บาบิโลเนีย (Babylonia) หรือ อาณาจักรกรุงบาบิโลน หรือ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ชินาร์ (ชื่อในพระคัมภีร์) เป็นอาณาจักรที่พูดภาษาแอกแคดโบราณในภาคกลางตอนใต้ของเมโสโปเตเมีย เดิมทีบาบิโลนเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ในสมัยจักรวรรดิแอกแคด (2335–2154 BC) อำนาจของเมืองบาบิโลนแผ่ไปอย่างไพศาลในรัชสมัยของพระเจ้าฮัมมูราบีในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ก่อนคริสตกาลจนกลายเป็นนครหลวงที่สำคัญ ซึ่งในรัชสมัยของพระเจ้าฮัมมูราบี อาณาจักรกรุงบาบิโลนถูกเรียกว่า ประเทศแอกแคด (Māt Akkadī) เพื่อสื่อว่าเป็นอาณาจักรที่รับช่วงต่อจากจักรวรรดิแอกแคดอันรุ่งโรจน์ก่อนหน้า
นครบาบิโลนนั้นตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส (Tigris) และยูเฟรทีสตอนล่าง (Euphrates) ซึ่งปัจจุบันคือดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศอิรัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เป็นคำกรีกโบราณ (meso = กลาง + potamia = แม่น้ำ) มีความหมายว่า "ดินแดนระหว่างแม่น้ำ (ไทกริสกับยูเฟรทีส)" ด้วยภูมิประเทศแบบนี้เองจึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม ผู้คนจากหลากหลายอาณาจักรล้วนเดินทางมายังดินแดนบริเวณนี้เพื่อทำมาหากิน และสร้างอารยธรรมของตัวเอง
เฮอรอโดทัส (Herodutus) บิดาแห่งประวัติศาสตร์ชาวกรีก บันทึกไว้ว่า นครบาบิโลนมีพื้นที่ 630 ตารางกิโลเมตร มีอาคารที่สร้างด้วยอิฐดินสีน้ำตาลขุ่น เพราะได้จากการขุดดินโคลนมาทำ เมืองมีกำแพงล้อมยาว 100 กิโลเมตร และหนา 7 เมตร กำแพงมีประตูที่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ 100 บาน แต่ละด้านของกำแพงมี 25 ประตู จากมุมด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งของเมืองถูกตัดเป็นเส้นทะแยงมุมโดยแม่น้ำยูเฟรทีส (Euphrates) ซึ่งตัดผ่าเมืองออกเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีขนาดใกล้เคียงกัน 2 ส่วน และริมฝั่งแม่น้ำมีป้อมปราการป้องกันที่ทำด้วยอิฐซึ่งดูน่าเกรงขาม
สำหรับประชาชนในการเข้า-ออกเมือง และมีประตูสำคัญที่สุดคือ ประตูอิชทาร์ (Ishtar Gate) ที่สูง 23 เมตร ประดับด้วยกระเบื้องสีน้ำเงินเรียงกันเป็นรูปสัตว์ชื่อ mushhushshu ที่มีศีรษะเป็นมังกร ลำตัวเป็นวัว สองขาหน้าเป็นขาแมว สองขาหลังเป็นขานกอินทรีย์ และมีหางเป็นหางแมงป่อง
เมื่ออาณาจักรบาบิโลนเริ่มอ่อนแอลง ก็ถูกชาวฮิตไทต์ (Hittite) เข้าปล้นสะดมเมื่อ 1,590 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาพวกฮิตไทต์ก็เสียอำนาจให้แก่พวกคัสไซต์ และเข้าครอบครองกรุงบาบิโลนเป็นเวลาถึง 400 ปี กระทั่ง 612 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกคาลเดียน (Chaldean) ซึงเป็นชนเผ่าฮีบรูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส ก็สามารถเข้ายึดได้สำเร็จ และสถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่ง และจัดตั้งเป็นอาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ขึ้นมา และเจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุดอีกครั้ง
ในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์แห่งอาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ สามารถยกทัพไปพิชิตเมืองเยรูซาเลม และกวาดต้อนเชลยชาวยิวมายังกรงุบาลิโลน มีสร้างพระราชวังและวิหารขนาดใหญ่บนฝั่งแม่น้ำยูเฟรทีส และเหนือพระราชวังมีการสร้างสวนขนาดใหญ่ เรียกว่า สวนลอยแห่งบาบิโลเนีย ถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ
มีความรู้ด้านดาราศาสตร์ มีการแบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7 วัน แบ่งวันออกเป็น 12 คาบๆละ 120 นาที สามารถคำนวณเวลาโคจรของดวงอาทิตย์ในรอบปีอย่างถูกต้อง พยากรณ์สุริยุปราคา ชาวคาลเดียนเป็นชาติแรกที่ริเริ่มนำเอาความรู้ทางดาราศาสตร์มาทำนายโชคชะตาของมนุษย์ ต่อมาอาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ถูกกองทัพเปอร์เซียโดยการนำของพระเจ้าไซรัสมหาราช เข้ายึดครองและผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซีย
6 ก.ค ในปี 2562 ที่ผ่านมา ที่ประชุมองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศรับรอง "เมืองบาบิโลน" แหล่งอารยธรรมโบราณที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของอิรัก เป็นแหล่งมรดกโลกในการออกเสียงลงมติที่เมืองหลวงของประเทศอาร์เซอร์ไบจาน หลังอิรักพยายามรณรงค์หาทางให้เมืองบาบิโลนได้เป็นแหล่งมรดกโลกมาเป็นเวลานานหลายปี นับเป็นมรดกโลกแห่งที่ 6 ในดินแดนเมโสโปเตเมีย
สวนลอยแห่งบาบิโลน (the hanging garden of babylon)
สวนลอยบาบิโลน จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่บนแม่น้ำยูเฟรติส ประเทศอิรักในปัจจุบัน สร้างโดยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 3 สร้างให้แก่มเหสีของพระองค์ชื่อพระนางเซมีรามีส เมื่อ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช สุงประมาณ 75 ฟุต กินพื้นที่ 400 ตารางฟุต ระเบียงทุกชั้นได้รับการตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนพุ่มชนิดต่างๆ มีระบบชลประทานชักน้ำจากแม่น้ำไทกิสไปทำเป็นน้ำตกและนำไปเลี้ยงต้นไม้ตลอดปี แสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีทางการเกษตรและการชลประทานขั้นสูง ที่สามารถยกสวนพืชไปปลูกบนพระราชวังได้อย่างสวยงาม ปัจจุบันสวนนี้ได้พังทลายไปหมดแล้ว
จากบันทึกหลายเล่มของนักประวัติศาสตร์และนักเขียนชาวกรีกโบราณได้กล่าวว่าสวนลอยบาบิโลนมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความยาวด้านละ 120 เมตร พื้นบันไดทำด้วยหินอ่อน มีระเบียงที่ถูกสร้างวนไปมาเป็นชั้นๆเหมือนกับขั้นบันได ล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งถูกสร้างด้วยอิฐเผาหนา 7 เมตร และมีการทดน้ำขึ้นไปบนชั้นและระเบียงต่างๆ เพื่อหล่อเลี้ยงต้นไม้และดอกไม้นานาพันธุ์ซึ่งปลูกอยู่ข้างบน รวมถึงน้ำพุและน้ำตกที่ถูกสร้างไว้บนอุทยานเพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ
ในปีค.ศ.1899 ได้มีการขุดค้นพบซากเมืองบาบิโลน โดย Robert Koldeway นักโบราณคดีชาวเยอรมัน หากแต่ไร้ซึ่งวี่แววของสวนลอยอันงดงาม นักโบราณคดีและผู้เชี่ยวชาญจึงมีคำถามว่า สวยลอยแห่งกรุงบาบิโลนนั้นมีอยู่จริงหรือ
คำถามถูกเฉลยโดยสมมุติฐานของ สเตฟานี่ ดัลลี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านอารายธรรมเมโสโปเตเมียจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ผู้เขียนหนังสือ
“The Mystery of The Hanging Garden of Babylon” สเตฟานี่กล่าวว่าสวนลอยแห่งบาบิโลนนั้นไม่ได้ถูกสร้างขึ้นที่อาณาจักรบาบิโลน แต่จริงๆ แล้วสวนลอยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนิเนเวห์อันเป็นเมืองหลวงสำคัญของชาวแอสซีเรียซึ่งอยู่ห่างจากอาณาจักรบาบิโลนขึ้นไปทางเหนือถึง 300 ไมล์
สาเหตุที่นักโบราณคดียุคเก่าเชื่อว่าสถานที่ตั้งของสวนลอยแห่งนี้อยู่ที่เมืองบาบิโลนเป็นเพราะการแปลบันทึกคูนิฟอร์มอย่างไม่ถูกต้องจนกระทั่งนำไปสู่ความเข้าใจผิดของทุกๆ ฝ่าย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หาสวนลอยแห่งบาบิโลนที่ซากกรุงบาบิโลนไม่พบ จากความใหญ่โตและความน่าอัศจรรย์นี้เองที่ทำให้สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลนถูกจัดอันดับขึ้นเป็นหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ
หอบาเบล (The Tower of Babel)
หอคอยบาเบล เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปก็คือมันเป็นหอคอยสูงเสียดฟ้าตามตำนานในพระคัมภีไบเบิล ก่อนที่จะพังทำลายล่มสลายไป ซึ่งจากหลักฐานโบราณคดีปัจจุบันมีการสนับสนุนว่า " กษัตริย์เนบูชาด์เนซซาที่ 2 " ผู้สร้างสวนลอยฟ้าบาบิโลนนี้น่าจะเป็นผู้สร้างหอคอยบาเบล อันเนื่องจากมีการปรากฏจารึก แต่ยังมีในจารึกของ กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ของบาบิโลนเอาไว้
คำว่า ziqqurat ตรงกับคำ siqquratu ในภาษาบาบิโลเนียที่แปลว่า ยอดเขา ซิกกูรัตมีโครงสร้างคล้ายปิระมิดคือถูกแบ่งออกเป็นชั้นๆ ตั้งแต่ 3-7 ชั้น และมีขั้นบันไดเชื่อมระหว่างชั้นเป็นเส้นทางขึ้น-ลง ชั้นบนสุดเป็นสถานที่บูชาเทพ Marduk เพราะชั้นที่อยู่สูงขึ้นๆ จะมีขนาดเล็กลงๆ ซิกกูรัตจึงเปรียบเสมือนเอกภพที่มีชั้นล่างสุดเป็นนรก ชั้นกลางเป็นโลกมนุษย์ และชั้นบนสุดเป็นสวรรค์ นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า หอคอย Babel แห่งบาบิโลน แท้ที่จริงคือ ซิกกูรัตที่มีฐานล่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาว 30 เมตร
หอคอยบาเบลจะมีจริงหรือไม่นั้นก็ยังไม่มีใครสามารถฟันธงได้อย่างแน่ชัด แต่จากหลักฐานที่ค้นพบในตอนนี้และสมมติฐานของนักวิชาการ ดูเหมือนจะมีความเป็นไปได้ว่า หอคอยบาเบลในพระคัมภีร์ไบเบิลนั้นน่าจะเป็นซิกกูแรต “อีเตเมนอันกิ” ของเทพเจ้ามาร์ดุคในนครบาบิโลนนี่เอง.
ประตูอิชทาร์ (Ishtar Gate)
(ประตูอิชตาร์ที่ประกอบขึ้นใหม่ตามสัณฐานโดยอนุมานของนักโบราณคดี ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี สูง 14.30 เมตร)
ในสมัยของพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์นั้นได้มีการสร้างกำแพงล้อมรอบกรุงบาบิโลนเอาไว้ โดยมีประตูหลวงที่เรียกว่า “ประตูอิชตาร์” (The Ishtar Gate) จุดประสงค์ในการสร้างประตูนั้นเพื่อถวายแก่มหาเทวีอิชตาร์ (Ishtar) อันเป็นเทวีประจำเมืองและเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งชาวบาบิโลเนียเคารพนับถือเช่นเดียวกับเทพเจ้ามาร์ดุค (สัตว์ผสมระหว่างงู ปลา นกอินทรี และสิงโต)
ประตูนี้มีขนาดสูง 47 ฟุต สร้างประมาณ 604 562 B.C. สร้างจากวัสดุประเภทอิฐและเคลือบสีสวยงามมาก มีการแกะสลักเป็นภาพสัตว์ประหลาดที่เรียกว่า “กริฟฟิน” (Griffin) ซึ่งมีใบหน้าและลำตัวเป็นสิงโตแต่มีปีกเป็นนกอินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีลวดลายรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ม้า วัว สิงโต และมังกร ฯลฯ ประดับอยู่ทั่วไปเป็นระยะ ๆ ปัจจุบันกำแพงอิชต้าถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เบอร์ลิน (State Museum of Berlin) ประเทศเยอรมัน
ซิกกูแรต (Ziggurat)
ziqqurat ตรงกับคำ siqquratu ในภาษาบาบิโลเนียที่แปลว่า ยอดเขา ซิกกูรัตมีโครงสร้างคล้ายปิระมิดคือถูกแบ่งออกเป็นชั้นๆ ตั้งแต่ 3-7 ชั้น และมีขั้นบันไดเชื่อมระหว่างชั้นเป็นเส้นทางขึ้น-ลง ชั้นบนสุดเป็นสถานที่บูชาเทพ Marduk เพราะชั้นที่อยู่สูงขึ้นๆ จะมีขนาดเล็กลงๆ ซิกกูรัตจึงเปรียบเสมือนเอกภพที่มีชั้นล่างสุดเป็นนรก ชั้นกลางเป็นโลกมนุษย์ และชั้นบนสุดเป็นสวรรค์ นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า หอคอย Babel แห่งบาบิโลน แท้ที่จริงคือ ซิกกูรัตที่มีฐานล่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาว 30 เมตร
ซิกกูแรตนั้นจะไม่มีการก่อสร้างสูงจนเป็นยอดแหลมเหมือนกับปิรามิดของชาวอียิปต์ ด้านบนของซิกกูแรตจะเป็นพื้นที่ราบกว้างและสร้างเป็นวิหาร ในระยะแรกการสร้างซิกูแรตมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ต่อมาซิกกูแรตนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังของกษัตริย์แทน เช่น ซิกกูแรตที่เมืองอูร์ (Ur)
Cr.ภาพ middleeasteye.net/ mgronline.com
Cr.
https://7wonder.wordpress.com/2012/06/11/สวนลอยแห่งบาบิโลน/
Cr.
https://mgronline.com/science/detail/9620000016280
Cr.
https://travel.trueid.net/detail/LqNxGvlA4gzo
Cr.
http://art-west.weebly.com/362936343603363435923633358536193610363436103636365036213648360936373618-babylonia.html
Cr.
http://worldcivil14.blogspot.com/2014/12/hanging-garden-of-babylon.html / โดย วณัฐชญา ประทุมนันท์
Cr.
https://th-th.facebook.com/ThePlantsForOurFreedom/posts/550975421659707:0
Cr.
https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/abroad/1675908
Cr.
https://pattraporn093.wordpress.com/2014/01/06/ประตูอิชตาร์-the-ishtar-gate/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
สถาปัตยกรรมในอาณาจักรบาบิโลเนีย (Babylonia)
นครบาบิโลนนั้นตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส (Tigris) และยูเฟรทีสตอนล่าง (Euphrates) ซึ่งปัจจุบันคือดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศอิรัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เป็นคำกรีกโบราณ (meso = กลาง + potamia = แม่น้ำ) มีความหมายว่า "ดินแดนระหว่างแม่น้ำ (ไทกริสกับยูเฟรทีส)" ด้วยภูมิประเทศแบบนี้เองจึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม ผู้คนจากหลากหลายอาณาจักรล้วนเดินทางมายังดินแดนบริเวณนี้เพื่อทำมาหากิน และสร้างอารยธรรมของตัวเอง
เฮอรอโดทัส (Herodutus) บิดาแห่งประวัติศาสตร์ชาวกรีก บันทึกไว้ว่า นครบาบิโลนมีพื้นที่ 630 ตารางกิโลเมตร มีอาคารที่สร้างด้วยอิฐดินสีน้ำตาลขุ่น เพราะได้จากการขุดดินโคลนมาทำ เมืองมีกำแพงล้อมยาว 100 กิโลเมตร และหนา 7 เมตร กำแพงมีประตูที่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ 100 บาน แต่ละด้านของกำแพงมี 25 ประตู จากมุมด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งของเมืองถูกตัดเป็นเส้นทะแยงมุมโดยแม่น้ำยูเฟรทีส (Euphrates) ซึ่งตัดผ่าเมืองออกเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีขนาดใกล้เคียงกัน 2 ส่วน และริมฝั่งแม่น้ำมีป้อมปราการป้องกันที่ทำด้วยอิฐซึ่งดูน่าเกรงขาม
สำหรับประชาชนในการเข้า-ออกเมือง และมีประตูสำคัญที่สุดคือ ประตูอิชทาร์ (Ishtar Gate) ที่สูง 23 เมตร ประดับด้วยกระเบื้องสีน้ำเงินเรียงกันเป็นรูปสัตว์ชื่อ mushhushshu ที่มีศีรษะเป็นมังกร ลำตัวเป็นวัว สองขาหน้าเป็นขาแมว สองขาหลังเป็นขานกอินทรีย์ และมีหางเป็นหางแมงป่อง
เมื่ออาณาจักรบาบิโลนเริ่มอ่อนแอลง ก็ถูกชาวฮิตไทต์ (Hittite) เข้าปล้นสะดมเมื่อ 1,590 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาพวกฮิตไทต์ก็เสียอำนาจให้แก่พวกคัสไซต์ และเข้าครอบครองกรุงบาบิโลนเป็นเวลาถึง 400 ปี กระทั่ง 612 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกคาลเดียน (Chaldean) ซึงเป็นชนเผ่าฮีบรูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส ก็สามารถเข้ายึดได้สำเร็จ และสถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่ง และจัดตั้งเป็นอาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ขึ้นมา และเจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุดอีกครั้ง
ในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์แห่งอาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ สามารถยกทัพไปพิชิตเมืองเยรูซาเลม และกวาดต้อนเชลยชาวยิวมายังกรงุบาลิโลน มีสร้างพระราชวังและวิหารขนาดใหญ่บนฝั่งแม่น้ำยูเฟรทีส และเหนือพระราชวังมีการสร้างสวนขนาดใหญ่ เรียกว่า สวนลอยแห่งบาบิโลเนีย ถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ
มีความรู้ด้านดาราศาสตร์ มีการแบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7 วัน แบ่งวันออกเป็น 12 คาบๆละ 120 นาที สามารถคำนวณเวลาโคจรของดวงอาทิตย์ในรอบปีอย่างถูกต้อง พยากรณ์สุริยุปราคา ชาวคาลเดียนเป็นชาติแรกที่ริเริ่มนำเอาความรู้ทางดาราศาสตร์มาทำนายโชคชะตาของมนุษย์ ต่อมาอาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ถูกกองทัพเปอร์เซียโดยการนำของพระเจ้าไซรัสมหาราช เข้ายึดครองและผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซีย
6 ก.ค ในปี 2562 ที่ผ่านมา ที่ประชุมองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศรับรอง "เมืองบาบิโลน" แหล่งอารยธรรมโบราณที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของอิรัก เป็นแหล่งมรดกโลกในการออกเสียงลงมติที่เมืองหลวงของประเทศอาร์เซอร์ไบจาน หลังอิรักพยายามรณรงค์หาทางให้เมืองบาบิโลนได้เป็นแหล่งมรดกโลกมาเป็นเวลานานหลายปี นับเป็นมรดกโลกแห่งที่ 6 ในดินแดนเมโสโปเตเมีย
ในสมัยของพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์นั้นได้มีการสร้างกำแพงล้อมรอบกรุงบาบิโลนเอาไว้ โดยมีประตูหลวงที่เรียกว่า “ประตูอิชตาร์” (The Ishtar Gate) จุดประสงค์ในการสร้างประตูนั้นเพื่อถวายแก่มหาเทวีอิชตาร์ (Ishtar) อันเป็นเทวีประจำเมืองและเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งชาวบาบิโลเนียเคารพนับถือเช่นเดียวกับเทพเจ้ามาร์ดุค (สัตว์ผสมระหว่างงู ปลา นกอินทรี และสิงโต)
ประตูนี้มีขนาดสูง 47 ฟุต สร้างประมาณ 604 562 B.C. สร้างจากวัสดุประเภทอิฐและเคลือบสีสวยงามมาก มีการแกะสลักเป็นภาพสัตว์ประหลาดที่เรียกว่า “กริฟฟิน” (Griffin) ซึ่งมีใบหน้าและลำตัวเป็นสิงโตแต่มีปีกเป็นนกอินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีลวดลายรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ม้า วัว สิงโต และมังกร ฯลฯ ประดับอยู่ทั่วไปเป็นระยะ ๆ ปัจจุบันกำแพงอิชต้าถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เบอร์ลิน (State Museum of Berlin) ประเทศเยอรมัน
ซิกกูแรตนั้นจะไม่มีการก่อสร้างสูงจนเป็นยอดแหลมเหมือนกับปิรามิดของชาวอียิปต์ ด้านบนของซิกกูแรตจะเป็นพื้นที่ราบกว้างและสร้างเป็นวิหาร ในระยะแรกการสร้างซิกูแรตมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ต่อมาซิกกูแรตนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังของกษัตริย์แทน เช่น ซิกกูแรตที่เมืองอูร์ (Ur)
Cr.ภาพ middleeasteye.net/ mgronline.com
Cr.https://7wonder.wordpress.com/2012/06/11/สวนลอยแห่งบาบิโลน/
Cr.https://mgronline.com/science/detail/9620000016280
Cr.https://travel.trueid.net/detail/LqNxGvlA4gzo
Cr.http://art-west.weebly.com/362936343603363435923633358536193610363436103636365036213648360936373618-babylonia.html
Cr.http://worldcivil14.blogspot.com/2014/12/hanging-garden-of-babylon.html / โดย วณัฐชญา ประทุมนันท์
Cr.https://th-th.facebook.com/ThePlantsForOurFreedom/posts/550975421659707:0
Cr.https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/abroad/1675908
Cr.https://pattraporn093.wordpress.com/2014/01/06/ประตูอิชตาร์-the-ishtar-gate/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)