ภาวะนิ้วมือล็อคมักจะติดอยู่ในท่างอ เวลาเหยียดนิ้วให้ตรงอาจมีการสะดุดของนิ้ว พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
หรือผู้ที่ใช้มือทำกิจกรรม โดยการกำหยิบจับตลอดเวลา เช่น หิ้วของหนักนาน ๆ บิดผ้าด้วยมือเปล่าจำนวนมาก ๆ
ทำสวนโดยการใช้กรรไกรตัดกิ่ง มีการจับออกแรงบีบอุปกรณ์ซ้ำ ๆ นอกจากนี้ยังพบในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน
โรคไต โรคต่อมไทรอยด์ และโรคในกลุ่มรูมาตอยด์ เป็นต้น
การออกกำลังกายเพื่อรักษาและป้องกันอาการนิ้วล็อค
1.ท่าดัดนิ้วดันลง
ยกแขนสูงระดับไหล่ ใช้มืออีกข้างดันให้ข้อมือ และนิ้วมือเหยียดลงสุด นิ่งค้างไว้ 5-10 วินาที
ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง
2. ท่ากระดกข้อมือ
เริ่มโดยคว่ำมือลง มือถือขวดน้ำหรือวัตถุที่มีน้ำหนักพอเหมาะ จากนั้นค่อยๆกระดกข้อมือขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
นิ่งค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วค่อยๆกระดกข้อมือลงในทิศทางตรงกันข้าม ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง/เซต
วันละ 2-3 เซต จากนั้นสลับทำอีกข้าง
3. ท่างอนิ้วกำมือ
เริ่มจากแบมือ จากนั้นต่อยงอนิ้วมือทั้งสี่ลงทีละข้อ จนอยู่ในท่ากำมือ จากนั้นเหยียดปลายนิ้วทั้งสี่ออก
ในขณะที่ฝ่ามือยังงุ้มอยู่ แล้วงอนิ้วทั้งสี่มาอยู่ในท่ากำมืออีกครั้ง ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง/เซต
วันละ 2-3 เซต สลับทำอีกข้าง
4. ท่าบีบลูกบอล
ถือลูกบอลขนาดเล็กไว้ในมือ ค่อยออกแรงบีบมากที่สุดเท่าที่ทำได้แล้วค่อยๆคลายมือออก ทำ 10-15 ครั้ง/เซต
วันละ 2-3 เซต จากนั้นสลับทำอีกข้างหนึ่ง
5. ท่าง้างยางยืด
เริ่มจากใช้ยางพันรอบนิ้งทั้ง 5 นิ้วไว้ด้วยกัน แล้วออกแรงเหยียดอ้านิ้วออกต้านยางยืด นิ่งค้างไว้ 5-10 วินาที
แล้วค่อยๆปล่อยคลายออก ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง
โดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
การออกกำลังกายในผู้ที่มีอาการนิ้วล็อค
หรือผู้ที่ใช้มือทำกิจกรรม โดยการกำหยิบจับตลอดเวลา เช่น หิ้วของหนักนาน ๆ บิดผ้าด้วยมือเปล่าจำนวนมาก ๆ
ทำสวนโดยการใช้กรรไกรตัดกิ่ง มีการจับออกแรงบีบอุปกรณ์ซ้ำ ๆ นอกจากนี้ยังพบในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน
โรคไต โรคต่อมไทรอยด์ และโรคในกลุ่มรูมาตอยด์ เป็นต้น
การออกกำลังกายเพื่อรักษาและป้องกันอาการนิ้วล็อค
1.ท่าดัดนิ้วดันลง
ยกแขนสูงระดับไหล่ ใช้มืออีกข้างดันให้ข้อมือ และนิ้วมือเหยียดลงสุด นิ่งค้างไว้ 5-10 วินาที
ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง
2. ท่ากระดกข้อมือ
เริ่มโดยคว่ำมือลง มือถือขวดน้ำหรือวัตถุที่มีน้ำหนักพอเหมาะ จากนั้นค่อยๆกระดกข้อมือขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
นิ่งค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วค่อยๆกระดกข้อมือลงในทิศทางตรงกันข้าม ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง/เซต
วันละ 2-3 เซต จากนั้นสลับทำอีกข้าง
3. ท่างอนิ้วกำมือ
เริ่มจากแบมือ จากนั้นต่อยงอนิ้วมือทั้งสี่ลงทีละข้อ จนอยู่ในท่ากำมือ จากนั้นเหยียดปลายนิ้วทั้งสี่ออก
ในขณะที่ฝ่ามือยังงุ้มอยู่ แล้วงอนิ้วทั้งสี่มาอยู่ในท่ากำมืออีกครั้ง ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง/เซต
วันละ 2-3 เซต สลับทำอีกข้าง
4. ท่าบีบลูกบอล
ถือลูกบอลขนาดเล็กไว้ในมือ ค่อยออกแรงบีบมากที่สุดเท่าที่ทำได้แล้วค่อยๆคลายมือออก ทำ 10-15 ครั้ง/เซต
วันละ 2-3 เซต จากนั้นสลับทำอีกข้างหนึ่ง
5. ท่าง้างยางยืด
เริ่มจากใช้ยางพันรอบนิ้งทั้ง 5 นิ้วไว้ด้วยกัน แล้วออกแรงเหยียดอ้านิ้วออกต้านยางยืด นิ่งค้างไว้ 5-10 วินาที
แล้วค่อยๆปล่อยคลายออก ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง
โดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด