วิกฤติโควิด-19 ยืดเยื้อยาวนาน การประกาศปิดเมืองทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจของแต่ละประเทศและเศรษฐกิจโลกแทบจะล้มพับกันหมด เหตุการณ์ผ่านไปครึ่งปี แม้จะยังไม่มียารักษา แต่หลายประเทศสามารถควบคุมการระบาดได้ดี ขณะที่บางประเทศยังมีอัตราการติดเชื้อสูงอยู่ แต่ส่วนใหญ่ก็อั้นกันต่อไปไม่ไหวแล้ว ต้องยอมเสี่ยงตายทางสุขภาพให้ธุรกิจเปิดดำเนินการได้ เพื่อให้ประเทศรอดตายทางเศรษฐกิจ
สำหรับประเทศไทยนั้นนับว่าโชคดีอย่างมากที่ทุกภาคส่วนของเราร่วมมือกันอย่างดี อัตราการติดเชื้อและระบาดจึงน้อย ซึ่งทั่วโลกให้การยอมรับกับระบบการแพทย์และสาธารณสุขของเรามาก โดยได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 13 ประเทศที่มีความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดมากที่สุด และได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีระบบสุขภาพดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก
ย้อนกลับไปเมื่อประมาณเดือนกว่า ๆ ที่ผานมา คุณธนินท์ เจียรววนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อว่า
โลกหลังโควิดจะเปลี่ยนไปมหาศาลชนิดคาดไม่ถึง การท่องเที่ยวจะมีมากขึ้นไม่ใช่น้อยลง เหตุหนึ่งก็เพราะคนไม่จำเป็นต้องทำงานที่ออฟฟิศอีกต่อไป ดิจิทัลและเทคโนโลยีจะเป็นตัวช่วยสนับสนุน จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเริ่มจากการท่องเที่ยวก่อน เพราะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีที่สุด ด้วยคนทั่วโลกต่างต้องการมาเที่ยวเมืองไทย เพราะเรามีภูมิประเทศและวัฒนธรรมที่งดงาม สามารถดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาได้มาก โดยเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพ มีอำนาจการจับจ่ายสูง ซึ่งรัฐบาลต้องทำงานเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ให้โลกรู้ว่าประเทศไทยปลอดภัย รัฐบาลต้องมีหลักประกันให้การดูแลเป็นอย่างดี สร้างความมั่นใจ จากข้อได้เปรียบที่ปัจจุบันมีหลายโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน เป็นที่ยอมรับของคนรวยระดับเศรษฐีเข้ามาใช้บริการอยู่แล้ว ก็เป็นโอกาสในการทำการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
สอดคล้องกับความเห็นของภาครัฐว่า หลังโควิดสงบลง ทุกคนในโลกจะอยากท่องเที่ยวมากขึ้น แต่จะเป็นการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย ไทยในฐานะที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สวยงาม วัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจ ประกอบกับการสาธารณสุขที่สามารถรับมือกับโควิดได้ดี จะดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาอย่างมหาศาล ดังนั้นจึงมีแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยว เพื่อรองรับการใช้ชีวิตตามวิถีใหม่ หรือ New Normal ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพ ความสะอาด และความปลอดภัยเป็นหลัก พร้อมนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในหลาย ๆ ด้าน นอกจากนั้นยังต้องเน้นการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อช่วยกระจายรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน ให้มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งจะช่วยก่อให้เกิดการยกระดับมาตรฐานการครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้น
ล่าสุดวันนี้ รัฐบาลรับหลักการแนวทางการเปิดประเทศ เพื่อท่องเที่ยวอย่างจำกัด หรือ Travel Bubble ซึ่งเป็นการจับคู่หรือเลือกประเทศที่สามารถเปิดการท่องเที่ยวต่อกันได้ โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน ซึ่งปัจจุบันมีบางประเทศทำแล้ว เช่น นิวซีแลนด์กับออสเตรเลีย และ สิงค์โปร์กับบางส่วนของจีน แต่ต้องให้ฝ่ายเกี่ยวข้องไปพิจารณารายละเอียดและมาตรการรองรับที่รัดกุม ไม่ให้เชื้อโรคกลับมาแพร่ระบาดจนคุมไม่อยู่ อย่างไรก็ตาม มีการประเมินกันว่า แผนนี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศที่จับคู่เดินทางในหลายมิติ เช่น การท่องเที่ยว เศรษฐกิจการค้า และการขนส่ง
นอกจากภาคการท่องเที่ยวแล้ว ภาคการลงทุนก็เรียกร้องเช่นกัน โดยทางเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้ขอผ่อนปรนจากรัฐให้อนุญาตนักธุรกิจนักลงทุนในเขตอีอีซีสามารถเดินทางเข้ามาดำเนินการทางธุรกิจในประเทศไทยได้ เพื่อเหตุผลทางธุรกิจและรักษาบรรยากาศการลงทุน บนเงื่อนไขที่ต้องกักตัว 14 วัน ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้ลงทุนเอง
โดยสรุปแล้วนับได้ว่า วิกฤตโควิดครั้งนี้เป็นโอกาสสำหรับทุกภาคส่วนในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ประชาชน หรือรัฐ ที่จะได้ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะทุกส่วนต้องปรับตัวเหมือนกันหมด เพื่อกระโดดเข้าสู่เครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่ให้ทัน และขับเคลื่อนไปด้วยกันอย่างรวดเร็วและมั่นคงกว่าที่ผ่านมา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอบคุณภาพจากสื่อ Brand Iside กูเกิ้ล (จำเว็บไม่ได้) และ TCDC
ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ท่องเที่ยวไทยไฉไลได้ ถ้าการ์ดไม่ตก
สำหรับประเทศไทยนั้นนับว่าโชคดีอย่างมากที่ทุกภาคส่วนของเราร่วมมือกันอย่างดี อัตราการติดเชื้อและระบาดจึงน้อย ซึ่งทั่วโลกให้การยอมรับกับระบบการแพทย์และสาธารณสุขของเรามาก โดยได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 13 ประเทศที่มีความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดมากที่สุด และได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีระบบสุขภาพดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก
ย้อนกลับไปเมื่อประมาณเดือนกว่า ๆ ที่ผานมา คุณธนินท์ เจียรววนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อว่า โลกหลังโควิดจะเปลี่ยนไปมหาศาลชนิดคาดไม่ถึง การท่องเที่ยวจะมีมากขึ้นไม่ใช่น้อยลง เหตุหนึ่งก็เพราะคนไม่จำเป็นต้องทำงานที่ออฟฟิศอีกต่อไป ดิจิทัลและเทคโนโลยีจะเป็นตัวช่วยสนับสนุน จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเริ่มจากการท่องเที่ยวก่อน เพราะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีที่สุด ด้วยคนทั่วโลกต่างต้องการมาเที่ยวเมืองไทย เพราะเรามีภูมิประเทศและวัฒนธรรมที่งดงาม สามารถดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาได้มาก โดยเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพ มีอำนาจการจับจ่ายสูง ซึ่งรัฐบาลต้องทำงานเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ให้โลกรู้ว่าประเทศไทยปลอดภัย รัฐบาลต้องมีหลักประกันให้การดูแลเป็นอย่างดี สร้างความมั่นใจ จากข้อได้เปรียบที่ปัจจุบันมีหลายโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน เป็นที่ยอมรับของคนรวยระดับเศรษฐีเข้ามาใช้บริการอยู่แล้ว ก็เป็นโอกาสในการทำการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
สอดคล้องกับความเห็นของภาครัฐว่า หลังโควิดสงบลง ทุกคนในโลกจะอยากท่องเที่ยวมากขึ้น แต่จะเป็นการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย ไทยในฐานะที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สวยงาม วัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจ ประกอบกับการสาธารณสุขที่สามารถรับมือกับโควิดได้ดี จะดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาอย่างมหาศาล ดังนั้นจึงมีแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยว เพื่อรองรับการใช้ชีวิตตามวิถีใหม่ หรือ New Normal ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพ ความสะอาด และความปลอดภัยเป็นหลัก พร้อมนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในหลาย ๆ ด้าน นอกจากนั้นยังต้องเน้นการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อช่วยกระจายรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน ให้มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งจะช่วยก่อให้เกิดการยกระดับมาตรฐานการครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้น
ล่าสุดวันนี้ รัฐบาลรับหลักการแนวทางการเปิดประเทศ เพื่อท่องเที่ยวอย่างจำกัด หรือ Travel Bubble ซึ่งเป็นการจับคู่หรือเลือกประเทศที่สามารถเปิดการท่องเที่ยวต่อกันได้ โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน ซึ่งปัจจุบันมีบางประเทศทำแล้ว เช่น นิวซีแลนด์กับออสเตรเลีย และ สิงค์โปร์กับบางส่วนของจีน แต่ต้องให้ฝ่ายเกี่ยวข้องไปพิจารณารายละเอียดและมาตรการรองรับที่รัดกุม ไม่ให้เชื้อโรคกลับมาแพร่ระบาดจนคุมไม่อยู่ อย่างไรก็ตาม มีการประเมินกันว่า แผนนี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศที่จับคู่เดินทางในหลายมิติ เช่น การท่องเที่ยว เศรษฐกิจการค้า และการขนส่ง
นอกจากภาคการท่องเที่ยวแล้ว ภาคการลงทุนก็เรียกร้องเช่นกัน โดยทางเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้ขอผ่อนปรนจากรัฐให้อนุญาตนักธุรกิจนักลงทุนในเขตอีอีซีสามารถเดินทางเข้ามาดำเนินการทางธุรกิจในประเทศไทยได้ เพื่อเหตุผลทางธุรกิจและรักษาบรรยากาศการลงทุน บนเงื่อนไขที่ต้องกักตัว 14 วัน ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้ลงทุนเอง
โดยสรุปแล้วนับได้ว่า วิกฤตโควิดครั้งนี้เป็นโอกาสสำหรับทุกภาคส่วนในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ประชาชน หรือรัฐ ที่จะได้ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะทุกส่วนต้องปรับตัวเหมือนกันหมด เพื่อกระโดดเข้าสู่เครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่ให้ทัน และขับเคลื่อนไปด้วยกันอย่างรวดเร็วและมั่นคงกว่าที่ผ่านมา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้