ในช่วงที่ตลาดตราสารหนี้กำลังซบเซา บริษัทที่ออกตราสารหนี้หลายแห่งกำลังมองหาแหล่งเงินที่จะมาช่วยใช้คืนหุ้นกู้ที่ครบกำหนด กองทุน BSF กลายเป็นความหวังหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็มสภาพคล่องให้แก่บริษัทเหล่านี้ แต่เหตุใดกองทุนที่มีมูลค่าสูงกว่า 4 แสนล้านบาท กลับไม่ได้เรียกแขกบรรดาบริษัทที่ออกหุ้นกู้ทั้งหลายให้มาใช้กองทุนกันอย่างแพร่หลาย ถ้าลองเปิดเงื่อนไขของกองทุนก็พอจะเห็นว่า การไปขอเงินจาก BSF นั้น ไม่ใช่ทุกบริษัทจะอยากได้ .... ถ้าไม่เข้าตาจน คงไม่มีใครมาใช้เป็นแน่
1. ก่อนจะได้เงินจาก BSF บริษัทต้องไปหาเงินจากที่อื่นมาก่อน โดยเกณฑ์กำหนดให้ต้องไปออกหุ้นกู้ไม่ต่ำกว่า 20% บวกกับต้องขอสินเชื่อแบงก์ให้ได้อีกไม่ต่ำกว่า 20% และรวมเงินที่หาได้ต้องไม่ต่ำกว่า 50% ของหุ้นกู้ที่ครบกำหนดก่อนจะมาขอเพิ่มจาก BSF ในส่วนที่เหลือเท่านั้น
2. อัตราดอกเบี้ยที่ BSF คิด มีคำสั้นคำเดียวคือ “แพง” เพราะไปอ้างอิงกับดอกเบี้ยที่แพงที่สุดที่บริษัทไปหามาจากแหล่งอื่น แถมบวกด้วยค่าธรรมเนียมการขอความช่วยเหลืออีก 1-2% (คือ หาเองได้ต้นทุนแพงสุดเท่าไร BSF คิดเท่านั้นและขอบวกเพิ่มอีก 1-2%)
3. ยังมีข้อกำหนดอีกหลายอย่างที่บริษัทต้องทำตาม เช่น ห้ามจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น ห้ามจ่ายโบนัสให้กับผู้บริหาร ห้ามซื้อคืนหุ้น ห้ามลดทุน
ถ้าจะสรุปสั้นๆ โปรโมชั่นของกองทุน BSF นั้นไม่ได้จูงใจให้บรรดาบริษัทผู้ออกตราสารหนี้แห่มาใช้กันเงิน เพราะเงื่อนไขก็เยอะ ดอกก็แพง เลยไม่น่าแปลกที่เห็นตั้งกองทุนมาเป็นเดือนแล้วยังไม่มีคนมาใช้เท่าไหร่ แต่จะว่าไม่มีข้อดีเลย ก็อาจจะดู discredit กองทุนไปสักหน่อย เพราะอย่างน้อยก็ช่วยให้ sentiment ในตลาดดีขึ้น ช่วงแรกๆ ก่อนมีมาตรการนั้นนักลงทุน panic เทขายกันวันต่อวันเป็นว่าเล่น เพราะกลัวหลายบริษัทจะเกิดเบี้ยวหนี้ไม่มีเงินจ่าย แต่พอตั้งกองทุนมาปิดช่องให้แบบพอมั่นใจได้ ก็ดูเหมือนคลื่นลมในตลาดหุ้นกู้ที่เป็นผลจากวิกฤตโควิดปิดเมืองนี้จะสงบได้มากขึ้น
เปิดโปรโมชั่น BSF ทำไมไม่ค่อยมีใครอยากใช้ ??
1. ก่อนจะได้เงินจาก BSF บริษัทต้องไปหาเงินจากที่อื่นมาก่อน โดยเกณฑ์กำหนดให้ต้องไปออกหุ้นกู้ไม่ต่ำกว่า 20% บวกกับต้องขอสินเชื่อแบงก์ให้ได้อีกไม่ต่ำกว่า 20% และรวมเงินที่หาได้ต้องไม่ต่ำกว่า 50% ของหุ้นกู้ที่ครบกำหนดก่อนจะมาขอเพิ่มจาก BSF ในส่วนที่เหลือเท่านั้น
2. อัตราดอกเบี้ยที่ BSF คิด มีคำสั้นคำเดียวคือ “แพง” เพราะไปอ้างอิงกับดอกเบี้ยที่แพงที่สุดที่บริษัทไปหามาจากแหล่งอื่น แถมบวกด้วยค่าธรรมเนียมการขอความช่วยเหลืออีก 1-2% (คือ หาเองได้ต้นทุนแพงสุดเท่าไร BSF คิดเท่านั้นและขอบวกเพิ่มอีก 1-2%)
3. ยังมีข้อกำหนดอีกหลายอย่างที่บริษัทต้องทำตาม เช่น ห้ามจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น ห้ามจ่ายโบนัสให้กับผู้บริหาร ห้ามซื้อคืนหุ้น ห้ามลดทุน
ถ้าจะสรุปสั้นๆ โปรโมชั่นของกองทุน BSF นั้นไม่ได้จูงใจให้บรรดาบริษัทผู้ออกตราสารหนี้แห่มาใช้กันเงิน เพราะเงื่อนไขก็เยอะ ดอกก็แพง เลยไม่น่าแปลกที่เห็นตั้งกองทุนมาเป็นเดือนแล้วยังไม่มีคนมาใช้เท่าไหร่ แต่จะว่าไม่มีข้อดีเลย ก็อาจจะดู discredit กองทุนไปสักหน่อย เพราะอย่างน้อยก็ช่วยให้ sentiment ในตลาดดีขึ้น ช่วงแรกๆ ก่อนมีมาตรการนั้นนักลงทุน panic เทขายกันวันต่อวันเป็นว่าเล่น เพราะกลัวหลายบริษัทจะเกิดเบี้ยวหนี้ไม่มีเงินจ่าย แต่พอตั้งกองทุนมาปิดช่องให้แบบพอมั่นใจได้ ก็ดูเหมือนคลื่นลมในตลาดหุ้นกู้ที่เป็นผลจากวิกฤตโควิดปิดเมืองนี้จะสงบได้มากขึ้น