คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
การแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) วันที่ 29 พ.ค. 2563
การแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
วันที่ 29 พฤษภาคม 2563
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2563
ประเทศไทย
ผู้ติดเชื้อสะสม 3,076 ราย ใน 68 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 11 ราย)
โดยไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จากภายในประเทศ
ผู้ติดเชื้อในกลุ่มผู้ที่กลับจากต่างประเทศใน State quarantine เพิ่มขึ้น 11 ราย
เสียชีวิตรวม 57 ราย (ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในวันนี้)
รักษาหายป่วยแล้ว 2,945 ราย (95.74%) (ไม่มีผู้ป่วยกลับบ้านในวันนี้)
ผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่มขึ้นในวันนี้ 11 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากประเทศคูเวต เข้ารับการรักษาที่กรุงเทพมหานคร 2 ราย (State quarantine) และจังหวัดสมุทรปราการ 9 ราย (State quarantine)
กรุงเทพมหานคร มีผู้ป่วยที่รับรักษาสะสมมากที่สุด (1,532 ราย) ตามด้วย ภูเก็ต (227), นนทบุรี (158), ยะลา (125), สมุทรปราการ (115), ชลบุรี (86), ปัตตานี (79), สงขลา (44), เชียงใหม่ (41) และ ปทุมธานี (39) โดยมีผู้ติดเชื้อที่อยู่ระหว่าง state quarantine ในจังหวัดต่างๆ รวม 139 ราย
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/2814721051986782
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2563
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19
ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2563
เสนอยูเอ็น 3 แนวทางฟื้นฟูโควิด-19
.
#ไทยคู่ฟ้า 28 พ.ค.63 เวลา 10.15 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นายกรัฐมนตรีกล่าวถ้อยแถลงในรูปแบบวีดิทัศน์ในกิจกรรม High-level Event on Financing for Development in the Era of COVID-19 and Beyond โดยได้เสนอ 3 ประเด็นสำคัญต่อการฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ดังนี้
.
1. ความพร้อมของระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็ง งบประมาณด้านสาธารณสุข (health financing) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage) ประเทศไทยมีระบบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมประสิทธิภาพการควบคุมการแพร่ระบาดในไทย ทั้งนี้ การพัฒนาวัคซีนและยารักษา COVID-19 ควรเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ ที่ทุกประเทศควรจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน
.
2. สภาพแวดล้อมทางการค้าและการลงทุนที่เป็นมิตร และการยึดมั่นในระบบการค้าพหุภาคีที่เปิดกว้าง เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ ไทยต้องการเห็นการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่หยุดชะงักไป (restart) ปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ (reboot) เพื่อฟันฝ่าวิกฤต และปรับการเชื่อมต่อระหว่างกันใหม่ (reconnect) เพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มแข็งและยั่งยืนกว่าเดิม ในประเด็นนี้ นายกรัฐมนตรีหวังให้องค์การระหว่างประเทศและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาน้อยด้วย
.
3. การวางแผนเพื่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน รองรับความ “ปรกติใหม่” คือ เรื่องของการดูแลสภาพแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
.
นายกรัฐมนตรีชื่นชมความร่วมมือของคนไทย และได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพื่อวางมาตรการรับมือกับวิกฤต และเตรียมมาตรการฟื้นฟูในอนาคต โดยพร้อมที่จะร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศในการจัดการกับวิกฤตเศรษฐกิจ และบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
.
นอกจากนี้ ยังได้ขอบคุณนายกรัฐมนตรีแคนาดา นายกรัฐมนตรีจาเมกา และเลขาธิการสหประชาชาติสำหรับความริเริ่มในการจัดกิจกรรมนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะร่วมกันหาแนวทางเพื่อรับมือและส่งเสริมให้เกิดการฟื้นตัวจากวิกฤต โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/925215301277610
การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/280850256633637
"เรามาอยู่ในช่วงเวลานี้ได้ ไม่ใช่เครดิตของใครคนใดคนหนึ่ง รัฐ-เอกชน-ประขาชน ต้องเข้มแข็ง ร่วมแรงกัน ประเทศไทยถึงได้ไปต่อ"
.
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน
โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.)
https://www.facebook.com/ThaiCovidCenter/posts/133627951636456
ศบค. มีมติลดเวลาเคอร์ฟิว 5 ทุ่ม ถึง ตี 3 และขยายเวลาปิดห้างฯ ถึง 3 ทุ่ม เริ่ม 1 มิ.ย. 63
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/147064810245185
อัปเดต! โครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2563
.
1. โครงการมีความคืบหน้า 99.5%
2. มีผู้ได้สิทธิ 15.1 ล้านราย
3. การทบทวนสิทธิคงค้าง 1.1 แสนราย แบ่งเป็น
- ผู้พิทักษ์สิทธิจะลงพื้นที่ 1 หมื่น 1 พันราย
- ขอให้ติดต่อสาขาธนาคารกรุงไทยที่สะดวกที่สุด 9 หมื่น 7 พันราย ภายใน 29 พฤษภาคม 2563
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/690920011740732
ชาวประมงเฮ!! ไฟเขียว สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเสริมสภาพคล่อง
#ไทยคู่ฟ้า 📣⛴ พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ฟังทางนี้ รัฐบาลเห็นชอบโครงการ สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง กรอบวงเงิน 10,300 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการสินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องชาวประมงที่ครอบคลุมทั้งประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ครั้งแรกของประเทศ ด้วยการจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้ชาวประมงสามารถกลับมาประกอบอาชีพได้อีกครั้ง โดยคาดว่า จะสามารถเปิดโครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องประมงได้ทันทีในเดือนมิถุนายน นี้
.
📍สำหรับการจัดหาสินเชื่อเพื่อสนับสนุนให้แก่ผู้ประกอบการประมงครั้งนี้ มีธนาคารของรัฐเข้าร่วม 2 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) ที่ให้กู้เงินและคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ต่อปี และผู้ประกอบการประมงจ่ายสมทบอีกร้อยละ 4 ต่อปี เป็นระยะเวลา 7 ปีนับตั้งแต่วันที่กู้ แบ่งเป็น
1️⃣ ธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อสนับสนุนเรือประมงขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท ให้กู้รายละไม่เกิน 10 ล้านบาท
2️⃣ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) ปล่อยสินเชื่อสนับสนุนเรือประมงขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส วงเงินสินเชื่อ 5,300 ล้านบาท ให้กู้รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/924905807975226
ประมงไทย ดีใจกันทั้งทะเล!
นายกฯ ผลักดันสินเชื่อผู้ประกอบการประมง
เสริมสภาพคล่อง ลดปัญหาแรงงาน
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 นายกำจร มงคลตรีลักษณ์ ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ส่งหนังสือกราบขอบพระคุณนายกรัฐมนตรี ที่ลงพื้นที่รับฟังปัญหาของพี่น้องชาวประมง ผลักดัน "โครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง" โดย ครม. มีมติอนุมัติโครงการฯ เมื่อ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งได้เห็นถึงความสำคัญของเกษตรกรภาคประมงให้ได้รับความช่วยเหลือ
ชาวประมงทั้งประเทศมีความซาบซึ้ง ประทับใจ และเป็นกำลังใจให้นายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดินสำเร็จลุล่วงด้วยดี
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/281045493280780
The KidsRights Index ดัชนีสิทธิเด็กระดับโลกประกาศผลการสำรวจประเทศที่ดูแลสิทธิมนุษยชนของเด็กได้ดีในสภาวะที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยประเทศไทยจัดอยู่อันดับ 8 จากทั้งหมด 182 ประเทศทั่วโลก การจัดอันดับนี้พิจารณาจากหัวข้อหลัก 5 ด้านได้แก่ สิทธิในการดำรงชีวิต สิทธิด้านสุขภาพ สิทธิในการศึกษา สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง และการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสิทธิเด็ก ซึ่งในปีนี้ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสิทธิเด็กมากที่สุด
.
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เด็กทั่วโลกมากกว่า 1.5 พันล้านคนได้รับผลกระทบ เนื่องจากโรงเรียนไม่สามารถเปิดทำการเรียนการสอนได้ นอกเหนือไปจากปัญหาในเรื่องการใช้แรงงานเด็ก การแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย รวมถึงการตั้งครรภ์ก่อนถึงวัยอันควร โดยมีเด็ก 42-66 ล้านคนอยู่ในฐานะยากจน
.
สำหรับประเทศที่ดูแลสิทธิเด็กได้ดีที่สุดในทุกด้าน 10 อันดับแรกของโลก ได้แก่ ไอซ์แลนด์ สวิตเซอแลนด์ ฟินแลนด์ สวีเดน เยอรมัน เนเธอแลนด์ สโลเวเนีย ไทย ฝรั่งเศส และเดนมาร์ก
https://www.facebook.com/DrNarumonP/posts/584923872428629
KIDSRIGHTS INDEX 2020 – REPORT
https://files.kidsrights.org/wp-content/uploads/2020/05/25092805/200519-The-KidsRights-Index-report-2020.pdf
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แนะนำขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์ของเกษตรกร (กรณีรายชื่อตกหล่นจากการเยียวยา)
ที่มา : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/146603003624699
การแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
วันที่ 29 พฤษภาคม 2563
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2563
ประเทศไทย
ผู้ติดเชื้อสะสม 3,076 ราย ใน 68 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 11 ราย)
โดยไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จากภายในประเทศ
ผู้ติดเชื้อในกลุ่มผู้ที่กลับจากต่างประเทศใน State quarantine เพิ่มขึ้น 11 ราย
เสียชีวิตรวม 57 ราย (ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในวันนี้)
รักษาหายป่วยแล้ว 2,945 ราย (95.74%) (ไม่มีผู้ป่วยกลับบ้านในวันนี้)
ผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่มขึ้นในวันนี้ 11 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากประเทศคูเวต เข้ารับการรักษาที่กรุงเทพมหานคร 2 ราย (State quarantine) และจังหวัดสมุทรปราการ 9 ราย (State quarantine)
กรุงเทพมหานคร มีผู้ป่วยที่รับรักษาสะสมมากที่สุด (1,532 ราย) ตามด้วย ภูเก็ต (227), นนทบุรี (158), ยะลา (125), สมุทรปราการ (115), ชลบุรี (86), ปัตตานี (79), สงขลา (44), เชียงใหม่ (41) และ ปทุมธานี (39) โดยมีผู้ติดเชื้อที่อยู่ระหว่าง state quarantine ในจังหวัดต่างๆ รวม 139 ราย
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/2814721051986782
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2563
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19
ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2563
เสนอยูเอ็น 3 แนวทางฟื้นฟูโควิด-19
.
#ไทยคู่ฟ้า 28 พ.ค.63 เวลา 10.15 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นายกรัฐมนตรีกล่าวถ้อยแถลงในรูปแบบวีดิทัศน์ในกิจกรรม High-level Event on Financing for Development in the Era of COVID-19 and Beyond โดยได้เสนอ 3 ประเด็นสำคัญต่อการฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ดังนี้
.
1. ความพร้อมของระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็ง งบประมาณด้านสาธารณสุข (health financing) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage) ประเทศไทยมีระบบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมประสิทธิภาพการควบคุมการแพร่ระบาดในไทย ทั้งนี้ การพัฒนาวัคซีนและยารักษา COVID-19 ควรเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ ที่ทุกประเทศควรจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน
.
2. สภาพแวดล้อมทางการค้าและการลงทุนที่เป็นมิตร และการยึดมั่นในระบบการค้าพหุภาคีที่เปิดกว้าง เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ ไทยต้องการเห็นการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่หยุดชะงักไป (restart) ปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ (reboot) เพื่อฟันฝ่าวิกฤต และปรับการเชื่อมต่อระหว่างกันใหม่ (reconnect) เพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มแข็งและยั่งยืนกว่าเดิม ในประเด็นนี้ นายกรัฐมนตรีหวังให้องค์การระหว่างประเทศและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาน้อยด้วย
.
3. การวางแผนเพื่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน รองรับความ “ปรกติใหม่” คือ เรื่องของการดูแลสภาพแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
.
นายกรัฐมนตรีชื่นชมความร่วมมือของคนไทย และได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพื่อวางมาตรการรับมือกับวิกฤต และเตรียมมาตรการฟื้นฟูในอนาคต โดยพร้อมที่จะร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศในการจัดการกับวิกฤตเศรษฐกิจ และบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
.
นอกจากนี้ ยังได้ขอบคุณนายกรัฐมนตรีแคนาดา นายกรัฐมนตรีจาเมกา และเลขาธิการสหประชาชาติสำหรับความริเริ่มในการจัดกิจกรรมนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะร่วมกันหาแนวทางเพื่อรับมือและส่งเสริมให้เกิดการฟื้นตัวจากวิกฤต โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/925215301277610
การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/280850256633637
"เรามาอยู่ในช่วงเวลานี้ได้ ไม่ใช่เครดิตของใครคนใดคนหนึ่ง รัฐ-เอกชน-ประขาชน ต้องเข้มแข็ง ร่วมแรงกัน ประเทศไทยถึงได้ไปต่อ"
.
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน
โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.)
https://www.facebook.com/ThaiCovidCenter/posts/133627951636456
ศบค. มีมติลดเวลาเคอร์ฟิว 5 ทุ่ม ถึง ตี 3 และขยายเวลาปิดห้างฯ ถึง 3 ทุ่ม เริ่ม 1 มิ.ย. 63
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/147064810245185
อัปเดต! โครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2563
.
1. โครงการมีความคืบหน้า 99.5%
2. มีผู้ได้สิทธิ 15.1 ล้านราย
3. การทบทวนสิทธิคงค้าง 1.1 แสนราย แบ่งเป็น
- ผู้พิทักษ์สิทธิจะลงพื้นที่ 1 หมื่น 1 พันราย
- ขอให้ติดต่อสาขาธนาคารกรุงไทยที่สะดวกที่สุด 9 หมื่น 7 พันราย ภายใน 29 พฤษภาคม 2563
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/690920011740732
ชาวประมงเฮ!! ไฟเขียว สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเสริมสภาพคล่อง
#ไทยคู่ฟ้า 📣⛴ พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ฟังทางนี้ รัฐบาลเห็นชอบโครงการ สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง กรอบวงเงิน 10,300 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการสินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องชาวประมงที่ครอบคลุมทั้งประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ครั้งแรกของประเทศ ด้วยการจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้ชาวประมงสามารถกลับมาประกอบอาชีพได้อีกครั้ง โดยคาดว่า จะสามารถเปิดโครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องประมงได้ทันทีในเดือนมิถุนายน นี้
.
📍สำหรับการจัดหาสินเชื่อเพื่อสนับสนุนให้แก่ผู้ประกอบการประมงครั้งนี้ มีธนาคารของรัฐเข้าร่วม 2 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) ที่ให้กู้เงินและคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ต่อปี และผู้ประกอบการประมงจ่ายสมทบอีกร้อยละ 4 ต่อปี เป็นระยะเวลา 7 ปีนับตั้งแต่วันที่กู้ แบ่งเป็น
1️⃣ ธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อสนับสนุนเรือประมงขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท ให้กู้รายละไม่เกิน 10 ล้านบาท
2️⃣ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) ปล่อยสินเชื่อสนับสนุนเรือประมงขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส วงเงินสินเชื่อ 5,300 ล้านบาท ให้กู้รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/924905807975226
ประมงไทย ดีใจกันทั้งทะเล!
นายกฯ ผลักดันสินเชื่อผู้ประกอบการประมง
เสริมสภาพคล่อง ลดปัญหาแรงงาน
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 นายกำจร มงคลตรีลักษณ์ ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ส่งหนังสือกราบขอบพระคุณนายกรัฐมนตรี ที่ลงพื้นที่รับฟังปัญหาของพี่น้องชาวประมง ผลักดัน "โครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง" โดย ครม. มีมติอนุมัติโครงการฯ เมื่อ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งได้เห็นถึงความสำคัญของเกษตรกรภาคประมงให้ได้รับความช่วยเหลือ
ชาวประมงทั้งประเทศมีความซาบซึ้ง ประทับใจ และเป็นกำลังใจให้นายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดินสำเร็จลุล่วงด้วยดี
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/281045493280780
The KidsRights Index ดัชนีสิทธิเด็กระดับโลกประกาศผลการสำรวจประเทศที่ดูแลสิทธิมนุษยชนของเด็กได้ดีในสภาวะที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยประเทศไทยจัดอยู่อันดับ 8 จากทั้งหมด 182 ประเทศทั่วโลก การจัดอันดับนี้พิจารณาจากหัวข้อหลัก 5 ด้านได้แก่ สิทธิในการดำรงชีวิต สิทธิด้านสุขภาพ สิทธิในการศึกษา สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง และการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสิทธิเด็ก ซึ่งในปีนี้ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสิทธิเด็กมากที่สุด
.
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เด็กทั่วโลกมากกว่า 1.5 พันล้านคนได้รับผลกระทบ เนื่องจากโรงเรียนไม่สามารถเปิดทำการเรียนการสอนได้ นอกเหนือไปจากปัญหาในเรื่องการใช้แรงงานเด็ก การแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย รวมถึงการตั้งครรภ์ก่อนถึงวัยอันควร โดยมีเด็ก 42-66 ล้านคนอยู่ในฐานะยากจน
.
สำหรับประเทศที่ดูแลสิทธิเด็กได้ดีที่สุดในทุกด้าน 10 อันดับแรกของโลก ได้แก่ ไอซ์แลนด์ สวิตเซอแลนด์ ฟินแลนด์ สวีเดน เยอรมัน เนเธอแลนด์ สโลเวเนีย ไทย ฝรั่งเศส และเดนมาร์ก
https://www.facebook.com/DrNarumonP/posts/584923872428629
KIDSRIGHTS INDEX 2020 – REPORT
https://files.kidsrights.org/wp-content/uploads/2020/05/25092805/200519-The-KidsRights-Index-report-2020.pdf
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แนะนำขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์ของเกษตรกร (กรณีรายชื่อตกหล่นจากการเยียวยา)
ที่มา : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/146603003624699
แสดงความคิดเห็น
⛓มาลาริน/ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด19ใหม่ 11 รายเป็น แรงงานจากคูเวต...หมอชี้ ประเมินความเสี่ยงปลดล็อกไม่ควรใช้ขีดจำกัดด้านสธ.
ด่วน พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยอดพุ่ง 11 ราย เป็นวัยแรงงานมาจากประเทศคูเวต มีอาการไม่มาก และบางรายไม่มีอาการ
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ ศบค. แถลงข่าวสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 รายงานผู้ติดเชื้อโควิดล่าสุด 11 ราย ป่วยสะสม 3,076 ราย ผู้ติดเชื้อ 11 รายของวันนี้มาจากประเทศคูเวต เป็นวัยแรงงาน มีอาการไม่มาก และบางรายไม่มีอาการ
https://www.komchadluek.net/news/regional/432272?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=section_ข่าวด่วน
หมอ ชี้ ประเมินความเสี่ยงปลดล็อกไม่ควรใช้ขีดจำกัดด้านสธ. หวั่นล้มเหลว-เละเทะ
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุข้อความว่า...
การประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากมาตรการปลดล็อค เพื่อพิจารณาว่าจะรับความเสี่ยงได้แค่ไหนนั้น
.
"ไม่ควร"ใช้ขีดจำกัดด้านศักยภาพของระบบสุขภาพในการรองรับจำนวนผู้ป่วยมาเป็นตัวตัดสินหลัก เพราะขืนใช้ตัวเลขศักยภาพเต็มที่รับไหวมาตัดสิน การระบาดในชีวิตจริงอาจลุกลามรุนแรงเกินขีดจำกัด และล้มเหลวเละเทะได้
.
เกมส์โรคระบาดที่ยังไม่มียารักษามาตรฐาน และไม่มีวัคซีนป้องกันนั้น
.
"ควร"ใช้มาตรการแบบ minimizing risks
.
ผ่อนคลายให้หายใจหายคอ พอทำมาหากินได้แบบพอเพียงภายใต้มาตรการเข้มข้นจริงจังในการลดโอกาสติดเชื้อให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
.
กิจการใดเสี่ยงมาก แต่ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้เพียงพอว่ามีประสิทธิภาพในการลดโอกาสแพร่เชื้อ ก็ไม่ควรเปิดครับ
.
กิจการใดประเมินแล้วโอเค ก็เปิดได้ แต่ขันน็อตแน่นๆ ทั้งเรื่องคัดกรอง ติดตาม กำกับ
https://siamrath.co.th/n/158872
วันนี้ติดเชื้อโควิดเป็นเลขสองหลักอีกวันหนึ่ง แต่มาจากแรงงานไทยที่กลับจากต่างประเทศ
สถานการณ์ในไทย ค่อยๆผ่อนคลายจนถึงเวลาที่จะผ่อนปรนในระยะที่ 3 ต่อไป
ค่อยๆคลี่คลายไปทีละระดับ ตามคำแนะนำของแพทย์
ตอนนี้ถือว่าคนไทยทำมาหากินกันได้แล้ว....ไม่มีอุปสรรคใดๆ
อยู่แต่ว่าจะปรับตัวได้แค่ไหนในวิถีชีวิตใหม่ บางคนก็มีช่องทางรวยในวิกฤตได้
แม้แต่ฝ่ายค้านที่อภิปรายในสภา ยังปรับตัวสู้คนไทยไม่ได้เลยค่ะ
ยังทำตัวแบบเดิมๆ ฟังอภิปรายแล้วน่าเบื่อจริงๆค่ะ
ยังไงก็ขอให้รัฐบาลมีหนทางรับมือตอนผ่อนปรนช่วงเวลาสำคัญนะคะ
ประชาชนไทยส่วนใหญ่ไม่การ์ดตก ร่วมมือรัฐบาลตลอดไปค่ะ
สู้ๆนะคะ...ลุงตู่....👍💕💕👍💕💕👍💕💕👍💕💕👍