สวัสดีค่ะ พอดีช่วงนี้เข้าพันทิปแล้วเห็นกระทู้แนวตกงาน ว่างงาน ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าชดเชยเยอะมาก เลยอยากจะมาแบ่งปันความรู้เรื่องสิทธิของลูกจ้าง ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน และค่าชดเชยต่าง ๆ ที่ลูกจ้างต้องได้รับ แต่วันนี้จะมาพูดถึงกรณีถูกเลิกจ้างแบบไม่ผ่านการทดลองงานค่ะ เพราะดูเหมือนจะมีคนไม่รู้สิทธิของตัวเองเยอะมาก
เราจะขออธิบายเป็นภาษาที่จะเข้าใจได้ง่ายที่สุด ถ้าต้องอิงมาตราอะไร จะใส่มาตราไว้ให้ แล้วไปเปิดหาข้อมูลเพิ่มดูนะคะถ้าอยากอ่านเพิ่ม
1.ถูกเลิกจ้าง กรณีไม่ผ่านการทดลองงาน ไม่ว่าจะทำงาน 3วัน 5วัน หรือ 120วันก็ตาม
หากเราไม่ได้ทำความผิดตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 119 สิ่งที่นายจ้างต้องทำ และคุณต้องได้รับ ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 17
- นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวด การจ่ายค่าจ้าง เช่น ถ้าจ่ายเงินทุก 15วัน ก็ต้องบอกล่วงหน้า 15วัน ถ้าจ่ายทุก 30วัน ก็ต้องบอกล่วงหน้า 30วัน (ไม่ว่าจะเป็นพนักงานรายวัน ชั่วคราว หรือรายเดือน ให้นับตามนี้หมดค่ะ)
- หากไม่บอกล่วงหน้า อยากให้ออกทันที นายจ้างต้องจ่ายเงินแทนค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
2.สิ่งที่นายจ้างไม่มีสิทธิทำ ข้อควรรู้ และการปฏิบัติที่สำคัญ
- ทำสัญญากำหนดการทดลองงาน เช่น ทดลองงาน 120 วัน ให้เป็นเหมือนทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา ดังนั้นเมื่อครบกำหนด 120 วัน หากผลงานไม่ดีก็เลิกจ้างได้เลย
(หนังสือฉบับนี้ นายจ้างไม่มีศักดิ์และสิทธิใด ๆ ที่จะทำ หากทำแล้ว และคุณเซ็นต์แล้ว ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะหนังสือฉบับนี้ศาลท่านถือว่าเป็น โมฆิยะ ง่าย ๆ คือไม่มีผลบังคับใช้ตามกฏหมาย)
- หากเราถูกเลิกจ้างโดยที่นายจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จ่ายค่าทดแทนการบอกกล่าว แล้วยังถูกบังคับให้เขียนใบลาออก แลกกับค่าจ้างในวันที่คุณทำงานไปแล้ว ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ต้องเขียนใบลาออกตามนายจ้างสั่งได้เลยค่ะ แล้วรับเงินมา คุณยังสู้คดีนี้ได้ แต่ถ้าเลี่ยงได้ไม่เขียนจะดีกว่า เพราะขั้นตอนสู้คดีจะง่ายกว่าเยอะ จากนั้นให้คุณไปที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ใกล้บ้านคุณ
ย้ำ!! ใกล้บ้านคุณนะคะ
เช่น คุณจะไปอยู่ เชียงราย แต่งานเก่าอยู่ กทม ให้คุณไปสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่เชียงราย แล้วไปเล่ารายละเอียดให้เจ้าหน้าที่ฟังได้เลย จะมีนิติกรเขียนคำฟ้องให้คุณฟรีค่ะ ใบลาออกที่เขียนไป ไม่มีผลให้นายจ้างพ้นผิด และเราไม่ได้เสียสิทธิการได้รับเงินชดเชยนะคะ
สิ่งสำคัญมาก
1.ทำงานไม่ผ่านทดลองงาน นายจ้างไม่มีสิทธิให้ออกทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
2.สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน คือที่ของลูกจ้างค่ะ 90% ไม่ว่านายจ้างจะรวยล้นฟ้า มหาเศรษฐี ก็แพ้คดีแรงงานแทบทุกราย
3.ที่ให้ไปสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานใกล้บ้าน เพราะเจ้าหน้าที่จะมีหมายเรียกนายจ้าง และลูกจ้างไปเจรจา เพราะฉะนั้น คนที่ควรลำบากไปกรมแรงงาน ควรเป็นฝั่งนายจ้างค่ะ ไม่ใช่ลูกจ้าง
4.เคสแรงงานไม่เหมือน คดีความทั่วไป ที่เหตุเกิดที่ไหนต้องแจ้งความที่นั่น เรื่องแรงงาน ไม่ว่าเหตุเกิดที่ไหน ไปสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่เราสะดวกสุดได้เลยค่ะ
5.อย่ากลัวคำขู่ อิทธิพล อำนาจเงินตราใด ๆ ของนายจ้าง ทำให้ไม่กล้าร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพราะด้วยต้องการปกป้องลูกจ้างจากกรณีนี้ ทำให้เราสามารถไปสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่ไหนก็ได้ไงคะ
6.ไม่ว่าคุณจะเป็นกรรมกรก่อสร้าง พนักงานรายวัน หูหนวก ตาบอด เขียนหนังสือไม่ได้ อ่านไม่ออก มีหรือไม่มีปริญญา และแม้ว่าคุณจะไม่มีประกันสังคมก็ตาม หากคุณทำงานแลกเงิน คุณคือลูกจ้าง สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะคุ้มครองคุณค่ะ
ปล.กรณีที่ผ่านการทดลองงานแล้ว ควรได้ค่าชดเชยอย่างไร อัตราไหน เดี๋ยวจะตั้งกระทู้เพิ่มให้อีกกระทู้นะคะ
ปล.2 มีหลายท่านท้วงติงเรื่องการเขียนใบลาออก อันนี้ จขกท เอามาจากประสบการณ์ตรง ที่บริษัทเก่าถูกอดีตลูกจ้างร้องกับกรมสวัสดิการฯ ลูกจ้างท่านนี้เขียนใบลาออกเพราะหากไม่เขียนจะไม่ได้รับเงินวันที่ผ่านมา และร้องที่สำนักงานใกล้บ้านค่ะ คนละจังหวัดกับบริษัทเลย ซึ่งคดีนี้บริษัทแพ้คดีค่ะ หากเป็นไม่ได้ก็ไม่ควรเขียนใบลาออก แต่ชีวิตจริงของลูกจ้าง บางครั้งก็ไม่สามารถทำแบบนั้นได้ จขกท จึงอยากอธิบายให้ชัด ว่าแม้คุณจะพลาด จำใจ เขียนใบลาออกไปแล้ว คุณก็ยังสู้คดีได้ค่ะ
สิทธิของลูกจ้าง กรณีถูกเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน หรือ ไม่ผ่านโปร(อยากให้เข้ามาอ่านนะคะ)
เราจะขออธิบายเป็นภาษาที่จะเข้าใจได้ง่ายที่สุด ถ้าต้องอิงมาตราอะไร จะใส่มาตราไว้ให้ แล้วไปเปิดหาข้อมูลเพิ่มดูนะคะถ้าอยากอ่านเพิ่ม
1.ถูกเลิกจ้าง กรณีไม่ผ่านการทดลองงาน ไม่ว่าจะทำงาน 3วัน 5วัน หรือ 120วันก็ตาม
หากเราไม่ได้ทำความผิดตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 119 สิ่งที่นายจ้างต้องทำ และคุณต้องได้รับ ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 17
- นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวด การจ่ายค่าจ้าง เช่น ถ้าจ่ายเงินทุก 15วัน ก็ต้องบอกล่วงหน้า 15วัน ถ้าจ่ายทุก 30วัน ก็ต้องบอกล่วงหน้า 30วัน (ไม่ว่าจะเป็นพนักงานรายวัน ชั่วคราว หรือรายเดือน ให้นับตามนี้หมดค่ะ)
- หากไม่บอกล่วงหน้า อยากให้ออกทันที นายจ้างต้องจ่ายเงินแทนค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
2.สิ่งที่นายจ้างไม่มีสิทธิทำ ข้อควรรู้ และการปฏิบัติที่สำคัญ
- ทำสัญญากำหนดการทดลองงาน เช่น ทดลองงาน 120 วัน ให้เป็นเหมือนทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา ดังนั้นเมื่อครบกำหนด 120 วัน หากผลงานไม่ดีก็เลิกจ้างได้เลย
(หนังสือฉบับนี้ นายจ้างไม่มีศักดิ์และสิทธิใด ๆ ที่จะทำ หากทำแล้ว และคุณเซ็นต์แล้ว ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะหนังสือฉบับนี้ศาลท่านถือว่าเป็น โมฆิยะ ง่าย ๆ คือไม่มีผลบังคับใช้ตามกฏหมาย)
- หากเราถูกเลิกจ้างโดยที่นายจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จ่ายค่าทดแทนการบอกกล่าว แล้วยังถูกบังคับให้เขียนใบลาออก แลกกับค่าจ้างในวันที่คุณทำงานไปแล้ว ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ต้องเขียนใบลาออกตามนายจ้างสั่งได้เลยค่ะ แล้วรับเงินมา คุณยังสู้คดีนี้ได้ แต่ถ้าเลี่ยงได้ไม่เขียนจะดีกว่า เพราะขั้นตอนสู้คดีจะง่ายกว่าเยอะ จากนั้นให้คุณไปที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ใกล้บ้านคุณ ย้ำ!! ใกล้บ้านคุณนะคะ
เช่น คุณจะไปอยู่ เชียงราย แต่งานเก่าอยู่ กทม ให้คุณไปสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่เชียงราย แล้วไปเล่ารายละเอียดให้เจ้าหน้าที่ฟังได้เลย จะมีนิติกรเขียนคำฟ้องให้คุณฟรีค่ะ ใบลาออกที่เขียนไป ไม่มีผลให้นายจ้างพ้นผิด และเราไม่ได้เสียสิทธิการได้รับเงินชดเชยนะคะ
สิ่งสำคัญมาก
1.ทำงานไม่ผ่านทดลองงาน นายจ้างไม่มีสิทธิให้ออกทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
2.สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน คือที่ของลูกจ้างค่ะ 90% ไม่ว่านายจ้างจะรวยล้นฟ้า มหาเศรษฐี ก็แพ้คดีแรงงานแทบทุกราย
3.ที่ให้ไปสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานใกล้บ้าน เพราะเจ้าหน้าที่จะมีหมายเรียกนายจ้าง และลูกจ้างไปเจรจา เพราะฉะนั้น คนที่ควรลำบากไปกรมแรงงาน ควรเป็นฝั่งนายจ้างค่ะ ไม่ใช่ลูกจ้าง
4.เคสแรงงานไม่เหมือน คดีความทั่วไป ที่เหตุเกิดที่ไหนต้องแจ้งความที่นั่น เรื่องแรงงาน ไม่ว่าเหตุเกิดที่ไหน ไปสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่เราสะดวกสุดได้เลยค่ะ
5.อย่ากลัวคำขู่ อิทธิพล อำนาจเงินตราใด ๆ ของนายจ้าง ทำให้ไม่กล้าร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพราะด้วยต้องการปกป้องลูกจ้างจากกรณีนี้ ทำให้เราสามารถไปสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่ไหนก็ได้ไงคะ
6.ไม่ว่าคุณจะเป็นกรรมกรก่อสร้าง พนักงานรายวัน หูหนวก ตาบอด เขียนหนังสือไม่ได้ อ่านไม่ออก มีหรือไม่มีปริญญา และแม้ว่าคุณจะไม่มีประกันสังคมก็ตาม หากคุณทำงานแลกเงิน คุณคือลูกจ้าง สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะคุ้มครองคุณค่ะ
ปล.กรณีที่ผ่านการทดลองงานแล้ว ควรได้ค่าชดเชยอย่างไร อัตราไหน เดี๋ยวจะตั้งกระทู้เพิ่มให้อีกกระทู้นะคะ
ปล.2 มีหลายท่านท้วงติงเรื่องการเขียนใบลาออก อันนี้ จขกท เอามาจากประสบการณ์ตรง ที่บริษัทเก่าถูกอดีตลูกจ้างร้องกับกรมสวัสดิการฯ ลูกจ้างท่านนี้เขียนใบลาออกเพราะหากไม่เขียนจะไม่ได้รับเงินวันที่ผ่านมา และร้องที่สำนักงานใกล้บ้านค่ะ คนละจังหวัดกับบริษัทเลย ซึ่งคดีนี้บริษัทแพ้คดีค่ะ หากเป็นไม่ได้ก็ไม่ควรเขียนใบลาออก แต่ชีวิตจริงของลูกจ้าง บางครั้งก็ไม่สามารถทำแบบนั้นได้ จขกท จึงอยากอธิบายให้ชัด ว่าแม้คุณจะพลาด จำใจ เขียนใบลาออกไปแล้ว คุณก็ยังสู้คดีได้ค่ะ