เมื่อ พ.ศ. 2366 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 2 “จอห์น ครอว์เฟิร์ด” (John Crawfurd) ผู้สำเร็จราชการสิงคโปร์นำเรื่องสำคัญมาแจ้งแก่ไทย เรื่องมีอยู่ว่า “พระเจ้าจักกายแมง” กษัตริย์พม่า (อังวะ) แต่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับญวน ในพระราชสาส์นได้ชักชวน “พระเจ้ามินมาง” กษัตริย์ญวน (เวียดนาม) ให้ร่วมกับพม่าทำสงครามสู้รบกับไทย
เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อ “องโดยหลำ” และ “องทูหับตรึง” ขุนนางชาวญวน ได้ติดต่อกับ “องต๋ากุน” เจ้าเมืองไซง่อนว่า ในดินแดนพม่ามีเกาะรังนกจำนวนมาก ถ้าติดต่อต่อซื้อขายรังนกจากพม่า แล้วนำไปขายต่อให้จีน จะได้กำไรอย่างงาม องต๋ากุนก็เห็นชอบด้วย จึงแต่งตั้งให้ขุนนางทั้งสองไปติดต่อซื้อรังนกที่พม่า ทว่า ในการณ์นี้ องต๋ากุนไม่ได้กราบทูลกษัตริย์เวียดนามให้ทรงทราบ
เมื่อขุนนางญวนไปถึงเกาะหมาก (ปีนัง) ได้พบพ่อค้าจีนที่มาจากพม่า ทั้งสองจึงพูดอวดอ้างต่าง ๆ นานา จนพ่อค้าจีนเข้าใจว่าเป็นราชทูตเดินทางมาจากญวณ คิดจะเอาหน้า จึงช่วยพาไปส่งให้ถึงกรุงอังวะ
แต่แรกพม่าไม่เชื่อว่าขุนนางญวนทั้งสองเป็นราชทูต เพราะไม่ได้อัญเชิญพระราชสาส์นมาด้วย แต่เมื่อสอบถามไล่เลียง จนเข้าใจว่าเป็นราชทูตจริง จึงต้อนรับเป็นอย่างดี พม่ามีความคิดอยากจะยกกองทัพมาตีไทยอีกครั้ง จึงชักชวนญวนให้มาเป็นพันธมิตรเพื่อทำสงครามกระหนาบไทยทั้งสองด้าน ดังนั้น กษัตริย์พม่าจึงแต่งราชทูต อัญเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการมาถวายกษัตริย์เวียดนาม
ครั้นเมื่อเรือราชทูตมาทอดอยู่เกาะหมาก เรือพ่อค้าไทยลำหนึ่งเกิดไฟไหม้ จนลุกลามไปยังเรือราชทูตพม่าไหม้ด้วย เก็บได้แต่พระราชสาส์นกับเครื่องราชบรรณาการบางส่วน จากนั้นราชทูตพม่าจึงโดยสารเรือพ่อค้าอังกฤษไปยังเมืองไซ่ง่อน
ในเหตุการณ์ข้างต้นนี้ อังกฤษคงจะได้สำเนาพระราชสาส์นซึ่งเป็นภาษาพม่ามาด้วย เจ้าเมืองเกาะหมาก ซึ่งขึ้นตรงต่ออังกฤษ จึงได้แปลเป็นภาษาอังกฤษส่งไปให้ผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษ
ต่อจากนั้นผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษได้ส่งสำเนามาให้ จอห์น ครอว์เฟิร์ด ที่สิงคโปร์อีกต่อหนึ่ง จอห์น ครอว์เฟิร์ด ซึ่งเคยเดินทางมาที่ไทยทราบดีว่า ที่ไทยไม่มีผู้แปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้ เพราะมีแต่พวกบาทหลวงฝรั่งเศส จึงให้แปลสำเนาพระราชสาส์นฉบับแปลภาษาอังกฤษนั้นให้เป็นภาษาฝรั่งเศส ก่อนที่จะให้บาทหลวงฝรั่งเศสในไทยแปลเป็นภาษาไทยในที่สุด
ทางด้านราชทูตพม่า เมื่อเดินทางถึงเมืองไซ่ง่อน องต๋ากุนก็ได้ต้อนรับดูแลอย่างดี แล้วมีหนังสือขึ้นไปยังเมืองเว้ กราบทูลพระเจ้ามินมางว่า พม่าแต่งราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการมาเจริญสัมพันธไมตรี ชักชวนให้ญวนร่วมมือกับพม่าทำสงครามกับไทย
สงสัยคงจะไม่มีปัญญาตัวต่อตัวกับกรุงเทพ เพราะโอกาศน่าจะหมดไปตั้งแต่เชียงใหม่เป็นของกรุงเทพแล้ว
แล้วดันไปทำให้มอญสิ้นชาติ ที่นี้ พอเหลือแค่มอญกับไทยใหญ่ คงคิดว่าไม่มีปัญญาตีกรุงเทพอีกแล้ว
มุกเดิมๆ รวมมอญ รวมเชียงใหม่ รวมไทยใหญ่ และมาได้เมืองในกรุงศรีตอนบน จนกระทั่งจะเอาเวียดนาม มารุม
นี้นะหรือเจ้าเเห่งอาเซียน
ใช้วิธีนี้ ยังไงกรุงศรี กรุงเทพ ก็ตั้งตัวได้อยู่ดี หากเมืองใดเมืองหนึ่งแข็งเมืองกับพม่าหรือตกเป็นของไทย ก็ไม่มีปัญญาตีกรุงเพทกรุงศรี
เพราะมันไม่ใช่วิธีทำให้ยิ่งใหญ่แบบยั่งยืน
ทำให้พม่า เด่นแค่สองยุค บุเรงนอง มังระ ไม่กี่สิบปี ก็ไม่ยิ่งใหญ่มาแพ้ไทยเหมือนเดิม
คือพี่เป็นจ้าอาเซี่ยน คือถ้าไม่มีพวกมารุมกรุงศรีกรุงเทพ เยอะๆ พี่คงจะไม่กล้ามาตีเลยใช่ไหม
เมื่อพม่าขอญวนเป็นไมตรี ชวนตีเมืองไทย หวังทำสงครามกระหนาบสองด้าน อ้าวไหนเจ้าเเห่งอาเซียนผู้ยิ่งใหญ่ ไม่กล้าเดียวเดียว
เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อ “องโดยหลำ” และ “องทูหับตรึง” ขุนนางชาวญวน ได้ติดต่อกับ “องต๋ากุน” เจ้าเมืองไซง่อนว่า ในดินแดนพม่ามีเกาะรังนกจำนวนมาก ถ้าติดต่อต่อซื้อขายรังนกจากพม่า แล้วนำไปขายต่อให้จีน จะได้กำไรอย่างงาม องต๋ากุนก็เห็นชอบด้วย จึงแต่งตั้งให้ขุนนางทั้งสองไปติดต่อซื้อรังนกที่พม่า ทว่า ในการณ์นี้ องต๋ากุนไม่ได้กราบทูลกษัตริย์เวียดนามให้ทรงทราบ
เมื่อขุนนางญวนไปถึงเกาะหมาก (ปีนัง) ได้พบพ่อค้าจีนที่มาจากพม่า ทั้งสองจึงพูดอวดอ้างต่าง ๆ นานา จนพ่อค้าจีนเข้าใจว่าเป็นราชทูตเดินทางมาจากญวณ คิดจะเอาหน้า จึงช่วยพาไปส่งให้ถึงกรุงอังวะ
แต่แรกพม่าไม่เชื่อว่าขุนนางญวนทั้งสองเป็นราชทูต เพราะไม่ได้อัญเชิญพระราชสาส์นมาด้วย แต่เมื่อสอบถามไล่เลียง จนเข้าใจว่าเป็นราชทูตจริง จึงต้อนรับเป็นอย่างดี พม่ามีความคิดอยากจะยกกองทัพมาตีไทยอีกครั้ง จึงชักชวนญวนให้มาเป็นพันธมิตรเพื่อทำสงครามกระหนาบไทยทั้งสองด้าน ดังนั้น กษัตริย์พม่าจึงแต่งราชทูต อัญเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการมาถวายกษัตริย์เวียดนาม
ครั้นเมื่อเรือราชทูตมาทอดอยู่เกาะหมาก เรือพ่อค้าไทยลำหนึ่งเกิดไฟไหม้ จนลุกลามไปยังเรือราชทูตพม่าไหม้ด้วย เก็บได้แต่พระราชสาส์นกับเครื่องราชบรรณาการบางส่วน จากนั้นราชทูตพม่าจึงโดยสารเรือพ่อค้าอังกฤษไปยังเมืองไซ่ง่อน
ในเหตุการณ์ข้างต้นนี้ อังกฤษคงจะได้สำเนาพระราชสาส์นซึ่งเป็นภาษาพม่ามาด้วย เจ้าเมืองเกาะหมาก ซึ่งขึ้นตรงต่ออังกฤษ จึงได้แปลเป็นภาษาอังกฤษส่งไปให้ผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษ
ต่อจากนั้นผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษได้ส่งสำเนามาให้ จอห์น ครอว์เฟิร์ด ที่สิงคโปร์อีกต่อหนึ่ง จอห์น ครอว์เฟิร์ด ซึ่งเคยเดินทางมาที่ไทยทราบดีว่า ที่ไทยไม่มีผู้แปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้ เพราะมีแต่พวกบาทหลวงฝรั่งเศส จึงให้แปลสำเนาพระราชสาส์นฉบับแปลภาษาอังกฤษนั้นให้เป็นภาษาฝรั่งเศส ก่อนที่จะให้บาทหลวงฝรั่งเศสในไทยแปลเป็นภาษาไทยในที่สุด
ทางด้านราชทูตพม่า เมื่อเดินทางถึงเมืองไซ่ง่อน องต๋ากุนก็ได้ต้อนรับดูแลอย่างดี แล้วมีหนังสือขึ้นไปยังเมืองเว้ กราบทูลพระเจ้ามินมางว่า พม่าแต่งราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการมาเจริญสัมพันธไมตรี ชักชวนให้ญวนร่วมมือกับพม่าทำสงครามกับไทย
สงสัยคงจะไม่มีปัญญาตัวต่อตัวกับกรุงเทพ เพราะโอกาศน่าจะหมดไปตั้งแต่เชียงใหม่เป็นของกรุงเทพแล้ว
แล้วดันไปทำให้มอญสิ้นชาติ ที่นี้ พอเหลือแค่มอญกับไทยใหญ่ คงคิดว่าไม่มีปัญญาตีกรุงเทพอีกแล้ว
มุกเดิมๆ รวมมอญ รวมเชียงใหม่ รวมไทยใหญ่ และมาได้เมืองในกรุงศรีตอนบน จนกระทั่งจะเอาเวียดนาม มารุม
นี้นะหรือเจ้าเเห่งอาเซียน
ใช้วิธีนี้ ยังไงกรุงศรี กรุงเทพ ก็ตั้งตัวได้อยู่ดี หากเมืองใดเมืองหนึ่งแข็งเมืองกับพม่าหรือตกเป็นของไทย ก็ไม่มีปัญญาตีกรุงเพทกรุงศรี
เพราะมันไม่ใช่วิธีทำให้ยิ่งใหญ่แบบยั่งยืน
ทำให้พม่า เด่นแค่สองยุค บุเรงนอง มังระ ไม่กี่สิบปี ก็ไม่ยิ่งใหญ่มาแพ้ไทยเหมือนเดิม
คือพี่เป็นจ้าอาเซี่ยน คือถ้าไม่มีพวกมารุมกรุงศรีกรุงเทพ เยอะๆ พี่คงจะไม่กล้ามาตีเลยใช่ไหม