สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -22 มิ.ย. 63 8:58: น.
สมาคมธนาคารไทย-นายแบงก์ หนุนนโยบาย ธปท.งดจ่ายปันผล-ซื้อหุ้นคืน เชื่อช่วยระบบแบงก์พาณิชย์แข็งแกร่งระยะยาว หลังรายได้ชะลอ เชื่อช่วยเป็นเสาหลักดันเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัว
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ธนาคารพาณิชย์จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนสำหรับระยะ 1-3 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต และศักยภาพของลูกหนี้ในการทำธุรกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 คลี่คลาย และในระหว่างที่ธนาคารพาณิชย์จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนใหม่นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานในปี 2563 รวมถึงงดการซื้อหุ้นคืนนั้น เป็นมาตรการเพื่อให้มั่นใจว่า ธนาคารพาณิชย์จะรักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็งและรองรับการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ การงดจ่ายเงินปันผลข้างต้นนั้น จะเป็นเฉพาะเงินปันผลเฉพาะกาล ไม่ใช่การจ่ายเงินปันผลรายปีที่ธนาคารพาณิชย์ยังพิจารณาจ่ายได้ตามสมควร นอกจากนี้ แนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ถือว่าสอดคล้องกับความเห็นและแนวทางที่เสนอโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางอังกฤษ ที่มองว่าธนาคารพาณิชย์ควรให้น้ำหนักกับการสะสมทุนให้เข้มแข็งเพื่อรองรับเหตุการณ์เสี่ยงในภาวะวิกฤตระดับโลก (Pandemic) ในปัจจุบัน ตลอดจนเพื่อให้สามารถทำหน้าที่หลักในการให้สินเชื่อกับภาคธุรกิจและครัวเรือน และรับมือกับภาระการตั้งสำรองสำหรับหนี้ด้อยคุณภาพที่จะเพิ่มขึ้น ด้วยการงดกิจกรรมอื่น ๆ ที่กระทบต่อเงินกองทุน อาทิ การจ่ายเงินปันผล หรือการซื้อหุ้นคืน แม้ระบบธนาคารพาณิชย์ทั้งในสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร จะมีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในปี 2563 สูงถึงร้อยละ 18.4 และกว่าร้อยละ 20 ตามลำดับ ก็ตาม นอกจากนี้ IMF ยังมองว่าทางเลือกดังกล่าวจะส่งผลดีต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุนผ่านผลตอบแทนที่มีโอกาสเพิ่มขึ้น เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ระบบธนาคารพาณิชย์ไทย มีระดับเงินกองทุนที่เข้มแข็ง โดย ณ สิ้นเมษายน 2563 ที่ผ่านมา มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,616,162 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ร้อยละ 18.9 ซึ่งนับว่ามีความเข้มแข็งกว่าเกณฑ์เงินกองทุนที่ต้องดำรงขั้นต่ำของ ธปท.ที่ร้อยละ 11.0 (ระดับเงินกองทุนขั้นต่ำที่ร้อยละ 8.5 และ Conservation Buffer ร้อยละ 2.5) และสูงกว่ามาตรฐานสากลของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) ที่ร้อยละ 10.5 ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ก็มีการวางแผนเพื่อบริหารจัดการเงินกองทุนเป็นปกติประจำอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยก็ยังมีสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง ซึ่งเพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจตามปกติ รวมไปถึงรองรับการชำระคืนเงินฝากแก่ประชาชน ตลอดจนหุ้นกู้ให้แก่นักลงทุน โดยระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีสินทรัพย์สภาพคล่องที่ใกล้เคียงเงินสด อาทิ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยและพันธบัตรรัฐบาลถึง 4.38 ล้านล้านบาท ซึ่งเพียงพอที่จะรองรับความต้องการถอนเงินและใช้เงินในระยะสั้นจากทั้งภาครัฐและเอกชน (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อีกทั้งยังสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยถึง 1.8 เท่า
“ด้วยสถานะทุนและสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ที่เข้มแข็งในระดับมาตรฐานโลก ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าระบบธนาคารพาณิชย์ไทยยังสามารถทำหน้าที่สำคัญในการขยายสินเชื่อ ช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาทุกกลุ่ม และดูแลจัดการปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ ขณะเดียวกันมาตรการต่างๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ไปได้เช่นกัน ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนมั่นใจว่าเราจะผ่านพ้นเหตุการณ์ในครั้งนี้ไปด้วยกัน” นายปรีดีกล่าว
นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริการ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน) หรือ CIMBT เปิดเผยกับ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" ว่า ปัจจุบัน รายได้ของธนาคารจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะรายได้จากดอกเบี้ย เนื่องจากการช่วยเหลือลูกค้า ไม่ว่าจะใช้วิธีลดดอกเบี้ย การยืดเวลาผ่อนชำระ ทั้งสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเช่าซื้อ และ สินเชื่อบ้าน
"กระทบรายได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะดอกเบี้ย ถ้ามองในมุมธนาคาร แต่ถ้ามองในมุมลูกค้า การที่ทำให้ลูกค้าหายใจได้คล่องขึ้น โอกาสรอดก็จะมี ถ้าลูกค้ารอด แบงก์ก็รอด แบงก์ต้องยอมเฉือนเนื้อไปบ้างเพื่อหาจุดสมดุลใหม่ ตอนนี้ไม่มีอะไรที่สำคัญไปกว่าการประคองให้ลูกค้าอยู่รอด เพราะจะทำให้เรารอดไปด้วยกัน"นายอดิศร กล่าว
ส่วนกรณีการงดการจ่ายปันผลระหว่างกาล และ งดซื้อหุ้นคืนนั้น อาจกระทบต่อผู้ถือหุ้นของธนาคาร โดยเฉพาะผู้ถือหุ้น หรือ นักลงทุนที่หวังได้เงินปันผลจากการถือหุ้นธนาคาร ซึ่งสะท้อนไปยังราคาหุ้นกลุ่มธนาคารอาจมีการปรับลดลงเมื่อตลาดเปิดทำการ แต่เชื่อว่าหุ้นกลุ่มธนาคารจะได้รับผลกระทบระยะสั้น เพราะถ้ามองระยะยาวจะเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธนาคาร
โดยสถานการณ์ปัจจุบันทั้งภาวะเศรษฐกิจ และ การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เงินกองทุนของธนาคารต้องแข็งแกร่งเพื่อรองรับหนี้ที่มิก่อให้เกิดรายได้(NPL) ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจขึ้นไปสูงถึง 10% โดยหากปล่อยปัญหาให้ลากยาวผลการดำเนินงานธนาคารจะได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นไป
"กำไรปีนี้ต่ำกว่าปีก่อนแน่นอน ซึ่งปีนี้อาจเห็นบางแบงก์ขาดทุนก็ได้ แต่การยืดหนี้ออกไปอีก 2-3 ปี หรือ ลดดอกเบี้ย 1-2% ผมก็ยังเชื่อว่า แบงก์ยังมีกำไร แต่คงไม่มาก ดูได้จากไตรมาส 1 ขนาดเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัว โควิดเริ่มมา ลดดอกเบี้ยอีก กลุ่มแบงก์ยังมีกำไรเป็นแสนล้าน"นายอดิศร กล่าว
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยกับ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" ว่า ผลกระทบต่อธนาคารกสิกรไทยยังไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขที่แน่ชัดได้ ซึ่งต้องมีการศึกษา และ ประเมินอีกครั้ง ในขณะที่ผลกระทบต่อภาพรวมธนาคารนั้นประเมินได้ยากเช่นกัน เนื่องจากโครงสร้างรายได้ของแต่ละธนาคารมีความแตกต่างกัน
นายวรภัค ธันยาวงษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KTB ได้แสดงความคิดเห็นผ่าน Facebook ไว้ว่า ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ห้ามธนาคารพาณิชย์ต่างๆไม่ให้จ่ายเงินปันผล และ ไม่ให้ซื้อหุ้นคืน ก็เป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่า ในมุมมองของ ธปท. เศรษฐกิจไทยคงจะทรุดหนักกว่าตัวเลขที่เห็นในปัจจุบัน
"ผมคิดว่า ประชาชนโดยทั่วไปไม่ต้องตื่นตระหนก ผมยังคิดว่า ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย โดยเฉพาะธนาคารใหญ่ใหญ่คงไม่ล้มหายตายจากไปง่ายง่ายในเวลานี้ แต่ละธนาคารยังมีฐานทุนที่ค่อนข้างแข็งแรง CAR ratio ของธนาคารใหญ่ใหญ่ยังอยู่ในระดับประมาณ 15%"
ถ้าดูจากผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยที่รายงานออกมาเมื่อสิ้นไตรมาสแรกในปีนี้แต่ละธนาคารยังตั้งสำรองหนี้สูญตามปกติ ยกเว้นบางธนาคารเช่นแบงค์กรุงศรีที่เป็นธนาคารใหญ่ระดับต้นต้นที่มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสูงที่สุด คือ เกิน 50% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ธนาคารใหญ่ใหญ่ที่เหลือยังตั้งสำรองหนี้สูญในไตรมาสแรกตามปกติเสมือนกับโควิดยังไม่ส่งผลอะไรกับพอร์ตลูกหนี้ที่ธนาคารมีอยู่
แต่ถ้าเราดูเทียบกับธนาคารพาณิชย์ในโลกไม่ว่าจะเป็นที่อเมริกา สิงคโปร์ มาเลเซีย่ และ้ ธนาคารในยุโรปส่วนใหญ่ธนาคารพาณิชย์เหล่านี้ในต่างประเทศมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสูงมากตั้งแต่ในไตรมาสแรกของปีนี้็
ผมยกตัวอย่าง เช่น่ ธนาคารเจพี่มอร์แกน ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการตั้งสำรองสูงขึ้นเกือบ 200% ในไตรมาสแรกู และประมาณการการตั้งสำรองทั้งปีในปีนี้จะสูงมากกว่าปีที่แล้วถึงสี่เท่า ธนาคารในประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างสิงคโปร์และ มาเลเซีย ก็มีการตั้งสำรองไว้สูงมากตั้งแต่ในไตรมาสแรกของปีนี้รวมทั้งประมาณการการตั้งสำรองทั้งปีก็เพิ่มขึ้นสูงมากถึงสามสี่เท่า
แต่พอดูตัวเลขของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยในไตรมาสหนึ่งของปีนี้ แล้วก็แปลกใจมากว่า ทำไมธนาคารแห่งประเทศไทยถึง “ยอม/หย่อน” การกำกับธนาคารพาณิชย์ในการตั้งสำรองหนี้สูญที่ในความเห็นผม ตัวเลขการตั้งสำรองหนี้สูญของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกของปีนี้ ไม่สะท้อนกับสภาพความเป็นจริง เพราะธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจ หนำซ้ำธนาคารใหญ่บางธนาคารยังตั้งสำรองในไตรมาสแรก ต่ำกว่าปีที่แล้วด้วย
ผมเองก็ยังงงกับมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ส่งสัญญาณค่อนข้างแรงที่ห้ามไม่ให้ธนาคารจ่ายปันผลและ ซื้อหุ้นคืน้ แต่ในขณะเดียวกันก่อนหน้านี้เหมือนหลับตาข้างเดียวในการตั้งสำรองหนี้สูญ ตลาดหุ้นไทยช่วงอาทิตย์หน้า(วันจันทร์) คงปั่นป่วนพอสมควรจากประกาศนี้
ผลกระทบโควิด ถ้าดูแบบง่ายง่ายเร็วเร็วจะมีลูกหนี้/อุตสาหกรรม อยู่สามกลุ่ม คือ ฟื้นเร็ว ฟื้นช้า และ ไม่ฟื้นเลย ถ้าเราตั้งสมมุติฐานว่า กระแสเงินสดจากการทำธุรกิจหายไปหนึ่งปี ใคร คือลูกค้า 3 กลุ่มนี้ของธนาคารบ้าง ถ้าธนาคารสามารถวิเคราะห์ให้เห็นภาพนี้ชัดขึ้นเมื่อไหร่ ก็สามารถที่จะมีแผนยุทธศาสตร์ และ นโยบายที่เหมาะสมมาเยียวยา และ ประคับประคอง แต่ละกลุ่มลูกค้าที่มีปัญหาเหล่านี้ ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนปัญหาโควิดคงจะไม่หายไปง่ายๆครับ zero wave is unlikely!
ส.ธนาคารไทย-นายแบงก์ ขานรับนโยบายธปท.เชื่อช่วยประคองธุรกิจรอด
สมาคมธนาคารไทย-นายแบงก์ หนุนนโยบาย ธปท.งดจ่ายปันผล-ซื้อหุ้นคืน เชื่อช่วยระบบแบงก์พาณิชย์แข็งแกร่งระยะยาว หลังรายได้ชะลอ เชื่อช่วยเป็นเสาหลักดันเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัว
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ธนาคารพาณิชย์จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนสำหรับระยะ 1-3 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต และศักยภาพของลูกหนี้ในการทำธุรกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 คลี่คลาย และในระหว่างที่ธนาคารพาณิชย์จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนใหม่นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานในปี 2563 รวมถึงงดการซื้อหุ้นคืนนั้น เป็นมาตรการเพื่อให้มั่นใจว่า ธนาคารพาณิชย์จะรักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็งและรองรับการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ การงดจ่ายเงินปันผลข้างต้นนั้น จะเป็นเฉพาะเงินปันผลเฉพาะกาล ไม่ใช่การจ่ายเงินปันผลรายปีที่ธนาคารพาณิชย์ยังพิจารณาจ่ายได้ตามสมควร นอกจากนี้ แนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ถือว่าสอดคล้องกับความเห็นและแนวทางที่เสนอโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางอังกฤษ ที่มองว่าธนาคารพาณิชย์ควรให้น้ำหนักกับการสะสมทุนให้เข้มแข็งเพื่อรองรับเหตุการณ์เสี่ยงในภาวะวิกฤตระดับโลก (Pandemic) ในปัจจุบัน ตลอดจนเพื่อให้สามารถทำหน้าที่หลักในการให้สินเชื่อกับภาคธุรกิจและครัวเรือน และรับมือกับภาระการตั้งสำรองสำหรับหนี้ด้อยคุณภาพที่จะเพิ่มขึ้น ด้วยการงดกิจกรรมอื่น ๆ ที่กระทบต่อเงินกองทุน อาทิ การจ่ายเงินปันผล หรือการซื้อหุ้นคืน แม้ระบบธนาคารพาณิชย์ทั้งในสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร จะมีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในปี 2563 สูงถึงร้อยละ 18.4 และกว่าร้อยละ 20 ตามลำดับ ก็ตาม นอกจากนี้ IMF ยังมองว่าทางเลือกดังกล่าวจะส่งผลดีต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุนผ่านผลตอบแทนที่มีโอกาสเพิ่มขึ้น เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ระบบธนาคารพาณิชย์ไทย มีระดับเงินกองทุนที่เข้มแข็ง โดย ณ สิ้นเมษายน 2563 ที่ผ่านมา มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,616,162 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ร้อยละ 18.9 ซึ่งนับว่ามีความเข้มแข็งกว่าเกณฑ์เงินกองทุนที่ต้องดำรงขั้นต่ำของ ธปท.ที่ร้อยละ 11.0 (ระดับเงินกองทุนขั้นต่ำที่ร้อยละ 8.5 และ Conservation Buffer ร้อยละ 2.5) และสูงกว่ามาตรฐานสากลของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) ที่ร้อยละ 10.5 ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ก็มีการวางแผนเพื่อบริหารจัดการเงินกองทุนเป็นปกติประจำอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยก็ยังมีสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง ซึ่งเพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจตามปกติ รวมไปถึงรองรับการชำระคืนเงินฝากแก่ประชาชน ตลอดจนหุ้นกู้ให้แก่นักลงทุน โดยระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีสินทรัพย์สภาพคล่องที่ใกล้เคียงเงินสด อาทิ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยและพันธบัตรรัฐบาลถึง 4.38 ล้านล้านบาท ซึ่งเพียงพอที่จะรองรับความต้องการถอนเงินและใช้เงินในระยะสั้นจากทั้งภาครัฐและเอกชน (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อีกทั้งยังสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยถึง 1.8 เท่า
“ด้วยสถานะทุนและสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ที่เข้มแข็งในระดับมาตรฐานโลก ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าระบบธนาคารพาณิชย์ไทยยังสามารถทำหน้าที่สำคัญในการขยายสินเชื่อ ช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาทุกกลุ่ม และดูแลจัดการปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ ขณะเดียวกันมาตรการต่างๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ไปได้เช่นกัน ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนมั่นใจว่าเราจะผ่านพ้นเหตุการณ์ในครั้งนี้ไปด้วยกัน” นายปรีดีกล่าว
นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริการ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน) หรือ CIMBT เปิดเผยกับ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" ว่า ปัจจุบัน รายได้ของธนาคารจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะรายได้จากดอกเบี้ย เนื่องจากการช่วยเหลือลูกค้า ไม่ว่าจะใช้วิธีลดดอกเบี้ย การยืดเวลาผ่อนชำระ ทั้งสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเช่าซื้อ และ สินเชื่อบ้าน
"กระทบรายได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะดอกเบี้ย ถ้ามองในมุมธนาคาร แต่ถ้ามองในมุมลูกค้า การที่ทำให้ลูกค้าหายใจได้คล่องขึ้น โอกาสรอดก็จะมี ถ้าลูกค้ารอด แบงก์ก็รอด แบงก์ต้องยอมเฉือนเนื้อไปบ้างเพื่อหาจุดสมดุลใหม่ ตอนนี้ไม่มีอะไรที่สำคัญไปกว่าการประคองให้ลูกค้าอยู่รอด เพราะจะทำให้เรารอดไปด้วยกัน"นายอดิศร กล่าว
ส่วนกรณีการงดการจ่ายปันผลระหว่างกาล และ งดซื้อหุ้นคืนนั้น อาจกระทบต่อผู้ถือหุ้นของธนาคาร โดยเฉพาะผู้ถือหุ้น หรือ นักลงทุนที่หวังได้เงินปันผลจากการถือหุ้นธนาคาร ซึ่งสะท้อนไปยังราคาหุ้นกลุ่มธนาคารอาจมีการปรับลดลงเมื่อตลาดเปิดทำการ แต่เชื่อว่าหุ้นกลุ่มธนาคารจะได้รับผลกระทบระยะสั้น เพราะถ้ามองระยะยาวจะเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธนาคาร
โดยสถานการณ์ปัจจุบันทั้งภาวะเศรษฐกิจ และ การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เงินกองทุนของธนาคารต้องแข็งแกร่งเพื่อรองรับหนี้ที่มิก่อให้เกิดรายได้(NPL) ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจขึ้นไปสูงถึง 10% โดยหากปล่อยปัญหาให้ลากยาวผลการดำเนินงานธนาคารจะได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นไป
"กำไรปีนี้ต่ำกว่าปีก่อนแน่นอน ซึ่งปีนี้อาจเห็นบางแบงก์ขาดทุนก็ได้ แต่การยืดหนี้ออกไปอีก 2-3 ปี หรือ ลดดอกเบี้ย 1-2% ผมก็ยังเชื่อว่า แบงก์ยังมีกำไร แต่คงไม่มาก ดูได้จากไตรมาส 1 ขนาดเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัว โควิดเริ่มมา ลดดอกเบี้ยอีก กลุ่มแบงก์ยังมีกำไรเป็นแสนล้าน"นายอดิศร กล่าว
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยกับ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" ว่า ผลกระทบต่อธนาคารกสิกรไทยยังไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขที่แน่ชัดได้ ซึ่งต้องมีการศึกษา และ ประเมินอีกครั้ง ในขณะที่ผลกระทบต่อภาพรวมธนาคารนั้นประเมินได้ยากเช่นกัน เนื่องจากโครงสร้างรายได้ของแต่ละธนาคารมีความแตกต่างกัน
นายวรภัค ธันยาวงษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KTB ได้แสดงความคิดเห็นผ่าน Facebook ไว้ว่า ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ห้ามธนาคารพาณิชย์ต่างๆไม่ให้จ่ายเงินปันผล และ ไม่ให้ซื้อหุ้นคืน ก็เป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่า ในมุมมองของ ธปท. เศรษฐกิจไทยคงจะทรุดหนักกว่าตัวเลขที่เห็นในปัจจุบัน
"ผมคิดว่า ประชาชนโดยทั่วไปไม่ต้องตื่นตระหนก ผมยังคิดว่า ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย โดยเฉพาะธนาคารใหญ่ใหญ่คงไม่ล้มหายตายจากไปง่ายง่ายในเวลานี้ แต่ละธนาคารยังมีฐานทุนที่ค่อนข้างแข็งแรง CAR ratio ของธนาคารใหญ่ใหญ่ยังอยู่ในระดับประมาณ 15%"
ถ้าดูจากผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยที่รายงานออกมาเมื่อสิ้นไตรมาสแรกในปีนี้แต่ละธนาคารยังตั้งสำรองหนี้สูญตามปกติ ยกเว้นบางธนาคารเช่นแบงค์กรุงศรีที่เป็นธนาคารใหญ่ระดับต้นต้นที่มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสูงที่สุด คือ เกิน 50% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ธนาคารใหญ่ใหญ่ที่เหลือยังตั้งสำรองหนี้สูญในไตรมาสแรกตามปกติเสมือนกับโควิดยังไม่ส่งผลอะไรกับพอร์ตลูกหนี้ที่ธนาคารมีอยู่
แต่ถ้าเราดูเทียบกับธนาคารพาณิชย์ในโลกไม่ว่าจะเป็นที่อเมริกา สิงคโปร์ มาเลเซีย่ และ้ ธนาคารในยุโรปส่วนใหญ่ธนาคารพาณิชย์เหล่านี้ในต่างประเทศมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสูงมากตั้งแต่ในไตรมาสแรกของปีนี้็
ผมยกตัวอย่าง เช่น่ ธนาคารเจพี่มอร์แกน ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการตั้งสำรองสูงขึ้นเกือบ 200% ในไตรมาสแรกู และประมาณการการตั้งสำรองทั้งปีในปีนี้จะสูงมากกว่าปีที่แล้วถึงสี่เท่า ธนาคารในประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างสิงคโปร์และ มาเลเซีย ก็มีการตั้งสำรองไว้สูงมากตั้งแต่ในไตรมาสแรกของปีนี้รวมทั้งประมาณการการตั้งสำรองทั้งปีก็เพิ่มขึ้นสูงมากถึงสามสี่เท่า
แต่พอดูตัวเลขของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยในไตรมาสหนึ่งของปีนี้ แล้วก็แปลกใจมากว่า ทำไมธนาคารแห่งประเทศไทยถึง “ยอม/หย่อน” การกำกับธนาคารพาณิชย์ในการตั้งสำรองหนี้สูญที่ในความเห็นผม ตัวเลขการตั้งสำรองหนี้สูญของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกของปีนี้ ไม่สะท้อนกับสภาพความเป็นจริง เพราะธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจ หนำซ้ำธนาคารใหญ่บางธนาคารยังตั้งสำรองในไตรมาสแรก ต่ำกว่าปีที่แล้วด้วย
ผมเองก็ยังงงกับมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ส่งสัญญาณค่อนข้างแรงที่ห้ามไม่ให้ธนาคารจ่ายปันผลและ ซื้อหุ้นคืน้ แต่ในขณะเดียวกันก่อนหน้านี้เหมือนหลับตาข้างเดียวในการตั้งสำรองหนี้สูญ ตลาดหุ้นไทยช่วงอาทิตย์หน้า(วันจันทร์) คงปั่นป่วนพอสมควรจากประกาศนี้
ผลกระทบโควิด ถ้าดูแบบง่ายง่ายเร็วเร็วจะมีลูกหนี้/อุตสาหกรรม อยู่สามกลุ่ม คือ ฟื้นเร็ว ฟื้นช้า และ ไม่ฟื้นเลย ถ้าเราตั้งสมมุติฐานว่า กระแสเงินสดจากการทำธุรกิจหายไปหนึ่งปี ใคร คือลูกค้า 3 กลุ่มนี้ของธนาคารบ้าง ถ้าธนาคารสามารถวิเคราะห์ให้เห็นภาพนี้ชัดขึ้นเมื่อไหร่ ก็สามารถที่จะมีแผนยุทธศาสตร์ และ นโยบายที่เหมาะสมมาเยียวยา และ ประคับประคอง แต่ละกลุ่มลูกค้าที่มีปัญหาเหล่านี้ ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนปัญหาโควิดคงจะไม่หายไปง่ายๆครับ zero wave is unlikely!