ยานสำรวจดาวอังคารลำแรกในประวัติศาสตร์ของ UAE

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เตรียมสร้างประวัติศาสตร์สำรวจอวกาศหน้าใหม่ของกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง ด้วยการส่งยานสำรวจไปโคจรรอบดาวอังคาร
โดยสำนักงานอวกาศแห่งชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เตรียมส่งยานอวกาศ "อัล อะมาล" (Al Amal) ภาษาอาหรับที่มีความหมายว่า "ความหวัง" ไปโคจรรอบดาวอังคารเพื่อทำการสำรวจแล้วส่งข้อมูลกลับมายังโลก โดยจรวดของญี่ปุ่นที่บรรทุกยานอัล อะมาล จะถูกปล่อยออกจากฐานปล่อยจรวดบนเกาะทาเนกะชิมาของญี่ปุ่นภายในเดือน ก.ค.ปี 2020 นี้ 
 
นับเป็นโครงการอวกาศแรกของชาติอาหรับที่ซึ่งทาง UAE ประกาศออกมาเมื่อปี 2557 โดยวิศวกรของโครงการระบุว่า ปกติแล้วโครงการแบบนี้จะใช้เวลาเป็น 10 ปีในการเตรียมความพร้อม แต่ UAE สามารถออกแบบ พัฒนา ผลิตเทคโนโลยี และทดสอบเรียบร้อยภายใน 6 ปี โดยระบุว่า

"อัล อะมาล" เป็นยานอวกาศแบบไร้คนขับ มีน้ำหนัก 1.5 ตัน สูงกว่า 2 เมตร  ติดตั้งอุปกรณ์สำคัญเพื่อการสำรวจชั้นบรรยากาศ อุปกรณ์ถ่ายภาพ อุปกรณ์ตรวจวัดแสงอินฟาเรด และอุปกรณ์วัดแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งจะให้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อความเข้าใจชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร โดยจะมีการนำข้อมูลมาทำการพัฒนาแผนที่สภาพอากาศบนดาวอังคารขนาดเท่าของจริง ที่ลงลึกในรายละเอียดมากกว่าภาพถ่ายทั่วไป เนื่องจากสภาพอากาศเป็นระบบที่เกิดขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 

หากไม่มีข้อขัดข้องใดๆ  ยานอัล อะมาล จะใช้เวลา 7 เดือน ในการเดินทาง 493 ล้านกิโลเมตร  (308 ล้านไมล์) คาดว่าจะไปถึงดาวอังคารประมาณต้นปี 2564 จากนั้นจะเข้าสู่วงโคจร แล้วเริ่มการโคจรรอบดาวอังคารเป็นเวลา 687 วัน ซึ่งเท่ากับ "1 ปีของดาวอังคาร" เนื่องจากการโคจรรอบดาวอังคาร 1 รอบ ใช้เวลาถึง 55 ชั่วโมง

หัวหน้าโครงการระบุว่า ความยากของภารกิจนี้คือการที่ยาน "อัล อะมาล" เดินทางด้วยความเร็ว 121,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เมื่อไปถึงแล้วจะต้องใช้จรวดเพื่อชะลอความเร็วลงมาอยู่ที่ 18,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคาร ซึ่งทุกอย่างจะต้องมีความแม่นยำอย่างมากเมื่อหักลบความล่าช้า 12-20 นาทีของระบบการสื่อสารระหว่างยานกับศูนย์ควบคุมบนโลก 
 
ตัวยานติดตั้งเซนเซอร์จำนวน 3 ชุด หนึ่งในนั้นคือสเปคโตรมิเตอร์อินฟราเรดที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยอริโวนา เพื่อวิเคราห์ชั้นบรรยากาศทั้งระดับใกล้และไกลจากผิวดาว ถัดมาคือกล้องถ่ายภาพความคมชัดสูงติดตั้งไว้ด้วยเพื่อสำรวจฝุ่นละอองและก๊าซโอโซน และสุดท้ายคือ สเปคโตรมิเตอร์อัลตราไวโอเลตเพื่อตรวจจับระดับอ๊อกซิเจนและไฮโดรเจนของดาวอังคาร

Sir Ian Blatchford กรรมการบริหารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ของอังกฤษ ให้ความเห็นต่อโครงกานี้ว่าน่าสนใจมาก เพราะระยะหลังประเทศต่างๆมักเน้นไปสำรวจด้านธรณีวิทยาบนดาวอังคาร แต่ยานของ UAE นี้ตั้งใจจะไปทำสิ่งที่ไม่ซ้ำกับประเทศอื่นในช่วงนี้คือสำรวจด้านสภาพภูมิอากาศ

 
นอกจากนี้ สำนักงานอวกาศ UAE เปิดเผยว่า ยังมีแผนส่งคนไปตั้งถิ่นฐานดำรงชีวิตอยู่บนดาวอังคารในปี พ.ศ.2660 หรือในอีก 97 ปีข้างหน้า
ผู้อำนวยการโครงการสำรวจดาวอังคารของ UAE ระบุว่า โครงการนี้ตั้งเป้าเก็บข้อมูลใหม่ของดาวอังคาร และส่งเสริมอาชีพด้านวิศวกรรมอวกาศตลอดจนงานวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนอาหรับ

ประธานาธิบดีเคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เปิดเผยว่า โครงการสำรวจดาวอังคารของ UAE นับเป็นความหวังของชาติอาหรับทุกประเทศในการเข้าสู่ยุคแห่งการสำรวจอวกาศ โดย UAE จะแสดงให้เห็นถึงความมีศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์เพื่อมวลมนุษยชาติ สำหรับแผนการไปดาวอังคารของ UAE นั้นเป็นการรวมตัวกันของทีมวิศวกรชาวเอมริเรตส์กว่า 70 ชีวิต และจะมีทีมใหม่ ๆ เข้ามาสมทบกว่า 150 ชีวิตภายในปี 2020 รวมถึงจากหน่วยงานนอกประเทศอย่าง University of Colorado, University of California และ Arizona State University

การสำรวจดาวอังคารนับเป็นภารกิจที่มีความยากและท้าทายสำหรับหลายประเทศ ตลอดช่วงเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา มีเพียงครึ่งหนึ่งของความพยายามทั้งหมดที่ประสบความสำเร็จ บ้างก็ล้มเหลวระหว่างการปล่อยขึ้นจากพื้นผิวโลก บ้างก็ล้มเหลวระหว่างการเข้าสู่วงโคจรดาวอังคาร

ปัจจุบันมียานกำลังปฏิบัติภารกิจบนพื้นผิวและในวงโคจรดาวอังคาร จำนวน 7 ลำ หากโครงการส่งยาน "อัล อะมาล" ประสบความสำเร็จด้วยดีตามแผนการ ชาติอาหรับจะได้ร่วมเป็นหนึ่งกลุ่มไม่กี่ประเทศที่เคยประสบความสำเร็จในการสำรวจดาวอังคาร ได้แก่ สหรัฐฯ, อดีตสหภาพโซเวียต, สหภาพยุโรป และอินเดีย ขณะที่จีนตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะส่งยานสำรวจดาวอังคารในปีหน้า

ที่มา https://www.space.gov.ae/Page/20121/20167/Hope-Probe
        https://blog.sciencemuseum.org.uk/hope-in-space/
Cr ภาพ UAE Space Agency
Cr.https://stem.in.th/uae-mars-mission/ เรียบเรียงโดย @MrVop
Cr.https://www.thairath.co.th/news/foreign/1883745?cx_testId=0&cx_testVariant=cx_0&cx_artPos=0#cxrecs_s
Cr.https://spaceth.co/uae-mars-mission/ By Nutn0n

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่