จัดพอรตเกษียณประมาณนี้ได้ไม๊ครับ
อายุเลข33 ฐานภาษี 25% ไม่มีกองทุนเลี้ยงชีพ ทำแบบวัดระดับความเสี่ยงได้ ระดับ 6 ครับ
คิดว่าจะซื้อแต่กองทุน RMF กับ LTF น่าจะได้อย่างละ 180,000 บาท/ปี เท่ากับซื้อเดือนละ 30,000บาท
คิดไว้ว่าจะซื้อใส่พอรตประมาณนี้ (คร่าวๆครับ)
1.RMF ความเสี่ยง 6 3กอง
2.RMF ความเสี่ยง 5 2กอง
3.LTF ความเสี่ยง 6 3กอง
4.LTF ความเสี่ยง 5 2กอง
ที่เลือกหลายตัวเพราะอยากลองครับ (ดูผลดำเนินการย้อนหลัง 5 ปี)
รบกวนช่วยแนะนำครับผม
*********************
ระดับที่ 1 คือ กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) โดยจะลงทุนเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือตราสารทางการเงินในประเทศ ที่มีอายุสั้นไม่เกิน 1 ปี เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด และมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้น้อย
ระดับที่ 2 คือ กองทุนแบบ Money Market แต่สามารถนำเงินบางส่วนไปลงทุนในพันธบัตรต่างประเทศได้ ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากยังคงเน้นลงทุนในตราสารระยะสั้น ทำให้มีความเสี่ยงในระดับที่ต่ำ
ระดับที่ 3 คือ กองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนมีความเสี่ยงที่ต่ำ แต่พันธบัตรมีช่วงอายุหลากหลาย และกองทุนสามารถเลือกลงทุนในพันธบัตร หรือตราสารที่มีอายุมากกว่า 1 ปีได้ ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องของ Maturity Risk
ระดับที่ 4 จะเป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ โดยไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเป็นตราสารหนี้แบบไหน สามารถลงทุนได้ในหุ้นกู้รัฐวิสาหกิจ และหุ้นกู้เอกชน ซึ่งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น มิใช่เพียงเรื่อง Maturity Risk เท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของ Credit Rating หรือการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
นักลงทุนที่ทำแบบทดสอบแล้วได้คะแนนในช่วง 4 ระดับแรก ถือว่าเป็นผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อย ดังนั้นประเภทของตราสารที่จำแนกไว้ใน 4 ระดับแรก จึงยังคงเป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าความเสี่ยงที่ต่ำ ก็มักจะมาพร้อมกับโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่ไม่สูงมากนักด้วยเช่นกัน
ดังนั้น กองทุนตราสารหนี้ จึงเหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย หรือคนในวัยเกษียณ เนื่องจากไม่มีรายได้หลัก และต้องการลงทุนแบบคุ้มครองเงินต้น
ระดับที่ 5 เป็นกองทุนรวมแบบผสม ระหว่างตราสารหนี้และตราสารทุน หรือ Balance Fund มีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งจะเหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ระดับปานกลาง
ส่วนระดับที่ 6 เป็นกองทุนรวมหุ้น ซึ่งมีความเสี่ยงใกล้เคียงกับการลงทุนในหุ้นโดยตรง ซึ่งเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงในระดับที่สูง
ระดับที่ 7 จะเป็นกองทุนรวมในหุ้นโดยลงทุนเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม หรือ Sector Fund เช่น ลงทุนเฉพาะ Sector พลังงานหรือธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนหุ้นทั่วไป เนื่องจากเป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะใน Sector ที่กำหนดเอาไว้เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น กองทุนที่ลงทุนหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยในปีที่ผ่านมา แม้ว่าดัชนีหุ้นไทยตลาดจะเพิ่มขึ้นราว 35% และกองทุนหุ้นทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ราว 40%แต่ผลตอบแทนของหุ้นกลุ่มพลังงานกลับทำได้เพียง 8-9% เท่านั้น ดังนั้นนักลงทุนที่จะเลือกลงทุนในกองทุนแบบ Sector Fund จึงควรมีความรู้ความเข้าใจให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงด้วย
ระดับที่ 8 คือ กองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Investment) เช่น ทองคำ น้ำมัน หรือสินทรัพย์เสี่ยงที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
จัดพอรตเกษียณประมาณนี้ได้ไม๊ครับ
อายุเลข33 ฐานภาษี 25% ไม่มีกองทุนเลี้ยงชีพ ทำแบบวัดระดับความเสี่ยงได้ ระดับ 6 ครับ
คิดว่าจะซื้อแต่กองทุน RMF กับ LTF น่าจะได้อย่างละ 180,000 บาท/ปี เท่ากับซื้อเดือนละ 30,000บาท
คิดไว้ว่าจะซื้อใส่พอรตประมาณนี้ (คร่าวๆครับ)
1.RMF ความเสี่ยง 6 3กอง
2.RMF ความเสี่ยง 5 2กอง
3.LTF ความเสี่ยง 6 3กอง
4.LTF ความเสี่ยง 5 2กอง
ที่เลือกหลายตัวเพราะอยากลองครับ (ดูผลดำเนินการย้อนหลัง 5 ปี)
รบกวนช่วยแนะนำครับผม
*********************
ระดับที่ 1 คือ กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) โดยจะลงทุนเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือตราสารทางการเงินในประเทศ ที่มีอายุสั้นไม่เกิน 1 ปี เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด และมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้น้อย
ระดับที่ 2 คือ กองทุนแบบ Money Market แต่สามารถนำเงินบางส่วนไปลงทุนในพันธบัตรต่างประเทศได้ ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากยังคงเน้นลงทุนในตราสารระยะสั้น ทำให้มีความเสี่ยงในระดับที่ต่ำ
ระดับที่ 3 คือ กองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนมีความเสี่ยงที่ต่ำ แต่พันธบัตรมีช่วงอายุหลากหลาย และกองทุนสามารถเลือกลงทุนในพันธบัตร หรือตราสารที่มีอายุมากกว่า 1 ปีได้ ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องของ Maturity Risk
ระดับที่ 4 จะเป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ โดยไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเป็นตราสารหนี้แบบไหน สามารถลงทุนได้ในหุ้นกู้รัฐวิสาหกิจ และหุ้นกู้เอกชน ซึ่งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น มิใช่เพียงเรื่อง Maturity Risk เท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของ Credit Rating หรือการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
นักลงทุนที่ทำแบบทดสอบแล้วได้คะแนนในช่วง 4 ระดับแรก ถือว่าเป็นผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อย ดังนั้นประเภทของตราสารที่จำแนกไว้ใน 4 ระดับแรก จึงยังคงเป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าความเสี่ยงที่ต่ำ ก็มักจะมาพร้อมกับโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่ไม่สูงมากนักด้วยเช่นกัน
ดังนั้น กองทุนตราสารหนี้ จึงเหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย หรือคนในวัยเกษียณ เนื่องจากไม่มีรายได้หลัก และต้องการลงทุนแบบคุ้มครองเงินต้น
ระดับที่ 5 เป็นกองทุนรวมแบบผสม ระหว่างตราสารหนี้และตราสารทุน หรือ Balance Fund มีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งจะเหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ระดับปานกลาง
ส่วนระดับที่ 6 เป็นกองทุนรวมหุ้น ซึ่งมีความเสี่ยงใกล้เคียงกับการลงทุนในหุ้นโดยตรง ซึ่งเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงในระดับที่สูง
ระดับที่ 7 จะเป็นกองทุนรวมในหุ้นโดยลงทุนเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม หรือ Sector Fund เช่น ลงทุนเฉพาะ Sector พลังงานหรือธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนหุ้นทั่วไป เนื่องจากเป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะใน Sector ที่กำหนดเอาไว้เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น กองทุนที่ลงทุนหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยในปีที่ผ่านมา แม้ว่าดัชนีหุ้นไทยตลาดจะเพิ่มขึ้นราว 35% และกองทุนหุ้นทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ราว 40%แต่ผลตอบแทนของหุ้นกลุ่มพลังงานกลับทำได้เพียง 8-9% เท่านั้น ดังนั้นนักลงทุนที่จะเลือกลงทุนในกองทุนแบบ Sector Fund จึงควรมีความรู้ความเข้าใจให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงด้วย
ระดับที่ 8 คือ กองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Investment) เช่น ทองคำ น้ำมัน หรือสินทรัพย์เสี่ยงที่มีความซับซ้อนมากขึ้น