จีน เล็งปี 2020 ส่งยาน Rover ตามล่าสัญญาณสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร!!!
9/7/2019
รัสเซียทูเดย์ - จีน แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในความทะเยอทะยานด้านอวกาศ
ด้วยการแถลงในวันจันทร์(8ก.ค.) ว่าเสร็จสิ้นงานสร้างยานโรเวอร์ดาวอังคารลำแรก
ของประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมปักหมุดจะเริ่มภารกิจสำรวจดาวอังคาร
ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของปี 2020
ภารกิจเบื้องต้นของยานโรเวอร์ลำนี้จะเป็นการตามล่าสัญญาณสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
แต่ขณะเดียวกันมันก็จะทำการสำรวจด้วยว่าดาวอังคารสามารถปรับสภาพบรรยากาศ (Terraforming)
เพื่อให้เหมาะสมกับการตั้งอาณานิคมนอกโลกได้หรือไม่
ตลอดภารกิจนี้ ยานโรเวอร์จะคอยรายงานค่าต่างๆ ทั้งชั้นบรรยากาศ, ลักษณะภูมิประเทศ,
ธรณีวิทยาและแม่เหล็ก ส่วนหนึ่งของการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการสำรวจในอนาคต
หรือแม้แต่สร้างมันให้เป็นอาณานิคมของโลก
กรอบเวลาของการส่งยานขึ้นไปสอดคล้องกับช่วงที่ดาวอังคารโคจรเฉียดใกล้โลกมากที่สุด
ซึ่งเกิดขึ้นในทุกๆ 26 เดือนและจะคงระยะใกล้เช่นนี้ราวๆ 1 เดือน
ด้วยการสื่อสารจากโลกไปยังดาวอังคารจะดีเลย์ราวๆ 10 นาที
ดังนั้นยานโรเวอร์จำเป็นต้องตัดสินใจลงจอดด้วยตนเอง
ระหว่างช่วงเวลาที่เรียกว่า "7 นาทีแห่งความสะพรึงกลัว"
ตอนที่มันเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ของดาวอังคาร
และจนถึงตอนนี้มีภารกิจส่งยานไปสำรวจดาวอังคาร
เพียง 19 จาก 45 ครั้งเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ
โดยส่วนใหญ่ทำได้แค่โคจรรอบๆ ในลักษณะบินผ่านเท่านั้น
นอกจากนี้แล้วพวกนักวิทยาศาสตร์ยังจำเป็นต้องจัดการกับความท้าทายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
จากพายุฝุ่นทรงพลังมากมายของดาวอังคาร ซึ่งสามารถซัดเล่นงาน
ด้วยความแรงลมมากกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
"แม้ภารกิจดาวอังคารของจีนเริ่มต้นช้า แต่เราเริ่มต้นในจุดสูงด้วยการออกแบบทรีอินวัน
และเราพร้อมเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ" พ่าง จือเหา
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสำรวจอวกาศในปักกิ่งกล่าว
ซุน เจ๋อโจว หัวหน้าทีมออกแบบยาน Chang'e 4 (ฉางเอ๋อ 4)
ให้คำจำกัดความการพัฒนายานดรเวอร์ดาวอังคารว่า "มีปัญหาต่างๆมากมาย"
แต่ระบุว่า "แรงกดดันเหล่านั้นได้นำมาสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี"
การปล่อยจรวดฉางเจิง 5 ซึ่งบรรทุกยานโรเวอร์ขึ้นสู่อวกาศคาดว่าน่าจะมีในเดือนกรกฏาคม
หรือไม่ก็สิงหาคม 2020 จากฐานปล่อยกระสวยอวกาศเหวินฉาง
ในเมืองเหวินฉาง มณฑลไห่หนาน และหากทั้งหมดเป็นไปตามแผน
ยานโรเวอร์จะสามารถส่งข้อมูลกลับมายังโลกในช่วงต้นปี 2021
https://mgronline.com/around/detail/9620000065117
จีน เล็งปี 2020 ส่งยาน Rover ตามล่าสัญญาณสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร!!!
9/7/2019
รัสเซียทูเดย์ - จีน แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในความทะเยอทะยานด้านอวกาศ
ด้วยการแถลงในวันจันทร์(8ก.ค.) ว่าเสร็จสิ้นงานสร้างยานโรเวอร์ดาวอังคารลำแรก
ของประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมปักหมุดจะเริ่มภารกิจสำรวจดาวอังคาร
ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของปี 2020
ภารกิจเบื้องต้นของยานโรเวอร์ลำนี้จะเป็นการตามล่าสัญญาณสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
แต่ขณะเดียวกันมันก็จะทำการสำรวจด้วยว่าดาวอังคารสามารถปรับสภาพบรรยากาศ (Terraforming)
เพื่อให้เหมาะสมกับการตั้งอาณานิคมนอกโลกได้หรือไม่
ตลอดภารกิจนี้ ยานโรเวอร์จะคอยรายงานค่าต่างๆ ทั้งชั้นบรรยากาศ, ลักษณะภูมิประเทศ,
ธรณีวิทยาและแม่เหล็ก ส่วนหนึ่งของการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการสำรวจในอนาคต
หรือแม้แต่สร้างมันให้เป็นอาณานิคมของโลก
กรอบเวลาของการส่งยานขึ้นไปสอดคล้องกับช่วงที่ดาวอังคารโคจรเฉียดใกล้โลกมากที่สุด
ซึ่งเกิดขึ้นในทุกๆ 26 เดือนและจะคงระยะใกล้เช่นนี้ราวๆ 1 เดือน
ด้วยการสื่อสารจากโลกไปยังดาวอังคารจะดีเลย์ราวๆ 10 นาที
ดังนั้นยานโรเวอร์จำเป็นต้องตัดสินใจลงจอดด้วยตนเอง
ระหว่างช่วงเวลาที่เรียกว่า "7 นาทีแห่งความสะพรึงกลัว"
ตอนที่มันเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ของดาวอังคาร
และจนถึงตอนนี้มีภารกิจส่งยานไปสำรวจดาวอังคาร
เพียง 19 จาก 45 ครั้งเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ
โดยส่วนใหญ่ทำได้แค่โคจรรอบๆ ในลักษณะบินผ่านเท่านั้น
นอกจากนี้แล้วพวกนักวิทยาศาสตร์ยังจำเป็นต้องจัดการกับความท้าทายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
จากพายุฝุ่นทรงพลังมากมายของดาวอังคาร ซึ่งสามารถซัดเล่นงาน
ด้วยความแรงลมมากกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
"แม้ภารกิจดาวอังคารของจีนเริ่มต้นช้า แต่เราเริ่มต้นในจุดสูงด้วยการออกแบบทรีอินวัน
และเราพร้อมเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ" พ่าง จือเหา
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสำรวจอวกาศในปักกิ่งกล่าว
ซุน เจ๋อโจว หัวหน้าทีมออกแบบยาน Chang'e 4 (ฉางเอ๋อ 4)
ให้คำจำกัดความการพัฒนายานดรเวอร์ดาวอังคารว่า "มีปัญหาต่างๆมากมาย"
แต่ระบุว่า "แรงกดดันเหล่านั้นได้นำมาสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี"
การปล่อยจรวดฉางเจิง 5 ซึ่งบรรทุกยานโรเวอร์ขึ้นสู่อวกาศคาดว่าน่าจะมีในเดือนกรกฏาคม
หรือไม่ก็สิงหาคม 2020 จากฐานปล่อยกระสวยอวกาศเหวินฉาง
ในเมืองเหวินฉาง มณฑลไห่หนาน และหากทั้งหมดเป็นไปตามแผน
ยานโรเวอร์จะสามารถส่งข้อมูลกลับมายังโลกในช่วงต้นปี 2021
https://mgronline.com/around/detail/9620000065117