กับ ข้อมูลใหม่ของวันนี้ และเมื่อสัญญาของวันนี้ดับไป
ข้อมูลของสัญญาในวันนี้ทั้ง ๒ ชุดนั้น ก็จะมิได้ดับไป แต่จะถูกส่งต่อไปให้กับสัญญาของวันพรุ่ง ...... ไปเรื่อยๆๆๆๆๆ

ซึ่งหากนำแนวคิดดังกล่าวมาผนวกเข้ากับ ความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ในสังสารวัฏ ที่ยาวนาน ของคนพวกนี้
เมื่อพิจารณา "ย้อนกลับ" จากปัจจุบันไปหาอดีต เราย่อมได้ข้อสรุปจากแนวคิด "วิปริต" ของคนผู้นี้ว่า
จะต้องมี "ข้อมูล" ของสัญญา(หรือขันธ์ ต่างๆ)ที่เก่าแก่ที่สุด ในอดีตอันยาวนานที่สุด ที่เที่ยงแท้ถาวร อยู่ในเอกภพ

ลักษณะแนวคิดแบบนี้ ย่อมจะเป็นทิฐิความเห็นผิด ที่เข้ากับฝักฝ่ายของพวกลัทธิ จิตอมตวาท อย่างมิต้องสงสัย !

แปลความได้ว่า แม้ปากของคนผู้นี้ จะพูดพล่าม เป็นนกแก้วนกขุนทองว่า รูปนามไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง ฯลฯ
แต่ลึกๆ ในใจของคนพวกนี้ กลับมีความเชื่อว่า ต้องมีอะไรสักอย่างที่เที่ยงแท้ถาวร อยู่ในวัฏฏสงสาร(หรือเอกภพ)
พวกอัญเดียรถีย์ อาจบัญญัติเรียกสิ่งนั้นว่า ชีวะ , เจตภูต , ศรีรินทร์ , วิญญาณ , จิต , อัตตา หรือ ปรมาตมัน ฯลฯ
แต่นายคนนี้ เลี่ยงถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด แล้วหันไปใช้คำว่า "ข้อมูล" แทน ซึ่งก็คือพฤติกรรมการเลี่ยงบาลี นั่นเอง !



เหตุที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะ มันผู้นี้ไม่เข้าใจว่า ความเป็นมิจฉาทิฐิของมัน หรือของพวกอัญเดียรถีย์เหล่านั้น
ไม่ได้เกี่ยวกับว่า มันจะบัญญัติเรียก "สิ่งนั้น" ว่าอะไร แต่ประเด็นที่เป็นใจความสำคัญ กลับอยู่ที่ว่า
มันเห็นว่า "สิ่งนั้น" มีลักษณะเป็นอย่างไร ต่างหาก (เช่นเที่ยง หรือไม่เที่ยง เป็นต้น) !

ตัวอย่างเช่น หากมีความเห็นว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ชีวะ จิต เจตภูต หรืออะไรก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นบัญญัติ
ที่ไม่มีอยู่จริงในระดับปรมัตถ์ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ แม้จะพูดด้วยบัญญัติแปลกๆ เช่น เจตภูต หรือ ศรีรินทร์ ก็ไม่เป็นปัญหา

แต่ถ้า กล่าวถึงบัญญัติเหล่านั้น ด้วยความเข้าใจผิดๆ ไปว่า "เที่ยง" โดยไม่ว่าจะบัญญัติเรียกสิ่งนั้นว่าอะไรก็ตาม
เช่น ที่นายคนนี้ อาจเลี่ยงบาลีด้วยคำว่า "ข้อมูล" ของขันธ์ ๕ ซึ่งความเห็นแบบนี้ ก็ยังจัดเป็น มิจฉาทิฐิ อยู่ดี !

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านทั้งหลายคงจะไม่ถึงกับ "ติดบัญญัติ" เสียจนไม่ยอมเข้าใจว่า
สาระของเรื่องมิจฉาทิฐิ มันอยู่ที่ "ความยึดติดถือมั่น" ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง !

คำว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง" มันหมายถึงอะไรก็ตามเท่าที่มนุษย์ จะสามารถบัญญัติเรียกกันได้นั่นแหละ
อัญเดียรถีย์ในสมัยพุทธกาล หรือ สมัยก่อนหน้า อาจบัญญัติเรียกกันด้วยคำอย่างอื่น ตามที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์
แต่คนสมัยนี้ อาจบัญญัติเรียกสิ่งที่เขาเชื่อว่าเที่ยง ด้วยคำว่า "ข้อมูล" ของขันธ์ ๕ อย่างนี้ เป็นต้น
ทั้งนี้ ต่อให้เรียกสิ่งนั้นว่า "แอ๊ะแอ๋" หรืออะไรก็ตาม แต่เมื่อเข้าใจว่ามันเที่ยง ก็ยังต้องนับว่าเป็นมิจฉาทิฐิ อยู่นั่นเอง



ชัดเจนแล้วนะครับ ?

***********************************************************************************
***********************************************************************************

๒) ข้อความดังกล่าวมีพุทธพจน์รองรับอยู่หรือไม่ ?

คนเราทุกวันนี้ จะแอบอ้างว่าเป็นชาวพุทธ ก็ย่อมได้ ไม่เป็นปัญหาเลย
แต่เขาจะเป็นชาวพุทธ(เถรวาท)แท้ หรือเป็นเพียงแค่ ชาวพุทธชายขอบ
มันก็ย่อมขึ้นอยู่กับว่า สิ่งที่เขาคิด พูด และอธิบายความต่างๆ ออกมานั้น
มี พุทธพจน์ รองรับอยู่อย่างแท้จริง หรือไม่ ?

ประเด็นสำหรับกรณีนี้ ก็คือ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ที่ใด หรือไม่ว่า ขันธ์ ทั้ง ๕ นี้ มีสิ่งที่เรียกว่า "ข้อมูล"
หรือด้วยคำอื่นใดก็ตามที่มีความหมายอย่างเดียวกัน โดยที่ข้อมูลเหล่านั้น จะมิได้สูญหายไปไหน
แต่จะถูก "ส่งต่อ" ไปเรื่อยๆ ในกระบวนการเกิดดับของขันธ์ ๕ ในวัฏฏสงสาร ?

พวกเม็ดมะขาม เข้าใจคำถามหรือไม่ว่า สิ่งที่ถูกทวงถาม ก็คือ หลักฐานชั้นพุทธพจน์ (ซึ่งย่อมมิใช่ "ความเห็น" ของผู้อื่น)
และถ้าหากไม่สามารถแสดงหลักฐานที่มาของมติดังกล่าวได้ นั่นย่อมหมายความว่า นายคนนี้ กำลังกล่าวตู่พระธรรมวินัย !

ขอถามย้ำนะครับ

พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึง การส่ง "ข้อมูล" ของขันธ์ ๕ เอาไว้ในพระสูตรใดครับ ?

ในขณะที่รอการแสดง "หลักฐาน" ผมขออนุญาตเสนอข้อมูลเทียบเคียง กล่าวคือ แนวความคิดในทำนองที่ว่า
มีการส่งต่อ "ข้อมูล" จากขันธ์ในอดีตไปสู่ขันธ์ใหม่ ในกระบวนการ เกิดดับ สืบต่อของขันธ์ ทั้งหลายนั้น แท้ที่จริง
นายคนนั้น มิได้เป็นคนแรกที่คิดแบบนี้ หากแต่ได้มีแนวคิดในลักษณะดังกล่าวมาแล้ว ตั้งแต่เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๘
โดยเรียกสิ่งที่นายคนนั้นใช้คำว่า "ข้อมูล" ของขันธ์ ๕ ด้วยคำว่า "พีชะ" อันประกอบไปด้วย (๑) กุศลพีชะ (๒) อกุศลพีชะ
และ (๓) อัพยากตพีชะ ดังนั้น คำของนายคนนี้ ที่กล่าวว่า ..........

"นั่นแหละ วิบาก บารมี สังโยชน์ ก็สืบต่อมาพร้อมกับจิตเช่นกัน ฯลฯ"

จึงมิได้พ้นไปจากมติของลัทธิ "วิชญาณวาท" ที่ระบุว่า พีชะเหล่านี้ ล้วนมีที่มาจาก "อาลยวิญญาณ"
โดยต่างแยกกันอยู่เป็นส่วนๆ แม้แต่ มหาภูตรูป ก็มีพีชะ เช่นกัน โดยพีชะเหล่านี้ เมื่อก่อปฏิกิริยาออกมา
ก็คืออารมณ์ต่างๆ ทั้งฝ่ายนามธรรมและรูปธรรม

ต่อคำถามที่ว่า พีชะ เหล่านี้มีมาแต่ครั้งใด ลัทธินี้ กล่าวว่า มี ๒ ส่วน คือ ทั้งที่เป็นมาแต่เดิม
และ สะสมขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะเหมือน หรือ สอดคล้องกับ ทิฐิความเห็นของนายคนนี้ หรือไม่ อย่างไร ?
ก็แล้วแต่ท่านทั้งหลาย จะพิจารณาโดยแยบคาย กันเอาเอง นะครับ



บทสรุป สำหรับหัวข้อนี้ ก็คือ หากนายคนนั้น ไม่สามารถแสดงหลักฐานชั้นพุทธพจน์ เพื่อรองรับมติของตนได้
นั่นย่อมหมายความว่า มติของเขา เป็นสิ่งแปลกปลอมในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งย่อมถือเอา พุทธมติ
เป็นข้อยุติเสมอ หากเมื่อใดก็ตาม ที่ทำการ สอบทานกับพระสูตรพระวินัยแล้ว ไม่เข้ากัน ไม่ลงกันได้ ก็ให้ทิ้งไปเสีย
แต่หากยังฝืนถือเอาไว้ ย่อมได้ชื่อว่า เป็นการกล่าวตู่พระธรรมวินัย

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีบุญได้เห็น หลักฐาน และ คำอธิบาย
ที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง มากไปกว่าการฝลัดกระทู้อย่างโง่ๆ นะครับ

***********************************************************************************
***********************************************************************************

ประเด็นสุดท้าย ที่แม้จะไม่สำคัญมากนัก แต่ก็ควรกล่าวเอาไว้ให้เป็นหลักฐาน คือ
กรณีที่นายคนนี้ กล่าว "วิพากษ์วิจารณ์" พระบาลีพุทธพจน์ เอาเองตามใจชอบว่า ........

"พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า ใครรู้ซึ้งถึงเรื่องการเกิดดับของขันธ์จึงเป็นพระอริยะ"



ความข้อนี้ ถือว่าเป็นการกล่าวตู่บิดเบือนพระธรรมวินัย แบบซึ่งหน้า อย่างโง่เขลาเบาปัญญาที่สุด ทั้งนี้ ก็เพราะ

(๑) ญาณความหยั่งรู้ ความเกิดดับ ของขันธ์ ๕ หมายถึง อุทยัพพยญาณ
(๒) ญาณความหยั่งรู้ โทษ ของขันธ์ ๕ หมายถึง อาทีนวญาณ
(๓) ญาณความหยั่งรู้ อุบายเครื่องสลัดออกฯ หมายถึง ปฏิสังขาญาณ

กล่าวโดยสรุป ก็คือ พุทธพจน์ที่ยกขึ้นมาอ้างนี้ ใจความยังไม่พ้นไปจาก ญาณที่ ๗ ของวิปัสสนาญาณ ๙ นั่นจึงหมายความว่า
โยคาวจร "ผู้รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งขันธ์ ๕" ยังมิใช่ พระอริยบุคคล

คำว่า อริยสาวก ที่เห็นอยู่ในพระสูตรนั้น หมายถึง สาวกของ(พระ)อริยะ มิได้หมายความถึง สาวกผู้เป็นอริยบุคคล
สำหรับเรื่องนี้ ก็เป็นแต่เพียง "แจ้งให้ทราบ" ข้อเท็จจริง เท่านั้น   ส่วนเรื่องความรับผิดชอบ น่ะหรือ ........ (?)

ผมย่อมมิอาจคาดหวัง "ความดีงาม" จากคนถ่อยพวกนี้ ได้หรอกนะครับ !



สวัสดี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่