ผมลองสรุปมาตราการแบงก์ชาติ ตามที่ผมเข้าใจมาให้อ่านกันเล่นๆ ครับ
อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงหรือ BIS ratio คือ เงินกองทุนซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องมีไว้เพื่อรองรับความเสียหายที่เกิดจากดำเนินธุรกิจ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามหลักเกณฑ์ BASEL III ดังนี้
เงินกองทุนขั้นที่ 1: ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นและกำไรสะสม และมีหุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stock) กับผู้ถือหุ้นส่วนน้อย(Non-Controlling Interest) อีกบางส่วน
เงินกองทุนขั้นที่ 2: ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (Hybrid Securities) และหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (Subordinated Debt) โดยสัดส่วนของเงินกองทุนขั้นที่2 ต้องมีไม่มากกว่าเงินกองทุนขั้นที่1
ยกตัวอย่างเช่น หากธนาคารมีเงินกองทุนอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท สัดส่วนของเงินกองทุนขั้นที่ 2 จะมีมากที่สุดได้คือ 5,000 ล้านบาทเท่านั้น (เพราะถ้ามากกว่านี้เงินกองทุนขั้นที่ 1 จะมีน้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ทำให้เงินกองทุนขั้นที่ 1 น้อยกว่าขั้นที่ 2 ซึ่งผิดหลักเกณฑ์)
อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งหมดต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital Adequacy Ratio: CAR) เกิดจากการนำเงินกองทุนทั้งหมดของธนาคาร (ขั้นที่ 1 และ 2) มาหารด้วย “สินทรัพย์เสี่ยง (Risk Weighted Asset)” ซึ่งเป็นค่าที่ใช้วัดความเสี่ยงซึ่งเกิดจากการดำเนินธุรกิจของธนาคาร
ในปัจจุบันค่า CAR ที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ขั้นต่ำตามหลัก BASEL III คือ 8.5% และ ได้ขอให้ทางธนาคารพาณิชย์ตั้งค่า BIS ratio เพิ่มขึ้นประมาณ 3.5% ในภาวะวิกฤติ จึงปรับเกณฑ์ขั้นต่ำเป็น 12% ซึ่งเมื่อสำรวจดูพบว่า ธนาคารส่วนใหญ่มีค่า CAR สูงกว่าระดับดังกล่าวพอสมควร
ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2563 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงหรือ BIS ratio ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ที่ร้อยละ 18.7 ซึ่งถือว่ามีมากกว่ามาตรฐานขั้นต่ำ คือ 12%
ธนาคารพาณิชย์บางแห่ง (ไม่ใช่ทุกแห่ง) จะจ่าย "เงินปันผลระหว่างกาล" ให้แก่ผู้ถือหุ้นในช่วงเดือนสิงหาคม และ การ "ซื้อหุ้นคืน" นั้นในช่วงที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่คิดว่ามีเงินกองทุนในระดับสูงเกินความจำเป็น หรือเห็นว่าราคาหุ้นในตลาดลงไปอยู่ในระดับต่ำเกินควร ได้มีแผน "ซื้อหุ้นคืน" จากผู้ถือหุ้นทั่วไป ซึ่งหมายถึงการซื้อหุ้นของตัวเองจำนวนหนึ่งออกจากตลาดหลักทรัพย์มาเก็บไว้ หรือเพื่อนำไปลดทุนในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้ระดับเงินกองทุนธนาคารพาณิชย์ลดลง
มาตราการของธนาคารผ่อนผันผู้กระทบ ถึงเดือนกันยายน และหลังจากผ่อนผัน เกรงว่าลูกหนี้จะยังจ่ายต่อไม่ไหว จึงออกมาตราการงดจ่ายปันผล การซื้อหุ้นคืน ก่อนจะถึงเวลาสิ้นสุดการผ่อนผัน เพื่อรักษาระดับ BIS ratio ของแต่ละธนาคาร
ทำไมต้องมีข้อความ "ธนาคารบางแห่ง" หากปล่อยให้มีการจ่ายปันผล หรือ การซื้อหุ้นคืน ระดับ BIS ratio ของธนาคารบางแห่งจะลดลงและถ้าเกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงินในภาพใหญ่ทั้งที่ธนาคารบางแห่งไม่มีการจ่ายปันผล หรือ ซื้อหุ้นคืน แต่ถ้าหากประชาชนไม่เชื่อมั่นในระบบธนาคารแล้ว อาจจะเกิดกระแส แห่ถอนเงินออกจากระบบจนเกิดปัญหาได้
ธนาคารที่จ่ายปันผลระหว่างกาลช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2562
BAY 28 สิงหาคม 2562
BBL 22 สิงหาคม 2562
KBANK 29 สิงหาคม 2562
KKP 22 สิงหาคม 2562
SCB 15 สิงหาคม 2562
https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n3363.aspx
https://www.finnomena.com/z-admin/capital-ratio/
มาตราการงดจ่ายปันผลและงดการซื้อหุ้นคืน ในความเข้าใจของผม
อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงหรือ BIS ratio คือ เงินกองทุนซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องมีไว้เพื่อรองรับความเสียหายที่เกิดจากดำเนินธุรกิจ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามหลักเกณฑ์ BASEL III ดังนี้
เงินกองทุนขั้นที่ 1: ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นและกำไรสะสม และมีหุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stock) กับผู้ถือหุ้นส่วนน้อย(Non-Controlling Interest) อีกบางส่วน
เงินกองทุนขั้นที่ 2: ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (Hybrid Securities) และหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (Subordinated Debt) โดยสัดส่วนของเงินกองทุนขั้นที่2 ต้องมีไม่มากกว่าเงินกองทุนขั้นที่1
ยกตัวอย่างเช่น หากธนาคารมีเงินกองทุนอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท สัดส่วนของเงินกองทุนขั้นที่ 2 จะมีมากที่สุดได้คือ 5,000 ล้านบาทเท่านั้น (เพราะถ้ามากกว่านี้เงินกองทุนขั้นที่ 1 จะมีน้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ทำให้เงินกองทุนขั้นที่ 1 น้อยกว่าขั้นที่ 2 ซึ่งผิดหลักเกณฑ์)
อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งหมดต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital Adequacy Ratio: CAR) เกิดจากการนำเงินกองทุนทั้งหมดของธนาคาร (ขั้นที่ 1 และ 2) มาหารด้วย “สินทรัพย์เสี่ยง (Risk Weighted Asset)” ซึ่งเป็นค่าที่ใช้วัดความเสี่ยงซึ่งเกิดจากการดำเนินธุรกิจของธนาคาร
ในปัจจุบันค่า CAR ที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ขั้นต่ำตามหลัก BASEL III คือ 8.5% และ ได้ขอให้ทางธนาคารพาณิชย์ตั้งค่า BIS ratio เพิ่มขึ้นประมาณ 3.5% ในภาวะวิกฤติ จึงปรับเกณฑ์ขั้นต่ำเป็น 12% ซึ่งเมื่อสำรวจดูพบว่า ธนาคารส่วนใหญ่มีค่า CAR สูงกว่าระดับดังกล่าวพอสมควร
ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2563 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงหรือ BIS ratio ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ที่ร้อยละ 18.7 ซึ่งถือว่ามีมากกว่ามาตรฐานขั้นต่ำ คือ 12%
ธนาคารพาณิชย์บางแห่ง (ไม่ใช่ทุกแห่ง) จะจ่าย "เงินปันผลระหว่างกาล" ให้แก่ผู้ถือหุ้นในช่วงเดือนสิงหาคม และ การ "ซื้อหุ้นคืน" นั้นในช่วงที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่คิดว่ามีเงินกองทุนในระดับสูงเกินความจำเป็น หรือเห็นว่าราคาหุ้นในตลาดลงไปอยู่ในระดับต่ำเกินควร ได้มีแผน "ซื้อหุ้นคืน" จากผู้ถือหุ้นทั่วไป ซึ่งหมายถึงการซื้อหุ้นของตัวเองจำนวนหนึ่งออกจากตลาดหลักทรัพย์มาเก็บไว้ หรือเพื่อนำไปลดทุนในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้ระดับเงินกองทุนธนาคารพาณิชย์ลดลง
มาตราการของธนาคารผ่อนผันผู้กระทบ ถึงเดือนกันยายน และหลังจากผ่อนผัน เกรงว่าลูกหนี้จะยังจ่ายต่อไม่ไหว จึงออกมาตราการงดจ่ายปันผล การซื้อหุ้นคืน ก่อนจะถึงเวลาสิ้นสุดการผ่อนผัน เพื่อรักษาระดับ BIS ratio ของแต่ละธนาคาร
ทำไมต้องมีข้อความ "ธนาคารบางแห่ง" หากปล่อยให้มีการจ่ายปันผล หรือ การซื้อหุ้นคืน ระดับ BIS ratio ของธนาคารบางแห่งจะลดลงและถ้าเกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงินในภาพใหญ่ทั้งที่ธนาคารบางแห่งไม่มีการจ่ายปันผล หรือ ซื้อหุ้นคืน แต่ถ้าหากประชาชนไม่เชื่อมั่นในระบบธนาคารแล้ว อาจจะเกิดกระแส แห่ถอนเงินออกจากระบบจนเกิดปัญหาได้
ธนาคารที่จ่ายปันผลระหว่างกาลช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2562
BAY 28 สิงหาคม 2562
BBL 22 สิงหาคม 2562
KBANK 29 สิงหาคม 2562
KKP 22 สิงหาคม 2562
SCB 15 สิงหาคม 2562
https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n3363.aspx
https://www.finnomena.com/z-admin/capital-ratio/