สนท.หารือสํานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน ปมน.ศ.โดนข้อหาฝ่าพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2257978
สนท.หารือสํานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน ปมน.ศ.โดนข้อหาฝ่าพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2563 สหภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย นำโดย นาย
พริษฐ์ ชิวารักษ์, นางสาว
จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ และนางสาว
ปรัสยา สิทธิจิรวัฒนากุล และตัวแทน กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (Democracy Restoration Group – DRG)
นาย
กรกช แสงเย็นพันธ์ เข้าพบนาย
Badar Farrukh เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนแห่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights-OHCHR) เพื่อหารือประเด็นการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีการตั้งข้อหานิสิตนักศึกษาและประชาชนที่ร่วมชุมนุมและจัดกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการหารือเพิ่มเติมในประเด็นการติดตามนิสิตนักศึกษาและนักกิจกรรมทางการเมืองโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอีกด้วย
'ปิยบุตร' นำทีมก้าวหน้าลุยภาคเหนือ ประกาศ 'ยุติรัฐราชการรวมศูนย์' แฉถูกจนท.ติดตามทุกฝีก้าว
https://www.matichon.co.th/politics/news_2257953
‘ปิยบุตร’ นำทีมก้าวหน้าลุยภาคเหนือ ประกาศ ‘ยุติรัฐราชการรวมศูนย์’ แฉถูกจนท.ติดตามทุกฝีก้าว
เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 7 กรกฎาคม นาย
ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า และน.ส.
เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ กรรมการบริหาร (กก.บห.) คณะก้าวหน้า ร่วมพูดคุยสถานการณ์การเมืองท้องถิ่น ณ ศาลาวัดป่ารวก จ.ลำปาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางใน 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ ลำปาง ลำพูน แพร่ เชียงใหม่ และเชียงราย ระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2563 เพื่อเดินหน้ารณรงค์ความสำคัญของการเมืองท้องถิ่น การพัฒนาบ้านเกิด และแนวนโยบายยุติรัฐราชการรวมศูนย์ หลังจากนั้นทั้งสองได้ทำกิจกรรมแจกหน้ากากอนามัยที่ตลาดบ้านสามัคคี โดยมีประชาชนเข้ามาทักทายและขอถ่ายภาพเป็นจำนวนมาก
น.ส.
เยาวลักษณ์ ว่าถึงแม้พรรคอนาคตใหม่ (อนค.) จะถูกยุบไปแต่กก.บห.ของพรรคอนค. ยังคงดำเนินงานสานต่ออุดมการณ์ของพรรคต่อไปในนามคณะก้าวหน้า มีภารกิจสำคัญ 3 เรื่องคือ การปักธงทางความคิด การเลือกตั้งท้องถิ่น และขยายเครือข่ายในทุกจังหวัดทั่วประเทศ
“ในส่วนของการเลือกตั้งท้องถื่นที่คณะก้าวหน้าตั้งใจจะเดินหน้า เราจะทำโดยยึดหลัก 2 ข้อ คือ ไม่ซื้อสิทธิซื้อเสียง และไม่ใช้อิทธิพลกลุ่มการเมืองเดิมในการรณรงค์เลือกตั้งท้องถิ่น นโยบายหลักๆ ที่สำคัญของท้องถิ่นที่คณะก้าวหน้าได้เคยวางแนวนโยบายไว้ตั้งแต่สมัยเป็นพรรคอนาคตใหม่ ได้แก่ การขนส่งสาธารณะ การจัดการขยะ สิ่งแวดล้อม การกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน เหล่านี้คือสิ่งที่เราจะนำมาศึกษาต่อและปรับให้สอดคล้องกับแต่ละท้องที่ เพื่อผลิตนโยบายร่วมกันใช้รณรงค์ในการเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ” น.ส.
เยาวลักษณ์ กล่าว
ด้าน
ปิยบุตร กล่าวว่า แนวนโยบายยุติรัฐราชการรวมศูนย์ เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญมาตั้งแต่สมัยเป็นพรรคอนาคตใหม่ ในภาษาไทยเราคุ้นเคยกับคำว่า “
กระจายอำนาจ” นั่นแปลว่าอำนาจอยู่ที่ส่วนกลางแล้วต้องกระจายกลับมาให้เรา หากเรามองมิติใหม่ว่าแท้จริงแล้วอำนาจ ทรัพยากร คน มีอยู่ที่นี่อยู่แล้ว แต่วิธีการบริหารในบางช่วงบางตอนของประวัติศาสตร์ไช้วิธีการรวมอำนาจทั้งหมดกลับไปที่ส่วนกลาง จนวันนี้ก็ยังไม่กลับมา เราจึงต้องทวงอำนาจกลับมาที่ท้องถิ่น นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราจึงเลือกใช้คำว่า ยุติรัฐราชการรวมศูนย์ แทนคำว่า กระจายอำนาจ เพราะอำนาจมีอยู่ที่นี่มาก่อนแล้ว สิ่งที่ต้องยุติคือการเอาอำนาจไปรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง
นาย
ปิยบุตร กล่าวต่อว่า ประเทศไทยเริ่มมีความคิดเรื่องกระจายอำนาจชัดเจนขึ้น โดยมีกฎหมายที่สำคัญคือ รัฐธรรมนูญ 2540 หมวด 9 ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้วางหลักการพื้นฐานเรื่องการกระจายอำนาจไว้เรียบร้อย จากนั้นมีการออกกฎหมายให้รายละเอียดใน พ.ร.บ.กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งระบุว่าจะต้องโอนอำนาจหน้าที่ บุคลากร งบประมาณ ตามเวลาที่กำหนด ปรากฎว่ายังเหลือปัญหาคือยังโอนงาน โอนเงิน โอนคน มาให้การปกครองส่วนท้องถิ่นมาให้ท้องถิ่นไม่สมบูรณ์ตามที่ตั้งใจไว้
จนกระทั่งการเมืองระดับชาติส่งผลมาถึงชีวิตของคนในท้องถิ่นหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 การปกครองโดยเผด็จการทหาร ขึ้นชื่อว่าเผด็จการก็ไม่อยากแบ่งอำนาจให้ใคร อยากรวมอำนาจไว้ที่ตนเอง ดังนั้นรัฐบาลเผด็จการทหารก็ทำให้การกระจายอำนาจที่เคยพูดเคยฝันกันต้องสะดุดหยุดลงทันที เลวร้ายมากขึ้นไปอีกเมื่อเจอรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คราวนี้ไม่ได้ทำให้การกระจายอำนาจเพียงหยุดลง แต่ถอยหลังเข้าคลองเลย
“จนตอนนี้เรายังไม่รู้เลยว่าจะได้เลือกตั้งท้องถื่นเมื่อไหร่ การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ จะเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกในรอบเกือบทศวรรษ แต่ผมเชื่อว่าหมดข้ออ้างที่จะอ้างอีกต่อไปแล้วว่าทำไมถึงมีการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่ได้ ดังนั้นช้าเร็วต้องมีการเลือกตั้งท้องถิ่นแน่นอน เราจะทวงคืนอำนาจกลับมาที่ท้องถิ่น วิธีคิดของรัฐบาล คสช. มองท้องถิ่นเป็นมือไม้กลไกของพวกเขา ในขณะที่พวกเราคณะก้าวหน้าเรามองท้องถิ่นว่าเป็นเรี่องของคนในพื้นที่ที่จะต้องตัดสินใจเลือกผู้บริหารมาใช้งบประมานจัดทำบริการสาธารณะเพื่อคนลำปาง และตอบสนองความต้องการของท้องที่ให้ได้มากที่สุด” นาย
ปิยบุตร กล่าว
นอกจากนี้ เลขาธิการคณะก้าวหน้า ยังกล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลติดตามการเดินทาง เฝ้ารอถ่ายภาพที่เวทีกิจกรรม และนำกล้องวงจรปิดมาติดบริเวณรอบๆ ว่า
“ถ้าผมและทืมงานเที่ยวติดตามสอดส่องผู้กำกับ สารวัตร นายพล หรือ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่าวันหนึ่งไปทำอะไรพวกท่านจะรู้สึกอย่างไร แต่ทำไมเจ้าหน้าที่จึงติตดามผมทุกครั้งเวลาไปต่างจังหวัด ถึงวันนี้ผมยังไม่ทราบเลยว่าใช้อำนาจตามกฎหมายใด นี่ไม่ใช่เรื่องรักษาความปลอดภัยตามที่อ้างกัน เพราะมาถึงก็ตั้งกล้องถ่ายวิดิโอ ถ่ายภาพทะเบียนรถของผู้มาร่วมงาน เหมือนเล่นสงครามจิตวิทยา
เมื่อผมออกจากพื้นที่ก็ไล่โทรสอบถามว่าใครเป็นคนจัดงาน ถามว่าเจ้าอาวาสอนุญาตให้จัดงานไหม นักศึกษามาจากไหน กรณีนี้จะมาอ้างว่า ถ้าไม่ได้ทำผิด จะกลัวทำไม ไม่ได้ การถามแบบนี้คือกลับตาลปัตรชัดๆ ต้องถามกลับไปที่เจ้าหน้าที่ต่างหากว่า ผมมีเสรีภาพ ไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานราชการฝ่ายความมั่นคงที่จะต้องมาตามทุกฝีก้าว แทนที่จะถามว่า ไม่ได้ทำอะไรผิด จะกลัวทำไม ต้องถามกลับต่างหากว่า เจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชาผิดปกติหรือเปล่าที่สั่งให้ตามผม ทุกวันนี้เป็นแบบนี้แล้ว หลายเรื่องที่ผิดปกติในประเทศไทย ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องปกติไป
JJNY : สนท.หารือสนง.ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน/ปิยบุตรนำทีมลุยเหนือ แฉถูกจนท.ติดตาม/ทั่วโลกติดโควิด11.9ล./ผู้ติดเชื้อเพิ่ม2
https://www.matichon.co.th/politics/news_2257978
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2563 สหภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย นำโดย นายพริษฐ์ ชิวารักษ์, นางสาวจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ และนางสาวปรัสยา สิทธิจิรวัฒนากุล และตัวแทน กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (Democracy Restoration Group – DRG)
นายกรกช แสงเย็นพันธ์ เข้าพบนาย Badar Farrukh เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนแห่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights-OHCHR) เพื่อหารือประเด็นการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีการตั้งข้อหานิสิตนักศึกษาและประชาชนที่ร่วมชุมนุมและจัดกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการหารือเพิ่มเติมในประเด็นการติดตามนิสิตนักศึกษาและนักกิจกรรมทางการเมืองโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอีกด้วย
'ปิยบุตร' นำทีมก้าวหน้าลุยภาคเหนือ ประกาศ 'ยุติรัฐราชการรวมศูนย์' แฉถูกจนท.ติดตามทุกฝีก้าว
https://www.matichon.co.th/politics/news_2257953
‘ปิยบุตร’ นำทีมก้าวหน้าลุยภาคเหนือ ประกาศ ‘ยุติรัฐราชการรวมศูนย์’ แฉถูกจนท.ติดตามทุกฝีก้าว
เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 7 กรกฎาคม นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า และน.ส.เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ กรรมการบริหาร (กก.บห.) คณะก้าวหน้า ร่วมพูดคุยสถานการณ์การเมืองท้องถิ่น ณ ศาลาวัดป่ารวก จ.ลำปาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางใน 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ ลำปาง ลำพูน แพร่ เชียงใหม่ และเชียงราย ระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2563 เพื่อเดินหน้ารณรงค์ความสำคัญของการเมืองท้องถิ่น การพัฒนาบ้านเกิด และแนวนโยบายยุติรัฐราชการรวมศูนย์ หลังจากนั้นทั้งสองได้ทำกิจกรรมแจกหน้ากากอนามัยที่ตลาดบ้านสามัคคี โดยมีประชาชนเข้ามาทักทายและขอถ่ายภาพเป็นจำนวนมาก
น.ส.เยาวลักษณ์ ว่าถึงแม้พรรคอนาคตใหม่ (อนค.) จะถูกยุบไปแต่กก.บห.ของพรรคอนค. ยังคงดำเนินงานสานต่ออุดมการณ์ของพรรคต่อไปในนามคณะก้าวหน้า มีภารกิจสำคัญ 3 เรื่องคือ การปักธงทางความคิด การเลือกตั้งท้องถิ่น และขยายเครือข่ายในทุกจังหวัดทั่วประเทศ
“ในส่วนของการเลือกตั้งท้องถื่นที่คณะก้าวหน้าตั้งใจจะเดินหน้า เราจะทำโดยยึดหลัก 2 ข้อ คือ ไม่ซื้อสิทธิซื้อเสียง และไม่ใช้อิทธิพลกลุ่มการเมืองเดิมในการรณรงค์เลือกตั้งท้องถิ่น นโยบายหลักๆ ที่สำคัญของท้องถิ่นที่คณะก้าวหน้าได้เคยวางแนวนโยบายไว้ตั้งแต่สมัยเป็นพรรคอนาคตใหม่ ได้แก่ การขนส่งสาธารณะ การจัดการขยะ สิ่งแวดล้อม การกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน เหล่านี้คือสิ่งที่เราจะนำมาศึกษาต่อและปรับให้สอดคล้องกับแต่ละท้องที่ เพื่อผลิตนโยบายร่วมกันใช้รณรงค์ในการเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ” น.ส.เยาวลักษณ์ กล่าว
ด้าน ปิยบุตร กล่าวว่า แนวนโยบายยุติรัฐราชการรวมศูนย์ เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญมาตั้งแต่สมัยเป็นพรรคอนาคตใหม่ ในภาษาไทยเราคุ้นเคยกับคำว่า “กระจายอำนาจ” นั่นแปลว่าอำนาจอยู่ที่ส่วนกลางแล้วต้องกระจายกลับมาให้เรา หากเรามองมิติใหม่ว่าแท้จริงแล้วอำนาจ ทรัพยากร คน มีอยู่ที่นี่อยู่แล้ว แต่วิธีการบริหารในบางช่วงบางตอนของประวัติศาสตร์ไช้วิธีการรวมอำนาจทั้งหมดกลับไปที่ส่วนกลาง จนวันนี้ก็ยังไม่กลับมา เราจึงต้องทวงอำนาจกลับมาที่ท้องถิ่น นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราจึงเลือกใช้คำว่า ยุติรัฐราชการรวมศูนย์ แทนคำว่า กระจายอำนาจ เพราะอำนาจมีอยู่ที่นี่มาก่อนแล้ว สิ่งที่ต้องยุติคือการเอาอำนาจไปรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง
นายปิยบุตร กล่าวต่อว่า ประเทศไทยเริ่มมีความคิดเรื่องกระจายอำนาจชัดเจนขึ้น โดยมีกฎหมายที่สำคัญคือ รัฐธรรมนูญ 2540 หมวด 9 ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้วางหลักการพื้นฐานเรื่องการกระจายอำนาจไว้เรียบร้อย จากนั้นมีการออกกฎหมายให้รายละเอียดใน พ.ร.บ.กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งระบุว่าจะต้องโอนอำนาจหน้าที่ บุคลากร งบประมาณ ตามเวลาที่กำหนด ปรากฎว่ายังเหลือปัญหาคือยังโอนงาน โอนเงิน โอนคน มาให้การปกครองส่วนท้องถิ่นมาให้ท้องถิ่นไม่สมบูรณ์ตามที่ตั้งใจไว้
จนกระทั่งการเมืองระดับชาติส่งผลมาถึงชีวิตของคนในท้องถิ่นหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 การปกครองโดยเผด็จการทหาร ขึ้นชื่อว่าเผด็จการก็ไม่อยากแบ่งอำนาจให้ใคร อยากรวมอำนาจไว้ที่ตนเอง ดังนั้นรัฐบาลเผด็จการทหารก็ทำให้การกระจายอำนาจที่เคยพูดเคยฝันกันต้องสะดุดหยุดลงทันที เลวร้ายมากขึ้นไปอีกเมื่อเจอรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คราวนี้ไม่ได้ทำให้การกระจายอำนาจเพียงหยุดลง แต่ถอยหลังเข้าคลองเลย
“จนตอนนี้เรายังไม่รู้เลยว่าจะได้เลือกตั้งท้องถื่นเมื่อไหร่ การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ จะเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกในรอบเกือบทศวรรษ แต่ผมเชื่อว่าหมดข้ออ้างที่จะอ้างอีกต่อไปแล้วว่าทำไมถึงมีการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่ได้ ดังนั้นช้าเร็วต้องมีการเลือกตั้งท้องถิ่นแน่นอน เราจะทวงคืนอำนาจกลับมาที่ท้องถิ่น วิธีคิดของรัฐบาล คสช. มองท้องถิ่นเป็นมือไม้กลไกของพวกเขา ในขณะที่พวกเราคณะก้าวหน้าเรามองท้องถิ่นว่าเป็นเรี่องของคนในพื้นที่ที่จะต้องตัดสินใจเลือกผู้บริหารมาใช้งบประมานจัดทำบริการสาธารณะเพื่อคนลำปาง และตอบสนองความต้องการของท้องที่ให้ได้มากที่สุด” นายปิยบุตร กล่าว
นอกจากนี้ เลขาธิการคณะก้าวหน้า ยังกล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลติดตามการเดินทาง เฝ้ารอถ่ายภาพที่เวทีกิจกรรม และนำกล้องวงจรปิดมาติดบริเวณรอบๆ ว่า “ถ้าผมและทืมงานเที่ยวติดตามสอดส่องผู้กำกับ สารวัตร นายพล หรือ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่าวันหนึ่งไปทำอะไรพวกท่านจะรู้สึกอย่างไร แต่ทำไมเจ้าหน้าที่จึงติตดามผมทุกครั้งเวลาไปต่างจังหวัด ถึงวันนี้ผมยังไม่ทราบเลยว่าใช้อำนาจตามกฎหมายใด นี่ไม่ใช่เรื่องรักษาความปลอดภัยตามที่อ้างกัน เพราะมาถึงก็ตั้งกล้องถ่ายวิดิโอ ถ่ายภาพทะเบียนรถของผู้มาร่วมงาน เหมือนเล่นสงครามจิตวิทยา
เมื่อผมออกจากพื้นที่ก็ไล่โทรสอบถามว่าใครเป็นคนจัดงาน ถามว่าเจ้าอาวาสอนุญาตให้จัดงานไหม นักศึกษามาจากไหน กรณีนี้จะมาอ้างว่า ถ้าไม่ได้ทำผิด จะกลัวทำไม ไม่ได้ การถามแบบนี้คือกลับตาลปัตรชัดๆ ต้องถามกลับไปที่เจ้าหน้าที่ต่างหากว่า ผมมีเสรีภาพ ไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานราชการฝ่ายความมั่นคงที่จะต้องมาตามทุกฝีก้าว แทนที่จะถามว่า ไม่ได้ทำอะไรผิด จะกลัวทำไม ต้องถามกลับต่างหากว่า เจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชาผิดปกติหรือเปล่าที่สั่งให้ตามผม ทุกวันนี้เป็นแบบนี้แล้ว หลายเรื่องที่ผิดปกติในประเทศไทย ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องปกติไป