คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
การแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) วันที่ 7 มิ.ย. 2563
การแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)
ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 7 มิถุนายน 2563
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน 2563
ประเทศไทย
ผู้ติดเชื้อสะสม 3,112 ราย ใน 68 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 8 ราย)
-ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จากภายในประเทศ (ติดต่อกันเป็นวันที่ 13)
-มีผู้ติดเชื้อในกลุ่มผู้ที่กลับจากต่างประเทศใน State quarantine เพิ่มขึ้น 8 ราย
เสียชีวิตรวม 58 ราย (ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในวันนี้)
รักษาหายป่วยแล้ว 2,972 ราย (95.5%) (เพิ่มขึ้น 1 ราย)
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นในวันนี้ 8 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้า State quarantine ดังนี้
- มาจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 5 ราย อยู่ใน State quarantineโดยเข้ารับการรักษาที่กรุงเทพมหานคร
- มาจากประเทศคูเวต 2 ราย อยู่ใน State quarantineโดยเข้ารับการรักษาที่จังหวัดสมุทรปราการ
- มาจากประเทศอินเดีย 1 ราย อยู่ใน State quarantineโดยเข้ารับการรักษาที่จังหวัดสมุทรปราการ
ทั้งนี้ วช. ได้ปรับรูปแบบการรายงาน โดยจะรายงานรวมทั้งในส่วนประเทศไทย อาเซียน และต่างประะเทศ ในรอบรายงานเดียวกัน และยกเลิกการรายงานในรอบเย็น
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/2836230459835841
วช. ชี้ ศูนย์กลางการระบาดของโรคโควิด-19 ย้ายไปอยู่ที่อเมริกาใต้/อเมริกากลาง และเอเชียใต้/ตะวันออกกลาง โดยยังต้องจับตามองแอฟริกาอย่างใกล้ชิด
ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา ของ ศบค. เปิดเผยผลการวิเคราะห์และติดตามการระบาดของโรคโควิค-19 ทั่วโลก ว่า ประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จในการควบคุมสถานการณ์ของโรคโควิด-19 เป็นอย่างดี จนในช่วงเดือนที่ผ่านมาจำนวนผู้ที่ติดเชื้อจากภายในประเทศลดลงอย่างมาก โดยไม่มีผู้ติดเชื้อจากภายในประเทศติดต่อกัน 12 วันแล้ว ยอดผู้ติดเชื้อที่รายงานเพิ่มขึ้นในแต่ละวันนั้นเป็นผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศซึ่งได้รับการดูแลในสถานที่ควบคุมของรัฐ (State quarantine)
อย่างไรก็ตามสถานการณ์การติดเชื้อโรคโควิด-19 ทั่วโลกยังน่าเป็นห่วง โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่มากกว่า 100,000 คนต่อวัน และยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำลายสถิติเดิมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ได้มีการเปลี่ยนบริเวณศูนย์กลางของการระบาดไปสู่ภูมิภาคใหม่ในแต่ละทวีปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถแบ่งศูนย์กลางการระบาดหลักได้เป็นช่วงๆ ดังนี้
- ช่วงแรกของการระบาด ในสองเดือนแรก ผู้ติดเชื้อเกือบทั้งหมดอยู่ในประเทศจีน โดยเริ่มมีรายงานการติดเชื้อประปรายจากผู้ที่เดินทางมาจากประเทศจีน
- ช่วงต่อมาเกิดการระบาดใหญ่ในทวีปยุโรป โดยเฉพาะที่ประเทศอิตาลี สเปน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศอื่นๆ เกือบทั่วยุโรป ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่ควบคุมได้แล้ว แต่ยังคงพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในรัสเซียและสวีเดน
- ช่วงที่สาม ขยับศูนย์กลางการระบาดไปที่สหรัฐอเมริกาเกือบทั่วประเทศ พบผู้ป่วยจำนวนมาก โดยเฉพาะในรัฐนิวยอร์ก ทำให้มีผู้ติดเชื้อในสหรัฐอเมริกาแล้วเกือบสองล้านคน
ส่วนในช่วงปัจจุบัน ในเดือนที่ผ่านมาสถานการณ์การติดเชื้อในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกาคงตัวและค่อยๆ เริ่มลดลงในหลายประเทศ แต่พบว่าศูนย์กลางการระบาดได้ขยับต่อไปอีก ย้ายไปในบริเวณที่เดิมพบผู้ติดเชื้อไม่มากนักแต่เป็นภูมิภาคที่มีประชากรอยู่มาก โดยผู้ติดเชื้อใหม่ที่รายงานในระยะนี้มาจากสองภูมิภาคหลัก กลุ่มแรก คือ ทวีปอเมริกาใต้และอเมริกากลาง (ลาตินอเมริกา) รวมทั้งหมู่เกาะคาริบเบียน กลุ่มที่สองคือ เอเชียใต้และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทวีปแอฟริกา ซึ่งถึงแม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะยังไม่มากนักเมื่อเทียบกับสองภูมิภาคดังกล่าว แต่แอฟริกามีประชากรมากและระบบการแพทย์และสาธารณสุขยังไม่ดีนัก มีโอกาสที่จะเป็นศูนย์กลางการระบาดในช่วงต่อไปได้
ทั้งนี้ประเทศที่ต้องจับตามองสถานการณ์ ในช่วงนี้ ได้แก่ บราซิล เม็กซิโก ชิลี เปรู โคลัมเบีย รัสเซีย อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ อิหร่าน อิรัก ซาอุดิอาระเบียและประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง รวมทั้งในแอฟริกาใต้ ลิเบีย อูกันดา โมซัมบิค และเฮติ
สำหรับในภูมิภาคอาเซียน สถานการณ์ทั่วไปคงตัวและดีขึ้น เป็นภูมิภาคที่ควบคุมโรคโควิด-19 ได้ดีเมื่อเทียบกับในภูมิภาคอื่น ขณะนี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มที่ยังพบผู้ติดเชื้อใหม่อย่างต่อเนื่องแต่จำนวนที่เพิ่มขึ้นยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดิม ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์, กลุ่มที่มีผู้ติดเชื้อใหม่จากภายในประเทศลดลงและอยู่ในระดับที่ควบคุมภายในประเทศได้แล้ว ได้แก่ ไทยและมาเลเซีย, และกลุ่มที่มีผู้ติดเชื้อน้อยหรือข้อมูลยังไม่มากนักได้แก่ เวียดนาม บรูไน พม่า กัมพูชา และลาว ทั้งนี้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียตนาม ในช่วงนี้เกือบทั้งหมดเป็นผู้ที่เดินทางเข้าประเทศหรืออยู่ในกลุ่มแรงงานชาวต่างชาติที่ได้รับการควบคุม
ประมวลข้อมูลโดย ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/2834157850043102
กำชับทุกจังหวัดจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยวชายหาด บาทวิถี
.
#ไทยคู่ฟ้า หลังจากที่รัฐบาลออกมาตรการผ่อนคลายระยะ 3 กระทรวงมหาดไทยเล็งเห็นถึงแนวโน้มของการเคลื่อนย้ายและการรวมตัวของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ จึงกำชับให้จังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติโดยเฉพาะชายหาด ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรม ไม่ให้แออัด หรือลดเวลาการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น หลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน และให้นำมาตรการป้องกันโรคตามข้อกำหนดของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับพื้นที่ ประเภทกิจกรรม และสถานการณ์จริง
.
นอกจากนี้ ยังได้สั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้จัดระเบียบสังคมในพื้นที่สาธารณะริมบาทวิถีและพื้นที่ชายหาด 4 ด้าน คือ
1) เชิงพื้นที่ ในบริเวณพื้นที่สาธารณะริมบาทวิถี ให้พิจารณาแบ่งสัดส่วนการใช้พื้นที่ให้เหมาะสม ให้ผู้ประกอบการสามารถค้าขายได้อย่างถูกสุขลักษณะ ผู้สัญจรเดินไปมาบนบาทวิถีสามารถใช้พื้นที่ได้อย่างสะดวกสบาย ปลอดภัย ไม่กีดขวางการจราจร และไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้น ๆ และในพื้นที่ชายหาด ให้พิจารณาแบ่งการใช้พื้นที่เป็นสัดส่วน สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ผู้ประกอบการต่าง ๆ เช่น การขายอาหาร ให้เช่าเก้าอี้ หรือเครื่องเล่นต่าง ๆ สามารถประกอบการได้ตามมาตรการที่กำหนด
2) เชิงกฎหมาย การอนุญาตอนุมัติให้ดำเนินการใด ๆ ในพื้นที่สาธารณะต้องเป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย
3) เชิงเศรษฐกิจ การดำเนินการจัดระเบียบสังคมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง นอกจากเน้นมิติด้านความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความปลอดภัยแล้ว ให้พิจารณามิติด้านเศรษฐกิจที่อาจได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบ
4) เชิงผู้ได้รับผลกระทบ การจัดระเบียบในที่สาธารณะให้ดำเนินการภายใต้อนุกรรมการการบรรเทาผลกระทบจากการจัดระเบียบสังคมระดับจังหวัด โดยแต่งตั้งผู้แทนผู้ค้าในบริเวณที่ได้รับผลกระทบและผู้แทนประชาคมในพื้นที่เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณากับคณะอนุกรรมการด้วย
Cr: กระทรวงมหาดไทย
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/931407007325106
ตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศวันนี้ (7 มิ.ย. 63) เป็น 0 ติดต่อกันเป็นวันที่ 13
ขอบคุณทุกความร่วมมือ ให้ผ่านวิกฤต COVID-19
ไม่ประมาท การ์ดอย่าตก สวมหน้ากากอนามัย/ผ้า
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/150399726578360
เร่งแก้หนี้เกษตรกร 4 แสนรายหมดหนี้ มีที่ดินทำกิน ธนาคารไม่เสี่ยงหนี้สูญ
---------------------------
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลดูแลเกษตรกรทั่วประเทศในหลายๆ ด้าน มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม การเยียวยาเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการโอนเงินงวดแรกถึงบัญชีเกษตรกรแล้ว 7.1 ล้านราย รวมเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท
ส่วนปัญหาการแก้หนี้เกษตรกร ได้เร่งรัดและดำเนินการจนมีการออกประกาศและระเบียบให้กองทุนฟื้นฟูฯสามารถวางเงินชำระหนี้แทนเกษตรกรในชั้นบังคับคดีได้ ทำให้ที่ทำกินเกษตรกรไม่ถูกขายทอดตลาด โดยมีเกษตรกรรายแรกได้รับการแก้ปัญหาไปเมื่อ วันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา และจะมีเกษตรรายอื่นๆ ทั่วประเทศอีก 2,743 ราย
มีการเตรียมการเพื่อพักหนี้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นเวลา 1 ปี ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ระเบียบ และอีกเรื่องหนึ่งที่เกษตรกรรอคอยมานาน คือการแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้สามารถเข้าไปจัดการหนี้เกษตรกรที่มีบุคคลค้ำประกันได้ อยู่ในขั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร คาดว่าจะมีการประกาศใช้ในอีกไม่นานนี้ ซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรเกือบ 4 แสนราย
ในส่วนของการปรับโครงสร้างหนี้เกษตรกร ขณะนี้ได้ความชัดเจนเรื่องแนวทางการเจรจาเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การชำระเงินต้นและดอกเบี้ยกับธนาคารของรัฐ 4 แห่ง คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ซึ่งจะบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรได้มาก มีเกษตรกรหลายรายเป็นหนี้ขึ้นทะเบียนมากว่า 20 ปี
หากเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เป็นตามที่ตั้งเป้าไว้ เกษตรกร 4.4 หมื่นราย จะได้รับการลดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย มีที่ดินทำกิน ในขณะที่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ต้องเสี่ยงต่อหนี้สูญ
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/697589537740446
แพทย์จุฬาฯ เตรียมเจาะเลือดลิงตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด-19 หลังทดลองฉีด 2 สัปดาห์ก่อน
'พารากอน ซีนีเพล็กซ์' ปิดบริการชั่วคราว 3 วัน วันที่ 7-9 มิ.ย.นี้
มท.กำชับทุกจังหวัด จัดระเบียบชายหาดป้องกันโควิด-19
กห.-สธ. สำรอง 9 พันห้องพัก เป็น state quarantine รองรับคนไทยกลับจากต่างประเทศ
การแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)
ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 7 มิถุนายน 2563
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน 2563
ประเทศไทย
ผู้ติดเชื้อสะสม 3,112 ราย ใน 68 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 8 ราย)
-ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จากภายในประเทศ (ติดต่อกันเป็นวันที่ 13)
-มีผู้ติดเชื้อในกลุ่มผู้ที่กลับจากต่างประเทศใน State quarantine เพิ่มขึ้น 8 ราย
เสียชีวิตรวม 58 ราย (ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในวันนี้)
รักษาหายป่วยแล้ว 2,972 ราย (95.5%) (เพิ่มขึ้น 1 ราย)
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นในวันนี้ 8 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้า State quarantine ดังนี้
- มาจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 5 ราย อยู่ใน State quarantineโดยเข้ารับการรักษาที่กรุงเทพมหานคร
- มาจากประเทศคูเวต 2 ราย อยู่ใน State quarantineโดยเข้ารับการรักษาที่จังหวัดสมุทรปราการ
- มาจากประเทศอินเดีย 1 ราย อยู่ใน State quarantineโดยเข้ารับการรักษาที่จังหวัดสมุทรปราการ
ทั้งนี้ วช. ได้ปรับรูปแบบการรายงาน โดยจะรายงานรวมทั้งในส่วนประเทศไทย อาเซียน และต่างประะเทศ ในรอบรายงานเดียวกัน และยกเลิกการรายงานในรอบเย็น
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/2836230459835841
วช. ชี้ ศูนย์กลางการระบาดของโรคโควิด-19 ย้ายไปอยู่ที่อเมริกาใต้/อเมริกากลาง และเอเชียใต้/ตะวันออกกลาง โดยยังต้องจับตามองแอฟริกาอย่างใกล้ชิด
ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา ของ ศบค. เปิดเผยผลการวิเคราะห์และติดตามการระบาดของโรคโควิค-19 ทั่วโลก ว่า ประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จในการควบคุมสถานการณ์ของโรคโควิด-19 เป็นอย่างดี จนในช่วงเดือนที่ผ่านมาจำนวนผู้ที่ติดเชื้อจากภายในประเทศลดลงอย่างมาก โดยไม่มีผู้ติดเชื้อจากภายในประเทศติดต่อกัน 12 วันแล้ว ยอดผู้ติดเชื้อที่รายงานเพิ่มขึ้นในแต่ละวันนั้นเป็นผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศซึ่งได้รับการดูแลในสถานที่ควบคุมของรัฐ (State quarantine)
อย่างไรก็ตามสถานการณ์การติดเชื้อโรคโควิด-19 ทั่วโลกยังน่าเป็นห่วง โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่มากกว่า 100,000 คนต่อวัน และยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำลายสถิติเดิมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ได้มีการเปลี่ยนบริเวณศูนย์กลางของการระบาดไปสู่ภูมิภาคใหม่ในแต่ละทวีปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถแบ่งศูนย์กลางการระบาดหลักได้เป็นช่วงๆ ดังนี้
- ช่วงแรกของการระบาด ในสองเดือนแรก ผู้ติดเชื้อเกือบทั้งหมดอยู่ในประเทศจีน โดยเริ่มมีรายงานการติดเชื้อประปรายจากผู้ที่เดินทางมาจากประเทศจีน
- ช่วงต่อมาเกิดการระบาดใหญ่ในทวีปยุโรป โดยเฉพาะที่ประเทศอิตาลี สเปน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศอื่นๆ เกือบทั่วยุโรป ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่ควบคุมได้แล้ว แต่ยังคงพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในรัสเซียและสวีเดน
- ช่วงที่สาม ขยับศูนย์กลางการระบาดไปที่สหรัฐอเมริกาเกือบทั่วประเทศ พบผู้ป่วยจำนวนมาก โดยเฉพาะในรัฐนิวยอร์ก ทำให้มีผู้ติดเชื้อในสหรัฐอเมริกาแล้วเกือบสองล้านคน
ส่วนในช่วงปัจจุบัน ในเดือนที่ผ่านมาสถานการณ์การติดเชื้อในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกาคงตัวและค่อยๆ เริ่มลดลงในหลายประเทศ แต่พบว่าศูนย์กลางการระบาดได้ขยับต่อไปอีก ย้ายไปในบริเวณที่เดิมพบผู้ติดเชื้อไม่มากนักแต่เป็นภูมิภาคที่มีประชากรอยู่มาก โดยผู้ติดเชื้อใหม่ที่รายงานในระยะนี้มาจากสองภูมิภาคหลัก กลุ่มแรก คือ ทวีปอเมริกาใต้และอเมริกากลาง (ลาตินอเมริกา) รวมทั้งหมู่เกาะคาริบเบียน กลุ่มที่สองคือ เอเชียใต้และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทวีปแอฟริกา ซึ่งถึงแม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะยังไม่มากนักเมื่อเทียบกับสองภูมิภาคดังกล่าว แต่แอฟริกามีประชากรมากและระบบการแพทย์และสาธารณสุขยังไม่ดีนัก มีโอกาสที่จะเป็นศูนย์กลางการระบาดในช่วงต่อไปได้
ทั้งนี้ประเทศที่ต้องจับตามองสถานการณ์ ในช่วงนี้ ได้แก่ บราซิล เม็กซิโก ชิลี เปรู โคลัมเบีย รัสเซีย อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ อิหร่าน อิรัก ซาอุดิอาระเบียและประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง รวมทั้งในแอฟริกาใต้ ลิเบีย อูกันดา โมซัมบิค และเฮติ
สำหรับในภูมิภาคอาเซียน สถานการณ์ทั่วไปคงตัวและดีขึ้น เป็นภูมิภาคที่ควบคุมโรคโควิด-19 ได้ดีเมื่อเทียบกับในภูมิภาคอื่น ขณะนี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มที่ยังพบผู้ติดเชื้อใหม่อย่างต่อเนื่องแต่จำนวนที่เพิ่มขึ้นยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดิม ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์, กลุ่มที่มีผู้ติดเชื้อใหม่จากภายในประเทศลดลงและอยู่ในระดับที่ควบคุมภายในประเทศได้แล้ว ได้แก่ ไทยและมาเลเซีย, และกลุ่มที่มีผู้ติดเชื้อน้อยหรือข้อมูลยังไม่มากนักได้แก่ เวียดนาม บรูไน พม่า กัมพูชา และลาว ทั้งนี้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียตนาม ในช่วงนี้เกือบทั้งหมดเป็นผู้ที่เดินทางเข้าประเทศหรืออยู่ในกลุ่มแรงงานชาวต่างชาติที่ได้รับการควบคุม
ประมวลข้อมูลโดย ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/2834157850043102
กำชับทุกจังหวัดจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยวชายหาด บาทวิถี
.
#ไทยคู่ฟ้า หลังจากที่รัฐบาลออกมาตรการผ่อนคลายระยะ 3 กระทรวงมหาดไทยเล็งเห็นถึงแนวโน้มของการเคลื่อนย้ายและการรวมตัวของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ จึงกำชับให้จังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติโดยเฉพาะชายหาด ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรม ไม่ให้แออัด หรือลดเวลาการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น หลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน และให้นำมาตรการป้องกันโรคตามข้อกำหนดของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับพื้นที่ ประเภทกิจกรรม และสถานการณ์จริง
.
นอกจากนี้ ยังได้สั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้จัดระเบียบสังคมในพื้นที่สาธารณะริมบาทวิถีและพื้นที่ชายหาด 4 ด้าน คือ
1) เชิงพื้นที่ ในบริเวณพื้นที่สาธารณะริมบาทวิถี ให้พิจารณาแบ่งสัดส่วนการใช้พื้นที่ให้เหมาะสม ให้ผู้ประกอบการสามารถค้าขายได้อย่างถูกสุขลักษณะ ผู้สัญจรเดินไปมาบนบาทวิถีสามารถใช้พื้นที่ได้อย่างสะดวกสบาย ปลอดภัย ไม่กีดขวางการจราจร และไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้น ๆ และในพื้นที่ชายหาด ให้พิจารณาแบ่งการใช้พื้นที่เป็นสัดส่วน สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ผู้ประกอบการต่าง ๆ เช่น การขายอาหาร ให้เช่าเก้าอี้ หรือเครื่องเล่นต่าง ๆ สามารถประกอบการได้ตามมาตรการที่กำหนด
2) เชิงกฎหมาย การอนุญาตอนุมัติให้ดำเนินการใด ๆ ในพื้นที่สาธารณะต้องเป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย
3) เชิงเศรษฐกิจ การดำเนินการจัดระเบียบสังคมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง นอกจากเน้นมิติด้านความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความปลอดภัยแล้ว ให้พิจารณามิติด้านเศรษฐกิจที่อาจได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบ
4) เชิงผู้ได้รับผลกระทบ การจัดระเบียบในที่สาธารณะให้ดำเนินการภายใต้อนุกรรมการการบรรเทาผลกระทบจากการจัดระเบียบสังคมระดับจังหวัด โดยแต่งตั้งผู้แทนผู้ค้าในบริเวณที่ได้รับผลกระทบและผู้แทนประชาคมในพื้นที่เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณากับคณะอนุกรรมการด้วย
Cr: กระทรวงมหาดไทย
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/931407007325106
ตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศวันนี้ (7 มิ.ย. 63) เป็น 0 ติดต่อกันเป็นวันที่ 13
ขอบคุณทุกความร่วมมือ ให้ผ่านวิกฤต COVID-19
ไม่ประมาท การ์ดอย่าตก สวมหน้ากากอนามัย/ผ้า
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/150399726578360
เร่งแก้หนี้เกษตรกร 4 แสนรายหมดหนี้ มีที่ดินทำกิน ธนาคารไม่เสี่ยงหนี้สูญ
---------------------------
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลดูแลเกษตรกรทั่วประเทศในหลายๆ ด้าน มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม การเยียวยาเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการโอนเงินงวดแรกถึงบัญชีเกษตรกรแล้ว 7.1 ล้านราย รวมเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท
ส่วนปัญหาการแก้หนี้เกษตรกร ได้เร่งรัดและดำเนินการจนมีการออกประกาศและระเบียบให้กองทุนฟื้นฟูฯสามารถวางเงินชำระหนี้แทนเกษตรกรในชั้นบังคับคดีได้ ทำให้ที่ทำกินเกษตรกรไม่ถูกขายทอดตลาด โดยมีเกษตรกรรายแรกได้รับการแก้ปัญหาไปเมื่อ วันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา และจะมีเกษตรรายอื่นๆ ทั่วประเทศอีก 2,743 ราย
มีการเตรียมการเพื่อพักหนี้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นเวลา 1 ปี ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ระเบียบ และอีกเรื่องหนึ่งที่เกษตรกรรอคอยมานาน คือการแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้สามารถเข้าไปจัดการหนี้เกษตรกรที่มีบุคคลค้ำประกันได้ อยู่ในขั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร คาดว่าจะมีการประกาศใช้ในอีกไม่นานนี้ ซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรเกือบ 4 แสนราย
ในส่วนของการปรับโครงสร้างหนี้เกษตรกร ขณะนี้ได้ความชัดเจนเรื่องแนวทางการเจรจาเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การชำระเงินต้นและดอกเบี้ยกับธนาคารของรัฐ 4 แห่ง คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ซึ่งจะบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรได้มาก มีเกษตรกรหลายรายเป็นหนี้ขึ้นทะเบียนมากว่า 20 ปี
หากเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เป็นตามที่ตั้งเป้าไว้ เกษตรกร 4.4 หมื่นราย จะได้รับการลดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย มีที่ดินทำกิน ในขณะที่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ต้องเสี่ยงต่อหนี้สูญ
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/697589537740446
แพทย์จุฬาฯ เตรียมเจาะเลือดลิงตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด-19 หลังทดลองฉีด 2 สัปดาห์ก่อน
'พารากอน ซีนีเพล็กซ์' ปิดบริการชั่วคราว 3 วัน วันที่ 7-9 มิ.ย.นี้
มท.กำชับทุกจังหวัด จัดระเบียบชายหาดป้องกันโควิด-19
กห.-สธ. สำรอง 9 พันห้องพัก เป็น state quarantine รองรับคนไทยกลับจากต่างประเทศ
แสดงความคิดเห็น
👝👝/มาลาริน/อดทนไว้ค่ะ..ไทยติดเชื้อ‘โควิด’ใหม่ 8 ราย กลับมาจากตปท. ยอดเป็นศูนย์ 13 วันแล้ว รอคลายเฟส 4 ยึดเลข 28 วัน
วันอาทิตย์ ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2563, 11.42 น.
7 มิถุนายน 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี แพทย์หญิงพรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ว่า วันนี้ในประเทศไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ 8 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และเข้าพักสถานที่เฝ้าระวังที่รัฐจัดให้ (State quarantine) ไม่มีผู้เสียชีวิต ขณะที่การติดเชื้อในประเทศเป็น 0 ราย นับเป็นวันที่ 13 แล้ว
สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ 8 รายนั้น แยกเป็น 5 ราย เดินทางกลับมาจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ , 2 ราย กลับมาจากประเทศคูเวต และ 1 ราย กลับมาจากประเทศอินเดีย
https://www.naewna.com/local/497637
หมอบุ๋ม”เผยรอคลายเฟส 4 แนะยึดเลข 28 วัน
ยังคงต้องรอมาตรการผ่อนคลายระยะ 4 ก่อนเปิดโรงเรียน-ผับบาร์ ชี้ มีความเสี่ยงสูง แนะยึดเลข 28 วัน ตามระบาดวิทยา เพราะมีโอกาสแพร่เชื้อซ้ำ วอนการ์ดอย่าเพิ่งตกในช่วงนี้
ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล เปิดเผยยอดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19ประจำวันที่ 7 มิถุนายน 2563 เมื่อเวลา11.30น. มีผู้ป่วยรายใหม่ยืนยันเพิ่ม 8 ราย รวมยอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,112 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต รวมยอดเสียชีวิตอยู่ที่ 58 ราย กลับบ้านเเล้วรวม 2,972 ราย รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 82 ราย
ทั้งนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยมีผู้ป่วยมากสุดที่กรุงเทพมหานคร -นนทบุรี ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตามลำดับ ซึ่งพบมากในกลุ่มประชากรอายุ 20-29 ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีชาวไทยที่เป็นนักศึกษาและวัยทำงานเดินทางกลับประเทศจำนวนมาก
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่กลับมาจากประเทศสหรัฐอาหรับเอเมอเรท 5 ราย ส่วนอีก 2 ราย มาจากประเทศคูเวต ซึ่งก่อนหน้านี้ตรวจไม่พบเชื้อ แต่เมื่อตรวจซ้ำที่ประเทศไทยพบว่าติดเชื้อทุกรายแต่ไม่แสดงอาการ และสุดท้ายมาจากประเทศอินเดีย 1 ราย พบว่ามีอาการไอ ทั้งหมดส่งรักษาตัวที่โรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/883956?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=todaynews
วอนการ์ดอย่าตกนะคะ
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องอดทน ผ่านมาแล้ว 13 วัน
รอผ่อนปรนระยะที่ 4 ช่วงที่ปลอดภัยคือ 28 วัน
ก้าวมาได้ครึ่งทางแล้วค่ะ....👍
อดทนกันอีกสักระยะนะคะ...💓
เพื่อทุกเรื่องที่ดีๆจะกลับมาสู่ประเทศไทยและคนไทยในไม่ช้าค่ะ..🌹