[BR] รีวิวคลังเสบียงใหญ่จุเต็ม เย็นจุใจ กับตู้เย็น Hitachi ใหม่ของบ้านเรา

กระทู้ผู้สนับสนุน
สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ทุกคนคงอยู่บ้านกันยาวๆ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ Covid19 กันใช่มั้ยคะ?
ที่บ้านเราก็เหมือนกันค่ะ แม่ลูกเลยมาช่วยกันใช้เวลาอยู่บ้าน~จัดบ้านให้เป็นระเบียบ โดยเฉพาะ “ห้องครัว” ที่ใช้บ่อยสุดในบ้าน
ไหนๆ ก็ไหนๆ ละ ถอยตู้เย็นใหม่ซะเลย เตรียมพร้อมตุนเสบียงให้เยอะไว้ก่อน ก็เพราะช่วงนี้นานๆ ทีจะได้ออกไปซื้อเสบียง
ไหนจะสั่งออนไลน์กลัวไม่คุ้มค่าส่ง ก็ต้องสั่งมาเยอะแยะ ดังนั้นคลังเสบียงของเรา ต้องใหญ่จุใจกันไปเลยค่ะ
ในกระทู้นี้ ปุ้ยจะมาแบ่งปันไอเดีย “รีวิวคลังเสบียงใหญ่จุเต็ม เย็นจุใจ กับตู้เย็นใหม่ของบ้านเรา”
เผื่อใครที่กำลังมองหาคลังเสบียงดีๆ สักเครื่องจะได้เป็นอีกหนึ่งไอเดียดีๆ และแถมท้ายกระทู้ด้วยเทคนิคการจัดตู้เย็นให้เป็นระเบียบด้วยค่ะ
ขอเริ่มที่รายละเอียดคร่าวๆ ของตู้เย็น~คลังเสบียงกันก่อนค่ะ รุ่นที่บ้านเราใช้ก็คือ HITACHI R-WB640VF
French Bottom Freezer 4 Door ขนาด 19.8 คิว | 560 ลิตร 900x720x1,840 มม. (กxลxส)
สารทำความเย็น R-600a | CFC-Free | HFC-Free
(ราคาขึ้นกับร้านและโปรโมชั่น ประมาณ 40,000 - 55,990 บาทค่ะ)

ปุ้ยชอบในเรื่องของดีไซน์มากค่ะ เรียบหรูดูโมเดิร์น เข้ากับสไตล์ของครัวที่บ้านมาก
หน้าบานเป็นกระจกแก้วนิรภัยหนาสีเทาเข้ม (มี 2 สีให้เลือก Glass Black / Glass Mauve Gray)
แผงควบคุมระบบสัมผัสที่อยู่บนหน้าบาน ก็ดูมินิมอล และใช้งานง่ายมาก เพิ่มดีกรีความสวยทันสมัยได้อย่างลงตัวค่ะ
ช่องแช่เย็นกว้างใหญ่จุเสบียงได้เยอะ และแบ่งโซนเป็นระเบียบ และง่ายต่อการใช้งาน
โดยช่องแช่เย็นที่เรามักจะใช้งานบ่อยๆ จะถูกออกแบบให้อยู่ส่วนบนของตู้ ซึ่งง่ายต่อการมองเห็นและหยิบของเข้าออก
อีกทั้งความฉลาดในการออกแบบช่องแช่หลากหลายรูปแบบ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการจัดเก็บ
ที่ถึงแม้ว่าจะใส่เสบียงเต็มตู้ ก็ยังดูสวยเป็นระเบียบและหยิบออกมาได้ง่ายและรวดเร็วค่ะ
ปุ้ยชอบการออกแบบทุกรายละเอียดที่ทำมาอย่างใส่ใจ และมีความสวยงามมากทั้งภายนอกและภายใน ตั้งแต่แผงควบคุมระบบสัมผัส วัสดุที่ใช้ในช่องเก็บอาหารแข็งแรงทนทาน มีการออกแบบเทคเจอร์ให้สวยงาม ชั้นวางกระจกนิรภัยขอบสีเงินดูหรูหรา ขอบยางประตูป้องกันเชื้อรา แผงอลูมิเนียมด้านใน ตลอดจนบานประตูกระจกนิรภัยที่เงางาม ที่จับแบบเว้าสวย ใช้งานง่ายและทำความสะอาดก็ง่ายด้วย
นอกจากนั้นในเรื่องระบบภายในก็ออกแบบมาอย่างมีคุณภาพ
- Compressor Warranty รับประกันคอมเพรสเซอร์ 10 ปี
- Dual Fan Cooling: ระบบทำความเย็นแบบพัดลมคู่ ซึ่งสามารถทำความเย็นแยกอิสระ ระหว่างช่องแช่เย็นและช่องแช่แข็ง
- INVERTER: เทคโนโลยีประหยัดพลังงานสูงสุด แถมมีโหมดประหยัดพลังงาน (Energy Saving) ด้วย
- Powerful Deodorization: แผ่นกรองขจัดกลิ่นประสิทธิภาพสูง ดักจับและกำจัดสารที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ มากถึง 7 ชนิด
โดยใช้แผ่นกรองขจัดกลิ่นประสิทธิภาพสูงและลดแบคทีเรียได้มากถึง 99%  (Triple Power Filter)
- Vacuum Insulation Panel: แผงฉนวนสุญญากาศกักเก็บความเย็น รักษาความเย็นคงที่เพื่อการประหยัดพลังงานสูงสุด
ซึ่งตู้ที่ไซส์ใหญ่ขนาดนี้ ถือว่าประหยัดไฟมากเลยทีเดียว เพียง 1,465 บาท/ปี เมื่อเทียบกับขนาดเท่ากัน

มาดูฟังก์ชันการแช่อาหารกันบ้างค่ะ
เริ่มจาก พระเอกของเค้าเลย
ช่องแช่อาหารระบบสุญญากาศ (Vacuum Compartment) | 5.8 ลิตร
คุณสมบัติ คือ ช่วยรักษาความสดและคงรสชาติ คงคุณค่าสารอาหารของอาหารให้ได้ยาวนานยิ่งขึ้น
อีกทั้งยังช่วยร่นระยะเวลาในการหมักอาหารให้เร็วขึ้นด้วย

การทำงานของช่องแช่อาหารระบบสุญญากาศ คือ ปั๊มสุญญากาศจะดูดอากาศและลดปริมาณออกซิเจน
เพื่อลดความดันบรรยากาศให้อยู่ที่ 0.8 atm ตลอดการใช้งาน
ช่วยป้องกันการเกิดกระบวนการออกซิเดชัน จึงช่วยให้สารอาหารคงอยู่ได้ยาวนานยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับการถนอมอาหาร +คงความสด สารอาหาร ความชุ่มชื้น
-1ºC สำหรับปลา/เนื้อสัตว์   |   1ºC สำหรับชีส/ผลไม้
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
วิธีการใช้งาน
—นำอาหารวางบนถาดอลูมิเนียม (ไม่ควรใส่อาหารปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ไม่สามารถดึงช่องแช่อาหารระบบสุญญากาศออกได้)
—ดันลิ้นชักเข้าให้สุด
—ดันที่จับลงด้านล่างให้สุด
หลังจากนั้นปั๊มสุญญากาศจะทำงาน โดยใช้เวลาในการสร้างภาวะสุญญากาศประมาณ 2 นาทีค่ะ

ปุ้ยได้ทำการทดลองประสิทธิภาพการถนอมอาหารของช่องแช่อาหารระบบสุญญากาศ
โดยนำ มันปูสด | ผัก | ชีส นำไปแช่เปรียบเทียบระหว่างช่องแช่เย็นทั่วไปกับช่องแช่อาหารระบบสุญญากาศ
โดยไม่ได้ใส่ภาชนะปิด แช่ไปแบบทั้งจานนี้เลยค่ะ โดยทดลองแบบ 3 วันและ 1 วัน


ผลลัพธ์ที่ได้ดังภาพด้านล่าง
ภาพเปรียบเทียบผลทดลอง ~ ความสดใหม่ของอาหารเมื่อแช่ในช่องแช่เย็นของตู้เย็นทั่วไป
กับ ช่องแช่อาหารระบบสุญญากาศของตู้เย็น Hitachi R-WB640VF

[ผลลัพธ์อาหารที่แช่ในช่องแช่อาหารระบบสุญญากาศ]
ผ่านไป 1 วัน~~ ยังคงความสดมาก ทั้งมันปู ผัก และชีส
เมื่อผ่านไป 3 วัน~~ มันปูยังคงสดอยู่ ผักตรงปลายก้านเริ่มเหี่ยวแต่ตรงใบยังสดอยู่ ส่วนชีสตรงขอบๆ เริ่มแห้ง แต่ยังไม่เปลี่ยนสี

[ผลลัพธ์อาหารที่แช่ในช่องแช่เย็นทั่วไป]
ผ่านไป 1 วัน~~ มันปูกับชีสแห้งแข็งและเปลี่ยนสีอย่างเห็นได้ชัด ไม่สามารถนำไปรับประทานได้แล้ว
ผักเริ่มเหี่ยวลง ผ่านไป 3 วัน~~ ทั้งมันปู ผักและชีสแข็งและแห้งกรอบมาก

จากนั้นปุ้ยลองทำการทดลองเฉพาะชีสแบบเต็มแผ่นค่ะ
โดยวางนอนบนจาน กับวางครอบไว้บนฝาขวด
เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
[ผลลัพธ์อาหารที่แช่ในช่องแช่เย็นทั่วไป]
ผ่านไป 1 วัน~ชีสแห้งลงเปลี่ยนสี จนโปร่งเห็นลายจานเลยค่ะ และแข็งมาก ไม่สามารถแงะออกจากจานได้เลย แม้จะใช้มีดแซะก็ยังยากค่ะ

[ผลลัพธ์อาหารที่แช่ในช่องแช่อาหารระบบสุญญากาศ]
ผ่านไป 1 วัน~ชีสยังคงสดอยู่ นิ่ม และยังสามารถนำไปรับประทานได้

ส่วนผลการทดลองแช่ชีสเต็มแผ่นแบบวางครอบไว้บนฝาขวด
[ผลลัพธ์อาหารที่แช่ในช่องแช่เย็นทั่วไป]
ผ่านไป 1 วัน~ชีสแห้งแข็งโป๊ก เมื่อนำมาวางที่จาน ไม่คืนรูปแล้ว แข็งอยู่ท่านี้เลยค่ะ ส่วนสีเห็นชัดเจนว่าเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม
[ผลลัพธ์อาหารที่แช่ในช่องแช่อาหารระบบสุญญากาศ]
ผ่านไป 1 วัน~ชีสยังไม่เปลี่ยนสี และยังคงนิ่มอยู่ คืนรูปเป็นแผ่นได้ เมื่อนำมาวางบนจาน และยังสามารถนำไปรับประทานได้ค่ะ
ชีสที่ได้จากการทดลองแช่ในช่องแช่อาหารระบบสุญญากาศ ยังคงรับประทานได้ พิสูจน์โดยหนูมิลลี่ จัดการเก็บหลักฐานเข้าปากเรียบร้อยหมดเกลี้ยง ทั้ง 2 การทดลองค่ะ

หลังจากปุ้ยลองใช้ช่องแช่อาหารระบบสุญญากาศแล้วก็ค่อนข้างชอบใจมาก  เก็บของสดได้นาน และยังคงความสดใหม่ทั้งรสชาติและเนื้อสัมผัสได้ดีค่ะ ไม่จำเป็นต้องแช่แข็งอาหารและไม่ต้องซีลในถุงซิปล็อคหรือแรปพลาสติกให้ยุ่งยาก
นอกจากนี้ยังช่วยให้การหมักอาหารได้รวดเร็วขึ้นด้วย เพราะว่าระบบสุญญากาศจะดูดอากาศออกจากวัตถุดิบที่แช่ไว้ ทำให้การดูดซึมเครื่องปรุงเข้าไปในเนื้อวัตถุดิบเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยร่นระยะเวลาในการหมักอาหารและได้รสชาติเครื่องปรุงที่เข้าถึงเนื้อในได้ดีขึ้นด้วย
ปุ้ยเชื่อว่าแม่บ้านหลายๆ คนตรงนี้ น่าจะปลื้มกับฟังก์ชันช่องแช่อาหารระบบสุญญากาศนี้ไปตามๆ กันแน่นอน

ต่อมาเป็นนางเอกของเราบ้าง
ช่องแช่ที่ปรับได้แบบตามใจ (Selectable Zone) | 100 ลิตร
ปรับโหมดได้ 4 โหมด:
~ Refrigerator | 3ºC โหมดแช่เย็น [อาหารและเครื่องดื่ม]
~ Chill/Meat | 1ºC โหมดชิลเลอร์ [ผลิตภัณฑ์จากนมและเนื้อสัตว์]
~ Soft Freeze | -3ºC โหมดซอฟท์ฟรีซ [เนื้อสัตว์และเนื้อปลา]
~ Freezer | -18 ~ -20ºC โหมดแช่แข็ง [ไอศกรีมและแช่แข็ง]

วิธีปรับโหมดก็เพียงกดแผงควบคุมระบบสัมผัสที่หน้าประตูตู้เย็นค่ะ
สำหรับบ้านนี้ คนที่ยิ้มกว้างสุดน่าจะเป็นหนูมิลลี่ ลูกสาววัย 3 ขวบ ที่วันๆ เปิดตู้เย็นบ่อยจนแทบจะไปนั่งเล่นอยู่ในตู้เย็นแล้ว
ปุ้ยเลยเลือกปรับช่องแช่นี้ให้มิลลี่ไปเลย โดยเลือกปรับเป็นโหมดแช่เย็น เอาไว้แช่อาหาร เครื่องดื่ม ขนม
ที่มิลลี่ชอบ แล้วเค้าก็จะได้หยิบได้เอง โดยไม่ต้องปีนเก้าอี้ หรือเรียกให้แม่ช่วยทุกครั้ง
โดยปุ้ยจะใส่พวกเครื่องดื่มที่อนุญาตให้เค้าหยิบดื่มเองได้เลย นมต่างๆ ที่เค้าชอบ ด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม
ขนมก็เป็นพวกเน้นโปรตีน เช่น ปลาเส้น หมูฝอย ปลาอบแห้ง เจลลี่วิตามิน เครื่องดื่มวิตามิน น้ำผลไม้
เหมือนได้ตู้เย็นส่วนตัวเป็นคลังเสบียงเล็กๆ ของเค้าเอง แบบนี้ละถูกใจสุดๆ ไปเลย

เรื่องการใช้งานในอนาคต
ถ้ามิลลี่โตขึ้น ทานผักได้เยอะขึ้น ก็สามารถปรับโหมดช่องนี้เป็นช่องแช่ผักได้
หรือถ้าช่วงที่ครอบครัวยุ่งสุดๆ ซื้ออาหารแช่แข็งมาเยอะ ก็สามารถปรับไปเป็นช่องแช่แข็งได้
หรือคุณแม่ที่มีน้องเบบี๋ ก็ยังสามารถเอาช่องนี้แช่น้ำนมได้ด้วย
เป็นตู้เย็นที่ใช้ไปได้อีกนานๆ 10-20 ปี คุ้มมากเลย
คุณสมบัติปรับโหมดแช่ได้ตามใจแบบนี้ น่าจะถูกใจแม่บ้านอย่างเราที่สุด เหมือนมีช่องแถมไว้แช่เพิ่มอะไรก็ได้ ปุ้ยนี่ปลื้มมากๆ ค่ะ แฮปปี้ทั้งแม่ทั้งลูกเลยทีนี้ ต่อไปไม่ต้องคอยดุลูกเวลาเปิดตู้เย็นเล่น เพราะแยกโซนอาหารกันไว้เรียบร้อยแล้ว

ต่อมาเป็นดาราสมทบบทเล็กๆ แต่ทำให้หัวใจคนทั้งบ้านพองโต
ระบบทำน้ำแข็งอัตโนมัติ (Auto Ice Maker) | 3 ลิตร
ฟังก์ชันที่ถูกใจทุกคนในบ้าน โดยเฉพาะเด็กๆ กับคุณพ่อ
คุณสมบัติ: ทำน้ำแข็งก้อนได้อัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง เพียงแค่เติมน้ำสะอาดลงในแทงค์น้ำ ถ้าเราต้องการทำน้ำแข็งในเวลาที่รวดเร็วทันใจขึ้น ก็แค่กดปุ่ม Quick Freezing ก็สามารถทำน้ำแข็งได้เร็วขึ้น


ฟังก์ชันนี้สะดวกสบายสุดๆ เลยค่ะ ต่อไปนี้ไม่ต้องเกี่ยงกันทำน้ำแข็งอีกแล้ว มีน้ำแข็งให้กินตลอดเวลา พอน้ำแข็งลดลง ระบบก็จะทำน้ำแข็งมาเติมให้เองเลย ถ้าน้ำหมดก็มีระบบแจ้งเตือนที่หน้าจอแผงควบคุมดิจิตอลด้วยค่ะ ดีงามจริงๆ
ชอบน้ำแข็งสุดๆ ก็คนนี้แหละ
ชื่อสินค้า:   Hitachi
คะแนน:     

BR - Business Review : กระทู้นี้เป็นกระทู้รีวิวจากผู้สนับสนุน

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่