สวัสดีค่าาาา .... วันนี้แคทจะ ขอมาแชร์ข้อมูล การจดทะเบียนสมรสกับชาวอังกฤษในไทย 2020 ที่ต้องบอกก่อนว่าเป็นปี 2020 เพราะมันไม่ง่าย เหมือนปีก่อนๆที่ผ่านมาแล้วน่ะสิคะ 5555 เมื่อก่อนเท่าที่ดูจากคนแชร์ ตามที่หาข้อมูล เพียงแค่เตรียมเอกสารแล้วเดินวอล์คอินไปกดบัตรคิวที่เขต (กรณีในกทม. ) ก็สามารถจดได้ภายในวันนั้นๆ ได้เลย (สำหรับตจว.แคทไม่แน่ใจว่ายังสามารถวอคอินไปได้ไหม) แต่เดี๋ยวนี้จากที่แคทอัพเดทล่าสุดคือ ไม่ว่าจะเขตไหนส่วนใหญ่ ถ้าเราดำเนินเรื่องเอง ไม่ผ่านบริการจากเอเจนท์ คือต้องรอทางเขตเชคเอกสารประมาณ 2 อาทิตย์ ถึง 1 เดือน แล้วเขาถึงจะโทรนัดวันจดกับเราอีกครั้ง ทั้งนี้ พยานต้องเป็นญาติทางฝ่ายหญิงด้วยเท่านั้น ..
กระทู้นี้ แคทจะแชร์ข้อมูล และเอกสาร ทั้งของฝ่ายชายและหญิงที่จะต้องเตรียมให้
รวมถึงขั้นตอน การเปลี่ยนนามสกุล และตั้งชื่อรอง (เพราะของแคท คือ อยากใช้นามสกุลเดิมเป็นชื่อรอง) และทำบัตรประชาชน ให้ด้วยค่ะ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครหลายๆ คนที่แพลนกำลังจะจดทะเบียนสมรสในไทยเร็วๆนี้ นะคะ
29 พ.ค. 2563 เขตดอนเมือง
ก่อนอื่นอันดับแรกเลย ที่แคทจะแนะนำคือ ท่านควรโทรไปที่ .... เขตที่ท่านสนใจอยากจะจดค่ะ
เผื่อบางที่เอกสารที่เขาต้องการ ไม่เหมือนกัน บางที่ เอาแค่ใบโสด +แปล บางที่เอาทั้งใบโสด+ พาสปอต อีกอย่างหลังเราปั๊มรับรองมาแล้วเอกสารจะมีวันหมดอายุนะคะ ทางที่ดีควรโทรสอบถามทางเขตก่อน เพื่อความมั่นใจ
อย่างกรณีของแคท มาติดช่วงโควิทพอดี ตอนโทรไปถามเขตใกล้บ้าน หลายๆ ที่ เค้าบอกต่างชาติเค้ายังไม่รับจดช่วงนี้ 555 ใจหายแว้บบบเลย
สรุป เขตที่แคทโทรถาม แล้วทำการรับจดช่วงนั้น มี พระโขนง สาทร บางรัก อ่อ อย่าลืมถามเรื่องพยานและล่ามด้วยนะคะ เพราะบางที่ส่วนใหญ่คือ พยานต้องเป็นญาติทางฝ่ายหญิงเท่านั้น ... หลังจากสอบถามเรียบร้อย เราก็มาทำเรื่องเตรียมเอกสารกันเลย ค่า
ขั้นตอนเตรียมเอกสาร
ฝ่ายชาย
1.
Affirmation of Marital Status หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่าใบรับรองโสด และ Certified passport อันนี้ ต้องเข้าไปจองในเวบและทำการจ่ายเงิน ผ่าน เว็บของสท. อังกฤษในประเทศไทย (กรณีของแคท คือ ฝ่ายชายอยู่ที่ประเทศไทยค่ะ ) ตามเวบไซด์ด้านล่าง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ https://www.gov.uk/government/publications/information-for-british-nationals-intending-to-marry-in-thailand
ในเวบ จะมีให้ดาวน์โหลด แบบ ฟอร์มที่จะต้องกรอก แล้วนำไปยื่นวันที่สัมภาษณ์ ซึ่งให้ทำการนัดวันผ่านจากในเว็บเช่นเดียวกันค่ะ
*ค่าขอ ใบโสด 30 ปอนด์ และ ขอ certified passport 20 ปอนด์ค่ะ
*ย้ำ ว่า ต้องทำนัด และชำระเงินผ่านหน้าเวบไซด์ก่อนเท่านั้นนะคะ
2. หลังจากที่ไปสัมภาษณ์แล้วได้ใบโสด + certifired passport มาแล้วนั้น เราต้องนำ 2 ตัวนี้ ไปแปลเป็นภาษาไทยซึ่งหาร้านได้ง่ายมากค่ะ ทั่วไป ราคาหน้าละประมาณ 300-500 ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท แนะนำว่าให้เชค spelling ให้ดีทุกบรรทัด อย่าให้ผิดทีเดียวนะคะ
ถ้าฝ่ายชายมี work permitted และมีชื่อภาษาไทยอยู่ให้แนบไป จะได้แปลตรงกันค่ะ
ปล. แคททำที่ร้านแปล ฝั่งเพลินจิต เป็นบ.รับแปล + พร้อมบริการไปปั๊มรับรองเอกสารให้เราด้วยที่กระทรวงการต่างประเทศกรณีเราไม่สะดวกไปด้วยตนเอง แต่เดี๋ยวนี้ สามารถไปปั๊มรับรองเองที่ MRT คลองเตยได้นะคะ รอ ประมาณ 2-3 วัน
*ค่าแปลเอกสาร หน้าละ 300-500 บาท ใช้เวลาแปล 1-2 วัน
3.
legalization หรือ การที่นำเอกสารที่แปลแล้ว ไปให้กระทรวงต่างประเทศปั๊มรับรองค่ะ ขั้นตอนนี้จะไปเองก็ได้ อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ที่ MRT คลองเตย หรือจะไปที่ แจ้งวัฒนะ ก็ได้ค่ะ ถ้าใครไม่สะดวก จะใช้บริการเดียวกับร้านแปลก็ได้ค่ะ เขาจะมีการคิดค่าบริการเพิ่ม 800-1000.- บาท
*ค่ารับรองเอกสาร แผ่นละ 400.-
หลังจากได้ทุกอย่างแล้วให้เก็บเอกสารไว้ให้ดีเลยนะคะ โดยเฉพาะใบเสร็จที่ไปปั๊มรับรองเอกสารมา ถ้าให้คนอื่นทำต้องมีใบมอบอำนาจด้วย ห้ามหายเด็ดขาด !!
เอกสารเพิ่มเติม*
4. ถ้า ฝ่ายชาย มี work permitted ให้เตรียมไว้ด้วยค่ะ ทั้งตัวจริงและสำเนา พร้อมทั้งถ่ายหน้าที่ปั๊มอนุญาตให้ทำงานครั้งล่าสุด( ที่เป็นวันที่)
5. หนังสือเดินทางตัวจริง และสำเนา พร้อมถ่ายหน้า แสตมป์เข้าประเทศไทยครั้งล่าสุด หรือหน้าวีซ่า
ถ่ายเอกสารทุกอย่าง รวมทั้งใบที่แปลและปั๊มรับรอง ถ่ายทั้งหน้าและหลัง
เอกสารฝ่ายหญฺิง
1. ทะเบียนบ้าน ทั้งตัวจริงและสำเนา
2. บัตรประชาชนทั้งตัวจริงและสำเนา
3. ใบหย่า (ถ้ามี )
4. ใบเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุลตัวจริง (ถ้ามี) บางเขตก็ไม่ใช้ค่ะ
หลังจากเชคเอกสารทุกอย่างว่าถูกต้องแล้ว ให้นำเอกสารที่ยื่นที่เขต ที่ได้ทำการคุยไว้ ตอนของแคทเนี่ย ฝ่ายหญิงสามารถไปยื่นเอกสารด้วยตัวเองคนเดียวได้ โดยที่ฝ่ายชายไม่ต้องไป จนท.จะบอกว่า ใช้เวลาเช้คเอกสารประมาณ 1 เดือน แต่พอถึงเวลา จริง ๆแค่ 2 อาทิตย์ เค้าก็จะโทรมาบอกค่ะ ว่าเอกสารผ่านแล้ว จะทำการจดวันไหน ให้เราเลือกวันได้ ..
ถ้าใครไม่รีบ และมีเวลา หรือ อยู่ที่ไทยเป็นหลักอยู่แล้ว ก็ไปทำเองก็ได้ค่ะ ตามขั้นตอนที่บอกมา จะได้ไม่ต้องเสียเงิน ค่าาา
*กรณีของแคท คือ เรามีเวลาจำกัด และอยากล็อควัน จึงไม่อยากรอ พอดีมีคนแนะนำให้เลือกเอเจนท์ที่ราคาถูกหน่อยช่วยในขั้นตอนการจดทะเบียนอย่างเดียว (เพราะเอกสารทุกอย่าง เราทำเองไว้เรียบร้อยแล้ว) ก็เลยได้ลงเอยที่เขตดอนเมือง(ตามที่เอเจนท์จัดการให้) โดยเอเจนท์จะจัดเตรียม พยานและล่ามให้หมด เราไปกันแค่ 2 คนพอค่ะ.. ทั้งๆที่ตอนเราโทรถามตอนแรก เขาบอกไม่รับต่างชาติเลยช่วงโควิด
.
เอาเป็นว่าสุดท้าย ก็ได้จดเป็นที่เรียบร้อย อาจจะมีติดขัดไปบ้าง แต่ก็ผ่านมาโดยดีค่ะ
ตอนจดทะเบียน เอกสารสำคัญที่ทั้งสองจะได้ คือ ..
1. ใบสำคัญการสมรส หรือ คร. 3
2. ทะเบียนสมรส คร.2
หลังจากทำการจดทะเบียน เราจะได้ เอกสาร 2 ตัวนี้มา สำคัญคือเชคเอกสารข้อมูลว่าถูกต้องครบถ้วนด้วยนะคะ เพราะถ้าผิด เดี๋ยวต้องกลับมาแก้กันอีกจะเสียเวลาค่าาา * คร. 2 เราสามารถขอทางเขตขอคัดลอกตัวจริงให้เราได้นะคะ สัก 3-4 ใบ
หลังจากนั้นให้เก็บเราไว้ต้องใช้ 2 ตัวนี้เป็นหลักฐาน ตอนที่จะไปเปลี่ยนนามสกุลที่ อำเภอ ค่ะ
เด่ว แคทจะมาต่อ วิธีการตั้งชื่อรอง และเปลี่ยนนามสกุล และทำบัตรประชาชนใหม่ นะคะ
มาต่อแล้วววค่าาา ขั้นตอน การเปลี่ยนชื่อนามสกุล และการขอตั้งชื่อรอง
ก่อนอื่น ต้องบอกว่า การเปลี่ยนนามสกุล หรือตั้งชื่อรอง ต้องกลับไปทำที่ว่าการอำเภอ ที่มีชื่อเราอยู่ในเขตนั้นๆ ด้วยนะคะ
วางแผน วันเวลาเดินทางให้ดีดี ไปวันธรรมดา เผื่อไว้ สัก 2-3 วัน จะดีที่สุดค่ะ เผื่อคนเยอะ ทำวันเดียวไม่เสร็จ เพราะบางที่ ต้องเปลี่ยนที่อำเภอ แต่ทะเบียนบ้านไปแก้ที่เทศบาล (อยู่ที่ว่าทะเบียนบ้านเราอยู่ภายใต้ที่ไหน เทศบาลหรืออำเภอ )
อย่างกรณีของแคท คือโดน 2 รอบ เพราะ แก้ทั้ง นามสกุล และชื่อรอง เทียวไปเทียวมา อำเภอกับเทศบาล เอาซะหมดวัน...
หลักการเปลี่ยน คือ ..
เปลี่ยนนามสกุล --> แก้ทะเบียนบ้าน --> ขอตั้งชื่อรอง --> แก้ทะเบียนบ้าน -- >ไปทำบัตรประชาชนใหม่
(กรณีนี้ ถ้าใคร ทะเบียนบ้านขึ้นอยู่กับอำเภอก็จะทำทีเดียวเสร็จได้เลยค่ะ ไม่ต้องทำ 2 รอบเหมือนของแคท เนอะ)
เอกสารที่ต้องเตรียม
(อันนี้จะเป็นทางฝ่ายหญิงเตรียมล้วนๆ เอกสารไม่เยอะ แต่ตอนทำอาจจะใช้เวลาขึ้นอยู่กับอำเภอแต่ละที่ )
1. ทะเบียนบ้านตัวจริง (จำเป็นค่ะ เพราะหลังเราเปลี่ยนนามสกุลและชื่อรอง เราต้องเปลี่ยนในทะเบียนบ้านด้วย )
2. ใบ คร. 2 ตัวจริง (ที่ทางเขตให้เรามา ตอนจดทะเบียน)
3. ใบคร.3 หรือ ใบสำคัญการสมรส ตัวจริง (เตรียมไปให้เขาดุค่ะ แต่เขาจะคืนเราตอนทำเสร็จ )
หลังจากไป ถึงอำเภอ ก็บอกเค้าได้เลยค่ะ ว่ามาทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุล เนื่องจากสมรส และจะขอใช้เป็นนาง ( แล้วแต่ว่า แจ้งกับทางเขตที่จดทะเบียนและลงไว้ในบันทึก คร. 2 ไว้แบบไหน ) เจ้าหน้าที่จะทำเรื่องให้ และให้ใบ เปลี่ยนชื่อสกุลเรามา เรียกว่า
ช.5
ถึงตอนนี้ ถ้าอำเภอเปลียนในทะเบียนบ้านให้ได้เลย ก็ดีค่ะ
จากนั้น ตั้งชื่อรอง จะเป็นอีกใบนึง ซึ่งหน้าตาเหมือนกัน กรณีของแคท คืออยากใช้ นามสกุลเดิมเป็น ชื่อรอง
ใบที่ทางอำเภอ ออกให้ หรือที่เรียก ว่า
ช.3
*ค่าธรรมเนียมการตั้งชื่อรอง 50.- บาท
หลังจากได้ 2 ใบนี้ และเปลี่ยนแก้ ในทะเบียนบ้านเรียบร้อย ก็นำ เอกสารทุกอย่าง ไปทำบัตรประชาชนใหม่
การทำบัตรประชาชน ไม่จำเป็นต้องทำที่เขต หรือเทศบาลที่มีชื่ออยู่ ถ้าใครสะดวกใน กทม. ก็สามารถไปทำ ตามสำนักงานเขตทั่วไป หรือตามจุดบริการด่วนมหานคร ตามรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ นะคะ ปัจจุบัน มี ที่ สยาม , หมอชิต , พร้อมพงษ์ , อุดมสุข
เอกสารการทำบัตรประชาชนใหม่
1. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อสกุล ช.5 และ ชื่อรอง ช.3 ตัวจริง และเตรียมสำเนาไปด้วยจะดีมากค่ะ เผื่อบางที่ใช้
2. ทะเบียนบ้าน
3. บัตรประชาชนตัวจริง ที่ยังไม่หมดอายุ และสำเนา
4. ใบทะเบียนสมรส คร. 2 และ คร.3 ฉบับจริง และสำเนา
ค่าธรรมเนียม - ไม่แน่ใจว่าที่กทม. เสียเท่าไร แต่ของแคทเสีย 100.- ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนบัตรประชาชนใหม่
หลังจากได้บัตรประชาชนมาแล้ว แนะนำว่า ให้เริ่มทยอยอัพเดทข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นทั้ง ธนาคาร บัตรเครดิต ประกัน หรือแม้กระทั่งเล่มรถยนต์ด้วยนะคะ
ปล. บางธนาคาร อาจเสียค่าธรรมเนียมในการออกเล่มใหม่ และต้องออกจากสาขาที่เราเปิดบัญชีเท่านั้น ส่วนบัตรเครดิต บางที่ก็ส่งมาใหม่ได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมค่ะ
จบแล้วว่า หวังว่า กระทู้นี้ จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย เป็นแนวทางสำหรับท่านที่แพลนจะ จดทะเบียน และเปลี่ยนนามสกุล
สิ่งใดแคทผิดพลาดไป ขออภัย มา ณ ที่นี่ด้วย ค่า
แชร์ประสบการณ์ จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ (อังกฤษ)ในไทย2020 และการเปลี่ยนนามสกุล พร้อมตั้งชื่อรอง
กระทู้นี้ แคทจะแชร์ข้อมูล และเอกสาร ทั้งของฝ่ายชายและหญิงที่จะต้องเตรียมให้
รวมถึงขั้นตอน การเปลี่ยนนามสกุล และตั้งชื่อรอง (เพราะของแคท คือ อยากใช้นามสกุลเดิมเป็นชื่อรอง) และทำบัตรประชาชน ให้ด้วยค่ะ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครหลายๆ คนที่แพลนกำลังจะจดทะเบียนสมรสในไทยเร็วๆนี้ นะคะ
29 พ.ค. 2563 เขตดอนเมือง
ก่อนอื่นอันดับแรกเลย ที่แคทจะแนะนำคือ ท่านควรโทรไปที่ .... เขตที่ท่านสนใจอยากจะจดค่ะ
เผื่อบางที่เอกสารที่เขาต้องการ ไม่เหมือนกัน บางที่ เอาแค่ใบโสด +แปล บางที่เอาทั้งใบโสด+ พาสปอต อีกอย่างหลังเราปั๊มรับรองมาแล้วเอกสารจะมีวันหมดอายุนะคะ ทางที่ดีควรโทรสอบถามทางเขตก่อน เพื่อความมั่นใจ
อย่างกรณีของแคท มาติดช่วงโควิทพอดี ตอนโทรไปถามเขตใกล้บ้าน หลายๆ ที่ เค้าบอกต่างชาติเค้ายังไม่รับจดช่วงนี้ 555 ใจหายแว้บบบเลย
สรุป เขตที่แคทโทรถาม แล้วทำการรับจดช่วงนั้น มี พระโขนง สาทร บางรัก อ่อ อย่าลืมถามเรื่องพยานและล่ามด้วยนะคะ เพราะบางที่ส่วนใหญ่คือ พยานต้องเป็นญาติทางฝ่ายหญิงเท่านั้น ... หลังจากสอบถามเรียบร้อย เราก็มาทำเรื่องเตรียมเอกสารกันเลย ค่า
ขั้นตอนเตรียมเอกสาร
ฝ่ายชาย
1. Affirmation of Marital Status หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่าใบรับรองโสด และ Certified passport อันนี้ ต้องเข้าไปจองในเวบและทำการจ่ายเงิน ผ่าน เว็บของสท. อังกฤษในประเทศไทย (กรณีของแคท คือ ฝ่ายชายอยู่ที่ประเทศไทยค่ะ ) ตามเวบไซด์ด้านล่าง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในเวบ จะมีให้ดาวน์โหลด แบบ ฟอร์มที่จะต้องกรอก แล้วนำไปยื่นวันที่สัมภาษณ์ ซึ่งให้ทำการนัดวันผ่านจากในเว็บเช่นเดียวกันค่ะ
*ค่าขอ ใบโสด 30 ปอนด์ และ ขอ certified passport 20 ปอนด์ค่ะ
*ย้ำ ว่า ต้องทำนัด และชำระเงินผ่านหน้าเวบไซด์ก่อนเท่านั้นนะคะ
2. หลังจากที่ไปสัมภาษณ์แล้วได้ใบโสด + certifired passport มาแล้วนั้น เราต้องนำ 2 ตัวนี้ ไปแปลเป็นภาษาไทยซึ่งหาร้านได้ง่ายมากค่ะ ทั่วไป ราคาหน้าละประมาณ 300-500 ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท แนะนำว่าให้เชค spelling ให้ดีทุกบรรทัด อย่าให้ผิดทีเดียวนะคะ
ถ้าฝ่ายชายมี work permitted และมีชื่อภาษาไทยอยู่ให้แนบไป จะได้แปลตรงกันค่ะ
ปล. แคททำที่ร้านแปล ฝั่งเพลินจิต เป็นบ.รับแปล + พร้อมบริการไปปั๊มรับรองเอกสารให้เราด้วยที่กระทรวงการต่างประเทศกรณีเราไม่สะดวกไปด้วยตนเอง แต่เดี๋ยวนี้ สามารถไปปั๊มรับรองเองที่ MRT คลองเตยได้นะคะ รอ ประมาณ 2-3 วัน
*ค่าแปลเอกสาร หน้าละ 300-500 บาท ใช้เวลาแปล 1-2 วัน
3. legalization หรือ การที่นำเอกสารที่แปลแล้ว ไปให้กระทรวงต่างประเทศปั๊มรับรองค่ะ ขั้นตอนนี้จะไปเองก็ได้ อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ที่ MRT คลองเตย หรือจะไปที่ แจ้งวัฒนะ ก็ได้ค่ะ ถ้าใครไม่สะดวก จะใช้บริการเดียวกับร้านแปลก็ได้ค่ะ เขาจะมีการคิดค่าบริการเพิ่ม 800-1000.- บาท
*ค่ารับรองเอกสาร แผ่นละ 400.-
หลังจากได้ทุกอย่างแล้วให้เก็บเอกสารไว้ให้ดีเลยนะคะ โดยเฉพาะใบเสร็จที่ไปปั๊มรับรองเอกสารมา ถ้าให้คนอื่นทำต้องมีใบมอบอำนาจด้วย ห้ามหายเด็ดขาด !!
เอกสารเพิ่มเติม*
4. ถ้า ฝ่ายชาย มี work permitted ให้เตรียมไว้ด้วยค่ะ ทั้งตัวจริงและสำเนา พร้อมทั้งถ่ายหน้าที่ปั๊มอนุญาตให้ทำงานครั้งล่าสุด( ที่เป็นวันที่)
5. หนังสือเดินทางตัวจริง และสำเนา พร้อมถ่ายหน้า แสตมป์เข้าประเทศไทยครั้งล่าสุด หรือหน้าวีซ่า
ถ่ายเอกสารทุกอย่าง รวมทั้งใบที่แปลและปั๊มรับรอง ถ่ายทั้งหน้าและหลัง
เอกสารฝ่ายหญฺิง
1. ทะเบียนบ้าน ทั้งตัวจริงและสำเนา
2. บัตรประชาชนทั้งตัวจริงและสำเนา
3. ใบหย่า (ถ้ามี )
4. ใบเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุลตัวจริง (ถ้ามี) บางเขตก็ไม่ใช้ค่ะ
หลังจากเชคเอกสารทุกอย่างว่าถูกต้องแล้ว ให้นำเอกสารที่ยื่นที่เขต ที่ได้ทำการคุยไว้ ตอนของแคทเนี่ย ฝ่ายหญิงสามารถไปยื่นเอกสารด้วยตัวเองคนเดียวได้ โดยที่ฝ่ายชายไม่ต้องไป จนท.จะบอกว่า ใช้เวลาเช้คเอกสารประมาณ 1 เดือน แต่พอถึงเวลา จริง ๆแค่ 2 อาทิตย์ เค้าก็จะโทรมาบอกค่ะ ว่าเอกสารผ่านแล้ว จะทำการจดวันไหน ให้เราเลือกวันได้ ..
ถ้าใครไม่รีบ และมีเวลา หรือ อยู่ที่ไทยเป็นหลักอยู่แล้ว ก็ไปทำเองก็ได้ค่ะ ตามขั้นตอนที่บอกมา จะได้ไม่ต้องเสียเงิน ค่าาา
*กรณีของแคท คือ เรามีเวลาจำกัด และอยากล็อควัน จึงไม่อยากรอ พอดีมีคนแนะนำให้เลือกเอเจนท์ที่ราคาถูกหน่อยช่วยในขั้นตอนการจดทะเบียนอย่างเดียว (เพราะเอกสารทุกอย่าง เราทำเองไว้เรียบร้อยแล้ว) ก็เลยได้ลงเอยที่เขตดอนเมือง(ตามที่เอเจนท์จัดการให้) โดยเอเจนท์จะจัดเตรียม พยานและล่ามให้หมด เราไปกันแค่ 2 คนพอค่ะ.. ทั้งๆที่ตอนเราโทรถามตอนแรก เขาบอกไม่รับต่างชาติเลยช่วงโควิด .
เอาเป็นว่าสุดท้าย ก็ได้จดเป็นที่เรียบร้อย อาจจะมีติดขัดไปบ้าง แต่ก็ผ่านมาโดยดีค่ะ
ตอนจดทะเบียน เอกสารสำคัญที่ทั้งสองจะได้ คือ ..
1. ใบสำคัญการสมรส หรือ คร. 3
2. ทะเบียนสมรส คร.2
หลังจากทำการจดทะเบียน เราจะได้ เอกสาร 2 ตัวนี้มา สำคัญคือเชคเอกสารข้อมูลว่าถูกต้องครบถ้วนด้วยนะคะ เพราะถ้าผิด เดี๋ยวต้องกลับมาแก้กันอีกจะเสียเวลาค่าาา * คร. 2 เราสามารถขอทางเขตขอคัดลอกตัวจริงให้เราได้นะคะ สัก 3-4 ใบ
หลังจากนั้นให้เก็บเราไว้ต้องใช้ 2 ตัวนี้เป็นหลักฐาน ตอนที่จะไปเปลี่ยนนามสกุลที่ อำเภอ ค่ะ
เด่ว แคทจะมาต่อ วิธีการตั้งชื่อรอง และเปลี่ยนนามสกุล และทำบัตรประชาชนใหม่ นะคะ
วางแผน วันเวลาเดินทางให้ดีดี ไปวันธรรมดา เผื่อไว้ สัก 2-3 วัน จะดีที่สุดค่ะ เผื่อคนเยอะ ทำวันเดียวไม่เสร็จ เพราะบางที่ ต้องเปลี่ยนที่อำเภอ แต่ทะเบียนบ้านไปแก้ที่เทศบาล (อยู่ที่ว่าทะเบียนบ้านเราอยู่ภายใต้ที่ไหน เทศบาลหรืออำเภอ )
อย่างกรณีของแคท คือโดน 2 รอบ เพราะ แก้ทั้ง นามสกุล และชื่อรอง เทียวไปเทียวมา อำเภอกับเทศบาล เอาซะหมดวัน...
หลักการเปลี่ยน คือ ..
เปลี่ยนนามสกุล --> แก้ทะเบียนบ้าน --> ขอตั้งชื่อรอง --> แก้ทะเบียนบ้าน -- >ไปทำบัตรประชาชนใหม่
(กรณีนี้ ถ้าใคร ทะเบียนบ้านขึ้นอยู่กับอำเภอก็จะทำทีเดียวเสร็จได้เลยค่ะ ไม่ต้องทำ 2 รอบเหมือนของแคท เนอะ)
เอกสารที่ต้องเตรียม
(อันนี้จะเป็นทางฝ่ายหญิงเตรียมล้วนๆ เอกสารไม่เยอะ แต่ตอนทำอาจจะใช้เวลาขึ้นอยู่กับอำเภอแต่ละที่ )
1. ทะเบียนบ้านตัวจริง (จำเป็นค่ะ เพราะหลังเราเปลี่ยนนามสกุลและชื่อรอง เราต้องเปลี่ยนในทะเบียนบ้านด้วย )
2. ใบ คร. 2 ตัวจริง (ที่ทางเขตให้เรามา ตอนจดทะเบียน)
3. ใบคร.3 หรือ ใบสำคัญการสมรส ตัวจริง (เตรียมไปให้เขาดุค่ะ แต่เขาจะคืนเราตอนทำเสร็จ )
หลังจากไป ถึงอำเภอ ก็บอกเค้าได้เลยค่ะ ว่ามาทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุล เนื่องจากสมรส และจะขอใช้เป็นนาง ( แล้วแต่ว่า แจ้งกับทางเขตที่จดทะเบียนและลงไว้ในบันทึก คร. 2 ไว้แบบไหน ) เจ้าหน้าที่จะทำเรื่องให้ และให้ใบ เปลี่ยนชื่อสกุลเรามา เรียกว่า ช.5
ถึงตอนนี้ ถ้าอำเภอเปลียนในทะเบียนบ้านให้ได้เลย ก็ดีค่ะ
จากนั้น ตั้งชื่อรอง จะเป็นอีกใบนึง ซึ่งหน้าตาเหมือนกัน กรณีของแคท คืออยากใช้ นามสกุลเดิมเป็น ชื่อรอง
ใบที่ทางอำเภอ ออกให้ หรือที่เรียก ว่า ช.3
*ค่าธรรมเนียมการตั้งชื่อรอง 50.- บาท
หลังจากได้ 2 ใบนี้ และเปลี่ยนแก้ ในทะเบียนบ้านเรียบร้อย ก็นำ เอกสารทุกอย่าง ไปทำบัตรประชาชนใหม่
การทำบัตรประชาชน ไม่จำเป็นต้องทำที่เขต หรือเทศบาลที่มีชื่ออยู่ ถ้าใครสะดวกใน กทม. ก็สามารถไปทำ ตามสำนักงานเขตทั่วไป หรือตามจุดบริการด่วนมหานคร ตามรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ นะคะ ปัจจุบัน มี ที่ สยาม , หมอชิต , พร้อมพงษ์ , อุดมสุข
เอกสารการทำบัตรประชาชนใหม่
1. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อสกุล ช.5 และ ชื่อรอง ช.3 ตัวจริง และเตรียมสำเนาไปด้วยจะดีมากค่ะ เผื่อบางที่ใช้
2. ทะเบียนบ้าน
3. บัตรประชาชนตัวจริง ที่ยังไม่หมดอายุ และสำเนา
4. ใบทะเบียนสมรส คร. 2 และ คร.3 ฉบับจริง และสำเนา
ค่าธรรมเนียม - ไม่แน่ใจว่าที่กทม. เสียเท่าไร แต่ของแคทเสีย 100.- ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนบัตรประชาชนใหม่
หลังจากได้บัตรประชาชนมาแล้ว แนะนำว่า ให้เริ่มทยอยอัพเดทข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นทั้ง ธนาคาร บัตรเครดิต ประกัน หรือแม้กระทั่งเล่มรถยนต์ด้วยนะคะ
ปล. บางธนาคาร อาจเสียค่าธรรมเนียมในการออกเล่มใหม่ และต้องออกจากสาขาที่เราเปิดบัญชีเท่านั้น ส่วนบัตรเครดิต บางที่ก็ส่งมาใหม่ได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมค่ะ
จบแล้วว่า หวังว่า กระทู้นี้ จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย เป็นแนวทางสำหรับท่านที่แพลนจะ จดทะเบียน และเปลี่ยนนามสกุล
สิ่งใดแคทผิดพลาดไป ขออภัย มา ณ ที่นี่ด้วย ค่า