โคตรภูญาณ อริยะ โพธิสัตว์ (ตอนที่ 10 ทิฏฐิอย่างไรเป็นไปเพื่อหลุดพ้น)
ถามว่า สงสารวัฏฏ์ เป็นสัจธรรมหรือไม่ ต้องตอบว่า เป็น
แต่ถามว่าสงสารวัฏฏ์เป็นสัจธรรมสูงสุดหรือไม่ ตอบว่า ไม่เป็น
ถามว่าสงสารวัฏฏ์มีอยู่หรือไม่ ตอบว่า ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข หากว่าอวิชชา ตัณหา อุปาทาน มีอยู่ สงสารวัฏฏ์ก็เวียนต่อไป
แต่ถ้าดำเนินตามมรรคมีองค์ ๘ จะทำให้สงสารวัฏฏ์สั้นลงและดับไปในที่สุด
คนในปัจจุบันมีความหลง ทะนงตน ทั้งที่กิเลส ความทุกข์ยังมีเต็ม เห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดเป็นความงมงาย เป็นความเห็นผิด จึงเกิดความทุกข์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นั่นเพราะปฏิจจสมุปบาทที่ปรุงแต่งอยู่ทุกขณะ ความทุกข์ความโศกจึงมีอยู่ เราจะสังเกตเห็นว่า คนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิยังปรุงแต่งกิเลสตัณหา และความทุกข์อยู่อย่างนั้น
ทิฏฐินั้นมี 4 ระดับ
1. มิจฉาทิฏฐิของปุถุชน
2. ทิฏฐิที่มีส่วนถูกของปุถุชน
3. สัมมาทิฏฐิของพระเสขะ
4. สัมมาทิฏฐิของพระอเสขะ
1. มิจฉาทิฏฐิ
(มหาจัตตารีสกสูตร)
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=3724&Z=3923
๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
นิยตมิจฉาทิฏฐิ
1. อเหตุกทิฎฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเองเป็นเอง ไม่อาศัยเหตุปัจจัยให้เกิดให้มีขึ้น ไม่เชื่อในเหตุ
2. นัตถิกทิฎฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ผลอันเนื่องมาแต่เหตุผลของการทำดีทำชั่ว ไม่มีโลกนี้โลกหน้า สัตว์บุคคลไม่มี เป็นแต่ธาตุประชุมกันตายแล้วสูญไม่เกิดอีก เชื่อว่าไม่มีอะไรทั้งนั้น
3. อกิริยทิฎฐิ เห็นว่าการกระทำใดๆ ไม่ชื่อว่าเป็นอันกระทำ ผลบาปบุญไม่มีแก่ผู้ทำกระทำแล้วก็เป็นอันแล้วกันไป ปฏิเสธการกระทำโดยประการทั้งปวง
ความเห็นผิด ยังแบ่งเป็นอีก 2 อย่างคือ
1. สัสสตทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าเที่ยง ไม่เกิดดับ หรือ ตายแล้วต้องเกิดอีกแน่นอน
2. อุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าขาดสูญ คือ ตายแล้วไม่เกิดอีก เป็นต้น
ทิฏฐิ ๖๒ ถูกแบ่งเป็น ๒ ข้อใหญ่ (อดีต และ อนาคต)
...ทิฏฐิ ๖๒ ถูกแบ่งเป็น ๒ ข้อใหญ่ (อดีต และ อนาคต)
...1. ปุพพันตกัปปิกาทิฏฐิ ๑๘ : กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็น ไปตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๑๘ ประการ
...1.1 สัสสตทิฏฐิ ๔ : ทิฏฐิว่าเที่ยง จะบัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการ
...1.2. เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔ : ทิฏฐิว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
...1.3. อันตานันติกทิฏฐิ ๔ : ทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ
...1.4. อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔ : ทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุ ๔ ประการ
...1.5. อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒ : ทิฏฐิว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ
...2. อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔ : กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๔๔ ประการ
...2.1 สัญญีทิฏฐิ ๑๖ : ทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ.
...2.2 อสัญญีทิฏฐิ ๘ : ทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ
...2.3 เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ ๘ : ทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ
...2.4 อุจเฉททิฏฐิ ๗ : ทิฏฐิว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ
...2.5 ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕ : ทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบันย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ
จบทิฏฐิ ๖๒.
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๑๑/๓๘๓ ข้อที่ ๒๖-๕๐.
2. ทิฏฐิที่มีส่วนถูกของปุถุชน เช่น เห็นว่าโลกนี้โลกหน้ามี กฎแห่งกรรมมี ฯลฯ
3. สัมมาทิฏฐิของพระเสขะ มีอยู่ 2 ลักษณะคือ
1. เห็นอริยสัจ 4
2. [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
การจะเห็นอริยสัจ ๔ และมีสัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ ต้องเห็นไตรลักษณ์
4. สัมมาทิฏฐิของพระอเสขะ
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
(มหาจัตตารีสกสูตร)
คือ สัมมาทิฏฐิของพระอรหันต์
การจะเจริญมรรคต้องประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ โดยละมิจฉาทิฏฐิทั้งปวง เพื่อบรรลุสัมมาทิฏฐิ เรียกง่ายๆ ต้องมีเหตุและผล เหตุปัจจัย ไม่ใช่เหตุผลเชิงตรรกะ แต่เป็นเหตุและผลในเชิงกระบวนการ
การเข้าถึงสัจธรรม ธรรมชาติ มิอาจเข้าถึงโดยตรรกะ แต่ต้องเข้าถึงในรูปแบบของเหตุและผลหรือกฎอิทัปปัจยยตา นั่นเพราะลักษณะของธรรมชาติมีลักษณะของกฎอิทัปปัจจยตา หรือความเป็นเหตุปัจจัย มีสภาพอย่างกลาง ไม่หย่อน ไม่สุดโต่ง
ธรรมมชาติไม่มีอารมณ์ ไม่มีความคิด แต่คนมีอารมณ์ มีความคิด จึงไม่กลาง มีความหย่อน สุดโต่ง การเข้าถึงสัจธรรมจึงควรหาความพอเหมาะ พอดีให้เจอ ซึ่งจะทิ้งความคิด ทิ้งอารมณ์ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสัจธรรม
โคตรภูญาณ อริยะ โพธิสัตว์ (ตอนที่ 10 ทิฏฐิอย่างไรเป็นไปเพื่อหลุดพ้น)
ถามว่า สงสารวัฏฏ์ เป็นสัจธรรมหรือไม่ ต้องตอบว่า เป็น
แต่ถามว่าสงสารวัฏฏ์เป็นสัจธรรมสูงสุดหรือไม่ ตอบว่า ไม่เป็น
ถามว่าสงสารวัฏฏ์มีอยู่หรือไม่ ตอบว่า ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข หากว่าอวิชชา ตัณหา อุปาทาน มีอยู่ สงสารวัฏฏ์ก็เวียนต่อไป
แต่ถ้าดำเนินตามมรรคมีองค์ ๘ จะทำให้สงสารวัฏฏ์สั้นลงและดับไปในที่สุด
คนในปัจจุบันมีความหลง ทะนงตน ทั้งที่กิเลส ความทุกข์ยังมีเต็ม เห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดเป็นความงมงาย เป็นความเห็นผิด จึงเกิดความทุกข์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นั่นเพราะปฏิจจสมุปบาทที่ปรุงแต่งอยู่ทุกขณะ ความทุกข์ความโศกจึงมีอยู่ เราจะสังเกตเห็นว่า คนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิยังปรุงแต่งกิเลสตัณหา และความทุกข์อยู่อย่างนั้น
ทิฏฐินั้นมี 4 ระดับ
1. มิจฉาทิฏฐิของปุถุชน
2. ทิฏฐิที่มีส่วนถูกของปุถุชน
3. สัมมาทิฏฐิของพระเสขะ
4. สัมมาทิฏฐิของพระอเสขะ
1. มิจฉาทิฏฐิ
(มหาจัตตารีสกสูตร)
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=3724&Z=3923
๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
นิยตมิจฉาทิฏฐิ
1. อเหตุกทิฎฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเองเป็นเอง ไม่อาศัยเหตุปัจจัยให้เกิดให้มีขึ้น ไม่เชื่อในเหตุ
2. นัตถิกทิฎฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ผลอันเนื่องมาแต่เหตุผลของการทำดีทำชั่ว ไม่มีโลกนี้โลกหน้า สัตว์บุคคลไม่มี เป็นแต่ธาตุประชุมกันตายแล้วสูญไม่เกิดอีก เชื่อว่าไม่มีอะไรทั้งนั้น
3. อกิริยทิฎฐิ เห็นว่าการกระทำใดๆ ไม่ชื่อว่าเป็นอันกระทำ ผลบาปบุญไม่มีแก่ผู้ทำกระทำแล้วก็เป็นอันแล้วกันไป ปฏิเสธการกระทำโดยประการทั้งปวง
ความเห็นผิด ยังแบ่งเป็นอีก 2 อย่างคือ
1. สัสสตทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าเที่ยง ไม่เกิดดับ หรือ ตายแล้วต้องเกิดอีกแน่นอน
2. อุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าขาดสูญ คือ ตายแล้วไม่เกิดอีก เป็นต้น
ทิฏฐิ ๖๒ ถูกแบ่งเป็น ๒ ข้อใหญ่ (อดีต และ อนาคต)
...ทิฏฐิ ๖๒ ถูกแบ่งเป็น ๒ ข้อใหญ่ (อดีต และ อนาคต)
...1. ปุพพันตกัปปิกาทิฏฐิ ๑๘ : กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็น ไปตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๑๘ ประการ
...1.1 สัสสตทิฏฐิ ๔ : ทิฏฐิว่าเที่ยง จะบัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการ
...1.2. เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔ : ทิฏฐิว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
...1.3. อันตานันติกทิฏฐิ ๔ : ทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ
...1.4. อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔ : ทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุ ๔ ประการ
...1.5. อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒ : ทิฏฐิว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ
...2. อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔ : กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๔๔ ประการ
...2.1 สัญญีทิฏฐิ ๑๖ : ทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ.
...2.2 อสัญญีทิฏฐิ ๘ : ทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ
...2.3 เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ ๘ : ทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ
...2.4 อุจเฉททิฏฐิ ๗ : ทิฏฐิว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ
...2.5 ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕ : ทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบันย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ
จบทิฏฐิ ๖๒.
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๑๑/๓๘๓ ข้อที่ ๒๖-๕๐.
2. ทิฏฐิที่มีส่วนถูกของปุถุชน เช่น เห็นว่าโลกนี้โลกหน้ามี กฎแห่งกรรมมี ฯลฯ
3. สัมมาทิฏฐิของพระเสขะ มีอยู่ 2 ลักษณะคือ
1. เห็นอริยสัจ 4
2. [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
การจะเห็นอริยสัจ ๔ และมีสัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ ต้องเห็นไตรลักษณ์
4. สัมมาทิฏฐิของพระอเสขะ
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
(มหาจัตตารีสกสูตร)
คือ สัมมาทิฏฐิของพระอรหันต์
การจะเจริญมรรคต้องประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ โดยละมิจฉาทิฏฐิทั้งปวง เพื่อบรรลุสัมมาทิฏฐิ เรียกง่ายๆ ต้องมีเหตุและผล เหตุปัจจัย ไม่ใช่เหตุผลเชิงตรรกะ แต่เป็นเหตุและผลในเชิงกระบวนการ
การเข้าถึงสัจธรรม ธรรมชาติ มิอาจเข้าถึงโดยตรรกะ แต่ต้องเข้าถึงในรูปแบบของเหตุและผลหรือกฎอิทัปปัจยยตา นั่นเพราะลักษณะของธรรมชาติมีลักษณะของกฎอิทัปปัจจยตา หรือความเป็นเหตุปัจจัย มีสภาพอย่างกลาง ไม่หย่อน ไม่สุดโต่ง
ธรรมมชาติไม่มีอารมณ์ ไม่มีความคิด แต่คนมีอารมณ์ มีความคิด จึงไม่กลาง มีความหย่อน สุดโต่ง การเข้าถึงสัจธรรมจึงควรหาความพอเหมาะ พอดีให้เจอ ซึ่งจะทิ้งความคิด ทิ้งอารมณ์ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสัจธรรม