NIDAโพลคนค้านตปท.บินรักษาไทยผวาTravelBubbleมีโควิด
https://www.innnews.co.th/social/news_720581/
"นิด้าโพล" เผย ปชช. ร้อยละ 41.41 ค้านต่างชาติบินรักษาในไทย ร้อยละ 29.65 ไม่เอา Travel Bubble กลัวโควิด-19 ระบาดระลอก 2 ไม่ค่อยเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะคุมได้
“นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศจำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เรื่อง “เราจะเปิด ให้ต่างชาติเข้าประเทศหรือไม่” ระหว่างวันที่ 6 – 8 กรกฎาคม 2563 เมื่อถามถึงการเปิดให้คนต่างชาติเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในไทย (ที่ไม่ใช่โรคโควิด – 19) และต้องถูกกักตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลา 14 วัน ก่อนได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับบ้านได้ (โครงการ Medical and Wellness Program) พบว่า
ร้อยละ 23.10 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ ทำให้การแพทย์ของไทยมีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้กับประเทศ
ร้อยละ 21.58 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะประเทศไทยมีมาตรการที่ดีในการควบคุมโรคโควิด – 19 เป็นการเเสดงศักยภาพของบุคลากรทางการเเพทย์ของไทยให้ทั่วโลกได้เห็น และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ร้อยละ 13.91 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะไม่เชื่อว่าปลอดภัย กลัวคนต่างชาตินำเชื้อเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย และสถานการณ์ยังไม่เอื้ออำนวยให้คนต่างชาติเข้ามา ถึงเเม้จะมีใบรับรองก็ตาม
และร้อยละ 41.41 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะคนไทยที่กลับ จากต่างประเทศก็ติดโรคและรักษาตัวอยู่เยอะมากแล้ว และกลัวคนต่างชาตินำเชื้อเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย ทำให้เกิดโควิด- 19 รอบ 2 ได้
ด้านการเปิดให้คนต่างชาติเดินทางเข้ามาเพื่อรักษาพยาบาล (ที่ไม่ใช่โรคโควิด – 19) และต้องถูกกักตัวเป็นเวลา 14 วัน ก่อนอนุญาต ให้เดินทางท่องเที่ยวในไทยได้ (โครงการท่องเที่ยวสุขภาพดีวิถีใหม่) พบว่า
ร้อยละ 24.14 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นการช่วยเหลือ ฟื้นฟู การท่องเที่ยวในไทยให้มีรายได้เหมือนเดิม และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
ร้อยละ 23.26 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ มั่นใจการรักษาของแทพย์ในประเทศไทย เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย และมีเงินหมุนเวียนเข้าประเทศทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
ร้อยละ 14.55 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ กลัวเกิดการแพร่ระบาด โรคโควิด – 19 รอบ 2 ขึ้น เนื่องจากโรคโควิด – 19 มักมาจากต่างชาติ
ร้อยละ 37.89 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ อยากให้โรคโควิด – 19 หมดไปก่อน 100% ถึงแม้จะมีการกักตัว 14 วัน ก็ยังไม่เชื่อมั่นว่าจะไม่เกิดโรคโควิด – 19 ขึ้น กลัวเกิดการแพร่ระบาดรอบ 2 ขึ้น
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการทราเวลบับเบิล (Travel Bubble) ที่จะอนุญาตให้คนต่างชาติจากประเทศที่ปลอดเชื้อ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยได้ พบว่า
ร้อยละ 25.90 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ด้านการบินจะได้ไม่หยุดชะงัก และประเทศไทยต้องมีมาตรการที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19
ร้อยละ 28.46 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ มีเงินหมุนเวียนในประเทศเพิ่มมากขึ้น เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และนักท่องเที่ยวที่มาอยากให้จัดเป็นกลุ่มเพื่อการดูแลและควบคุมได้ง่าย
ร้อยละ 29.65 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ ไม่เชื่อมั่นในตัวนักท่องเที่ยวถึงจะเป็นประเทศ ปลอดเชื้อก็ตาม กลัวนำโรคเข้ามาในไทย และทำให้เกิดการแพร่ระบาดในไทยรอบ 2 ได้
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการควบคุมไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ภายในประเทศได้ หากมีการเปิดให้คนต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยได้ ตามโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ พบว่า
ร้อยละ 15.43 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก เพราะ มั่นใจการทำการของรัฐบาลว่าจะสามารถควบคุมคนต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทยได้ และการแพทย์ของไทยมีความน่าเชื่อถือ
ร้อยละ 23.90 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น เพราะ ดูจากผลงานที่ผ่านมาของรัฐบาลว่าสามารถควบคุมได้ และรัฐบาลน่าจะมีมาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมไม่ให้โควิด – 19 ระบาดในไทยรอบ 2
ร้อยละ 30.53 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น เพราะ กลัวคนต่างชาติไม่ให้ความร่วมมือในการป้องกันตนเอง และยังไม่ค่อยมั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมไม่ให้เกิดโรคระบาดรอบ 2 ในไทยได้
โพลชี้รัฐบาลปรับครม. ปชช.หวังให้แก้ปัญหาศก.มากสุด
https://www.dailynews.co.th/politics/784387?fbclid=IwAR0IF0w_L2aQaE3eGDUyoIwo0K-npNYHcZLHL3hjAuyn4meUUv5XGdX0TPs
"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ออกสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ก่อนมีการปรับครม. โดยผลงานที่สร้างความพอใจให้ประชาชนมากที่สุดคือ เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหา "โควิด-19" ส่วนเรื่องที่อยากให้ปรับปรุงมากที่สุดคือ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
จากกรณี กระแสข่าวการปรับ ครม. ภายใต้การนำของ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมาตรี และรมว.กลาโหม ซึ่งเป็นประเด็นร้อนที่ถูกพูดถึงอย่างมาก อีกทั้งเมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 1 ปีของรัฐบาลประยุทธ์ 2 ทำให้หลายคนมองว่า อาจถึงเวลาที่จะต้องปรับเปลี่ยนการบริหารงานของรัฐบาลเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,269 คน (สำรวจทางออนไลน์ ภาคสนาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก) ระหว่างวันที่ 8-11 กรกฎาคม 2563 สรุปผลได้ ดังนี้
ผลงานรัฐบาลที่ประชาชน "พอใจ/เข้าตา" คือ
อันดับ 1 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (50.80%) ,
อันดับ 2 มาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบในช่วงโควิด-19 (34.67%),
อันดับ 3 การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้สูงอายุ คนพิการ (12.93%),
อันดับ 4 ขยายเส้นทางรถไฟฟ้า เส้นทางการคมนาคม (8.27%), อันดับ 5 การควบคุมสถานการณ์ความสงบของบ้านเมือง (6.40%)
ผลงานรัฐบาลที่ประชาชน “ยังไม่พอใจ/ต้องปรับปรุง” คือ
อันดับ 1 การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ (61.15%),
อันดับ 2 ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพสูง ปัญหาความยากจน (22.85%),
อันดับ 3 การจ่ายเงินช่วยเหลือล่าช้า ไม่ทั่วถึง 13.80%,
อันดับ 4 การป้องกันและปราบปรามการทุจริต (12.36%),
อันดับ 5 การใช้งบประมาณ การกู้ยืมเงิน ทำให้มีหนี้เพิ่ม (9.60%)
ประชาชนพึงพอใจกับผลงานรัฐบาล กรณี โควิด-19 มากน้อยเพียงใด? คือ
อันดับ 1 ค่อนข้างพอใจ (43.58%) เพราะ มีมาตรการที่เข้มงวด ทีมบุคลากรทางการแพทย์มีความรู้ ความสามารถ ประชาชนส่วนมากให้ความร่วมมือ ฯลฯ,
อันดับ 2 พอใจมาก (23.80%) เพราะ ควบคุมสถานการณ์ได้ดี ปลอดผู้ติดเชื้อภายในประเทศ ยอดผู้เสียชีวิตไม่มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ฯลฯ,
อันดับ 3 ไม่ค่อยพอใจ (22.06%) เพราะ สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันโควิด-19 ราคาแพง มาตรการต่าง ๆ ไม่ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ขาดความโปร่งใส ฯลฯ, อันดับ 4 ไม่พอใจเลย (10.56%) เพราะ แก้ปัญหาไม่ตรงจุด ทำงานล่าช้า เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เศรษฐกิจพัง ฯลฯ
ประชาชนคิดว่าถึงเวลาหรือยังที่จะต้องมีการปรับ ครม.
อันดับ 1 ถึงเวลาแล้ว (67.85%) เพราะ เศรษฐกิจไม่ดี ค่าครองชีพโดยเฉพาะค่าไฟฟ้าแพง ประชาชนลำบาก คนตกงาน ว่างงาน หนี้สินเยอะ อยากให้มืออาชีพเข้ามาทำงาน เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถมาแก้ปัญหา คัดเลือกคนที่เหมาะสม ฯลฯ,
อันดับ 2 ปรับหรือไม่ปรับก็ได้ (23.40%) เพราะ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ปรับหรือไม่ปรับก็น่าจะเหมือนเดิม เป็นการหมุนเปลี่ยนตำแหน่งทางการเมืองฯลฯ,
อันดับ 3 ยังไม่ถึงเวลา 8.75% เพราะ มีเรื่องอื่นที่สำคัญและควรดำเนินการก่อน เร่งแก้ปัญหาอื่นก่อน ทุกคนต้องร่วมมือกันทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประชาชนฯลฯ
*หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)
ทั้งนี้จะพบว่า ภาพรวมประชาชนพอใจต่อการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ของรัฐบาล แต่ยังไม่พอใจในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเท่าใดนัก อยากให้มีการปรับ ครม. เพราะหลายกระทรวงยังไม่เห็นผลงานที่เด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงด้านเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้การดูแลของพรรคพลังประชารัฐ ที่นับวันก็จะถูกโจมตีอย่างต่อเนื่องว่ายังไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ปัญหาภายในพรรคพลังประชารัฐเองก็กระทบต่อการบริหารงานของรัฐบาล จนทำให้ต้องยกเลิกการประชุมแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หลายฝ่ายจึงจับตามองว่าการปรับ ครม. ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้น่าจะกระทบต่อโควต้าของพรรคพลังประชารัฐอย่างแน่นอน และเป็นการปรับครม. ที่ประชาชนคาดหวังว่าจะมีการเปลี่ยนทีมเศรษฐกิจ โดยใช้ผู้มีประสบการณ์ตรง ทั้งนักการเมืองและคนนอกเข้ามาทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศ.
*********
กระทู้ผลโพลอย่างเป็นทางการของสวนดุสิตโพลครับ
ประชาชนคิดอย่างไร? กับ“กระแสข่าวการปรับ ครม.”
https://ppantip.com/topic/40052681
'ซูเปอร์โพล' ชี้คนไทยอยู่ในช่วง 'กลืน [เผล่ะจัง] ก็ไม่เข้า คายประชาธิปไตยก็ไม่ออก'
https://www.matichon.co.th/politics/news_2263184
‘ซูเปอร์โพล’ ชี้คนไทยอยู่ในช่วง ‘กลืน [เผล่ะจัง] ก็ไม่เข้า คายประชาธิปไตยก็ไม่ออก’
ผศ.ดร.
นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ผลกรรมข่าวปรับคณะรัฐมนตรี กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การลงพื้นที่และการเก็บข้อมูลในโลกโซเชียลทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 2,203 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 5-11 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
เมื่อสอบถามความพอใจของประชาชนต่อกลุ่มรัฐมนตรีที่เคยเป็นแกนนำ กปปส. พบว่า
ส่วนใหญ่หรือ 86.6 เปอร์เซ็นต์ พอใจค่อนข้างน้อย ถึง ไม่พอใจเลย
ขณะที่ 13.4 เปอร์เซ็นต์ พอใจค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด
และเมื่อถามถึงเหตุผลที่ไม่พอใจกลุ่มรัฐมนตรีที่เคยเป็นแกนนำ กปปส. พบว่า
ส่วนใหญ่หรือ 66.7 เปอร์เซ็นต์ ระบุสร้างความขัดแย้ง วุ่นวาย แก่งแย่งตำแหน่งรัฐมนตรี บนความทุกข์ยากของประชาชน
รองลงมาคือ 59.6 เปอร์เซ็นต์ ระบุไม่มีผลงานที่โดนใจ ทำงานไม่ตรงเป้าความต้องการของประชาชน,
56.3 เปอร์เซ็นต์ ระบุ ไม่ทำตามอุดมการณ์ที่เคยประกาศไว้,
27.6 เปอร์เซ็นต์ ระบุ เป็นที่เคลือบแคลงสงสัย
และ 3.4 เปอร์เซ็นต์ ระบุอื่น ๆ เช่น เข้าไม่ถึงใจประชาชน ไม่สนใจประชาชน หลอกลวง เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ 90.8 เปอร์เซ็นต์ ระบุควรปรับออกกลุ่มรัฐมนตรีในส่วนของรัฐมนตรีที่เคยเป็นแกนนำ กปปส. ในชุดนี้
ในขณะที่ 9.2 เปอร์เซ็นต์ ระบุควรอยู่ต่อ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามถึงผลกระทบเงินบริจาค เมย์เดย์ ต่อ พรรคก้าวไกล (อนาคตใหม่เดิม) พบว่า ส่วนใหญ่หรือ 75.3 เปอร์เซ็นต์ ระบุส่งผลกระทบ ส่วน 24.7 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าไม่ส่งผลกระทบ และเมื่อถามถึงความตั้งใจจะเลือกพรรคก้าวไกล ถ้ามีการเลือกตั้งวันนี้ พบว่าแนวโน้มจำนวนคนตั้งใจจะเลือกลดลงจาก 16.7 เปอร์เซ็นต์ ลงมาหลือเพียง 6.9 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงหลังข่าวเงินบริจาค และส่วนใหญ่หรือ 83.3 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงก่อนข่าวเงินบริจาค และส่วนใหญ่ 93.1 เปอร์เซ็นต์ในช่วงหลังข่าวเงินบริจาค ที่ตั้งใจจะไม่เลือก
ผอ.ซูเปอร์โพล เปิดเผยว่า ผลโพลนั้นแสดงให้เห็นว่า ทั้ง “
ผลกรรมข่าวปรับคณะรัฐมนตรี” และ “
ผลกระทบเงินบริจาค เมย์เดย์” กำลังผลักประชาชนให้ไปอยู่ในภาวะ “
กลางปัญหาเขาควาย” (Dilemma) คือ กลืน [เผล่ะจัง] ก็ไม่เข้า คายประชาธิปไตยก็ไม่ออก เพราะประชาชนไม่เอา [เผล่ะจัง] แต่ก็ไม่เป็นสุขกับประชาธิปไตยลุ
JJNY : NIDAโพลค้านตปท.บิน/โพลชี้หวังแก้ปัญหาศก./ซูเปอร์โพลชี้กลืนไม่เข้าคายไม่ออก/ป่วยทั่วโลกสะสม12.8ล./ติดเชื้อเพิ่ม1
https://www.innnews.co.th/social/news_720581/
"นิด้าโพล" เผย ปชช. ร้อยละ 41.41 ค้านต่างชาติบินรักษาในไทย ร้อยละ 29.65 ไม่เอา Travel Bubble กลัวโควิด-19 ระบาดระลอก 2 ไม่ค่อยเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะคุมได้
ร้อยละ 23.10 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ ทำให้การแพทย์ของไทยมีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้กับประเทศ
ร้อยละ 21.58 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะประเทศไทยมีมาตรการที่ดีในการควบคุมโรคโควิด – 19 เป็นการเเสดงศักยภาพของบุคลากรทางการเเพทย์ของไทยให้ทั่วโลกได้เห็น และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ร้อยละ 13.91 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะไม่เชื่อว่าปลอดภัย กลัวคนต่างชาตินำเชื้อเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย และสถานการณ์ยังไม่เอื้ออำนวยให้คนต่างชาติเข้ามา ถึงเเม้จะมีใบรับรองก็ตาม
และร้อยละ 41.41 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะคนไทยที่กลับ จากต่างประเทศก็ติดโรคและรักษาตัวอยู่เยอะมากแล้ว และกลัวคนต่างชาตินำเชื้อเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย ทำให้เกิดโควิด- 19 รอบ 2 ได้
ด้านการเปิดให้คนต่างชาติเดินทางเข้ามาเพื่อรักษาพยาบาล (ที่ไม่ใช่โรคโควิด – 19) และต้องถูกกักตัวเป็นเวลา 14 วัน ก่อนอนุญาต ให้เดินทางท่องเที่ยวในไทยได้ (โครงการท่องเที่ยวสุขภาพดีวิถีใหม่) พบว่า
ร้อยละ 24.14 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นการช่วยเหลือ ฟื้นฟู การท่องเที่ยวในไทยให้มีรายได้เหมือนเดิม และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
ร้อยละ 23.26 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ มั่นใจการรักษาของแทพย์ในประเทศไทย เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย และมีเงินหมุนเวียนเข้าประเทศทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
ร้อยละ 14.55 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ กลัวเกิดการแพร่ระบาด โรคโควิด – 19 รอบ 2 ขึ้น เนื่องจากโรคโควิด – 19 มักมาจากต่างชาติ
ร้อยละ 37.89 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ อยากให้โรคโควิด – 19 หมดไปก่อน 100% ถึงแม้จะมีการกักตัว 14 วัน ก็ยังไม่เชื่อมั่นว่าจะไม่เกิดโรคโควิด – 19 ขึ้น กลัวเกิดการแพร่ระบาดรอบ 2 ขึ้น
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการทราเวลบับเบิล (Travel Bubble) ที่จะอนุญาตให้คนต่างชาติจากประเทศที่ปลอดเชื้อ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยได้ พบว่า
ร้อยละ 25.90 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ด้านการบินจะได้ไม่หยุดชะงัก และประเทศไทยต้องมีมาตรการที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19
ร้อยละ 28.46 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ มีเงินหมุนเวียนในประเทศเพิ่มมากขึ้น เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และนักท่องเที่ยวที่มาอยากให้จัดเป็นกลุ่มเพื่อการดูแลและควบคุมได้ง่าย
ร้อยละ 29.65 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ ไม่เชื่อมั่นในตัวนักท่องเที่ยวถึงจะเป็นประเทศ ปลอดเชื้อก็ตาม กลัวนำโรคเข้ามาในไทย และทำให้เกิดการแพร่ระบาดในไทยรอบ 2 ได้
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการควบคุมไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ภายในประเทศได้ หากมีการเปิดให้คนต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยได้ ตามโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ พบว่า
ร้อยละ 15.43 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก เพราะ มั่นใจการทำการของรัฐบาลว่าจะสามารถควบคุมคนต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทยได้ และการแพทย์ของไทยมีความน่าเชื่อถือ
ร้อยละ 23.90 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น เพราะ ดูจากผลงานที่ผ่านมาของรัฐบาลว่าสามารถควบคุมได้ และรัฐบาลน่าจะมีมาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมไม่ให้โควิด – 19 ระบาดในไทยรอบ 2
ร้อยละ 30.53 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น เพราะ กลัวคนต่างชาติไม่ให้ความร่วมมือในการป้องกันตนเอง และยังไม่ค่อยมั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมไม่ให้เกิดโรคระบาดรอบ 2 ในไทยได้
โพลชี้รัฐบาลปรับครม. ปชช.หวังให้แก้ปัญหาศก.มากสุด
https://www.dailynews.co.th/politics/784387?fbclid=IwAR0IF0w_L2aQaE3eGDUyoIwo0K-npNYHcZLHL3hjAuyn4meUUv5XGdX0TPs
"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ออกสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ก่อนมีการปรับครม. โดยผลงานที่สร้างความพอใจให้ประชาชนมากที่สุดคือ เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหา "โควิด-19" ส่วนเรื่องที่อยากให้ปรับปรุงมากที่สุดคือ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
จากกรณี กระแสข่าวการปรับ ครม. ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมาตรี และรมว.กลาโหม ซึ่งเป็นประเด็นร้อนที่ถูกพูดถึงอย่างมาก อีกทั้งเมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 1 ปีของรัฐบาลประยุทธ์ 2 ทำให้หลายคนมองว่า อาจถึงเวลาที่จะต้องปรับเปลี่ยนการบริหารงานของรัฐบาลเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,269 คน (สำรวจทางออนไลน์ ภาคสนาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก) ระหว่างวันที่ 8-11 กรกฎาคม 2563 สรุปผลได้ ดังนี้
ผลงานรัฐบาลที่ประชาชน "พอใจ/เข้าตา" คือ
อันดับ 1 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (50.80%) ,
อันดับ 2 มาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบในช่วงโควิด-19 (34.67%),
อันดับ 3 การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้สูงอายุ คนพิการ (12.93%),
อันดับ 4 ขยายเส้นทางรถไฟฟ้า เส้นทางการคมนาคม (8.27%), อันดับ 5 การควบคุมสถานการณ์ความสงบของบ้านเมือง (6.40%)
ผลงานรัฐบาลที่ประชาชน “ยังไม่พอใจ/ต้องปรับปรุง” คือ
อันดับ 1 การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ (61.15%),
อันดับ 2 ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพสูง ปัญหาความยากจน (22.85%),
อันดับ 3 การจ่ายเงินช่วยเหลือล่าช้า ไม่ทั่วถึง 13.80%,
อันดับ 4 การป้องกันและปราบปรามการทุจริต (12.36%),
อันดับ 5 การใช้งบประมาณ การกู้ยืมเงิน ทำให้มีหนี้เพิ่ม (9.60%)
ประชาชนพึงพอใจกับผลงานรัฐบาล กรณี โควิด-19 มากน้อยเพียงใด? คือ
อันดับ 1 ค่อนข้างพอใจ (43.58%) เพราะ มีมาตรการที่เข้มงวด ทีมบุคลากรทางการแพทย์มีความรู้ ความสามารถ ประชาชนส่วนมากให้ความร่วมมือ ฯลฯ,
อันดับ 2 พอใจมาก (23.80%) เพราะ ควบคุมสถานการณ์ได้ดี ปลอดผู้ติดเชื้อภายในประเทศ ยอดผู้เสียชีวิตไม่มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ฯลฯ,
อันดับ 3 ไม่ค่อยพอใจ (22.06%) เพราะ สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันโควิด-19 ราคาแพง มาตรการต่าง ๆ ไม่ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ขาดความโปร่งใส ฯลฯ, อันดับ 4 ไม่พอใจเลย (10.56%) เพราะ แก้ปัญหาไม่ตรงจุด ทำงานล่าช้า เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เศรษฐกิจพัง ฯลฯ
ประชาชนคิดว่าถึงเวลาหรือยังที่จะต้องมีการปรับ ครม.
อันดับ 1 ถึงเวลาแล้ว (67.85%) เพราะ เศรษฐกิจไม่ดี ค่าครองชีพโดยเฉพาะค่าไฟฟ้าแพง ประชาชนลำบาก คนตกงาน ว่างงาน หนี้สินเยอะ อยากให้มืออาชีพเข้ามาทำงาน เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถมาแก้ปัญหา คัดเลือกคนที่เหมาะสม ฯลฯ,
อันดับ 2 ปรับหรือไม่ปรับก็ได้ (23.40%) เพราะ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ปรับหรือไม่ปรับก็น่าจะเหมือนเดิม เป็นการหมุนเปลี่ยนตำแหน่งทางการเมืองฯลฯ,
อันดับ 3 ยังไม่ถึงเวลา 8.75% เพราะ มีเรื่องอื่นที่สำคัญและควรดำเนินการก่อน เร่งแก้ปัญหาอื่นก่อน ทุกคนต้องร่วมมือกันทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประชาชนฯลฯ
*หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)
ทั้งนี้จะพบว่า ภาพรวมประชาชนพอใจต่อการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ของรัฐบาล แต่ยังไม่พอใจในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเท่าใดนัก อยากให้มีการปรับ ครม. เพราะหลายกระทรวงยังไม่เห็นผลงานที่เด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงด้านเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้การดูแลของพรรคพลังประชารัฐ ที่นับวันก็จะถูกโจมตีอย่างต่อเนื่องว่ายังไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ปัญหาภายในพรรคพลังประชารัฐเองก็กระทบต่อการบริหารงานของรัฐบาล จนทำให้ต้องยกเลิกการประชุมแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หลายฝ่ายจึงจับตามองว่าการปรับ ครม. ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้น่าจะกระทบต่อโควต้าของพรรคพลังประชารัฐอย่างแน่นอน และเป็นการปรับครม. ที่ประชาชนคาดหวังว่าจะมีการเปลี่ยนทีมเศรษฐกิจ โดยใช้ผู้มีประสบการณ์ตรง ทั้งนักการเมืองและคนนอกเข้ามาทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศ.
*********
กระทู้ผลโพลอย่างเป็นทางการของสวนดุสิตโพลครับ
ประชาชนคิดอย่างไร? กับ“กระแสข่าวการปรับ ครม.”
https://ppantip.com/topic/40052681
'ซูเปอร์โพล' ชี้คนไทยอยู่ในช่วง 'กลืน [เผล่ะจัง] ก็ไม่เข้า คายประชาธิปไตยก็ไม่ออก'
https://www.matichon.co.th/politics/news_2263184
ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ผลกรรมข่าวปรับคณะรัฐมนตรี กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การลงพื้นที่และการเก็บข้อมูลในโลกโซเชียลทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 2,203 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 5-11 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
เมื่อสอบถามความพอใจของประชาชนต่อกลุ่มรัฐมนตรีที่เคยเป็นแกนนำ กปปส. พบว่า
ส่วนใหญ่หรือ 86.6 เปอร์เซ็นต์ พอใจค่อนข้างน้อย ถึง ไม่พอใจเลย
ขณะที่ 13.4 เปอร์เซ็นต์ พอใจค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด
และเมื่อถามถึงเหตุผลที่ไม่พอใจกลุ่มรัฐมนตรีที่เคยเป็นแกนนำ กปปส. พบว่า
ส่วนใหญ่หรือ 66.7 เปอร์เซ็นต์ ระบุสร้างความขัดแย้ง วุ่นวาย แก่งแย่งตำแหน่งรัฐมนตรี บนความทุกข์ยากของประชาชน
รองลงมาคือ 59.6 เปอร์เซ็นต์ ระบุไม่มีผลงานที่โดนใจ ทำงานไม่ตรงเป้าความต้องการของประชาชน,
56.3 เปอร์เซ็นต์ ระบุ ไม่ทำตามอุดมการณ์ที่เคยประกาศไว้,
27.6 เปอร์เซ็นต์ ระบุ เป็นที่เคลือบแคลงสงสัย
และ 3.4 เปอร์เซ็นต์ ระบุอื่น ๆ เช่น เข้าไม่ถึงใจประชาชน ไม่สนใจประชาชน หลอกลวง เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ 90.8 เปอร์เซ็นต์ ระบุควรปรับออกกลุ่มรัฐมนตรีในส่วนของรัฐมนตรีที่เคยเป็นแกนนำ กปปส. ในชุดนี้
ในขณะที่ 9.2 เปอร์เซ็นต์ ระบุควรอยู่ต่อ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามถึงผลกระทบเงินบริจาค เมย์เดย์ ต่อ พรรคก้าวไกล (อนาคตใหม่เดิม) พบว่า ส่วนใหญ่หรือ 75.3 เปอร์เซ็นต์ ระบุส่งผลกระทบ ส่วน 24.7 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าไม่ส่งผลกระทบ และเมื่อถามถึงความตั้งใจจะเลือกพรรคก้าวไกล ถ้ามีการเลือกตั้งวันนี้ พบว่าแนวโน้มจำนวนคนตั้งใจจะเลือกลดลงจาก 16.7 เปอร์เซ็นต์ ลงมาหลือเพียง 6.9 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงหลังข่าวเงินบริจาค และส่วนใหญ่หรือ 83.3 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงก่อนข่าวเงินบริจาค และส่วนใหญ่ 93.1 เปอร์เซ็นต์ในช่วงหลังข่าวเงินบริจาค ที่ตั้งใจจะไม่เลือก
ผอ.ซูเปอร์โพล เปิดเผยว่า ผลโพลนั้นแสดงให้เห็นว่า ทั้ง “ผลกรรมข่าวปรับคณะรัฐมนตรี” และ “ผลกระทบเงินบริจาค เมย์เดย์” กำลังผลักประชาชนให้ไปอยู่ในภาวะ “กลางปัญหาเขาควาย” (Dilemma) คือ กลืน [เผล่ะจัง] ก็ไม่เข้า คายประชาธิปไตยก็ไม่ออก เพราะประชาชนไม่เอา [เผล่ะจัง] แต่ก็ไม่เป็นสุขกับประชาธิปไตยลุ