Adalatherium hui
นักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติเดนเวอร์และนักบรรพชีวินวิทยาจากสถาบันเทคโนโลยีนิวยอร์ก ในประเทศสหรัฐอเมริกาอธิบายถึงฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดกินพืชชื่อว่า Adalatherium hui ที่อาศัยอยู่ในประเทศมาดากัสการ์เมื่อ ๖๖ ล้านปีก่อนในยุคครีเตเชียส
Adalatherium hui มีโครงกระดูกในสภาพสมบูรณ์มากของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มาจากมหาทวีปกอนด์วานาที่อยู่ทางใต้ของโลกครอบคลุมทวีปแอฟริกา อเมริกาใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และแอนตาร์กติกา ถูกระบุว่าอยู่ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมปริศนาชื่อ Gondwanatherians ที่เติบโตมานานหลายสิบล้านปี แต่สูญพันธุ์ไปเมื่อ ๔๕ ล้านปีก่อน
Adalatherium hui มีลักษณะแปลกประหลาดมากมายที่ท้าทายต่อการอธิบายความสัมพันธ์กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ และความผิดปกติบางอย่างอาจเกิดจากการวิวัฒนาการบนเกาะ เพราะชีวิตบนเกาะจะพัฒนาแตกต่างจากบนแผ่นดินใหญ่ โดยมีปัจจัยคือ แหล่งอาหาร คู่แข่ง และผู้ล่า
ซึ่งประเทศมาดากัสการ์ในช่วงเวลานั้นมีสัตว์ที่มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น กบบีเอลซิบูโฟ (Beelzebufo) หรือกบปิศาจตัวขนาด ๔๐ เซนติเมตรที่อาจกินลูกไดโนเสาร์ หรือจระเข้ไซโมซูคัส (Simosuchus) ที่กินพืช นักวิจัยเชื่อว่า Adalatherium hui ในประเทศมาดากัสการ์น่าจะให้ความกระจ่างถึงวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคแรก
ที่มา thairath.co.th
Cr.
http://www.onep.go.th/15-พฤษภาคม-2563-ฟอสซิลที่อาจไข/
Rudapithecus hungaricus
ฟอสซิล (fossil) โครงกระดูกเชิงกรานของลิงที่รู้จักกันในชื่อ “รูดาพิเธคัส ฮังการิคัส” (Rudapithecus hungaricus) ถูกค้นพบครั้งแรกในฮังการี ซึ่งเมื่อปี 2562 ทีมวิจัยนานาชาตินำโดย ศ.แครอล วอร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยาและกายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิสซูรี ในสหรัฐอเมริกา ได้วิเคราะห์กระดูกเชิงกรานชิ้นนี้ใหม่ และพบว่ามนุษย์อาจมีต้นกำเนิดบรรพบุรุษลึกกว่าที่เคยคิดไว้ก่อนหน้านี้
รูดาพิเธคัส ฮังการิคัส ดูเหมือนวานรที่เคลื่อนย้ายห้อยโหนตัวเองไปมาระหว่างกิ่งก้านต้นไม้เหมือนลิง แต่ร่างกายตั้งตรงและปีนด้วยแขน แตกต่างจากวานรขนาดใหญ่ยุคใหม่ เนื่องจากหลังส่วนล่างของรูดาพิเธคัส ฮังการิคัส มีความยืดหยุ่นมากกว่า หมายความว่าเมื่อมันลงมาที่พื้นดิน อาจยืนตัวตรงเหมือนมนุษย์
ซึ่งลิงแอฟริกายุคใหม่มักจะมีกระดูกเชิงกรานยาวและหลังส่วนล่างสั้น อีกทั้งเป็นสัตว์ขนาดใหญ่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมลิงเหล่านี้ถึงเดินบนขาทั้ง 4 เมื่ออยู่บนพื้นดิน สำหรับมนุษย์นั้นก็มีหลังส่วนล่างที่ยาวและยืดหยุ่นมากกว่า จึงทำให้มนุษย์ยืนตัวตรงและเดินบนสองขาได้อย่างง่ายดาย
วอร์ดตั้งข้อสังเกต 2 ทางคือหากมนุษย์วิวัฒนาการมาจากลิงแอฟริกัน การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญก็คือการยืดหลังส่วนล่างจะทำให้กระดูกเชิงกรานสั้นลง แต่ถ้ามนุษย์วิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่ลึกไปกว่ารูดาพิเธคัส ฮังการิคัสการเปลี่ยนแปลงก็จะตรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนต่อไปก็คือการวิเคราะห์ชิ้นส่วนซากฟอสซิลอื่นๆ ของรูดาพิเธคัส ฮังการิคัส ในแบบ 3 มิติเพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นว่าพวกมันเคลื่อนไหวอย่างไร
ที่มา : www.thairath.co.th
Cr.
https://oohho.com/feed/ข่าวล่าสุด/ฟอสซิลลิง%2010%20ล้านปี%20ไขวิวัฒนาการมนุษย์/2019092512201667746
Ambolestes zhoui
เมื่อปี 2561 ทีมนักวิจัยจากประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาได้รายงานลงในวารสารธรรมชาติถึงการค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ชนิดใหม่ที่เชื่อว่าจะเป็นบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งพบในเขตปกครองอี้เซี่ยน (Yixian) แห่งประเทศจีน ทีมนักวิจัยจึงตั้งชื่อฟอสซิลดังกล่าวว่า Ambolestes zhoui
ซากโครงกระดูก Ambolestes zhoui ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีและมีสภาพเกือบสมบูรณ์ จากการทดสอบชิ้นส่วนฟอสซิลที่เหลือด้วยการใช้วิธีซีทีสแกน (CT scan) พร้อมกับใช้เทคโนโลยีแบบ 3 มิติ (3-D) เพื่อบ่งชี้และฟื้นฟูคุณสมบัติดั้งเดิมของมัน
ผลลัพธ์ที่ได้คือภาพกระดูกและฟันมีรายละเอียดที่น่าสนใจ สันนิษฐานว่า Ambolestes zhoui จะมีอายุเก่าแก่ประมาณ 126 ล้านปี โดยอาศัยอยู่ช่วงต้นยุคครีเตเชียส ได้รับการระบุว่าเป็นพวกยูเธอเรียน (eutherian) หมายถึงกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก แต่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเดียวกับตัวมาร์ซูเพียล สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีกระเป๋าหน้าท้องคล้ายจิงโจ้และตุ่นปากเป็ด
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเผยว่า Ambolestes zhoui มีลักษณะทางกายภาพบางอย่างที่ไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคปัจจุบัน พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าฟอสซิลนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ที่พบในพื้นที่แห่งนี้นับตั้งแต่มีการขุดค้นสำรวจมานานกว่า 20 ปี นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าพื้นที่แห่งนี้อุดมไปด้วยซากฟอสซิลอื่นๆอีกประมาณ 120 ชนิด
Cr. Nature (2018). DOI: 10.1038/s41586-018-0210-3
Cr.
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1319492
Peregocetus pacificus
ฟอสซิลวาฬอายุประมาณ 43 ล้านปีถูกพบในทะเลทรายตามแนวชายฝั่งทางตอนใต้ของเปรู ซึ่งพบว่าเป็นวาฬที่มี 4 ขา เคยอาศัยอยู่ทั้งบนบกและในทะเล ซึ่งเอเอฟพีรานงานว่า การค้นพบครั้งนี้ช่วยสร้างความกระจ่างเรื่องระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของสัตว์น้ำเลี้ยงลูกด้วยนมในช่วงเริ่มวิวัฒนาการ
สัตว์ตัวนี้ยาวประมาณ 4 เมตร มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “เปเรโกซัส แปซิฟิคัส” (Peregocetus pacificus) และเป็นตัวแทนของวิวัฒนาการช่วงกลางที่สำคัญ ก่อนวาฬจะปรับตัวไปเป็นสัตว์ทะเลอย่างสมบูรณ์
แขนขาทั้งสี่ของวาฬโบราณนี้สามารถรับน้ำหนักตัวบนบกได้ นั่นคือเปเรโกเซตัสสามารถกลับสู่ชายฝั่งที่เป็นพื้นดินแข็งๆเพื่อพักพิงและออกลูกได้ แต่ก็ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในท้องทะเล โดยส่วนมือและตีนมีกีบเล็กๆ ซึ่งอาจจะเป็นแผ่นบางๆ ที่ช่วยในการว่ายน้ำ ทั้งนี้การมีนิ้วมือและนิ้วตีนที่ยาว กับแขนขาที่ค่อนข้างบาง อาจทำให้การเคลื่อนตัวไปบกนั้นไม่ง่ายนัก
ด้วยลักษณะจมูกที่ยืดยาวและฟันที่แข็งแรง คือมีฟันหน้าสำหรับกัดที่ใหญ่และมีเขี้ยวเคียงข้างฟันกรามสำหรับฉีกเนื้อ ทำให้วาฬเปเรโกเซตัสปรับตัวสู่การล่าเหยื่อขนาดกลางๆ อย่างปลาได้
โอลิเวียร์ แลมเบิร์ท (Olivier Lambert) นักบรรพชีวินวิทยาจากสถาบันธรรมชาติวิทยาเบลเยียม (Royal Belgian Institute of Natural Sciences) นักวิจัยหลักของงานวิจัยนี้ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารเคอร์เรนท์ไบโอโลจี (Current Biology) เชื่อว่า วาฬชนิดนี้หากินน้ำได้ และเคลื่อนไหวในน้ำได้ดีกว่าบนบก
แลมเบิร์ทกล่าวว่า กระดูกหางบางส่วนมีความแข็งแรงเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างตัวนาก ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งยอกว่า หางนั้นมีบทบาทสำหรับใช้งานใต้น้ำมากกว่า
ทั้งนี้ ความเข้าใจถึงจุดเริ่มต้นในการวิวัฒนาการของวาฬมีอยู่น้อย จนเมื่อช่วงทศวรรษ 1990 มีการค้นพบฟอสซิลของวาฬในยุคแรกเริ่ม ฟอสซิลที่หลากหลายได้เผยให้เห็นว่า บริเวณที่เป็นปากีสถานและอินเดียในปัจจุบัน มีร่องรอยของวาฬที่เริ่มวิวัฒนาการเมื่อประมาณ 50 ล้านปีก่อน
Cr.
https://mgronline.com/science/detail/9620000035033 / โดย: ผู้จัดการออนไลน์
Najash rionegrina
เมื่อเร็วๆนี้ มีรายงานลงในวารสาร Science Advance จากทีมนักวิจัยนานาชาติที่ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิลของงูชื่อ Najash rionegrina อายุ 95 ล้านปี ในอาร์เจนตินา เมื่อปี พ.ศ.2556
ทีมวิจัยเผยว่า ซากดึกดำบรรพ์นี้อาจไขความกระจ่างเกี่ยวกับต้นกำเนิดของงู เช่น การสูญเสียแขนขาของมัน และพัฒนาการของกะโหลกงู เนื่องจากงูโบราณ Najash rionegrina ถูกเปิดเผยว่ามัน “มีขาหลัง” และยังเป็นงูที่อาศัยบนบก ไม่ใช่งูน้ำที่อยู่ในมหาสมุทร เมื่อศึกษารายละเอียดกะโหลกของงูชนิดนี้พบว่ามีความยืดหยุ่น ซึ่งน่าจะมีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษของกิ้งก่า
ดร.อเลสซานโดร พัลซี จากมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส ในออสเตรเลีย ผู้ร่วมในทีมวิจัยดังกล่าว เผยว่า จากการสแกนความละเอียดสูงและใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงตรวจสอบกะโหลกงู Najash rionegrina ทำให้ได้ข้อมูลทางกายวิภาคใหม่ๆ จำนวนมากเกี่ยวกับวิวัฒนาการยุคแรกของงู โดยซากของ Najash rionegrina บ่งบอกว่างูมีการพัฒนาวิธีเคลื่อนไหวกะโหลกศีรษะที่จำเป็นสำหรับการกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักของงูสมัยใหม่หลายชนิด
ศ.ไมค์ ลี จากมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์สและพิพิธภัณฑ์เซาธ์ออสเตรเลีย อีกหนึ่งในทีมวิจัยก็เสริมว่างู Najash rionegrina ชี้ให้เห็นว่างูวิวัฒนาการมาอย่างไรจากกิ้งก่า และการเรียงลำดับวงศาคณาญาติตระกูลงูครั้งใหม่ ได้เผยให้เห็นว่างูมีขาหลังขนาดเล็กนั้นเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรกเมื่อ 70 ล้านปี ในช่วงการวิวัฒนาการของพวกมัน
ที่มา phy.org
Cr.
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1710070
Chilecebus carrascoensis
ทีมนักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานตาบาร์บารา ในสหรัฐอเมริกา และสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน เผยงานวิจัยใหม่เกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลกะโหลกศีรษะสัตว์ในอันดับไพรเมตที่เก่าแก่ที่สุดและมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่งที่ได้จากเทือกเขาแอนดีสในชิลี ซึ่งระบุว่าเป็นฟอสซิลกะโหลกของไพรเมตกลุ่มแอนโธรพอยด์ อายุ 20 ล้านปี
ซากฟอสซิลกะโหลกเป็นของสายพันธุ์ Chilecebus carrascoensis มีขนาดจิ๋วและน้ำหนักเบา เป็นหนึ่งในแพลเทอร์รีน (platyrrhines) หรือลิงโลกใหม่ที่มีจมูกแหลม โดยเมื่อประมาณ 36 ล้านปีก่อนบรรพบุรุษของลิงชนิดนี้แยกตัวออกจากกลุ่มลิงโลกใหม่
เมื่อทำซีทีสแกนและสร้างสมองขึ้นใหม่แบบสามมิติเพื่อวิเคราะห์ตรวจสอบลักษณะเฉพาะของสมองที่หายไปนาน เช่น ขนาดของป่องรู้กลิ่น (olfactory bulb) และรูปร่างของช่องทางที่เชื่อมต่อกับกระดูกและเส้นประสาทตา นักวิจัยพบว่าความเป็นมาของแอนโธรพอยด์ที่ถูกยกให้เป็นสัตว์ในอันดับไพรเมตชั้นสูงซึ่งมีความซับซ้อนกว่า
นักวิจัยเชื่อว่า ซากฟอสซิลนี้จะช่วยพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการสมองของลิงโบราณ เพราะป่องรู้กลิ่นมีขนาดค่อนข้างเล็ก ดังนั้น พวกมันอาจมีสัมผัสรับกลิ่นที่อ่อนแอ ไม่ได้สมดุลกับการมองเห็นที่ดี ซึ่งสิ่งนี้อาจบ่งชี้ว่าวิวัฒนาการของระบบการมองเห็นและการดมกลิ่นนั้นไม่ได้เชื่อมโยงกันอย่างที่นักวิจัยคิดไว้
Cr.
https://www.thairath.co.th/news/local/1653006
Vadasaurus herzogi
เมื่อไม่นานมานี้นักบรรพชีวินวิทยาได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ของสัตว์เลื้อยคลานชนิดใหม่ ที่มีลักษณะหัวเป็นรูปคล้ายสามเหลี่ยม ลำตัวยาว หางคล้ายแส้ โดยตั้งชื่อว่าแวดาซอรัสแฮร์ซอกี (Vadasaurus herzogi) อายุ 155 ล้านปี ที่พบในเหมืองหินปูนใกล้เมืองโซลน์โฮเฟน ประเทศเยอรมนี ซึ่งปัจจุบันซากดังกล่าวถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
ล่าสุด นักบรรพชีวินวิทยาจากสถาบันจอห์น ฮอปกินส์ และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน เผยว่า ซากแวดาซอรัสน่าเป็นสัตว์ เลื้อยคลานในวงศ์อาร์คีออปเทอริกซ์ (Archaeopteryx) และที่อยู่ในตระกูลสัตว์เลื้อยคลานชื่อ Rynchoce– phalians อีกที
นักบรรพชีวินวิทยาชี้ว่า คุณลักษณะทาง น้ำบางอย่างของแวดาซอรัสนั้นพบบ่อยในหมู่สัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่บนบก และอาจเป็นเบาะแสสำคัญบางอย่างที่เกี่ยวพันกับวิวัฒนาการของสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่บนบกมาก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงไปใช้ชีวิตในน้ำ
Cr.
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1164707
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
ฟอสซิลที่อาจไขความกระจ่างวิวัฒนาการ
นักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติเดนเวอร์และนักบรรพชีวินวิทยาจากสถาบันเทคโนโลยีนิวยอร์ก ในประเทศสหรัฐอเมริกาอธิบายถึงฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดกินพืชชื่อว่า Adalatherium hui ที่อาศัยอยู่ในประเทศมาดากัสการ์เมื่อ ๖๖ ล้านปีก่อนในยุคครีเตเชียส
Adalatherium hui มีโครงกระดูกในสภาพสมบูรณ์มากของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มาจากมหาทวีปกอนด์วานาที่อยู่ทางใต้ของโลกครอบคลุมทวีปแอฟริกา อเมริกาใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และแอนตาร์กติกา ถูกระบุว่าอยู่ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมปริศนาชื่อ Gondwanatherians ที่เติบโตมานานหลายสิบล้านปี แต่สูญพันธุ์ไปเมื่อ ๔๕ ล้านปีก่อน
Adalatherium hui มีลักษณะแปลกประหลาดมากมายที่ท้าทายต่อการอธิบายความสัมพันธ์กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ และความผิดปกติบางอย่างอาจเกิดจากการวิวัฒนาการบนเกาะ เพราะชีวิตบนเกาะจะพัฒนาแตกต่างจากบนแผ่นดินใหญ่ โดยมีปัจจัยคือ แหล่งอาหาร คู่แข่ง และผู้ล่า
ซึ่งประเทศมาดากัสการ์ในช่วงเวลานั้นมีสัตว์ที่มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น กบบีเอลซิบูโฟ (Beelzebufo) หรือกบปิศาจตัวขนาด ๔๐ เซนติเมตรที่อาจกินลูกไดโนเสาร์ หรือจระเข้ไซโมซูคัส (Simosuchus) ที่กินพืช นักวิจัยเชื่อว่า Adalatherium hui ในประเทศมาดากัสการ์น่าจะให้ความกระจ่างถึงวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคแรก
ที่มา thairath.co.th
Cr.http://www.onep.go.th/15-พฤษภาคม-2563-ฟอสซิลที่อาจไข/
Rudapithecus hungaricus
ฟอสซิล (fossil) โครงกระดูกเชิงกรานของลิงที่รู้จักกันในชื่อ “รูดาพิเธคัส ฮังการิคัส” (Rudapithecus hungaricus) ถูกค้นพบครั้งแรกในฮังการี ซึ่งเมื่อปี 2562 ทีมวิจัยนานาชาตินำโดย ศ.แครอล วอร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยาและกายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิสซูรี ในสหรัฐอเมริกา ได้วิเคราะห์กระดูกเชิงกรานชิ้นนี้ใหม่ และพบว่ามนุษย์อาจมีต้นกำเนิดบรรพบุรุษลึกกว่าที่เคยคิดไว้ก่อนหน้านี้
รูดาพิเธคัส ฮังการิคัส ดูเหมือนวานรที่เคลื่อนย้ายห้อยโหนตัวเองไปมาระหว่างกิ่งก้านต้นไม้เหมือนลิง แต่ร่างกายตั้งตรงและปีนด้วยแขน แตกต่างจากวานรขนาดใหญ่ยุคใหม่ เนื่องจากหลังส่วนล่างของรูดาพิเธคัส ฮังการิคัส มีความยืดหยุ่นมากกว่า หมายความว่าเมื่อมันลงมาที่พื้นดิน อาจยืนตัวตรงเหมือนมนุษย์
ซึ่งลิงแอฟริกายุคใหม่มักจะมีกระดูกเชิงกรานยาวและหลังส่วนล่างสั้น อีกทั้งเป็นสัตว์ขนาดใหญ่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมลิงเหล่านี้ถึงเดินบนขาทั้ง 4 เมื่ออยู่บนพื้นดิน สำหรับมนุษย์นั้นก็มีหลังส่วนล่างที่ยาวและยืดหยุ่นมากกว่า จึงทำให้มนุษย์ยืนตัวตรงและเดินบนสองขาได้อย่างง่ายดาย
วอร์ดตั้งข้อสังเกต 2 ทางคือหากมนุษย์วิวัฒนาการมาจากลิงแอฟริกัน การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญก็คือการยืดหลังส่วนล่างจะทำให้กระดูกเชิงกรานสั้นลง แต่ถ้ามนุษย์วิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่ลึกไปกว่ารูดาพิเธคัส ฮังการิคัสการเปลี่ยนแปลงก็จะตรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนต่อไปก็คือการวิเคราะห์ชิ้นส่วนซากฟอสซิลอื่นๆ ของรูดาพิเธคัส ฮังการิคัส ในแบบ 3 มิติเพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นว่าพวกมันเคลื่อนไหวอย่างไร
ที่มา : www.thairath.co.th
Cr.https://oohho.com/feed/ข่าวล่าสุด/ฟอสซิลลิง%2010%20ล้านปี%20ไขวิวัฒนาการมนุษย์/2019092512201667746
Ambolestes zhoui
เมื่อปี 2561 ทีมนักวิจัยจากประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาได้รายงานลงในวารสารธรรมชาติถึงการค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ชนิดใหม่ที่เชื่อว่าจะเป็นบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งพบในเขตปกครองอี้เซี่ยน (Yixian) แห่งประเทศจีน ทีมนักวิจัยจึงตั้งชื่อฟอสซิลดังกล่าวว่า Ambolestes zhoui
ซากโครงกระดูก Ambolestes zhoui ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีและมีสภาพเกือบสมบูรณ์ จากการทดสอบชิ้นส่วนฟอสซิลที่เหลือด้วยการใช้วิธีซีทีสแกน (CT scan) พร้อมกับใช้เทคโนโลยีแบบ 3 มิติ (3-D) เพื่อบ่งชี้และฟื้นฟูคุณสมบัติดั้งเดิมของมัน
ผลลัพธ์ที่ได้คือภาพกระดูกและฟันมีรายละเอียดที่น่าสนใจ สันนิษฐานว่า Ambolestes zhoui จะมีอายุเก่าแก่ประมาณ 126 ล้านปี โดยอาศัยอยู่ช่วงต้นยุคครีเตเชียส ได้รับการระบุว่าเป็นพวกยูเธอเรียน (eutherian) หมายถึงกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก แต่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเดียวกับตัวมาร์ซูเพียล สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีกระเป๋าหน้าท้องคล้ายจิงโจ้และตุ่นปากเป็ด
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเผยว่า Ambolestes zhoui มีลักษณะทางกายภาพบางอย่างที่ไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคปัจจุบัน พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าฟอสซิลนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ที่พบในพื้นที่แห่งนี้นับตั้งแต่มีการขุดค้นสำรวจมานานกว่า 20 ปี นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าพื้นที่แห่งนี้อุดมไปด้วยซากฟอสซิลอื่นๆอีกประมาณ 120 ชนิด
Cr. Nature (2018). DOI: 10.1038/s41586-018-0210-3
Cr.https://www.thairath.co.th/news/foreign/1319492
Peregocetus pacificus
ฟอสซิลวาฬอายุประมาณ 43 ล้านปีถูกพบในทะเลทรายตามแนวชายฝั่งทางตอนใต้ของเปรู ซึ่งพบว่าเป็นวาฬที่มี 4 ขา เคยอาศัยอยู่ทั้งบนบกและในทะเล ซึ่งเอเอฟพีรานงานว่า การค้นพบครั้งนี้ช่วยสร้างความกระจ่างเรื่องระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของสัตว์น้ำเลี้ยงลูกด้วยนมในช่วงเริ่มวิวัฒนาการ
สัตว์ตัวนี้ยาวประมาณ 4 เมตร มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “เปเรโกซัส แปซิฟิคัส” (Peregocetus pacificus) และเป็นตัวแทนของวิวัฒนาการช่วงกลางที่สำคัญ ก่อนวาฬจะปรับตัวไปเป็นสัตว์ทะเลอย่างสมบูรณ์
แขนขาทั้งสี่ของวาฬโบราณนี้สามารถรับน้ำหนักตัวบนบกได้ นั่นคือเปเรโกเซตัสสามารถกลับสู่ชายฝั่งที่เป็นพื้นดินแข็งๆเพื่อพักพิงและออกลูกได้ แต่ก็ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในท้องทะเล โดยส่วนมือและตีนมีกีบเล็กๆ ซึ่งอาจจะเป็นแผ่นบางๆ ที่ช่วยในการว่ายน้ำ ทั้งนี้การมีนิ้วมือและนิ้วตีนที่ยาว กับแขนขาที่ค่อนข้างบาง อาจทำให้การเคลื่อนตัวไปบกนั้นไม่ง่ายนัก
ด้วยลักษณะจมูกที่ยืดยาวและฟันที่แข็งแรง คือมีฟันหน้าสำหรับกัดที่ใหญ่และมีเขี้ยวเคียงข้างฟันกรามสำหรับฉีกเนื้อ ทำให้วาฬเปเรโกเซตัสปรับตัวสู่การล่าเหยื่อขนาดกลางๆ อย่างปลาได้
โอลิเวียร์ แลมเบิร์ท (Olivier Lambert) นักบรรพชีวินวิทยาจากสถาบันธรรมชาติวิทยาเบลเยียม (Royal Belgian Institute of Natural Sciences) นักวิจัยหลักของงานวิจัยนี้ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารเคอร์เรนท์ไบโอโลจี (Current Biology) เชื่อว่า วาฬชนิดนี้หากินน้ำได้ และเคลื่อนไหวในน้ำได้ดีกว่าบนบก
แลมเบิร์ทกล่าวว่า กระดูกหางบางส่วนมีความแข็งแรงเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างตัวนาก ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งยอกว่า หางนั้นมีบทบาทสำหรับใช้งานใต้น้ำมากกว่า
ทั้งนี้ ความเข้าใจถึงจุดเริ่มต้นในการวิวัฒนาการของวาฬมีอยู่น้อย จนเมื่อช่วงทศวรรษ 1990 มีการค้นพบฟอสซิลของวาฬในยุคแรกเริ่ม ฟอสซิลที่หลากหลายได้เผยให้เห็นว่า บริเวณที่เป็นปากีสถานและอินเดียในปัจจุบัน มีร่องรอยของวาฬที่เริ่มวิวัฒนาการเมื่อประมาณ 50 ล้านปีก่อน
Cr.https://mgronline.com/science/detail/9620000035033 / โดย: ผู้จัดการออนไลน์
Najash rionegrina
เมื่อเร็วๆนี้ มีรายงานลงในวารสาร Science Advance จากทีมนักวิจัยนานาชาติที่ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิลของงูชื่อ Najash rionegrina อายุ 95 ล้านปี ในอาร์เจนตินา เมื่อปี พ.ศ.2556
ทีมวิจัยเผยว่า ซากดึกดำบรรพ์นี้อาจไขความกระจ่างเกี่ยวกับต้นกำเนิดของงู เช่น การสูญเสียแขนขาของมัน และพัฒนาการของกะโหลกงู เนื่องจากงูโบราณ Najash rionegrina ถูกเปิดเผยว่ามัน “มีขาหลัง” และยังเป็นงูที่อาศัยบนบก ไม่ใช่งูน้ำที่อยู่ในมหาสมุทร เมื่อศึกษารายละเอียดกะโหลกของงูชนิดนี้พบว่ามีความยืดหยุ่น ซึ่งน่าจะมีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษของกิ้งก่า
ดร.อเลสซานโดร พัลซี จากมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส ในออสเตรเลีย ผู้ร่วมในทีมวิจัยดังกล่าว เผยว่า จากการสแกนความละเอียดสูงและใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงตรวจสอบกะโหลกงู Najash rionegrina ทำให้ได้ข้อมูลทางกายวิภาคใหม่ๆ จำนวนมากเกี่ยวกับวิวัฒนาการยุคแรกของงู โดยซากของ Najash rionegrina บ่งบอกว่างูมีการพัฒนาวิธีเคลื่อนไหวกะโหลกศีรษะที่จำเป็นสำหรับการกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักของงูสมัยใหม่หลายชนิด
ศ.ไมค์ ลี จากมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์สและพิพิธภัณฑ์เซาธ์ออสเตรเลีย อีกหนึ่งในทีมวิจัยก็เสริมว่างู Najash rionegrina ชี้ให้เห็นว่างูวิวัฒนาการมาอย่างไรจากกิ้งก่า และการเรียงลำดับวงศาคณาญาติตระกูลงูครั้งใหม่ ได้เผยให้เห็นว่างูมีขาหลังขนาดเล็กนั้นเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรกเมื่อ 70 ล้านปี ในช่วงการวิวัฒนาการของพวกมัน
ที่มา phy.org
Cr.https://www.thairath.co.th/news/foreign/1710070
Chilecebus carrascoensis
ทีมนักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานตาบาร์บารา ในสหรัฐอเมริกา และสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน เผยงานวิจัยใหม่เกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลกะโหลกศีรษะสัตว์ในอันดับไพรเมตที่เก่าแก่ที่สุดและมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่งที่ได้จากเทือกเขาแอนดีสในชิลี ซึ่งระบุว่าเป็นฟอสซิลกะโหลกของไพรเมตกลุ่มแอนโธรพอยด์ อายุ 20 ล้านปี
ซากฟอสซิลกะโหลกเป็นของสายพันธุ์ Chilecebus carrascoensis มีขนาดจิ๋วและน้ำหนักเบา เป็นหนึ่งในแพลเทอร์รีน (platyrrhines) หรือลิงโลกใหม่ที่มีจมูกแหลม โดยเมื่อประมาณ 36 ล้านปีก่อนบรรพบุรุษของลิงชนิดนี้แยกตัวออกจากกลุ่มลิงโลกใหม่
เมื่อทำซีทีสแกนและสร้างสมองขึ้นใหม่แบบสามมิติเพื่อวิเคราะห์ตรวจสอบลักษณะเฉพาะของสมองที่หายไปนาน เช่น ขนาดของป่องรู้กลิ่น (olfactory bulb) และรูปร่างของช่องทางที่เชื่อมต่อกับกระดูกและเส้นประสาทตา นักวิจัยพบว่าความเป็นมาของแอนโธรพอยด์ที่ถูกยกให้เป็นสัตว์ในอันดับไพรเมตชั้นสูงซึ่งมีความซับซ้อนกว่า
นักวิจัยเชื่อว่า ซากฟอสซิลนี้จะช่วยพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการสมองของลิงโบราณ เพราะป่องรู้กลิ่นมีขนาดค่อนข้างเล็ก ดังนั้น พวกมันอาจมีสัมผัสรับกลิ่นที่อ่อนแอ ไม่ได้สมดุลกับการมองเห็นที่ดี ซึ่งสิ่งนี้อาจบ่งชี้ว่าวิวัฒนาการของระบบการมองเห็นและการดมกลิ่นนั้นไม่ได้เชื่อมโยงกันอย่างที่นักวิจัยคิดไว้
Cr.https://www.thairath.co.th/news/local/1653006
Vadasaurus herzogi
เมื่อไม่นานมานี้นักบรรพชีวินวิทยาได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ของสัตว์เลื้อยคลานชนิดใหม่ ที่มีลักษณะหัวเป็นรูปคล้ายสามเหลี่ยม ลำตัวยาว หางคล้ายแส้ โดยตั้งชื่อว่าแวดาซอรัสแฮร์ซอกี (Vadasaurus herzogi) อายุ 155 ล้านปี ที่พบในเหมืองหินปูนใกล้เมืองโซลน์โฮเฟน ประเทศเยอรมนี ซึ่งปัจจุบันซากดังกล่าวถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
ล่าสุด นักบรรพชีวินวิทยาจากสถาบันจอห์น ฮอปกินส์ และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน เผยว่า ซากแวดาซอรัสน่าเป็นสัตว์ เลื้อยคลานในวงศ์อาร์คีออปเทอริกซ์ (Archaeopteryx) และที่อยู่ในตระกูลสัตว์เลื้อยคลานชื่อ Rynchoce– phalians อีกที
นักบรรพชีวินวิทยาชี้ว่า คุณลักษณะทาง น้ำบางอย่างของแวดาซอรัสนั้นพบบ่อยในหมู่สัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่บนบก และอาจเป็นเบาะแสสำคัญบางอย่างที่เกี่ยวพันกับวิวัฒนาการของสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่บนบกมาก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงไปใช้ชีวิตในน้ำ
Cr.https://www.thairath.co.th/news/foreign/1164707
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)