‘บิ๊กตู่’ เห็นชอบดำเนินคดีบิ๊ก กคช. หลักฐานชัดเอื้อเอกชน-คนจนเช่าบ้านแพง!
https://mgronline.com/specialscoop/detail/9630000058213
เผยแพร่: 5 มิ.ย. 2563 12:47 ปรับปรุง: 6 มิ.ย. 2563 11:14 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เปิดข้อมูลทุจริตใน กคช. ที่ ‘สตง.และ พม.’ ล้วงลึกตามคำสั่ง ‘บิ๊กตู่’ เพียงแค่บริษัท CEMCO ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ กคช.พบผู้บริหาร กคช.เอื้อประโยชน์ให้เอกชน มีการตั้ง 2 ผู้มีอำนาจเต็มในบริษัทคู่สัญญา กคช.เป็นกรรมการผู้จัดการและบอร์ด CEMCO ทำให้รู้ข้อมูลความลับทางการค้า กวาดงานเช่าเหมาอาคารและชุมชนทำให้เอกชนได้ประโยชน์ปีละ 486,958,284 บาท และทำให้ประชาชนเดือดร้อนต้องเช่าที่อยู่อาศัยแพงขึ้น ส่วน CEMCO เสียประโยชน์ขาดสภาพคล่อง เพราะมีคู่ค้ารายเดียวกันคือ กคช. แถมเช่าที่ กคช.ไปปล่อยเช่าต่อให้ CEMCO เสนอบิ๊กตู่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่เว้นแม้กระทั่ง ดร.ธัชพล กาญจนกูล อดีตผู้ว่าฯ กคช.
Special Scoop นำเสนอข่าวการเคหะแห่งชาติ (กคช.) 'บิ๊กตู่' ตะลึงทุจริต กคช. : เห็นแล้วหนาวปล่อยกันได้ไง! และ ‘บิ๊กตู่’ สั่ง 'จุติ' สอบ 'กคช.' มีการทุจริต เอื้อพวกพ้อง!?ไปแล้วว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีข้อมูลการทุจริตใน กคช.หลากหลายเรื่องราว ทั้งเรื่องโครงการ 'บ้านถูกทั่วไทย' การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางในอัตราที่สูง การให้สิทธิแก่บุคคลภายนอกค้าขายในบริเวณพื้นที่เช่าแทนการให้สิทธิผู้อยู่ในชุมชน
โดยเฉพาะประเด็นที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้าไปตรวจสอบแล้วพบว่ามีการทุจริต เอื้อประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง และได้ส่งเรื่องให้ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ดำเนินการนั้นยังไม่มีอะไรคืบหน้า บิ๊กตู่ จึงได้สั่งการให้นายจุติ ไกรฤกษ์ รมวการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รีบตรวจสอบและรายงานโดยด่วน
ว่ากันว่าผลการตรวจสอบการทุจริตที่นายจุติ ได้สั่งการให้กระทรวง พม.ไปตรวจสอบตามคำสั่งนายกฯ ด้วยการเข้าไปแกะรอยข้อมูลตามที่ สตง.เสนอนายกรัฐมนตรีนั้น มีความชัดเจนว่าใครบ้างที่เข้าไปเกี่ยวข้องและได้ประโยชน์จากการทุจริตใน กคช. ไปจนถึงสาเหตุที่ทำให้บริษัทจัดการทรัพย์สินและชุมชน จำกัด (CEMCO) ซึ่งเป็นบริษัทที่ กคช.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อรับบริหารงานด้านการจัดการทรัพย์สินและดูแลชุมชนโครงการของ กคช. และโครงการของเอกชนให้มีประสิทธิภาพได้รับความเสียหายมหาศาล
งานนี้ไม่ใช่แค่ให้เรียกค่าเสียหายเท่านั้น อาจถึงขั้นติดคุกที่หลายคนใน กคช.เริ่มออกอาการร้อนๆ หนาวๆ กันแล้ว ไม่เว้นแม้กระทั่งคนที่ลาออกไปแล้วก็ตาม
เริ่มจากประเด็นที่ทำให้ กคช.ได้รับความเสียหายกรณีการโอนสิทธิการใช้ประโยชน์และการบริหารอาคารที่เป็นทรัพย์สินของ กคช.ให้สมาคมสโมสรการเคหะแห่งชาติ (สคช.) ซึ่งมิใช่หน่วยงานในสังกัด กคช. แต่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จากนั้นสมาคมฯ ได้นำอาคารสันทนาการ (โรงอาหารและอาคารกีฬา) ที่ได้รับมอบสิทธิการบริหารจาก กคช. ไปจัดหาประโยชน์ โดยแบ่งให้เอกชน คือ บริษัทดีไซน์แลนด์ (แบงค์คอก) จำกัด เช่าบางส่วนและไม่เคยนำส่งรายได้ค่าเช่าให้ กคช. ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
แต่ที่น่าตลกกว่านั้นก็คือ บริษัทดีไซน์แลนด์ฯ ได้นำทรัพย์สินดังกล่าวไปให้บริษัท CEMCO ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ กคช.เช่าช่วงในราคาที่สูง ทั้งที่การเช่าทรัพย์สินดังกล่าวบริษัทในเครือหรือบริษัทลูกควรเช่าตรงกับ กคช.จะเป็นประโยชน์มากกว่า เพราะสามารถเช่าได้ในราคาที่ถูก
นั่นเป็นเพียงเศษเสี้ยวของความเสียหาย เพราะเมื่อ สตง.สอบลึกลงไป กลับพบว่า นายศรีสวัสดิ์ ศิริปุญโญทัย ซึ่งเป็นกรรมการและกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจลงนามในบริษัทดีไซน์แลนด์ฯ และบริษัท อัสก้าพสัส จำกัด ซึ่งเป็นผู้เช่าอาคารสันทนาการ (โรงอาหาร) และพื้นที่อาคารกีฬาจากสมาคมฯ ไปปล่อยเช่าให้ CEMCO ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการและกรรมการผู้จัดการบริษัท CEMCO และยังให้นายจักรกฤษณ์ จิรัฎฐิติ ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทรอยัลเฟม เมเนจเม้นท์ จำกัด เข้ามาเป็นกรรมการ (บอร์ด) ของบริษัท CEMCO ด้วย
การเข้ามานั่งบริหาร CEMCO เกิดขึ้นในช่วงที่ นายชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าฯ กคช.และประธานกรรมการบริษัท หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นจาก กคช.ทำหน้าที่ประธานในการประชุมผู้ถือหุ้นได้มีการเสนอให้ที่ประชุมแต่งตั้งนายศรีสวัสดิ์ และนายจักรกฤษณ์
เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ สตง.และกระทรวง พม.ขุดคุ้ยลึกลงไปจึงพบว่า การตั้งนายศรีสวัสดิ์ ศิริปุญโญทัย และนายจักรกฤษณ์ จิรัฎฐิติ เข้ามาบริหาร CEMCO น่าจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนและทำให้ กคช.เสียหาย เนื่องจากนายศรีสวัสดิ์ และนายจักรกฤษณ์ ต่างก็มีบริษัทที่ทำกิจการประเภทเดียวกับ CEMCO ซึ่งเป็นคู่สัญญากับ กคช.อยู่แล้ว
ดังนั้น การเข้ามาของทั้ง 2 คนทำให้ทราบข้อมูลความลับทางการค้าเป็นอย่างดี และเมื่อประกอบการค้าอันมีสภาพอย่างเดียวกันกับคู่ค้ารายเดียวกันคือ กคช. ย่อมทำให้บริษัท CEMCO อยู่ในฐานะเสียเปรียบและเสียประโยชน์ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จากข้อมูลที่มีการตรวจสอบพบว่าบริษัทเอกชนที่เช่าเหมาบริหารอาคารทั้งโครงการ และบริหารชุมชนของ กคช.จำนวน 71 โครงการ รวมจำนวน 34,502 หน่วย มีสัญญากับเอกชนทั้งสิ้น 75 สัญญา ซึ่งรายใหญ่ๆ ประกอบด้วย
1.บริษัท อาร์ ที พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้ทำสัญญามากที่สุด 16 สัญญา จากจำนวน 19 โครงการ รวมจำนวน 7,970 หน่วย
2.บริษัท รอยัลเฟม เมเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งมีนายจักรกฤษณ์ จิรัฎฐิติ เป็นกรรมการผู้จัดการฯ ได้ทำสัญญาจำนวน 9 สัญญา จากจำนวน 10 โครงการ รวมจำนวน 9,990 หน่วย
3.บริษัท คิวซีเอ็ม เมเนจเม้นท์ จำกัด ได้ทำสัญญาเช่ารวม 4,774 หน่วย
4.บริษัทดีไซน์แลนด์ฯ ลงนามจำนวน 11 สัญญา และบริษัท อัสก้าพสัส จำกัด จำนวน 4 สัญญา ซึ่งทั้ง 2 บริษัทมีนายศรีสวัสดิ์ ศิริปุญโญทัย เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจลงนาม
5.บริษัทจิรัฏสิริ คอนสตรัคชั่น จำกัด และบริษัทเอ็ม แอสเสท จำกัด ได้ทำสัญญาจำนวน 3 สัญญา บริษัทละ 3 โครงการ รวมจำนวน 1,222 หน่วย
6.บริษัทจัดการทรัพย์สินและชุมชน (CEMCO) ได้ทำสัญญา 2 สัญญา โครงการเอื้ออาทรพุทธมณฑล สาย 7 จำนวน 233 หน่วย และบ้านพักการเคหะลำพูน จำนวน 72 หน่วย รวมจำนวน 305 หน่วย
อย่างไรก็ดี การให้เอกชนเช่าเหมาบริหารทั้งโครงการและการบริหารชุมชน จำนวน 75 โครงการ จากจำนวน 71 โครงการ รวมจำนวน 34,502 หน่วย พบว่าบริษัท CEMCO ได้เข้าบริหารเพียง 305 หน่วย นั้นแสดงให้เห็นว่า กคช.ไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2537 ที่กำหนดเป้าหมายและแผนงานให้ CEMCO รับดูแลโครงการใน กทม.และปริมณฑลจำนวน 55,422 หน่วย แต่กลับนำทรัพย์สินไปให้บริษัทเอกชนเช่าเหมาทั้งโครงการทำให้เอกชนได้ประโยชน์คิดเป็นเงินประมาณ 486,958,284 บาทต่อปี
การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัท CEMCO ขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีทุนคงเหลือประมาณ 2,500,000 บาท จึงเกิดความเสียหายต่อบริษัท CEMCO และส่งผลต่อ กคช.ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้ได้รับความเสียหายตามไปด้วย และเป็นผลให้ประชาชนต้องรับภาระค่าเช่าที่จะต้องจ่ายให้บริษัทเอกชนที่สูงขึ้น
ประเด็นนี้ สตง.ได้เคยส่งเรื่องให้ ดร.ธัชพล กาญจนกูล อดีตผู้ว่าฯ กคช.ที่ได้ยื่นใบลาออกไปแล้วและมีผลเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ได้รับทราบ พร้อมเสนอให้ กคช.เห็นควรปฏิบัติตามมติ ครม.เรื่องแผนการดำเนินงานของบริษัท CEMCO พร้อมกันนั้น ยังขอให้ ดร.ธัชพล ในฐานะผู้ว่าฯ กคช.พิจารณาทบทวนการส่งมอบทรัพย์สินของ กคช.ให้แก่สมาคมสโมสรการเคหะแห่งชาติ (สคช.) นำไปใช้ประโยชน์ โดยให้เรียกคืนทรัพย์สินต่างๆ จากสมาคมฯ รวมทั้งประเมินรายได้ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าว เพื่อนำส่งให้ กคช.
แต่จากการตรวจสอบและติดตามทั้งจาก สตง.และกระทรวง พม.ไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่า ดร.ธัชพล ได้ดำเนินการหรือกำชับเร่งรัดให้มีการดำเนินการตามที่ได้มีการส่งข้อมูลไป ซึ่งเป็นการไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่และอาจมีเจตนาเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนที่เกี่ยวข้องเป็นผลให้ กคช.เสียหายและขาดประโยชน์อันพึงจะได้จากทรัพย์สินนั้น
ว่ากันว่าข้อมูลที่สรุปเสนอนายกฯ ประยุทธ์ มีการระบุเห็นควรให้ ดร.ธัชพล ต้องร่วมรับผิดชอบในผลแห่งความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อ กคช.นับตั้งแต่วันที่เข้ารับตำแหน่งตามสัญญาจ้างผู้บริหาร กคช.เป็นต้นไป
ขณะเดียวกัน จะต้องเรียกเงินคืนจากสมาคมฯ จำนวน 18,451,019.13 บาท เนื่องจากไม่มีกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับให้อำนาจผู้ว่าฯ กคช.โอนสิทธิการใช้ประโยชน์และการบริหารอาคารให้สมาคมหรือเอกชนได้
ส่วนกรณีการแต่งตั้งนายศรีสวัสดิ์ ศิริปุญโญทัย และนายจักรกฤษณ์ จิรัฎฐิติ เข้ามาบริหาร CEMCO นั้น จากการตรวจสอบการบริหารงานพบว่า นายศรีสวัสดิ์ และนายชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าฯ กคช. อาจจะมีลักษณะร่วมมือกันในการยื่นข้อเสนอราคาต่อ กคช.ในอัตราสูงจนเป็นเหตุให้ CEMCO ขาดทุนถึง 8,284,918.16 บาท ส่งผลให้ CEMCO ขาดสภาพคล่องในการดำเนินกิจการในปัจจุบัน
“CEMCO ต้องดำเนินการหาผู้รับผิดทางแพ่ง เพราะผลการขาดทุนขาดสภาพคล่อง อาจเกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้บริหาร CEMCO โดยเฉพาะโครงการเช่าเหมาบริหารบ้านเอื้ออาทรที่โคราช ทำให้ขาดทุนถึง 6,719,745 บาท”
อีกทั้ง กคช.จะต้องเร่งจัดทำข้อบังคับและระเบียบว่าด้วยการจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินของ กคช. โดยเร็ว ไม่ว่าจะดำเนินการใดตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ กคช.รวมทั้งการมอบทรัพย์สินให้บริษัท CEMCO บริหารจัดการและหาประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น เพื่อให้เกิดความถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้
ที่น่าสนใจข้อสรุปที่อยู่ในมือนายกรัฐมนตรีนั้น รายงานด้วยว่า กคช.ได้กล่าวโทษดำเนินคดีอาญาต่อกลุ่มบุคคลและพนักงาน กคช.ที่กระทำการทุจริตต่อเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) แล้ว โดยจะได้ดำเนินการตามกฎหมายและทางวินัยกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดซึ่งคาดว่าจะมีผู้บริหารระดับกลางและสูงใน กคช.เข้าข่ายถูกดำเนินคดีจำนวนมาก!
แบบนี้ยอดเยี่ยมครับ ได้ใจชาวบ้านเต็ม ๆ งานนี้เอาคะแนนไปเลยครับลุง ^^
‘บิ๊กตู่’ เห็นชอบดำเนินคดีบิ๊ก กคช. หลักฐานชัดเอื้อเอกชน-คนจนเช่าบ้านแพง!
‘บิ๊กตู่’ เห็นชอบดำเนินคดีบิ๊ก กคช. หลักฐานชัดเอื้อเอกชน-คนจนเช่าบ้านแพง!
https://mgronline.com/specialscoop/detail/9630000058213
เผยแพร่: 5 มิ.ย. 2563 12:47 ปรับปรุง: 6 มิ.ย. 2563 11:14 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เปิดข้อมูลทุจริตใน กคช. ที่ ‘สตง.และ พม.’ ล้วงลึกตามคำสั่ง ‘บิ๊กตู่’ เพียงแค่บริษัท CEMCO ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ กคช.พบผู้บริหาร กคช.เอื้อประโยชน์ให้เอกชน มีการตั้ง 2 ผู้มีอำนาจเต็มในบริษัทคู่สัญญา กคช.เป็นกรรมการผู้จัดการและบอร์ด CEMCO ทำให้รู้ข้อมูลความลับทางการค้า กวาดงานเช่าเหมาอาคารและชุมชนทำให้เอกชนได้ประโยชน์ปีละ 486,958,284 บาท และทำให้ประชาชนเดือดร้อนต้องเช่าที่อยู่อาศัยแพงขึ้น ส่วน CEMCO เสียประโยชน์ขาดสภาพคล่อง เพราะมีคู่ค้ารายเดียวกันคือ กคช. แถมเช่าที่ กคช.ไปปล่อยเช่าต่อให้ CEMCO เสนอบิ๊กตู่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่เว้นแม้กระทั่ง ดร.ธัชพล กาญจนกูล อดีตผู้ว่าฯ กคช.
Special Scoop นำเสนอข่าวการเคหะแห่งชาติ (กคช.) 'บิ๊กตู่' ตะลึงทุจริต กคช. : เห็นแล้วหนาวปล่อยกันได้ไง! และ ‘บิ๊กตู่’ สั่ง 'จุติ' สอบ 'กคช.' มีการทุจริต เอื้อพวกพ้อง!?ไปแล้วว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีข้อมูลการทุจริตใน กคช.หลากหลายเรื่องราว ทั้งเรื่องโครงการ 'บ้านถูกทั่วไทย' การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางในอัตราที่สูง การให้สิทธิแก่บุคคลภายนอกค้าขายในบริเวณพื้นที่เช่าแทนการให้สิทธิผู้อยู่ในชุมชน
โดยเฉพาะประเด็นที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้าไปตรวจสอบแล้วพบว่ามีการทุจริต เอื้อประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง และได้ส่งเรื่องให้ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ดำเนินการนั้นยังไม่มีอะไรคืบหน้า บิ๊กตู่ จึงได้สั่งการให้นายจุติ ไกรฤกษ์ รมวการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รีบตรวจสอบและรายงานโดยด่วน
ว่ากันว่าผลการตรวจสอบการทุจริตที่นายจุติ ได้สั่งการให้กระทรวง พม.ไปตรวจสอบตามคำสั่งนายกฯ ด้วยการเข้าไปแกะรอยข้อมูลตามที่ สตง.เสนอนายกรัฐมนตรีนั้น มีความชัดเจนว่าใครบ้างที่เข้าไปเกี่ยวข้องและได้ประโยชน์จากการทุจริตใน กคช. ไปจนถึงสาเหตุที่ทำให้บริษัทจัดการทรัพย์สินและชุมชน จำกัด (CEMCO) ซึ่งเป็นบริษัทที่ กคช.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อรับบริหารงานด้านการจัดการทรัพย์สินและดูแลชุมชนโครงการของ กคช. และโครงการของเอกชนให้มีประสิทธิภาพได้รับความเสียหายมหาศาล
งานนี้ไม่ใช่แค่ให้เรียกค่าเสียหายเท่านั้น อาจถึงขั้นติดคุกที่หลายคนใน กคช.เริ่มออกอาการร้อนๆ หนาวๆ กันแล้ว ไม่เว้นแม้กระทั่งคนที่ลาออกไปแล้วก็ตาม
เริ่มจากประเด็นที่ทำให้ กคช.ได้รับความเสียหายกรณีการโอนสิทธิการใช้ประโยชน์และการบริหารอาคารที่เป็นทรัพย์สินของ กคช.ให้สมาคมสโมสรการเคหะแห่งชาติ (สคช.) ซึ่งมิใช่หน่วยงานในสังกัด กคช. แต่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จากนั้นสมาคมฯ ได้นำอาคารสันทนาการ (โรงอาหารและอาคารกีฬา) ที่ได้รับมอบสิทธิการบริหารจาก กคช. ไปจัดหาประโยชน์ โดยแบ่งให้เอกชน คือ บริษัทดีไซน์แลนด์ (แบงค์คอก) จำกัด เช่าบางส่วนและไม่เคยนำส่งรายได้ค่าเช่าให้ กคช. ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
แต่ที่น่าตลกกว่านั้นก็คือ บริษัทดีไซน์แลนด์ฯ ได้นำทรัพย์สินดังกล่าวไปให้บริษัท CEMCO ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ กคช.เช่าช่วงในราคาที่สูง ทั้งที่การเช่าทรัพย์สินดังกล่าวบริษัทในเครือหรือบริษัทลูกควรเช่าตรงกับ กคช.จะเป็นประโยชน์มากกว่า เพราะสามารถเช่าได้ในราคาที่ถูก
นั่นเป็นเพียงเศษเสี้ยวของความเสียหาย เพราะเมื่อ สตง.สอบลึกลงไป กลับพบว่า นายศรีสวัสดิ์ ศิริปุญโญทัย ซึ่งเป็นกรรมการและกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจลงนามในบริษัทดีไซน์แลนด์ฯ และบริษัท อัสก้าพสัส จำกัด ซึ่งเป็นผู้เช่าอาคารสันทนาการ (โรงอาหาร) และพื้นที่อาคารกีฬาจากสมาคมฯ ไปปล่อยเช่าให้ CEMCO ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการและกรรมการผู้จัดการบริษัท CEMCO และยังให้นายจักรกฤษณ์ จิรัฎฐิติ ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทรอยัลเฟม เมเนจเม้นท์ จำกัด เข้ามาเป็นกรรมการ (บอร์ด) ของบริษัท CEMCO ด้วย
การเข้ามานั่งบริหาร CEMCO เกิดขึ้นในช่วงที่ นายชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าฯ กคช.และประธานกรรมการบริษัท หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นจาก กคช.ทำหน้าที่ประธานในการประชุมผู้ถือหุ้นได้มีการเสนอให้ที่ประชุมแต่งตั้งนายศรีสวัสดิ์ และนายจักรกฤษณ์
เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ สตง.และกระทรวง พม.ขุดคุ้ยลึกลงไปจึงพบว่า การตั้งนายศรีสวัสดิ์ ศิริปุญโญทัย และนายจักรกฤษณ์ จิรัฎฐิติ เข้ามาบริหาร CEMCO น่าจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนและทำให้ กคช.เสียหาย เนื่องจากนายศรีสวัสดิ์ และนายจักรกฤษณ์ ต่างก็มีบริษัทที่ทำกิจการประเภทเดียวกับ CEMCO ซึ่งเป็นคู่สัญญากับ กคช.อยู่แล้ว
ดังนั้น การเข้ามาของทั้ง 2 คนทำให้ทราบข้อมูลความลับทางการค้าเป็นอย่างดี และเมื่อประกอบการค้าอันมีสภาพอย่างเดียวกันกับคู่ค้ารายเดียวกันคือ กคช. ย่อมทำให้บริษัท CEMCO อยู่ในฐานะเสียเปรียบและเสียประโยชน์ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จากข้อมูลที่มีการตรวจสอบพบว่าบริษัทเอกชนที่เช่าเหมาบริหารอาคารทั้งโครงการ และบริหารชุมชนของ กคช.จำนวน 71 โครงการ รวมจำนวน 34,502 หน่วย มีสัญญากับเอกชนทั้งสิ้น 75 สัญญา ซึ่งรายใหญ่ๆ ประกอบด้วย
1.บริษัท อาร์ ที พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้ทำสัญญามากที่สุด 16 สัญญา จากจำนวน 19 โครงการ รวมจำนวน 7,970 หน่วย
2.บริษัท รอยัลเฟม เมเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งมีนายจักรกฤษณ์ จิรัฎฐิติ เป็นกรรมการผู้จัดการฯ ได้ทำสัญญาจำนวน 9 สัญญา จากจำนวน 10 โครงการ รวมจำนวน 9,990 หน่วย
3.บริษัท คิวซีเอ็ม เมเนจเม้นท์ จำกัด ได้ทำสัญญาเช่ารวม 4,774 หน่วย
4.บริษัทดีไซน์แลนด์ฯ ลงนามจำนวน 11 สัญญา และบริษัท อัสก้าพสัส จำกัด จำนวน 4 สัญญา ซึ่งทั้ง 2 บริษัทมีนายศรีสวัสดิ์ ศิริปุญโญทัย เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจลงนาม
5.บริษัทจิรัฏสิริ คอนสตรัคชั่น จำกัด และบริษัทเอ็ม แอสเสท จำกัด ได้ทำสัญญาจำนวน 3 สัญญา บริษัทละ 3 โครงการ รวมจำนวน 1,222 หน่วย
6.บริษัทจัดการทรัพย์สินและชุมชน (CEMCO) ได้ทำสัญญา 2 สัญญา โครงการเอื้ออาทรพุทธมณฑล สาย 7 จำนวน 233 หน่วย และบ้านพักการเคหะลำพูน จำนวน 72 หน่วย รวมจำนวน 305 หน่วย
อย่างไรก็ดี การให้เอกชนเช่าเหมาบริหารทั้งโครงการและการบริหารชุมชน จำนวน 75 โครงการ จากจำนวน 71 โครงการ รวมจำนวน 34,502 หน่วย พบว่าบริษัท CEMCO ได้เข้าบริหารเพียง 305 หน่วย นั้นแสดงให้เห็นว่า กคช.ไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2537 ที่กำหนดเป้าหมายและแผนงานให้ CEMCO รับดูแลโครงการใน กทม.และปริมณฑลจำนวน 55,422 หน่วย แต่กลับนำทรัพย์สินไปให้บริษัทเอกชนเช่าเหมาทั้งโครงการทำให้เอกชนได้ประโยชน์คิดเป็นเงินประมาณ 486,958,284 บาทต่อปี
การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัท CEMCO ขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีทุนคงเหลือประมาณ 2,500,000 บาท จึงเกิดความเสียหายต่อบริษัท CEMCO และส่งผลต่อ กคช.ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้ได้รับความเสียหายตามไปด้วย และเป็นผลให้ประชาชนต้องรับภาระค่าเช่าที่จะต้องจ่ายให้บริษัทเอกชนที่สูงขึ้น
ประเด็นนี้ สตง.ได้เคยส่งเรื่องให้ ดร.ธัชพล กาญจนกูล อดีตผู้ว่าฯ กคช.ที่ได้ยื่นใบลาออกไปแล้วและมีผลเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ได้รับทราบ พร้อมเสนอให้ กคช.เห็นควรปฏิบัติตามมติ ครม.เรื่องแผนการดำเนินงานของบริษัท CEMCO พร้อมกันนั้น ยังขอให้ ดร.ธัชพล ในฐานะผู้ว่าฯ กคช.พิจารณาทบทวนการส่งมอบทรัพย์สินของ กคช.ให้แก่สมาคมสโมสรการเคหะแห่งชาติ (สคช.) นำไปใช้ประโยชน์ โดยให้เรียกคืนทรัพย์สินต่างๆ จากสมาคมฯ รวมทั้งประเมินรายได้ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าว เพื่อนำส่งให้ กคช.
แต่จากการตรวจสอบและติดตามทั้งจาก สตง.และกระทรวง พม.ไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่า ดร.ธัชพล ได้ดำเนินการหรือกำชับเร่งรัดให้มีการดำเนินการตามที่ได้มีการส่งข้อมูลไป ซึ่งเป็นการไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่และอาจมีเจตนาเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนที่เกี่ยวข้องเป็นผลให้ กคช.เสียหายและขาดประโยชน์อันพึงจะได้จากทรัพย์สินนั้น
ว่ากันว่าข้อมูลที่สรุปเสนอนายกฯ ประยุทธ์ มีการระบุเห็นควรให้ ดร.ธัชพล ต้องร่วมรับผิดชอบในผลแห่งความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อ กคช.นับตั้งแต่วันที่เข้ารับตำแหน่งตามสัญญาจ้างผู้บริหาร กคช.เป็นต้นไป
ขณะเดียวกัน จะต้องเรียกเงินคืนจากสมาคมฯ จำนวน 18,451,019.13 บาท เนื่องจากไม่มีกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับให้อำนาจผู้ว่าฯ กคช.โอนสิทธิการใช้ประโยชน์และการบริหารอาคารให้สมาคมหรือเอกชนได้
ส่วนกรณีการแต่งตั้งนายศรีสวัสดิ์ ศิริปุญโญทัย และนายจักรกฤษณ์ จิรัฎฐิติ เข้ามาบริหาร CEMCO นั้น จากการตรวจสอบการบริหารงานพบว่า นายศรีสวัสดิ์ และนายชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าฯ กคช. อาจจะมีลักษณะร่วมมือกันในการยื่นข้อเสนอราคาต่อ กคช.ในอัตราสูงจนเป็นเหตุให้ CEMCO ขาดทุนถึง 8,284,918.16 บาท ส่งผลให้ CEMCO ขาดสภาพคล่องในการดำเนินกิจการในปัจจุบัน
“CEMCO ต้องดำเนินการหาผู้รับผิดทางแพ่ง เพราะผลการขาดทุนขาดสภาพคล่อง อาจเกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้บริหาร CEMCO โดยเฉพาะโครงการเช่าเหมาบริหารบ้านเอื้ออาทรที่โคราช ทำให้ขาดทุนถึง 6,719,745 บาท”
อีกทั้ง กคช.จะต้องเร่งจัดทำข้อบังคับและระเบียบว่าด้วยการจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินของ กคช. โดยเร็ว ไม่ว่าจะดำเนินการใดตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ กคช.รวมทั้งการมอบทรัพย์สินให้บริษัท CEMCO บริหารจัดการและหาประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น เพื่อให้เกิดความถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้
ที่น่าสนใจข้อสรุปที่อยู่ในมือนายกรัฐมนตรีนั้น รายงานด้วยว่า กคช.ได้กล่าวโทษดำเนินคดีอาญาต่อกลุ่มบุคคลและพนักงาน กคช.ที่กระทำการทุจริตต่อเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) แล้ว โดยจะได้ดำเนินการตามกฎหมายและทางวินัยกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดซึ่งคาดว่าจะมีผู้บริหารระดับกลางและสูงใน กคช.เข้าข่ายถูกดำเนินคดีจำนวนมาก!
แบบนี้ยอดเยี่ยมครับ ได้ใจชาวบ้านเต็ม ๆ งานนี้เอาคะแนนไปเลยครับลุง ^^