สิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่มรดกโลกแห่งอาณาจักรมายา (Maya)



อาณาจักร มายา ตั้งอยู่ในอเมริกากลาง มีพื้นที่บริเวณประเทศเม็กซิโกคาบเกี่ยวกับเบลีซและกัวเตมาลา มีความรุ่งเรืองช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ. 1502 มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่นครวากา  ปัจจุบันคือ เอลเปรู มีอายุร่วมสมัยเดียวกับอารยธรรมเตโอตีอัวกาน (Teotihuacán) ซึ่งถือว่าเป็นอาณาจักรที่ใหญ่มากเพราะมีพื้นที่กินถึงประเทศคือเม็กซิโก กัวเตมาลา และฮอนดูรัส

ตามประวัติ อาณาจักรแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองไพศาลมาก มีอายุยาวนานนับได้ 2000 ปี ตั้งแต่คริสต์ศักราช 250  อาณาจักรมายาเป็นอาณาจักรแสนยิ่งใหญ่ที่ประกอบด้วยเมืองเอกหลายเมืองด้วยกันมีเมือง สำคัญหลายเมือง คือ เมืองติกัล (Tikal) เพเตน (Peten)ในประเทศกัวเตมาลา   ปาเลงกอ (Palenque)ในภาคใต้ของประเทศเม็กซิโก  เมืองโคปัน (Copan)ในประเทศฮอนดูรัส   เมืองอิทซา (Itzar) อักซ์มัล (Uxmal) และมายาปัน (mayapan)ในบริเวณคาบสมุทรยูคาตัน

เมืองของชาวมายาประกอบด้วยชุมชนเกษตรอยู่ชั้นนอก ชุมชนเมืองอยู่ชั้นในล้อมรอบจุดศูนย์กลางซึ่งเป็นบริเวณสิ่งก่อสร้างที่ใช้ ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งสิ่งก่อสร้างนั้นมีหลายแบบ เช่น ปิรามิด วิหารและปราสาทราชวัง ซึ่งสร้างจากศิลาล้วนๆ บ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองของชาวมายาอย่างดี 
ตามประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า มีความเจริญรุ่งเรืองสุดขีดในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 250 – 950

ชาวมายันมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมที่น่าทึ่ง สามารถทำนายเวลาเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาได้ล่วงหน้า สร้างปฏิทินใช้เอง รู้จักประดิษฐ์เลขศูนย์ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์   ปกครองด้วยระบบกษัตริย์ มีเมืองใหญ่หลายเมือง แต่ละเมืองมีการสร้างพีระมิดขั้นบันไดไว้จำนวนมาก เพื่อใช้เป็นวิหาร สถานที่บูชาเทพเจ้า หรือใช้เป็นสุสาน บางเมืองยังมีสนามกีฬาอีกด้วย แต่แล้วอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมานับพันปีกลับล่มสลายไปอย่างรวดเร็วด้วยสาเหตุที่ยังคงเป็นปริศนาลึกลับอยู่ถึงปัจจุบัน
 
ชาวมายาเคารพและนับถือธรรมชาติมาก พวกเขามีความเชื่อว่าตนเกิดจากเทพที่สร้างชาวมายาตลอดจนธรรมชาติต่างๆ รอบตัว ทว่าหลังคริสต์ศักราชที่ 900 อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่นี้ล่มสลายลง มีทฤษฎีที่เชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้อารยธรรมของชาวมายาต้องถึงจุดจบอาจมาจากการระเบิดของภูเขาไฟหรือภัยแล้ง 
หลักฐานความรุ่งเรืองของอาณาจักรมายายังคงพบเห็นได้ในปัจจุบันจากพีรามิด และร่องรอยของสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ถูกสร้างขึ้นจากก้อนหิน แต่ที่ทำให้อาณาจักรนี้ประสบความสำเร็จคือการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ มันคือไร่ข้าวโพดที่เป็นอาหารหลักของผู้คนในยุคโบราณ





นักวิทยาศาสตร์ยังมีทฤษฎีที่อาณาจักรมายาล่มสลายอีกหลายทฤษฎีเช่น การตัดไม้ทำลายป่า, การมีประชากรมากเกินไป  โดยในงานวิจัยล่าสุดเป็นครั้งแรกที่มีการระบุระดับความรุนแรงของภัยแล้งที่เกิดขึ้น

จากการวิเคราะห์ตะกอนจากใต้ทะเลสาบ Chichancanab ที่อยู่บนคาบสมุทร Yucatan ประเทศเม็กซิโก นักวิทยาศาสตร์พบการลดลงของปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีถึงระดับ 50% ยาวนานกว่า 100 ปี ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 800 – 1,000 ในบางครั้งลดลงถึงระดับ 70%  ภัยแล้งดังกล่าวเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่นี่เป็นครั้งแรกที่มีการระบุปริมาณน้ำฝน, ความชื้นสัมพัทธ์ และการระเหยของน้ำในเวลานั้น นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่มีการวิเคราะห์แร่ธาตุต่างๆและการสร้างแบบจำลองเพื่อตรวจสอบบันทึกสภาพภูมิอากาศในช่วงอารยธรรมของชาวมายัน

งานวิจัยใหม่นี้วิเคราะห์จากแกนตะกอนดินซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศมักจะทำเพื่อกำหนดเงื่อนไขหรือเหตุการณ์ในอดีต โดยใช้ตะกอนโคลนโบราณเป็นเหมือน “แคปซูลเวลา” ทางธรณีวิทยา  โดยงานวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าการตัดไม้ทำลายป่าของชาวมายันมีส่วนต่อการเกิดภัยแล้ง
Nick Evans นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์หนึ่งในทีมวิจัยบอกว่างานวิจัยนี้จะมีส่วนช่วยนักโบราณคดีเข้าใจถึงผลกระทบของภัยแล้งในสมัยโบราณที่มีต่อการเพาะปลูกของชาวมายันในช่วงที่เกิดวิกฤติ  ซึ่งมีศักยภาพในการเป็นแรงผลักดันให้เกิดปัญหามากมายที่อาจทำให้อารยธรรมถึงขั้นล่มสลายได้

Chichen Itza 

ชิเชนอิตซา คือโบราณสถานที่สร้างขึ้นในสมัยอารยธรรมมายัน หรือระหว่างศตวรรษที่ 10 – 15 ปัจจุบันตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่เหนือคาบสมุทรยูคาตัน ทางตอนกลางของประเทศเม็กซิโก ชีเชนอิตซาเป็นวิหารที่โด่งดังที่สุดของชนเผ่ามายัน และถือเป็นศูนย์กลางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของอารยธรรมมายันด้วย
ทางเหนือของคาบสมุทรยูคาตันเป็นพื้นที่แห้งแล้ง มีเพียงแม่น้ำใต้ดินเท่านั้นจึงเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของเมือง ซึ่งมีหลุมยุบที่เรียกว่า ซีโนเต้ (Cenote)
4 แห่งบริเวณเมืองชิเชนอิตซ่า จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ชาวมายันมาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ และซีโนเต้ที่สำคัญของเมืองคือ Cenote Sagrado หรือซีโนเต้ศักดิ์สิทธิ์ คาดว่า มีการบูชายัญบริเวณที่นี่ และในปี 2015 นักวิทยาศาสตร์ยังเข้าตรวจสอบและคาดว่าใต้พีระมิดคูคุลคานมีซีโนเต้ซ่อนอยู่

สิ่งก่อสร้างภายในเมืองมีการก่อสร้างและต่อเติมขยายเมืองในภายหลังเรื่อยๆ สร้างจากหินและมีการทาสีแดง เขียว น้ำเงิน และม่วง โดยใช้แหล่งสีที่หาได้ง่ายๆในพื้นที่ ส่วนสถาปัตยกรรมประกอบด้วยสไตล์ Puuc และ Chenes  ปัจจุบัน ชีเชนอิตซา ได้รับการขนานนามให้เป็นมรดกโลก  1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ 

นักโบราณคดีคาดว่า ชีเชนอิตซาเคยเจริญรุ่งเรืองสูงสุดประมาณปี ค.ศ. 600-1200 ซึ่งนอกจากจะเป็นศูนย์กลางด้านการเมืองและเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางด้านศาสนาของคาบสมุทรยูคาตันด้วย  โบราณสถานแห่งนี้ประกอบด้วยอาคารหิน เช่น วิหารพีระมิด พระราชวัง หอดูดาว และโรงอาบน้ำ เป็นต้น แต่ราวต้นศตวรรษที่ 13 ชาวมายันก็ได้ละทิ้งอาณาจักรอันรุ่งเรืองแห่งนี้ไป จนกระทั่งพื้นที่แห่งนี้ถูกกลืนหายไปในป่าทึบ ซึ่งเหตุผลของการอพยพออกจากพื้นที่แห่งนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัด



El Castillo


เอลกาสติโย หรือ วิหารคูคุคาน (Kukulkan) สัญลักษณ์ของเมืองชิเชนอิตซ่า เป็นพีระมิดขั้นบันไดสูง 30 เมตร ประกอบด้วยขั้นบันไดสี่เหลี่ยม 9 ชั้น แต่ละชั้นสูง 2.57 เมตร และด้านบนยอดพีระมิดมีวิหารตั้งอยู่ ส่วนภายในพีระมิดมีรูปสลัก Chac Mool อุโมงค์ ทางบันได และวิหารที่ซ่อนตัวอยู่ 

พีระมิดแห่งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความฉลาดหลักแหลมของชาวมายันในด้านดาราศาสตร์ เพราะบันไดทางขึ้นของที่นี่ มีทั้งหมด 4 ด้าน ด้านละ 91 ขั้น เมื่อรวมกันจะได้ 364 ขั้น และเมื่อนับรวมแท่นที่อยู่ด้านบนสุด ก็จะเป็น 365 ขั้นพอดี ซึ่งสื่อถึงจำนวนวันในรอบ 1 ปี

ภายในพีระมิด มีทางแคบๆ ที่พาไปสู่คูหาลับยอดวิหาร ตรงนี้นักโบราณคดีพบแท่นหินสลักที่เรียกว่า บัลลังก์เสือจากัวร์ ที่ทาด้วยสีแดงสด พร้อมฝังหยกเป็นดอกดวงตู่กับรูปสลักของ ชาคมุล อันเป็นรูปแบบหนึ่งของศาลหิน ที่จะประกอบด้วยหุ่นเอนกายตัวหนึ่งถือชาม หรือถาดอยู่เหนือท้อง

ความลับเล็กๆก็คือถ้าตบมือหน้าพีระมิด Kukulkan จะได้ยินเสียงของเทพ Quetzalcoatl ตอบกลับมาและถ้าตบมือริมสนามบอล Ball Court จะได้ยินเสียงสะท้อน 9 ครั้งที่กลางสนาม



Palenque


อีกหนึ่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมายาหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากของประเทศเม็กซิโก และยังเป็นส่วนหนึ่งของนครสมัยก่อนอารยธรรมสเปนและอุทยานแห่งชาติปาเลงเก (Pre-Hispanic City and National Park of Palenque) ซึ่งองค์การยูเนสโก (Unesco) ได้ประกาศให้เป็นมรดกโลกในปีค.ศ.1987
      
นครสมัยก่อนอารยธรรมสเปนและอุทยานแห่งชาติปาเลงเก เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยปากัล (Pakal) ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ได้กลายเป็นแหล่งท่อง เที่ยวที่มีความสำคัญและได้รับความสนใจจากเหล่านักโบราณคดีและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ที่จะได้ชื่นชมความงดงามของฝีมือช่างที่ปรากฏในอาคารต่างๆ รวมทั้งภาพประติมากรรมนูนที่บอกเล่าเรื่องราวในปกรณัมของชาวมายา  หลุมศพ วิหารแห่งศิลาจารึก และอื่นๆ (Temple of the Inscriptions) 




Temple of the Warriors
วิหารนักรบ ประกอบด้วยพีระมิดขนาดใหญ่และเสาหินที่เรียงตัวกัน ซึ่งเป็นตัวแทนของนักรบ คล้ายกับเสาหินของเมืองตูลา (Tula) ส่วนด้านบนพีระมิดมีรูปสลักหิน Chac Mool



The Osario
มีลักษณะคล้ายกับวิหารคูคุคาน คือ เป็นพีระมิดขั้นบันได แต่มีขนาดเล็กกว่า ด้านบนพีระมิดมีวิหาร ส่วนกลางพีระมิดมีทางเชื่อมไปยังถ้ำธรรมชาติ



Great Ball Court
สนามบอลสำหรับเกมบอล Mesoamerican ซึ่งเป็นกิจกรรมทางศาสนาพิธีทางศาสนาและทางการเมือง มีขนาดประมาณ 150 x 70 เมตร ล้อมรอบด้วยกำแพงสูง และมีห่วงหินอยู่บนกำแพง



Pyramid of the Magician
พีระมิดแห่งผู้วิเศษ หรือ Pyramid of the Magician เป็นพีระมิดที่สูงที่สุดในเมืองอุซมาล ซึ่งสูง 35 เมตร มีกำแพงเรียบ มีสัญลักษณ์ต่างๆของเทพเจ้า Chaac ซึ่งเป็นเทพเจ้าฝน และที่สำคัญมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนกับพีระมิดอื่นๆของอาณาจักรมายา คือ มีฐานโค้ง ไม่เป็นเหลี่ยม



ข้อมูลและภาพจาก  washingtonpost, sciencealert
Cr.httphttps://theamazing7blog.wordpress.com/ประวัติความเป็นมา/
(เขียนโดยบรรณาธิการสารานุกรมบริแทนนิกา)

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่