คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
การแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) วันที่ 30 พ.ค. 2563
การแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)
ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 30 พฤษภาคม 2563
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2563
ประเทศไทย
ผู้ติดเชื้อสะสม 3,077 ราย ใน 68 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 1 ราย)
-ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จากภายในประเทศ
-มีผู้ติดเชื้อในกลุ่มผู้ที่กลับจากต่างประเทศใน State quarantine เพิ่มขึ้น 1 ราย
เสียชีวิตรวม 57 ราย (ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในวันนี้)
รักษาหายป่วยแล้ว 2,961 ราย (96.23%) (เพิ่มขึ้น 16 ราย)
ผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่มขึ้นในวันนี้ 1 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากประเทศซาอุดิอาระเบีย และเดินทางเข้าประเทศผ่านด่านปาดังเบซาร์ เข้ารับการรักษาที่จังหวัดนราธิวาส (State quarantine)
กรุงเทพมหานคร มีผู้ป่วยที่รับรักษาสะสมมากที่สุด (1,535 ราย) ตามด้วย ภูเก็ต (227), นนทบุรี (158), ยะลา (125), สมุทรปราการ (112), ชลบุรี (86), ปัตตานี (79), สงขลา (44), เชียงใหม่ (41) และ ปทุมธานี (39) โดยมีผู้ติดเชื้อที่อยู่ระหว่าง state quarantine ในจังหวัดต่างๆ รวม 140 ราย
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/2816963751762512
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๙)
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/126/T_0044.PDF?fbclid=IwAR1tO0dG2Jc2nTtgKab5Pi04kJh28vtDxp98NkjoYAgnT2A5AxQvy9CcCFw
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/147199950231671
นายกรัฐมนตรีอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจเจตนาการขยายพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้การบริหารสถานการณ์ในภาพรวมของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีเอกภาพ
หากสถานการณ์ดีขึ้นจะขยายสู่การผ่อนปรนระยะที่ 4 และพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต่อไป ซึ่งต้องเตรียมความพร้อมไว้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่องราบรื่น และควบคุมสถานการณ์ต่อไปให้ได้ เช่น มีมาตรการมารองรับการใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ หรือกฎหมายอื่นๆ ที่จะมาทดแทน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/282171633168166
ศบค.ผ่อนคลายระยะ 3 ลดเวลาเคอร์ฟิว ให้กิจกรรม-กิจการธุรกิจดำเนินได้สะดวกมากขึ้น เริ่ม 1 มิ.ย.นี้
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/691059691726764
คนพิการเฮ ‼️ รับเงินเยียวยา 1,000 บาท วันนี้ (29 พ.ค.63)
นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลาง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ได้ดำเนินการทยอยจ่ายเงินเยียวยาคนพิการ 1,000 บาท รอบแรกแล้ว วันนี้ (29 พ.ค. 63)
ย้ำเชื่อมั่นถึงมือคนพิการอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตั้งแต่ช่วงเวลา 00.00 น. ของวันนี้ เป็นต้นไป ผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทยและต่างธนาคาร ซึ่งเป็นการจ่ายครั้งเดียว โดยกรมบัญชีกลาง ได้โอนเงินเข้าบัญชีคนพิการโดยตรง จำนวนกว่า 1,600,000 คน ภายในวันนี้ (29 พ.ค. 63)
ส่วนคนพิการ ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล และ อบต.) จ่ายเป็นเงินสด ให้กับคนพิการจำนวนกว่า 300,000 คน คาดว่าจะจ่ายแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2563
สำหรับคนพิการที่ไม่ได้รับเบี้ยความพิการ กว่า 60,000 คนทั่วประเทศ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) จะโอนเงินเข้าบัญชีคนพิการโดยตรง หรือจ่ายเป็นเงินสดให้กับคนพิการ คาดว่าจะจ่ายแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2563
อย่างไรก็ตาม หากหลังจากวันที่ 15 มิถุนายน 2563 คนพิการยังไม่ได้รับเงินเยียวยาดังกล่าว สามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่เว็บไซต์ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ www.dep.go.th ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2563
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โทร 0 2354 3388 ต่อ 304, 307 หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทั่วประเทศ
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/691115085054558
จำเป็นแค่ไหน? ทำไมต้องฉุกเฉิน‼️
เรื่อง พ.ร.ก ฉุกเฉิน เป็นอำนาจกฎหมายกลาง ผลดีที่เกิดขึ้นคนป่วยไม่มาก ติดเชื้อน้อยลง รัฐบาลต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จึงมีความจำเป็น
“ประเทศไทยทำได้ดีอย่างนี้ ต่างประเทศชื่นชมแบบนี้”
“การดูแลต้องบริหารใช้จ่ายเงินให้เหมาะสม ต้องมีการเตรียมพร้อม‼️สำหรับมาตรการด้านสาธารณสุข ที่สถานการณ์อาจยืดยาวต่อไป ยืนยันดูแลทุกกลุ่ม เจ้าหน้าที่ บุคลากร”
“รัฐบาลไม่ทิ้ง”
(คลิป)
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/282367283148601
“รักษา เยียวยา ฟื้นฟู”
“มีมาตรการว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป ต้องมีหลักเกณฑ์ กฎเกณฑ์ และดำเนินงานตามกรอบ บริหารตามกฎหมาย ทำประโยชน์ให้มากขึ้น ให้ประเทศก้าวหน้า มีรายได้มีผลผลิตมากขึ้น”
“เงินจำนวนนี้เพื่ออะไร? รักษา เยียวยาและฟื้นฟูให้ประเทศเข้มแข็ง แยกไว้ชัดเจนมีกรอบชัดเจน”
ทุกคนมีหน้าที่ สิทธิ = เท่าเทียม
แต่ทำยังไงจะ “ไม่ซ้ำซ้อน”
เงินจำนวนนี้ ให้เพื่อดำรงชีพที่เกิดในสถานการณ์โควิด-19
“รัฐบาลมีหลักคิด”
(คลิป)
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/282333953151934
เร่งตรวจโควิด-19 เพิ่ม 1 แสนตัวอย่างภายในเดือน มิ.ย. นี้
#ไทยคู่ฟ้า เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเชิงรุก และควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยต่อชีวิตพี่น้องประชาชนคนไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะเร่งตรวจผู้ที่เข้าข่ายต้องสงสัยอย่างน้อย 100,000 ตัวอย่างทั่วประเทศภายในเดือน มิ.ย. นี้
.
โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปแล้วในหลายจังหวัด เช่น นครราชสีมา สุราษฏร์ธานี ปัตตานี เป็นต้น ซึ่งการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มผู้ที่เข้าข่ายสอบสวนโรค
กลุ่มที่ 2 คือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ
กลุ่มที่ 3 คือการค้นหาเชิงรุก
.
สำหรับการดำเนินการ ทางส่วนกลางจะมอบโยบายว่าจะตรวจกลุ่มไหน สถานที่ไหน และให้ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเป็นผู้พิจารณาจากข้อมูลของจังหวัดตนเอง ซึ่งเป็นข้อดีที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด จะสามารถปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ภายในจังหวัดของตนเอง
.
โดยห้องปฏิบัติการเครือข่ายตรวจ
SAR-Cov-2 มีครอบคลุมทั่วประเทศแล้วทั้งสิ้น 176 แห่ง ได้แก่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 69 แห่ง แบ่งเป็น ภาครัฐ 29 แห่ง เอกชน 40 แห่ง ในต่างจังหวัด 107 แห่ง แบ่งเป็น ภาครัฐ 87 แห่ง และเอกชน 20 แห่ง
.
ปัจจุบันประเทศไทยได้ดำเนินการตรวจไปแล้วกว่า 400,000 ตัวอย่างโดยส่งผลให้สามารถควบคุมโรค และควบคุมการระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ขอให้ประชาชนมั่นใจต่อนโยบายของรัฐ รวมทั้งการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/925871327878674
การแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)
ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 30 พฤษภาคม 2563
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2563
ประเทศไทย
ผู้ติดเชื้อสะสม 3,077 ราย ใน 68 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 1 ราย)
-ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จากภายในประเทศ
-มีผู้ติดเชื้อในกลุ่มผู้ที่กลับจากต่างประเทศใน State quarantine เพิ่มขึ้น 1 ราย
เสียชีวิตรวม 57 ราย (ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในวันนี้)
รักษาหายป่วยแล้ว 2,961 ราย (96.23%) (เพิ่มขึ้น 16 ราย)
ผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่มขึ้นในวันนี้ 1 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากประเทศซาอุดิอาระเบีย และเดินทางเข้าประเทศผ่านด่านปาดังเบซาร์ เข้ารับการรักษาที่จังหวัดนราธิวาส (State quarantine)
กรุงเทพมหานคร มีผู้ป่วยที่รับรักษาสะสมมากที่สุด (1,535 ราย) ตามด้วย ภูเก็ต (227), นนทบุรี (158), ยะลา (125), สมุทรปราการ (112), ชลบุรี (86), ปัตตานี (79), สงขลา (44), เชียงใหม่ (41) และ ปทุมธานี (39) โดยมีผู้ติดเชื้อที่อยู่ระหว่าง state quarantine ในจังหวัดต่างๆ รวม 140 ราย
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/2816963751762512
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๙)
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/126/T_0044.PDF?fbclid=IwAR1tO0dG2Jc2nTtgKab5Pi04kJh28vtDxp98NkjoYAgnT2A5AxQvy9CcCFw
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/147199950231671
นายกรัฐมนตรีอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจเจตนาการขยายพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้การบริหารสถานการณ์ในภาพรวมของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีเอกภาพ
หากสถานการณ์ดีขึ้นจะขยายสู่การผ่อนปรนระยะที่ 4 และพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต่อไป ซึ่งต้องเตรียมความพร้อมไว้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่องราบรื่น และควบคุมสถานการณ์ต่อไปให้ได้ เช่น มีมาตรการมารองรับการใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ หรือกฎหมายอื่นๆ ที่จะมาทดแทน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/282171633168166
ศบค.ผ่อนคลายระยะ 3 ลดเวลาเคอร์ฟิว ให้กิจกรรม-กิจการธุรกิจดำเนินได้สะดวกมากขึ้น เริ่ม 1 มิ.ย.นี้
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/691059691726764
คนพิการเฮ ‼️ รับเงินเยียวยา 1,000 บาท วันนี้ (29 พ.ค.63)
นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลาง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ได้ดำเนินการทยอยจ่ายเงินเยียวยาคนพิการ 1,000 บาท รอบแรกแล้ว วันนี้ (29 พ.ค. 63)
ย้ำเชื่อมั่นถึงมือคนพิการอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตั้งแต่ช่วงเวลา 00.00 น. ของวันนี้ เป็นต้นไป ผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทยและต่างธนาคาร ซึ่งเป็นการจ่ายครั้งเดียว โดยกรมบัญชีกลาง ได้โอนเงินเข้าบัญชีคนพิการโดยตรง จำนวนกว่า 1,600,000 คน ภายในวันนี้ (29 พ.ค. 63)
ส่วนคนพิการ ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล และ อบต.) จ่ายเป็นเงินสด ให้กับคนพิการจำนวนกว่า 300,000 คน คาดว่าจะจ่ายแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2563
สำหรับคนพิการที่ไม่ได้รับเบี้ยความพิการ กว่า 60,000 คนทั่วประเทศ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) จะโอนเงินเข้าบัญชีคนพิการโดยตรง หรือจ่ายเป็นเงินสดให้กับคนพิการ คาดว่าจะจ่ายแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2563
อย่างไรก็ตาม หากหลังจากวันที่ 15 มิถุนายน 2563 คนพิการยังไม่ได้รับเงินเยียวยาดังกล่าว สามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่เว็บไซต์ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ www.dep.go.th ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2563
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โทร 0 2354 3388 ต่อ 304, 307 หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทั่วประเทศ
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/691115085054558
จำเป็นแค่ไหน? ทำไมต้องฉุกเฉิน‼️
เรื่อง พ.ร.ก ฉุกเฉิน เป็นอำนาจกฎหมายกลาง ผลดีที่เกิดขึ้นคนป่วยไม่มาก ติดเชื้อน้อยลง รัฐบาลต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จึงมีความจำเป็น
“ประเทศไทยทำได้ดีอย่างนี้ ต่างประเทศชื่นชมแบบนี้”
“การดูแลต้องบริหารใช้จ่ายเงินให้เหมาะสม ต้องมีการเตรียมพร้อม‼️สำหรับมาตรการด้านสาธารณสุข ที่สถานการณ์อาจยืดยาวต่อไป ยืนยันดูแลทุกกลุ่ม เจ้าหน้าที่ บุคลากร”
“รัฐบาลไม่ทิ้ง”
(คลิป)
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/282367283148601
“รักษา เยียวยา ฟื้นฟู”
“มีมาตรการว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป ต้องมีหลักเกณฑ์ กฎเกณฑ์ และดำเนินงานตามกรอบ บริหารตามกฎหมาย ทำประโยชน์ให้มากขึ้น ให้ประเทศก้าวหน้า มีรายได้มีผลผลิตมากขึ้น”
“เงินจำนวนนี้เพื่ออะไร? รักษา เยียวยาและฟื้นฟูให้ประเทศเข้มแข็ง แยกไว้ชัดเจนมีกรอบชัดเจน”
ทุกคนมีหน้าที่ สิทธิ = เท่าเทียม
แต่ทำยังไงจะ “ไม่ซ้ำซ้อน”
เงินจำนวนนี้ ให้เพื่อดำรงชีพที่เกิดในสถานการณ์โควิด-19
“รัฐบาลมีหลักคิด”
(คลิป)
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/282333953151934
เร่งตรวจโควิด-19 เพิ่ม 1 แสนตัวอย่างภายในเดือน มิ.ย. นี้
#ไทยคู่ฟ้า เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเชิงรุก และควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยต่อชีวิตพี่น้องประชาชนคนไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะเร่งตรวจผู้ที่เข้าข่ายต้องสงสัยอย่างน้อย 100,000 ตัวอย่างทั่วประเทศภายในเดือน มิ.ย. นี้
.
โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปแล้วในหลายจังหวัด เช่น นครราชสีมา สุราษฏร์ธานี ปัตตานี เป็นต้น ซึ่งการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มผู้ที่เข้าข่ายสอบสวนโรค
กลุ่มที่ 2 คือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ
กลุ่มที่ 3 คือการค้นหาเชิงรุก
.
สำหรับการดำเนินการ ทางส่วนกลางจะมอบโยบายว่าจะตรวจกลุ่มไหน สถานที่ไหน และให้ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเป็นผู้พิจารณาจากข้อมูลของจังหวัดตนเอง ซึ่งเป็นข้อดีที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด จะสามารถปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ภายในจังหวัดของตนเอง
.
โดยห้องปฏิบัติการเครือข่ายตรวจ
SAR-Cov-2 มีครอบคลุมทั่วประเทศแล้วทั้งสิ้น 176 แห่ง ได้แก่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 69 แห่ง แบ่งเป็น ภาครัฐ 29 แห่ง เอกชน 40 แห่ง ในต่างจังหวัด 107 แห่ง แบ่งเป็น ภาครัฐ 87 แห่ง และเอกชน 20 แห่ง
.
ปัจจุบันประเทศไทยได้ดำเนินการตรวจไปแล้วกว่า 400,000 ตัวอย่างโดยส่งผลให้สามารถควบคุมโรค และควบคุมการระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ขอให้ประชาชนมั่นใจต่อนโยบายของรัฐ รวมทั้งการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/925871327878674
แสดงความคิดเห็น
🍥🍥มาลาริน/ข่าวดีค่ะ ติดเชื้อโควิดวันนี้แค่ 1ราย รักษาหาย16ราย โพลตบหน้าปชต.หนุนต่อพรก.ฉุกเฉิน ให้รบ.สอบผ่านชนะฝ่ายค้าน
ศบค.แถลงฯ สถานการณ์โรคโควิด-19 ประจำวันที่ 30 พฤษภาคม 2563 รายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ล่าสุด
พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ ศบค. แถลงข่าวสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 30 พฤษภาคม 2563 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิดวันนี้ 1 ราย ที่กักกัน หรือ State Quarantine ป่วยรวมสะสม 3,077 ราย รักษาหายเพิ่มวันนี้ 16 ราย รวม 2,961 ราย
รายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มวันนี้ไม่มี ยอดผู้เสียชีวิตรวม 57 ราย และเหลือรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 59 ราย
สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่วันนี้ เป็นชายไทยอายุ 26 ปี เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-ญูฟ เดินทางกลับจากกรุงริยาด - กัาลาลัมเปอร์ แล้วเดินทางเข้าประเทศไทยทางด่านปาดังเบซาร์ โดยรถบัส เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2563 เวลา 8.00 น.
เข้า State Quarantine จ.นราธิวาส ตรวจครั้งที่ 1 เมื่อ 25 พ.ค.2563 ไม่พบเชื้อ
28 พ.ค.2563 มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก
ตรวจครั้งที่ 2 เมื่อ 28 พ.ค.2563 ผลพบเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษาที่ รพ.นราธิวาส
ขณะที่สถานการณ์ทั่วโลก อินเดียขยับขึ้นมาติดอยู่ใน 10 อันดับแรกของผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากที่สุด , บราซิลเพิ่มขึ้นมากที่สุดในวันนี้กว่า 2 หมื่นรายด้วยกัน
https://www.komchadluek.net/news/regional/432346?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=section_สถานะการโคโรน่า
โพลตบหน้าฝ่ายประชาธิปไตย!ประชาชนเสียงส่วนใหญ่หนุนรัฐบาลต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
30 พ.ค.63 - จากกรณีที่นักการเมืองฝ่ายค้าน นักสิทธิมนุษยชน และนักเคลื่อนไหวฝ่ายประชาธิปไตยออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกพรก.ฉุกเฉินนั้น ล่าสุดกรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนไทยว่ายังไง…กับการต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,205 คน พบว่า..👇
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.9 เห็นว่าการต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน การล็อกดาวน์ มีผลต่อการดำเนินชีวิต การทำงาน การเรียน ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 42.1 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
เมื่อถามว่ากังวลมากน้อยเพียงใดต่อสถานที่ที่เปิดจากมาตรการผ่อนปรนเฟสแรกและเฟสสองว่าจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ได้ พบว่า ในมาตรการผ่อนปรนเฟสแรกเคอร์ฟิว 22.00 - 04.00 น. เช่น ตลาด ร้านอาหารขนาดเล็ก สนามกีฬากลางแจ้ง ร้านตัดผม ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.8 มีความกังวลต่อสถานที่ที่ผ่อนปรนค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (แบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 43.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 18.0) ขณะที่ร้อยละ 38.2 มีความกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (แบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 32.8 และมากที่สุดร้อยละ 5.4)
ส่วนมาตรการผ่อนปรนเฟสสอง เคอร์ฟิว 23.00 – 04.00 น. เช่น ห้างสรรพสินค้า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.6 มีความกังวลต่อสถานที่ที่ผ่อนปรนค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (แบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 44.6 และน้อยที่สุดร้อยละ 17.0) ขณะที่ร้อยละ 38.4 มีความกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (แบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 32.6 และมากที่สุดร้อยละ 5.8)
ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าสถานที่ที่กังวลมากที่สุดหากมีการผ่อนปรนในเฟสที่ 3 และเฟสที่ 4 ว่าอาจจะทำให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้ คือ สถานบันเทิง ผับ บาร์คิดเป็นร้อยละ 80.5 รองลงมาคือ สนามมวย สนามม้า สนามแข่งกีฬาต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 77.6 และโรงภาพยนตร์ คิดเป็นร้อยละ 46.2
เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการลดเวลาเคอร์ฟิวลงเหลือ 23.00 – 03.00 น. ส่วนใหญ่ร้อยละ 82.4 เห็นด้วยเพราะ เวลาไม่ได้แตกต่างจากเดิมที่ 23.00 – 04.00 น. จะได้มีความยืดหยุ่นในการดำเนินชีวิตได้มากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 17.6 ไม่เห็นด้วยเพราะ จะทำให้มีการพบปะ สังสรรค์ ชุมนุมกันเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19
สำหรับความเห็นต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินยังจำเป็นมากน้อยเพียงใดต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.5 เห็นว่ายังจำเป็นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 30.5 เห็นว่าจำเป็นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
สุดท้ายเมื่อถามถึงเรื่องที่ห่วงมากที่สุด กับอนาคตของประเทศไทย ในการต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน คือ ปัญหาการขาดรายได้ ค่าครองชีพของประชาชนคิดเป็นร้อยละ 77.9 รองลงมาคือ มีการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 70.0 และการศึกษาของลูกหลานเรียนออนไลน์คิดเป็นร้อยละ 57.7
https://www.thaipost.net/main/detail/67321
ซูเปอร์โพลปชช.ให้รบ.-ฝ่ายค้านสอบผ่านอภิปรายกู้เงิน
ซูเปอร์โพล ปชช. ให้รัฐบาล-ฝ่ายค้าน สอบผ่านเฉียดฉิวอภิปราย พ.ร.ก.กู้เงิน พบทั้ง 2 ฝั่งมีเสียงสนับสนุนเพิ่มขึ้น พลังเงียบเริ่มหายไป
สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่องแรงหนุน แรงต้าน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Method) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การลงพื้นที่ และการเก็บข้อมูลในโลกโซเชียล ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,123 ตัวอย่าง ระหว่าง 28 – 29 พ.ค. ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนได้ประเมิน การอภิปราย พ.ร.ก.กู้เงิน ระหว่างฝ่ายรัฐบาล และ ฝ่ายค้าน ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายสอบผ่านแบบฉิวเฉียด โดยที่คะแนนเต็ม 10 รัฐบาล ได้ 5.18 คะแนน และฝ่ายค้าน 5.03 คะแนน
ทั้งนี้ เมื่อจำแนกจากจุดยืนทางการเมืองพบว่า รัฐบาล ได้คะแนนจากกลุ่มสนับสนุนรัฐบาล 6.27 คะแนน จากผู้ไม่หนุนรัฐบาล 3.59 คะแนน และจากพลังเงียบ 6.07 คะแนน ขณะที่ฝ่ายค้านได้คะแนนจาก กลุ่มหนุนรัฐบาล 4.44 คะแนน จาก กลุ่มไม่หนุนรัฐบาล 5.53 คะแนน และจากพลังเงียบ 5.18 คะแนน
อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อพิจารณา แนวโน้มจุดยืนการเมืองของประชาชนตั้งแต่เดือน กันยายน 2562 ถึง ช่วงอภิปราย พ.ร.ก.กู้เงิน 30 พ.ค. 2563 พบว่า ฐานสนับสนุนรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 39.1 แต่ ฐานไม่สนับสนุนรัฐบาล ก็เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 39.0 โดยที่กลุ่มพลังเงียบ ลดลงจากร้อยละ 29.8 เหลือร้อยละ 21.9
https://www.komchadluek.net/news/regional/432346?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=section_สถานะการโคโรน่า
วันนี้มีข่าวดีทั้งโควิด19 และโพลสำรวจความคิดเห็นสองโพลเลยค่ะ