ว่าด้วยปัญหาของโมฆราชมาณพ🕸🕸
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
💫“ภิกษุ ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย
ก็อะไรเล่าจะต้องแตกสลาย คือ
จักษุแลต้องแตกสลาย รูปต้องแตกสลาย
จักขุวิญญาณต้องแตกสลาย
จักขุสัมผัสต้องแตกสลาย
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา(เป็นทุกข์ก็มิใช่เป็นสุขก็มิใช่) ที่เกิดขึ้นเพราะมีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ต้องแตกสลาย
โสตะต้องแตกสลาย เสียงต้องแตกสลาย
ฆานะต้องแตกสลาย กลิ่นต้องแตกสลาย
ชิวหาต้องแตกสลาย รสต้องแตกสลาย
กายต้องแตกสลาย โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ต้องแตกสลาย
มโนต้องแตกสลาย ธรรมารมณ์ต้องแตกสลาย
มโนวิญญาณต้องแตกสลาย มโนสัมผัสต้องแตกสลาย
💫แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ต้องแตกสลาย
💫ภิกษุที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย
เป็นอย่างนี้”
💫คำว่า เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า
อธิบายว่า บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลก
โดยความว่างเปล่าด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
๑. ด้วยการกำหนดเห็นสังขารไม่เป็นไปตามอำนาจ
๒. ด้วยการพิจารณาเห็นสังขารเป็นของว่างเปล่า
💫บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า
ด้วยการกำหนดเห็นสังขารไม่เป็นไปตามอำนาจ
เป็นอย่างไรคือ
💫บุคคลย่อมไม่ได้อำนาจในรูป
อำนาจในเวทนา อำนาจในสัญญา
อำนาจในสังขาร อำนาจในวิญญาณ
🕸🕸พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส หน้า 298-323🕸🕸
🕸🕸ขอเชิญอ่านพระสูตรบทเต็มได้ที่นี่🕸🕸
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…
คำสอน มองโลกด้วยความว่างเปล่า พระไตรปิฎก
ว่าด้วยปัญหาของโมฆราชมาณพ🕸🕸
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
💫“ภิกษุ ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย
ก็อะไรเล่าจะต้องแตกสลาย คือ
จักษุแลต้องแตกสลาย รูปต้องแตกสลาย
จักขุวิญญาณต้องแตกสลาย
จักขุสัมผัสต้องแตกสลาย
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา(เป็นทุกข์ก็มิใช่เป็นสุขก็มิใช่) ที่เกิดขึ้นเพราะมีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ต้องแตกสลาย
โสตะต้องแตกสลาย เสียงต้องแตกสลาย
ฆานะต้องแตกสลาย กลิ่นต้องแตกสลาย
ชิวหาต้องแตกสลาย รสต้องแตกสลาย
กายต้องแตกสลาย โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ต้องแตกสลาย
มโนต้องแตกสลาย ธรรมารมณ์ต้องแตกสลาย
มโนวิญญาณต้องแตกสลาย มโนสัมผัสต้องแตกสลาย
💫แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ต้องแตกสลาย
💫ภิกษุที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย
เป็นอย่างนี้”
💫คำว่า เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า
อธิบายว่า บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลก
โดยความว่างเปล่าด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
๑. ด้วยการกำหนดเห็นสังขารไม่เป็นไปตามอำนาจ
๒. ด้วยการพิจารณาเห็นสังขารเป็นของว่างเปล่า
💫บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า
ด้วยการกำหนดเห็นสังขารไม่เป็นไปตามอำนาจ
เป็นอย่างไรคือ
💫บุคคลย่อมไม่ได้อำนาจในรูป
อำนาจในเวทนา อำนาจในสัญญา
อำนาจในสังขาร อำนาจในวิญญาณ
🕸🕸พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส หน้า 298-323🕸🕸
🕸🕸ขอเชิญอ่านพระสูตรบทเต็มได้ที่นี่🕸🕸
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…