ความคุ้มกันทางทูต[1] หรือ ความคุ้มกันทางการทูต (อังกฤษ: diplomatic immunity) เป็นความคุ้มกันทางกฎหมายประเภทหนึ่งที่มีให้แก่ผู้แทนทางทูต เอกสิทธิ์นี้เป็นการรับประกันว่าผู้แทนเหล่านั้นอยู่พ้นจากการบังคับใช้กฎหมายและอำนาจศาลของประเทศผู้ให้ความคุ้มกัน (หรือเรียกว่า "รัฐผู้รับ") อย่างไรก็ตาม ความคุ้มกันนี้ไม่ครอบคลุมถึงการถูกเนรเทศออกนอกประเทศ ประเทศผู้ให้ความคุ้มกันมีสิทธิเด็ดขาดที่จะเนรเทศผู้แทนทางทูตใด ๆ ออกจากประเทศของตนได้ตามเห็นสมควร ความคุ้มกันทางทูตได้รับการจัดหมวดเป็นกฎหมายระหว่างประเทศตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ค.ศ. 1961 ซึ่งทุกประเทศในโลกได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญานี้ อย่างไรก็ตามพบว่าในบางภูมิภาค หลักความคุ้มกันทางทูตมีประวัติศาสตร์ย้อนไปยาวนานกว่านั้นนับพันปี
ความคุ้มกันทางทูตเริ่มปรากฎขึ้นในยุโรปยุคใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อนักการทูตยุโรปต่างตระหนักว่าความคุ้มกันจากการถูกดำเนินคดีเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ทางทูตเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ในปีค.ศ. 1709 รัฐสภาอังกฤษได้ให้ความคุ้มกันทางทูตแก่ชาวต่างประเทศเป็นครั้งแรก นั่นก็คือเคานต์อังเดร มาเตรียฟ (Andrey Matveyev) ทูตจากรัสเซีย (จาก Wiki)
ความคุ้มกันแก่ตัวบุคคล
Article 29 ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้
จะไม่ถูก จับกุม หรือกักขังในรูปใด
Article 30 ที่อยู่ส่วนตัว เอกสาร และหนังสือโต้ตอบ และทรัพย์สิน ของ ตัวแทนทางทูตจะละเมิดมิได้
เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่บุคคลอื่นๆ ในคณะผู้แทน
คนในครอบครัวของตัวแทนทางทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือน ถ้าไม่ใช่คนชาติของผู้รับ จะได้รับอุปโภคเอกสิทธิและความคุ้มกันตาม Article 29-36
ใครรู้รายละเอียดมากกว่านี้ช่วยเสริมด้วยนะครับ
ดังนั้นข่าวที่บอกว่าคณะทูต มาแล้วต้อง SQ 14 วันไม่น่าจะสามารถทำได้ เพราะผิดอนุสัญญาระหว่างประเทศชัดเจน
ทำได้แค่ขอความร่วมมือ ไม่งั้นก็ต้องโดนเนรเทศ ซึ่งก็ฮารด์คอร์มากๆ
มีคนบ่นๆเชิงประชดว่าพรกฉุกเฉินไม่มีผลต่อพวกคณะทูตซึ่งก็เลยไปคุ้ยๆเน็ตดูสรุปคือพรกฉุกเฉินน่าจะไม่มีผลต่อทูตจริง
ความคุ้มกันทางทูตเริ่มปรากฎขึ้นในยุโรปยุคใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อนักการทูตยุโรปต่างตระหนักว่าความคุ้มกันจากการถูกดำเนินคดีเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ทางทูตเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ในปีค.ศ. 1709 รัฐสภาอังกฤษได้ให้ความคุ้มกันทางทูตแก่ชาวต่างประเทศเป็นครั้งแรก นั่นก็คือเคานต์อังเดร มาเตรียฟ (Andrey Matveyev) ทูตจากรัสเซีย (จาก Wiki)
ความคุ้มกันแก่ตัวบุคคล
Article 29 ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ จะไม่ถูก จับกุม หรือกักขังในรูปใด
Article 30 ที่อยู่ส่วนตัว เอกสาร และหนังสือโต้ตอบ และทรัพย์สิน ของ ตัวแทนทางทูตจะละเมิดมิได้
เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่บุคคลอื่นๆ ในคณะผู้แทน
คนในครอบครัวของตัวแทนทางทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือน ถ้าไม่ใช่คนชาติของผู้รับ จะได้รับอุปโภคเอกสิทธิและความคุ้มกันตาม Article 29-36
ใครรู้รายละเอียดมากกว่านี้ช่วยเสริมด้วยนะครับ
ดังนั้นข่าวที่บอกว่าคณะทูต มาแล้วต้อง SQ 14 วันไม่น่าจะสามารถทำได้ เพราะผิดอนุสัญญาระหว่างประเทศชัดเจน
ทำได้แค่ขอความร่วมมือ ไม่งั้นก็ต้องโดนเนรเทศ ซึ่งก็ฮารด์คอร์มากๆ